เสวนา ก้าวต่อไปยุทธศาสตร์ กระบวนการผู้หญิงร่วมสมัย กับมุมมอง นานาทัศนะ 8 ผู้นำหญิง ห้องประกอบ หุตะสิงห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 7 มีนาคม 54 องค์กรผู้หญิง 33 องค์กรได้ร่วมกันจัดงาน 100 ปีสตรีสากล โดยมีการจัดกิจกรรมเสวนา นิทรรศการ การแสดงศิลปวัฒนธรรม และการดนตรี
มุมมอง วิไลวรรณ แช่เตีย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ด้านแรงงานในระบบ ต้องกลับมามองประเด็น สวัสดิการ ความมั่นคงในการทำงาน รวมถึงครอบครัว ผู้หญิงไม่ควรทำงานเชิงเดี่ยว แต่ต้องได้รับกาสนับสนุนจากผู้ชายด้วย ในสถานประกอบการผู้หญิงยังคงทำงานหนักเหมือนเดิม ค่าจ้างต่ำ และต้องดูแลพ่อแม่ ลูก ครอบครัว โอกาสการพักผ่อน การดูแลครอบครัว การเล่าเรียนน้อยมากเพราะทำงานไม่สอดคล้องกับโครงสร้างปัจจุบัน ตามหลักสากล สามแปดก็คือทำงานแปดชั่วโมง พักผ่อนแปดชั่วโมงและศึกษาแปดชั่วโมง ค่าจ้างที่เป็นธรรม สวัสดิการต่างๆทั้งในระบบ นอกระบบต้องได้รับ เช่นกฎหมายเชิงนโยบาย ผู้หญิงต้องมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหา ในกระทรวงแรงงานมีคณะกรรมการไตรภาคีหลายคณะแต่ไม่มีผู้หญิงเข้าร่วม ดังนี้
1. วางแนวทางการขับเคลื่อน เขตุชมชน เขตอุตสาหกรรม และศูนย์เลี้ยงเด็ก
2. ติดตามต่อ เปิดพื้นที่ผู้นำหญิงเสนอไตรภาคี
3. แรงงานนอกระบบ ผู้เอางานไปทำที่บ้าน สวัสดิการ การคุ้มครอง การเข้าถึงสิทธิ รวมแรงงานข้ามชาติ และเครือข่ายทุกภาคี
4. ข้อพิเศษของผู้หญิงคือการเสนอประเด็นปัญหาต่างๆ ส่วนมากผู้ชายจะรับฟัง
5. ขอไห้ผู้หญิงสนับสนุนผู้หญิงด้วยกัน
มุมมอง สุนทรี เซ่งกิ่ง คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน แรงงานนอกระบบ 100 ปีนี้กับ 100 ปีข้างหน้า ผู้หญิงก็ยังคงสู้เหมือนเดิม คือการสมานฉันท์ สิทธิผู้หญิงคือสิทธิแรงงาน 3/8 สิทธิทางการเมือง การพัฒนาผู้หญิงในชนบท สำหรับผู้หญิงคนยากคนจนในอนาคตอยากจะเห็นผู้หญิงนักต่อสู้ได้และรับรางวัลต่างๆ ทำงานกับผู้หญิงภาคอีสานมานาน
30ปี เห็นการทอผ้าไว้นุ่งห่มในอดีต แต่ปัจจุบันทอไว้ขายด้วย การทอผ้าในอดีตไม่คิดว่าเป็นแรงงาน แต่คิดว่าเป็นอาชีพเสริม ปัจจุบันมีการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่เลี้ยงหมู เพื่อส่งโรงงาน นอกจากรายได้จากการทำนาแล้ว ก็รับงานเหล่านี้เพิ่มแต่สิ่งที่แรงงานได้รับ ค่าจ้าง ค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม เวลารัฐออกกฎหมายก็จะเสนอแต่แรงงานในระบบ ผู้หญิงเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนเรื่องต่างๆ บางองค์กรยังเปิดพื้นที่ไห้ผู้หญิงมีสัดส่วนร่วมกระบวนการ การจัดกิจกรรมต่างๆ งบประมาณควรมีส่วนของผู้หญิงด้วย ปัจจุบันปัญหาทางโครงสร้าง กฎหมายฉบับเล็ก ฉบับใหญ่ยังไม่ใช้สิทธิความเสมอภาคเท่าเทียม สำหรับผู้หญิง
มุมมอง อรุณี ศรีโต สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา อดีตผู้นำแรงงาน พูดแล้วต้องทำ อย่าดีแต่พูด ผู้หญิงต้องจัดตั้ง เป็นเรื่องสำคัญถ้าไม่มีการจัดตั้งเราไม่สามรถรวมตัวกันได้ ถ้ารวมตัวไม่ได้จะมีพลังได้อย่างไร จุดอ่อนของโรงงานคือคนในชุมชนไม่รู้จัก เพราะเราไม่ไปร่วมกิจกรรมกับเขา ต้องทำงานร่วมกับชุมชน สร้างความเข้าใจทำไปเรื่อยๆจะทำไห้เราเข้มแข็ง ชาวนาต้องเป็นเพื่อนกับชุมชนเมือง พี่น้องชาวใต้ต้องร่วมกับพี่น้องชาวเหนือ ชาวอีสานและชุมชนเมือง ต้องรวมตัวไห้เป็นตึกแผ่น แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างชุมชน ระหว่างอาชีพ
มุมมอง กิมอัง พงษ์นารายณ์ สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรแห่งประเทศไทย ชาวนาภาคกลาง จ.ชัยนาท อดีตผู้ชายจะได้เปรียบกว่าผู้หญิง แนวคิดในวัยเด็กผู้ชายจะได้เปรียบกว่าผู้หญิงและผู้ชายก็เป็นผู้นำ สมัยก่อนผู้ชายทำไร่ไถนา ผู้หญิงหุงข้าว แต่ตอนนี้ผู้หญิงทำงานได้หลายอย่างเกือบเท่าเทียมผู้ชาย มีผู้ผู้หญิงเป็นผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต.ก็มี
1. ผู้หญิงควรมีส่วนร่วม ตั้งแต่ระดับ ชุมชน ท้องถิ่น ระดับภาค และระดับประเทศ
2. สนับสนุนผู้หญิงด้วยกัน ผลักดันเพื่อกำหนดเชิงนโยบาย
มุมมอง กรณ์อุมา พงษ์น้อย กลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กระบวนการทำงานที่ผ่านมา บทบาทผู้หญิงคือการไม่ล้ำเส้นผู้ชาย การทำงานไม่ใช้ความแข็งแรงอย่างเดียวต้องมีความคิด ความรู้ เป้าหมายไห้การบรรลุผลยุทธศาสตร์คือตัวกำหนด ปัญหาทุกอย่างคือปัญหาของสังคม เมื่อมีปัญหาสิ่งที่จำเป็นต้องแสวงหา สร้างเครือข่าย ต้องอธิบายไห้สังคมรับรู้ เราพูดเราทำด้วย ต้องรับผิดชอบ เข้าใจปัญหาซึ่งกันและกัน
มุมมอง ปาติเมาะ เปาะอีแตดาโอะ ตัวแทนผู้หญิงมุสลิมภาคใต้ลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องสิทธิ ในแนวคิดจะทำอย่างไรไม่ไห้ครอบครัวอื่นๆได้ผลกระทบเหมือนครอบครัวเรา ขั้นตอนการช่วยเหลือจากรัฐสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ค่อยได้ผล อย่างที่เห็นจากสื่อต่างๆการใช้กฎอัยการศึกก็คือปัญหา หลัง 20 นาฬิกาห้ามออกจากบ้านถือว่าเป็นการลิดลอนสิทธิ์ ปัญหาทางครอบครัวค่อนข้างรุนแรง โรคเอดส์ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลือผู้หญิงมุสลิมเพราะผู้ชายมุสลิมมีเมียได้ถึง 4คน อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่แม่ไปกรีดยางพ่อไปดื่มน้ำชา ผู้หญิงที่เป็นภรรยาและเป็นสมบัติของสามี ผู้หญิงบางคนต้องยอมจำนนจ่ายเงินเพื่อหย่าสามี ในภาคไต้สิทธิมนุษยชนพูดได้ แต่ผู้หญิงห้ามพูด มีผู้หญิงหลายคนไปร้องเรียนคณะกรรมการอิสลาม แต่ทางคณะกรรมการนิ่งเฉย เพราะมีแต่ผู้ชายในคณะกรรมการ
1. คณะกรรมการอิสลามจังหวัดภาคไต้ ต้องมีผู้หญิงเข้าร่วม
2. ผู้หญิงในสังคมปัจจุบัน อายุการแต่งงานควรกำหนด
3. ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ควรมีในสังคม
มุมมอง ลาเคละ จะทอ เครือข่ายสตรีชนเผ่า 11 เผ่าในภาคเหนือ ปัญหาสตรีชนเผ่าที่จะนำเสนอ
1. ผู้หญิงชนเผ่าไม่มีบัตรประชน และไร้สัญชาติไทย พูดภาษาไทยไม่ได้ ไม่มีเงิน
2. เด็กกำพร้า ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีสิทธิ์ทำบัตรประชาชน
3. มีเรื่องเดือดร้อนแจ้งตำรวจไม่ได้ เพราะไม่มีบัตรประชาชน
4. ตำรวจรีดไถ่เงิน มีเท่าไหร่ต้องจ่ายให้หมด เพราะกลัวโดนจับไม่มีบัตรประชาชน มีเท่าไหร่จ่ายหมดกลัวติดคุกด้วย
5. มีสิทธิรับบริการจากสถานีอนามัยได้ แต่ช่วงเวลาเดินทางเจอตำรวจ
6. การเกิดไม่มีหลักฐาน เพราะคลอดเอง
7. ภาษาพูดไม่รู้เรื่อง ไปหาหมอ หมอหงุดหงิด
8. กระบวนการไห้สัญชาติ ยากมาก ต้องมีเงินด้วย
ข้อเสนอ อยากไห้มีล่ามประจำชนเผ่า เวลาติดต่อราชการ วัฒนธรรมที่แตกต่างสำหรับผู้หญิงชนเผ่า
1. ผู้หญิงจะร้องไห้ทุกครั้ง เช่น ผู้หญิงม้งถูกฉุด วัฒนธรรมคือผู้ชายม้งมีเมียหลายคนได้ เป็นเมียโดยไม่ได้รัก
2. กฎหมายคุ้มครองชุมชน ไม่ได้รับการแก้ไข
3. เสนอให้ความรู้เกี่ยวกับการเมือง สำหรับผู้หญิงชนเผ่า
มุมอง สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิเพื่อนหญิง เห็นการตาย การถูกทำร้าย แล้วท่านทำอะไร ผู้หญิงโคตรทรหดอดทน ปัญหาที่จะสะท้อน ตามหลักการนี้
1. ความรุนแรงทางโครงสร้าง
2. ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่กล้าพูด
3. ความเสมอภาคไม่มี
4. เมล็ดพันธ์แห่งความรับผิดชอบ เพราะว่าความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก 80 เปอร์เซ็นต์ของความรุนแรง
ข้อเสนอ
1. ส่งเสริมผู้ชายไห้มีความรับผิดชอบ
2. มีส่วนร่วม หุ้นส่วนทางครอบครัว หุ้นส่วนทางสังคม หุ้นส่วนทางการเมือง
3. ผู้หญิงต้องกล้าสะท้อนเรื่องที่ไม่ดีทั้งหลาย
ธีระวุฒิ เบญมาตย์ นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวสมุทรปราการ รายงาน