จากนั้น ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยังพูดถึงประสบการณ์จากการทำวิจัยไทบ้านเกษตรพันธสัญญา ว่า นายทุนได้สร้างระบบการขูดรีดอย่างซับซ้อน ทำลายทรัพยากรอย่างแยบยล และรัฐเปรียบเหมือนโรงละคร เพราะนโยบายของรัฐเกิดมาจากการผลักดันหรือกำหนดโดยทุน และรัฐเองตกอยู่ภายใต้อิทธิพลนั้น เช่นกัน
ในส่วนแนวนโยบายเรื่องเกษตรจะมีลักษณะข้ามชาติมากขึ้น เพราะจะมีการเปิดชายแดนให้เชื่อมต่อกันเพื่อนำผลผลิตกลับไทย หนึ่งในนักศึกษาปริญญาเอกจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้กล่าวสนับสนุนอีกว่า ที่แขวงสะหวันเขต บ้านเกิดของเขาเอง ได้มีบริษัทโรงงานน้ำตาลยักษ์ใหญ่ของภาคอีสาน ได้สัมปทานพื้นที่ในการปลูกอ้อยไปมากแล้ว ทางบริษัทได้ยกข้อมูลด้านที่ดีเพียงอย่างเดียวมาจูงใจเกษตรกรชาวลาวให้สนใจมาปลูกอ้อยมากขึ้น
สุดท้าย รศ.ดร.บัวพันธ์ พรมหพักพิง อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวสรุปว่า สังคมศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทอย่างไรกับประเด็นเกษตรพันธสัญญา พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีสิทธิที่จะได้ส่งเสียงในเวทีวิชาการที่จะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ เพราะถ้าประเด็นเหล่านี้ไม่ถูกนำเสนออาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคต
นายโอภาส สินธุโคตร นักสื่อสื่่อสาร เกษตรกรพันธสัญญา รายงาน