“หนังสือพิมพ์ กรรมกร…จากคุ้นเคยกลายเป็นอื่น ” สื่อมองตัวเองไม่เป็นแรงงาน ไม่สนข่าวชนชั้นล่าง

20160908_1835021

“หนังสือพิมพ์ กรรมกร…จากคุ้นเคยกลายเป็นอื่น ” กรรมกรข่าว ข่าวของกรรมกร นักวิชาการ มองอดีตสื่อมวลชนมองตัวเองเป็นกรรมกร จึงสร้างสื่อเพื่อสื่อสาร   ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อ เสนอไม่ต้องรอสื่อ แรงงานต้องสื่อสารเอง ปัจจุบันสิทธิในการเสนอข่าวยังมีปัญหาเพราะไม่มีสหภาพแรงงาน 

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 สถานีโทรทัศไทยพีบีเอส หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มูลนิหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และมูลนิฟรีดริค เอแบร์ท ได้ร่วมกันจัดโครงการ ประวัติศาสตร์แรงงานไทย และเยอรมัน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยจัดตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2559 ชั้น 5 ซึ่งแต่ละวันได้มีการจัดสัมมนาประเด็นแรงงานในแต่ละวัน ซึ่งในวันที่ 8 กันยายน 2559 ได้จัดเรื่อง “หนังสือพิมพ์ กรรมกร…จากคุ้นเคยกลายเป็นอื่น ” กรรมกรข่าว ข่าวของกรรมกร

นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการประวัติสาสตร์แรงงานกล่าวว่า แรงงานที่เกิดขึ้นในประเทศไทย กลุ่มแรกที่ได้รับค่าจ้าง คือแรงงานข้ามชาติชาวจีนที่อพยพมาซึ่งคนไทยยุคนั้นยังเป็นไพร่ เป็นทาสที่ทำงานให้กับเจ้านาย หากถามว่าการสื่อสารของแรงงานที่เกิดขึ้นในยุคแรงงานจีนนั้นสื่อสารผ่านแถลงการณ์ เอกสารที่ส่งถึงกัน ด้วยมุมมองของรัฐที่มองว่าคนจีนที่อพยพมาจากประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งคนจีนส่วนใหญ่ได้รับแนวคิดสังคมนิยมเข้ามาด้วย จึงเกิดองค์กรที่เรียกว่า สมาคมลับอังยี่ เข้ามาดูแลแรงงานจีนที่เข้ามาทำงาน ซึ่งก็มีการสื่อสารผ่านแถลงการณ์ ซึ่งตอนนั้นรัฐไทยมองแรงงานความมั่นคงจึงมีการปราบปราม และกำหนดในกฎหมายห้ามรวมตัวกันซึ่งทุกวันนี้ก็ยังบังคับใช้ เรียกว่าพวกอังยี่ซ่องโจร

นายศักดินา ยังกล่าวอีกว่า ความพยายามในการทำงานสื่อสารของแรงงานโดยผ่านปัญญาชนแรงงานนักหนังสือพิมพ์ ด้วยคิดว่าตนก็คือกรรมกรจึงมีการสื่อสารเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานในหน้าหนึ่งตลอดในยุคต่าง ซึ่งสื่อที่ใช้ในยุคนั้นคือหนังสือพิมพ์ แม้มีวิทยุเข้ามาก็เป็นของรัฐ ทีวีก็เป็นของรัฐ ภาพพยนต์เป็นของชนชั้นสูง แรงงานจึงอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ด้วยมองว่าเป็นพวกเดียวกัน

“การสื่อสารของแรงงานนั้นมีความพยามมาที่จะสร้างสื่อในการสื่อสารมาโดยตลอด ผ่านเอกสารแถลงการณ์ เป็นบทเพลง บทกวี หนังสือพิมพ์กรรมกรในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ปัญญาชนอย่างคุณถวัติ ฤทธิเดช แม้ว่าเป็นปัญญาชนนักหนังสือพิมพ์แต่มองว่าตนเองคือกรรมกร ทำหน้าที่ในการสื่อสารเรื่องราวข่าวสารถึงกรรมกรแรงงาน ต่อมาเมื่อมีภาพพยนต์เข้ามาซึ่งเดิมก็มีเพียงหนังของชนชั้นสูงเท่านั้น แต่หลัง 14 ตุลาคม 2516 ที่ประเทศไทยได้กลับเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยอีกครั้ง การต่อสู้ของกรรมกรฮาร่าเพื่อแรกร้องสิทธิสวัสดิการอาจารย์จอน อึ้งภากรณ์ ได้ถ่ายทำหนังสั้นชีวิตของกรรมกรฮาร่า ขึ้นมาเพื่อสื่อสารต่อสังคม ยังมีโปร์เตอร์ แผ่นป้าย เสื้อรณรงค์ และเมื่อเกิดพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยขึ้นมาก็มีความพยายามในการจัดอบรมเรื่องการสื่อสารเมื่อมีคอมพิวเตอร์เข้ามา ด้วยการจัดอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ ส่งอีเมลฯลฯ นี่คือความพยายามในการสื่อสารของแรงงาน ซึ่งต้องเข้าใจด้วยว่าทำงานแต่ในโรงงานไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ต้องฝึกกันตั้งแต่เบื้องต้นเลย แต่ตอนนี้มีมือถือสมาร์ทโฟนสมารถสื่อสารกันได้ง่ายมากขึ้น คิดว่าพัฒนาการด้านการสื่อสารของแรงงานจะก้าวไปไกลสู่สังคมได้มากขึ้น” นายศักดินา กล่าว20160908_1754281

ด้านนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ได้นำเสนอผลการศึกษาเรื่องถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมกร ที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ว่า คุณถวัติเป็นกรรกรนักหนังสือพิมพ์ที่ผลิตหนังสือพิมพ์กรรมกรมาเพื่อขาย และก็ขายได้อยู่ได้ระยะหนึ่งที่เดียว ด้วยแนวคิดของคุณถวัติที่ต้องการสื่อสารข่าวสารของแรงงานในยุคนั้น เป็นหนังสือพิมพ์เพื่อชนชั้นล่าง ซึ่งคนมักดูถูกว่าชนชั้นล่างไม่มีความรู้ ด้วยมองว่าแรงงานเป็นคนอื่นเช่นแรกยุคอุตสาหกรรมเป็นแรงงานจีน ต่อมาก็เป็นแรงงานภาคอีสานมาจากถิ่นฐานอื่น แรงงานจึงเป็นคนอื่นมาโดยตลอด คุณถวัติได้ยกย่องชนชั้นกรรมกรผ่านการสื่อสารเป็นหนังสือพิมพ์ที่บอกเล่าคุณค่าของคนใช้แรงงาน และเมื่อต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยคุณถวัติก็ประกาศร่วมสู้เคียงบ่ากับอาจารย์ปรีดี พนมยงในปี 2475 การต่อสู้ร่วมกับกรรมกรโรงสี โดยมองข้ามความเป็นเชื้อชาติ มองเพียงความเป็นชนชั้นเดียวกันแบบไม่มีการแบ่งแยก เป็นความภาคภูมิใจในความเป็นกรรมกร หรือชนชั้นแรงงาน

“หากให้มองว่า การสื่อสารของแรงงานในอดีตนั้นด้วยความเป็นชนชั้นส่วนใหญ่ของประเทศในอดีตข่าวสารแรงงานจึงเป็นข่าวหลักบนหน้าหนังสือพิมพ์ และด้วยมุมมองที่ว่าสื่อมวลชนก็เป็นแรงงานจึงนำเสนอประเด็นแรงงาน หากมาดูสื่อมวลชนปัจจุบันจะเห็นภาพของการเสนอข่าวสารของธุรกิจเป็นข่าวใหญ่หน้าหนึ่ง เช่นประเด็นค่าจ้างแรงงานที่ปรับขึ้นเมื่อปี 2556 ซึ่งมาถึงวันนี้ยังไม่มีการนำเสนอเลยว่าไม่ปรับขึ้นค่าจ้างจะกระทบกับสังคมอย่างไร แต่หากมีการเรียกร้องของแรงงานให้ปรับขึ้นค่าจ้างสื่อมวลชนจะรีบไปถามทางสภาอุตสาหกรรม นายจ้างว่าหากปรับขึ้นค่าจ้างจะกระทบกับสถานประกอบการหรือไม่ ซึ่งไม่มีการสื่อสารถึงปัญหาแรงงานว่าไม่ปรับค่าจ้างแล้วชีวิตเป็นอย่างไร ซึ่งชัดเจนว่า แนวคิดสื่อมวลชนอย่างคุณถวัติ และสื่อมวลชนในอดีตคือชนชั้นเดียวกันเป็นกรรมกรผู้ใช้แรงงานเหมือนกัน กับแนวคิดของสื่อมวลชนปัจจุบันที่มองว่าตนเองไม่ใช่แรงงานการนำเสนอข่าวจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงาน”  นายศิโรจน์กล่าว

ส่วนนายสุเมธ สมคะเน ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย เล่าถึงการทำงานสื่อสารว่า การเข้ามาทำงานสื่อมวลชนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2539-2540 ที่มีการปรับตัวของกิจการอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้าที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานจำนวนมากที่ต้องตกงาน ซึ่งตอนนั้นมีการทำข่าวสารเรื่องราวของแรงงาน ในการเคลื่อนไหวต้องการงานทำ และการดูแลจากภาครัฐ ในปัจจุบันแรงงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานยานยนต์ที่ทำงานอยู่ในภาคตะวันออก ซึ่งไกลจากการสื่อสารของสื่อกระแสหลักที่กระจุกตัวอยู่แต่ในกรุงเทพ ส่งผลให้ข่าวสารของแรงงานไม่ปรากฏมากหนัก เพราะว่าสื่อไม่ทราบเรื่องราวของแรงงานเพราะไกลข้อมูลข่าวสารในการประสานงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งตอนนี้สหภาพแรงงานฯกำลังจะได้รับการสนับสนุนจากสสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ในการฝึกนักสื่อสารของแรงงาน

นายสุเมธ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันปัญหาแรงงานเปลี่ยนไปเป็นประเด็นแรงงานนอกระบบ และปัญหาแรงงานข้ามชาติ การค้ามนุษย์ พบกระทบด้านสิทธิแรงงาน การถูกเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งเป็นเรื่องดราม่าสำหรับสังคม แต่คิดว่าประเด็นแรงงานไม่จำเป็นต้องดราม่าก็ได้อยากให้แรงงานฝึกที่จะเล่าเรื่องราวของแรงงาน การทำงาน ชีวิตของแรงงานแบบไหนก็ได้ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย หากมีการสื่อมากๆสื่อมวลชนก็ต้องสนใจ

“การสื่อสารปัจจุบันทุกคนสามารถสื่อสารได้ด้วยตนเองแล้วผ่านสื่อโซเซีลยมีเดีย ซึ่งหากแรงงานสื่อสารกันเองได้จำนวนมากแม้สื่อมวลชนไม่ไปข่าวสังคมก็เข้าใจประเด็นแรงงาน หากถามว่าสื่อคือแรงงานหรือไม่ตนว่าเป็นแรงงานแต่คุณภาพชีวิต และสิทธิในการเสนอข่าวยังมีปัญหาเพราะยังไม่มีสหภาพแรงงานหรือองค์กรแรงงานมาดูแลคุ้มครองบรรณาธิการหรือสื่อมวลชนเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีเสรีภาพจริง ” นายสุเมธ กล่าว

ในเวทีแลกเปลี่ยน นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวถึงการทำงานของสื่อว่า “ในอดีตการทำงานของสื่อมวลชนเป็นอย่างไรจากหัวข้อที่ตั้งคำถามว่า หนังสือพิมพ์ กรรมกร…จากคุ้นเคยกลายเป็นอื่นนั้นจากเดิมความรู้สึกของสื่อมวลชนคือกรรมกร คนงาน และแรงงาน จึงทำงานข่าวเพื่อชนชั้น แต่ในปัจจุบันแม้ว่า สื่อมวลชนจะอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานฉบับเดียวกันก็จริง แต่ไม่รู้สึกถึงความเป็นแรงงาน เป็นกรรมกรรู้สึกว่าเป็นอีกชนชั้นทางสังคม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การสื่อสารเป็นอุตสาหกรรม เป็นธุรกิจมีทุนสนับสนุนการทำงานจึงต้องเปลี่ยนไปเพื่อผลกำไร และตอบสนองแหล่งทุน จึงไม่สามารถสื่อสารประเด็นแรงงานได้อย่างเดิม “นี่คือความหมายของจากคนที่เคยคุ้นเคยปัจจุบันกลายเป็นอื่น” ”

20160908_1850191

นายสมศักดิ์ สุขยอด ประธานสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้าประเทศไทย กล่าวว่า การทำงานของสื่อมวลชนปัจจุบันไม่ค่อยสนใจ และไม่เข้าใจประเด็นแรงงานการสื่อสารส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับข้อเสนอของตัวผู้ใช้แรงงาน อาจเป็นได้ว่าจากเดิมในอดีตรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันสำนึกทางชนชั้นมีร่วมกัน แต่ปัจจุบันแนวความคิดเปลี่ยนการทำงานเปลี่ยนเน้นเพียงธุรกิจ เศรษฐกิจจนลืมเรื่องคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ เช่นเรื่องค่าจ้างจะพอกินหรืออยู่ได้หรือไม่ทั้งที่การทำงานทุกคนต้องอาศัยค่าจ้างแรงงานเหมือนกัน

“จากการที่เคยชุมนุมและเดินเท้าเข้ากรุงเทพของกลุ่มแรงงานจากจังหวัดระยองเพื่อให้รัฐแก้ไขปัญหาและสื่อสารต่อสังคม มีเพียงวอยเลเบอร์ที่เกาะติดทำข่าวแรงงาน ซึ่งนี่ก็เป็นการสื่อสารของแรงงานเพื่อชนชั้นของนักสื่อสารแรงงาน และยังมีไทยพีบีเอสที่ถือว่าเป็นทีวีที่ทำข่าวของคนชั้นล่างโดยเสนอข้อเสนอของความต้องการของแรงงานที่ชัดเจน ไม่บิดเบือน แรงงานต้องการช่องทางสื่อสาร การสื่อสารของแรงงานมีความพยายามในการพัฒนา แต่ว่าสื่อกระแสหลักที่ทำหน้าที่หากไม่ทำหน้าที่ในการสื่อสารเพื่อคนชั้นล่างเลยแสดงว่าเขามีแนวคิดสนองทุนหรือไม่” นายสมศักดิื กล่าว

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน