นักวิชาการหนุนปรับค่าจ้าง 300 เชื่อทำได้ เพื่อไทยต้องทำ

นักวิชาการเสนอรัฐ ถึงสถาบันการศึกษา เตรียมศึกษาหยุดเสียงอ้างปรับ 300 อยู่ไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนนายจ้างเพียง 3% เท่านั้น หยุดร้องให้รัฐใช้นโยบายกดค่าจ้าง เพื่อลดต้อนทุน ย้ำตัวเลขลูกจ้างยังกินค่าจ้างขั้นต่ำยังสูง แม้ประสิทธิภาพลูกจ้างจะสูงก็ตาม

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ชั้น 2 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทำงานปฏิรูปค่าจ้างของเครือข่ายองค์กรแรงงาน กลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ได้มีการจัดอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง 300 บาท ชะตากรรมใคร? : รัฐบาล นายจ้าง หรือลูกจ้าง ประเด็นที่อภิปรายคือ บทบาทของค่าจ้างตามแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมสมัย, ประมวลประเด็นถกเถียงในสังคมไทยว่าด้วยการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน และความสมเหตุสมผลของข้อถกเถียงดังกล่าว, ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลใหม่ในการหาทางออกจากชะตากรรมเรื่องค่าจ้าง

ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาจะเห็นว่า มีนายจ้างซักแถวโวยเรื่องของการเสนอนโยบายปรับค่าจ้างของพรรคเพื่อไทย ว่าไม่เป็นธรรมต่อนายจ้าง หากมีการปรับค่าจ้าง 300 บาท นายจ้างอาจต้องเลิกจ้างลูกจ้างจำนวนมาก ต้องมีการย้ายฐานการผลิต ปิดกิจการ  เป็นการเสนอโดยไม่มีการอาศัยงานวิชาการ

ในส่วนของฝ่ายลูกจ้างเองก็มีการพูดคุยเรื่องของวิชาการค้อนข้างล่าช้าเช่นกัน หากถามว่าข้อเสนอการปรับค่าจ้าง 300 บาท เป็นไปไม่ได้คนงานคงต้องอยู่ในชะตากรรมค่าจ้างขั้นต่ำแบบนี้ต่อไป ถ้ามีการประกาศปรับค่าจ้างได้ตามนโยบาย ลูกจ้างจะมีชีวิตที่ดีขึ้นมาบ้างเล็กน้อย

แต่นายจ้างอ้างว่าจะอยู่ไม่ได้ด้วย การปรับค่าจ้าง 300 บาท เพราะลูกจ้างมีรายได้สูงขึ้น รัฐบาลที่เคยมีนโยบายกดค่าแรงในการส่งเสริมการลงทุนมาโดยตลอด จึงเป็นวิธีการเดียวที่นายจ้างใช้ในการลดต้นทุนการผลิต  ใช้แข่งขันในตลาด ไม่เคยคิดที่จะใช้การพัฒนาฝีมือลูกจ้างให้สูง เพื่อนำผลผลิตที่มีคุณภาพสู้ในตลาด คำถามคือทำไมนายจ้างอยู่ไม่ได้ ล้มละลายเพราะเพียงแค่การปรับค่าจ้าง ส่วนลูกจ้างนั้นล้มละลายมาตั้งแต่เริ่มเข้าโรงงาน ต้องทำงานมากว่า 8 ชั่วโมง ย่ำได้ด้วยการเป็นหนี้ ต้องเอาเงินในอนาคตมาใช้ ต้องทำงานล่วงเวลาเพราะค่าจ้างไม่เพียงพอ เบียดบังเวลาของครอบครัว เกิดการแตกแยกของครอบครัว พ่อแม่ในต่างจังหวัดต้องเลี้ยงหลาน

ข้ออ้างของนายจ้างที่อยู่ไม่ได้เพราะต้นทุนสูงขึ้น ต้นทุนค่าจ้างขั้นต่ำ ถัวเฉลี่ยต้นทุนค่าจ้างแค่ 10% เท่านั้น ที่เป็นค่าจ้างสำหรับลูกจ้างแรกเข้าและไร้ฝีมือ ถ้าหากกระทบแค่ 10% เท่านั้น อีก 90 เป็นต้นทุนเรื่องอื่นๆ ซึ่งประเทศไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ฯลฯ ยังแข่งขันชนะประเทศไทยได้ทั้งที่มีค่าแรงสูง เพราะเขาพัฒนา 90% และเพิ่มค่าแรง แต่เรามามุ่งแต่เพียงกดค่าแรง

ปรับค่าจ้างสูงขึ้นแล้วนายจ้างแข่งขันไม่ได้ ปัญหาคือนายจ้างมองค่าจ้างคือต้นทุน ไม่ได้มองว่า เพิ่มค่าจ้างเป็นการเพิ่มตลาด เกิดการจับจ่ายมากขึ้น ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ตลาดโลกไม่สามารถที่จะมีกำลังซื้อ การพึ่งตลาดภายในประเทศจึงสำคัญการปรับค่าจ้างจึงสำคัญ แล้วจะย้ายฐานการผลิต ไปประเทศเวียดนาม หรือการปรับค่าจ้างจะเกิดเงินเฟ้อ ถามว่าผู้ใช้แรงงานคือ คนที่บริหารประเทศหรือ หากวันนี้ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจปรับขึ้นค่าจ้าง เกิดเงินเฟ้อ พอจะปรับค่าจ้างลูกจ้าง หรือเข้าสู่โรงงานได้รับค่าจ้าง ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ต้องเป็นความรับผิดชอบของแรงงานหรือ

ปัญหาการที่กดค่าแรงมาจนเกิดการกล่าวถึงประเด็นความเหลื่อมล่ำของคนในประเทศ จนเกิดกระแสการชุมนุมทางการเมือง วันนี้หากการหาเสียงของพรรคการเมืองจนได้ชัยชนะ แต่ไม่ทำตามนโยบายที่เสนอ เหตุการณ์ความรุนแรงอย่างลาดประสงค์ ซึ่งต้องมาดูว่าครั้งต่อไปจะเกิดหรือไม่

รัฐปล่อยให้เกิดอุตสาหกรรมราคาถูก ด้วยการกดค่าจ้าง จนทำให้ไม่มีการปรับเปลี่ยนการปรับค่าจ้างแรงงานไปสู่ค่าจ้างที่สูงขึ้น การแก้ปัญหาด้วยการลดความเหลื่อมล้ำ ต้องมีการทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี ต้นทุนแรงงานอยู่เพียง 10% เท่านั้น ค่าจ้างขั้นต่ำจึงเป็นเพียงเหตุผลเล็กๆ เท่านั้นในการที่จะเป็นต้นทุนที่จะทำให้นายจ้างอยู่ไม่ได้

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า การปรับค่าจ้างของแรงงานใช้กลไกไตรภาคี คณะกรรมการค่าจ้างซึ่งเกิดขึ้นใน

ปี 2515 โดยปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 12 บาท มีการสำรวจเมื่อต้นปี 2516 ผู้มีรายได้ต่ำ อยู่ที่20 % รายได้ของลูกจ้างจึงมีรายได้ต่ำมาโดยตลอด ค่าจ้างขั้นต่ำปัจจุบันในส่วนของกรุงเทพมหานครกับต่างจังหวัด จะมีความห่างกันออกไปเรื่อยๆ การที่มีการเสนอนโยบายการปรับค่าจ้าง 300 บาท ของพรรคการเมือง จะเป็นการที่ยึดอำนาจการปรับค่าจ้างจากกรรมการไตรภาคีมาเป็นฝ่ายการเมืองกำหนดเองใช่หรือไม่

การหาเสียงด้วยการปรับค่าจ้างจากพรรคการเมือง พบว่า ได้เริ่มด้วยการเสนอปรับค่าจ้างขึ้นต่ำ 250 บาท ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีการสั่งให้ทางกระทรวงการคลังให้มีการหามาตรการลดภาษีในสถานประกอบการ ทำให้พรรคเพื่อไทยเสนอนโยบายปรับค่าจ้าง 300 บาท เกทับนโยบาย 250 บาทของพรรคประชาธิปัตย์ สิ่งที่เกิดขึ้นคือชะตากรรมของคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้าง อนุกรรมการฯในระดับไตรภาคี ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง รัฐ ที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาการปรับค่าจ้าง และมีมติไม่เห็นด้วยในการปรับค่าจ้าง 300 บาทเท่าทั่วประเทศ แล้วส่งผลการพิจารณาปรับค่าจ้างแต่ละจังหวัดเข้ามาให้คณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างกลาง ซึ่งก็จะมีการชี้แจงในการปรับค่าจ้างแต่ละจังหวัดอีกครั้ง ซึ่งในส่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไม่ได้มีอำนาจเสนอปรับ แต่มีหน้าที่ส่งเรื่องการเสนอปรับค่าจ้างเข้าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณา หากครม.ไม่เห็นด้วยจะส่งมาให้ทางคณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้แนวเสนอการปรับค่าจ้างไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เห็นว่าคงมีการปรับ แนวปฏิบัติของการปรับค่าจ้าง แต่คิดว่ารัฐบาลชุดนี้ยังไม่มีแนวคิด และไม่กล้าที่จะล้มกรรมการไตรภาคีแน่นอน

เมื่อต้นเดือนมีการประชุมผู้เกี่ยวข้องในกระทรวงแรงงานในการปรับค่าจ้างขึ้น 300 บาท ข้อดี ที่พูดถึง เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน ที่เกี่ยวข้องในการปรับขึ้นมี 5 ล้านคน ในระบบประกันสังคม ช่วยไม่ให้เกิดความขาดแคลนแรงงาน จะมีแรงงานจำนวนมากเข้ามาทำงานในสถานประกอบการมากขึ้น ทำให้การจ้างแรงงานข้ามชาติลดลง เป็นกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ในระบบประกันสังคมมากขึ้น ส่วนถานประกอบการก็จะมีคุณภาพ ระดับสูง มีการพัฒนาฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น

ข้อเสีย คืออาจบริษัทต่างๆ จะย้ายฐานการผลิต เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมSME แต่อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพก็จะยังอยู่ในประเทศไทย เชิงมาตรการแก้ปัญหา คือ จะเตรียมระบบช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ปรับเปลี่ยนและการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สูงขึ้น

ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า  กล่าวถึงประเด็นมุมมองว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามสภาพความเป็นจริง แต่การเสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำของพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายเป็นเพียงการใช้สื่อเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะทางการเมือง ปรับค่าจ้าง 300 บาท จึงเป็นเพียงการหาเสียง การกำหนดเป็นตัวเลขชัดเจน ทำให้เสียงสนับสนุนของกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่มีค่าจ้างต่ำทุ่มให้จนชนะ ทามกลางเสียงผู้ประกอบการที่ส่งเสียงต้านออกมาเป็นระยะเช่นกัน

ต้นทุนของนายจ้างมีองค์ประกอบทั้งต้นทุนการผลิตค่าจ้างของลูกจ้างนั้น ลูกจ้างที่มีรายได้ประเภทเงินเดือนนั้นมีน้อย ลูกจ้างส่วนใหญ่กินค่าจ้างรายวัน รัฐบาลจะต้องทำให้ win – win ทั้งนายจ้าง และลูกจ้าง รัฐต้องเตรียมเรื่องการขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เกิดปรากฏการณ์ Over re–action รัฐบาลต้องมีมาตรการช่วยชั่วคราวกับผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีการสำรวจความเป็นจริง เสนอมาตรการลดหย่อนภาษี ต้นทุนการขึ้นค่าจ้างไม่ได้สูงมาขนาดนั้น นายจ้างต้องปรับตัว รัฐบาลต้องมีมาตรการกดดันกลุ่มนายจ้างที่ไม่ให้ความร่วมมือ ให้มีคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริง เชิงทฤษฎี ตลาดเสรี การขั้นค่าแรงจะทำให้การวางงานจะลดลง สถานการณ์จริงผู้จ้างน้อยราย ปริมาณการจ้างงานอาจจะกระทบน้อยมา

โดยสรุป เป็นโอกาสการปรับตัวของผู้ประกอบการ เพราะการหยุดกิจการอาจจะขาดทุนมากกว่าการปรับขึ้นค่าจ้าง ฉะนั้นคิดว่าผลกระทบต่อนายจ้างคงไม่ถึงขั้นต้องปิดกิจการ อาจต้องมีคำตอบต่อนายจ้างในการศึกษาข้อเท็จจริงเรื่องของการปรับค่าจ้างแล้วเกิดผลกระทบกับนายจ้างจริงแค่ไหน การที่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแล้วเกิดผลกระทบต่อการจ้างงานมีแค่ไหน การต่อรองกับนายจ้างอาจต้องมีการนำมาใช้ เช่นรัฐบาลออกครึ่งหนึ่งในการที่จะช่วยให้สถานประกอบการ และลูกจ้างอยู่ได้ ข้อเสนอนี้ตนไม่เชื่อว่าการปรับค่าจ้างจะทำให้นายจ้างขาดทุน อยู่ไม่ได้ และไม่เชื่อว่าจะมีการปรับลดคนงานจริง แต่หากรัฐบาลใหม่ทำไม่สำเร็จก็จะเสียหน้า หากทำจริงรัฐบาลนี้จะทำได้โดยไม่ต้องหาเสียงเลยในการเลือกตั้งครั้งหน้า การเสนอนโยบายเช่นนี้เป็นการหาเสียง และหากทำได้ จะเป็นการเพิ่มรายได้กับสังคม

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กล่าวในส่วนของประเทศไทยคงต้องดู 7 ประการ คือ

1. โลกปรับเปลี่ยนไป เช่น ประเทศจีน มีข้อสรุปว่า ประเทศที่พึ่งการส่งออกมากๆ ต้องปรับตัว แปลว่า ต้องพึ่งกำลังซื้อตลาดภายใน ต้องพึ่งค่าจ้าง42% และบำนาญ บำเหน็จ 8% อุปสงค์สำเร็จ ผลการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ และคนที่จบปริญญาตรี จึงเป็นการเพิ่มกำลังซื้อที่มีคุณภาพ

2. 10 ปีที่ผ่านมา จีดีพี เพิ่ม 50% แต่การปรับค่าจ้างเพิ่มเพียง 2% เท่านั้น แรงงานอยู่นอกเกษตร  90%ส่วนใหญ่อยู่ที่นายจ้าง ลูกจ้าง ทำไมส่วนแบ่งของลูกจ้างไม่เพิ่ม

3. ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมชราภาพ มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แต่กำลังแรงงานลดลง ทำให้คนงานหนึ่งคนต้องมีการดูแลทั้งเด็กคนชรา การที่ต้องเพิ่มการจัดเก็บเงินเข้าสู่กองทุนประกันสังคมมากขึ้น เพื่อให้มีเงินดูแลเด็ก และคนชรา จึงต้องทำ และมีความสัมพันธ์กับการปรับขึ้นค่าจ้าง

4. ประสิทธิภาพแรงงานไทยต่ำ กรณีประเทศจีน ค่าจ้างวิ่งเร็วกว่า ชั่วโมงละ 3 เหรียญ ตกวันละ 700 บาท คนไทยในประเภทกิจการรถยนต์ 400-500 บาทต่อวัน เท่านั้น กรณีประสิทธิภาพสูงขั้นประเทศสิงคโปร์ ช่องว่างระหว่างค่าจ้างประสิทธิภาพแคบกว่าไทย แต่ค่าจ้างไทยต่ำกว่าประสิทธิภาพของแรงงานที่มีมากกว่า

5. จากการที่มีการสร้างสังคมเรียนรู้ ซึ่งมีการทำงานมา 3 ปี พบว่า คนงานมีค่าจ้างๆไม่ถึง 6,000 บาท แต่รายได้ที่พออยู่ได้คือ 7,000 บาทต่อเดือน ซึ่งลูกจ้างต้องมีการทำงานล่วงเวลาเท่านั้น ปัญหาลูกของลูกจ้างในปัจจุบันต้องส่งไปอยู่กับพ่อแม่ในต่างจังหวัด ชีวิตครอบครัวคนงานส่วนใหญ่ล้มเหลวมีอัตราการหย่าร้างสูง ลูกจ้างไม่อยากมีบุตร และมีบุตรโดยไม่ตั้งใจก็ต้องทำแท้ง หากคนงานทำงานแล้วได้ค่าจ้างที่สูงขึ้นได้ค่าจ้าง 300 บาท อาจทำงานล่วงเวลาน้อยลง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ดูแลครอบครัวมากขึ้น เพราะชีวิตของลูกจ้างเชื่อมโยงกับชีวิตหลายมิติ

6. ความสามารถที่นายจ้างจ่ายได้ ต้นทุนการผลิตทั้งหมด ต้นทุนค่าจ้างต่ำมาก ถ้าเพิ่มค่าจ้าง 300 บาท ต้นทุนรวมเพิ่มแค่ 3% เท่านั้นเอง นายจ้างอ้างกระทบสถานประกอบการSME ซึ่งมีทางออกง่ายๆ คือ ต้องมีการจัดที่อยู่อาศัย เช่นหอพักใกล้ที่ทำงานฟรี พร้อมอาหาร จัดเป็นสวัสดิการให้ นายจ้างอาจไม่ต้องขึ้นค่าจ้างถึง 300 บาทได้ รัฐบาลตั้งกองทุนให้นายทุนขนาดเล็กกู้ไปสร้างที่พัก

7. หากเทียบประเทศที่พัฒนามาพร้อมกับประเทศไทย เช่น ประเทศเกาหลี มาเลย์ ไต้หวัน จะพบว่าค่าจ้างสูงกว่า

ทำไมค่าจ้างของแรงงานไม่เป็นไปตามกลไกตลาด กวยเตี่ยวมีราคาเพิ่มเร็ว เป็นการดเพิ่มค่าจ้าง แต่รายได้เพิ่ม ราคาข้าวยังไม่ได้รับซื้อ ราคาข้าวสารเพิ่มแล้ว ลูกจ้างอาจเจอภาวะรายจ่ายเพิ่มแต่ค่าจ้างลดลง หากปรับค่าจ้าง อาจลดการจ้างแรงงานไทย ไปใช้แรงงานต่างด้าว เพราะการที่พูดของรัฐว่าจะบังคับใช้การขึ้นค่าจ้างแต่แรงงานไทยไม่ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นายจ้าง หันไปจ้างงานแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้นเท่านั้น

นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน