นักวิชาการชี้ การจ้างงานระยะสั้น: ความท้าทายของไทย และอาเซียน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นักวิชาการฟิลิปปิน ชี้ผลวิจัยพบ 6 ประเทศในอาเซียนใช้การจ้างงานแบบยืดหยุ่น ไม่มีมาตรฐาน ไร้การคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน นักวิชาการ-แรงงานไทยเสนอมีกฎหมายครอบคลุม เหลือแต่การบังคับใช้ แม้ศาลพิพากษาให้นายจ้างต้องปฏิบัติ เชียร์สหภาพพร้อมใจกันฟ้องอีกจนกว่ารัฐจะกำหนดมาตรฐาน ออกแนวปฏิบัติเพื่อความเท่าเทียม

วันที่ 25 สิงหาคม 2557 คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันปรีดี พนมยงค์ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ สถานีโทรทัศน์ RSU Wisdom TV และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ได้จัดสัมมนาเรื่อง การจ้างงานระยะสั้น : ความท้าทายของไทย และอาเซียน ที่โรงแรมสุโกศล พญาไท กทม. โดยมีผู้เข้าร่วมราว 80 คน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายมาร์ค ศักเซอร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวว่าการจ้างงานระยะสั้น ค่าจ้างต่ำไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เป็นเรื่องที่รัฐกับนายจ้างเป็นผู้กำหนดขึ้นเพื่อผลักดันเศรษฐกิจ หรืออ้างว่าเป็นการแก้ไขระบบเศรษฐกิจ มีความคิดเรื่องการจ้างงานที่เท่าเทียมมีส่วนร่วมของแรงงาน และเสริมพลังที่มุ่งมั่นให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ หากขาดแคลนแรงงานเศรษฐกิจก็เดินหน้าไม่ได้ การต่อสู้กับแนวคิดการจ้างงานระยะสั้น ในเชิงนโยบายที่ครอบคลุมหลายด้าน เป้าหมายเพื่อการมีงานทำ และได้รับค่าจ้างสวัสดิการที่เท่าเทียมกัน มีกติกากฎหมายที่ขจัดการจ้างงานที่เอาเปรียบ และความพยายามในการเสริมพลังให้แก่ผู้ใช้แรงงาน และเพื่อการยับยั้งการจ้างงานระยะสั้นลดการขัดแย้งกับรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลักที่เน้นใช้แรงงานราคาถูกเป็นองค์ประกอบของการแข่งขัน การบูรณาการด้านเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนในปี 2558 จะทำให้สถานการณ์การจ้างงาน การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีทางการค้า การบริการ การลงทุน อาจเกิดการขยายการจ้างงานระยะสั้น เพื่อการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน นโยบายด้านการพัฒนาต่างๆต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคมด้านการจ้างงานด้วย

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

Dr. melisa Serrano มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ได้นำเสนอรายงานการศึกษา เรื่องการจ้างงานระยะสั้นในอาเซียนบางประเทศว่า จากการศึกษารูปแบบการจ้างงานแบบยืดหยุ่นใน 6 ประเทศ คืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เป็นการศึกษา 3 ฝ่าย รัฐ นายจ้าง และสหภาพแรงงาน ภายใต้กรอบกฎระเบียบรูปแบบการจ้างงาน การจ้างงานชั่วคราวระยะสั้นผ่านนายจ้างจัดหางาน ซึ่งแต่ละประเทศก็มีนิยามการจ้างงาน ระบบสัญญาจ้าง กฎระเบียบมาตรฐานการจ้างงาน การคุ้มครองทางกฎหมายมีข้อต่างกัน เช่น การกำหนดระยะเวลาการจ้างงานตายตัว สัญญาจ้างชัดเจน แต่เป็นการระยะสั้น งานชั่วคราว การจ้างงานตามโครงการ จ้างงานไม่เต็มเวลา(Part –time wart) หลายรูปแบบวิธีการ ซึ่งเป็นการจ้างงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความมั่นคง รายได้ต่ำไม่มีความแน่นอน สิทธิทางหลักประกันทางสังคมจำกัด ถึงไม่มีเลย เพราะระยะการจ้างงานสั้น หรือไม่มั่นคง ต้องย้ายงานไปหลายพื้นที่ หลายสถานประกอบการ หลากรูปแบบตามที่นายจ้างรับเหมาจัดหางานไว้ อาจอยู่ในกิจการสิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ หรือยานยนต์ ซึ่งแรงงานเหล่านี้ก็จะไม่ได้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ หรือได้รับการพัฒนาฝีมือให้เชี่ยวชาญ เป็นแรงงานทักษะต่ำไม่มีโอกาสก้าวหน้า ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงกับผู้เยาว์ และเป็นกลุ่มแรงงานที่ไม่สามารถรวมตัวตั้งเป็นสหภาพแรงงานได้ จากการคุ้นพบลักษณะการจ้างงานนอกมาตรฐานนี้พบโดยทั่วไปใน 6 ประเทศ ยกเว้นระบบการจ้างงานนอกมาตรฐาน และการจ้างงานชั่วคราวผ่านบริษัทจัดหางานในประเทศสิงคโปร์ แต่ในอีก 5 ประเทศมีการจ้างงานระบบนี้เพิ่มมากขึ้น เช่นอินโดนีเซีย ร้อยละ 65 ของแรงงานที่ทำงานในระบบ(ข้อมูลปี 2553) มาเลเซีย 1 ใน 4 ของแรงงานที่มีการจ้างงานแบบนอกระบบ ฟิลิปปินส์ 1 ใน 3 ของแรงงานระดับล่างในสถานประกอบการ ส่วนในประเทศไทยข้อมูลปี 2555 ร้อยละ 63 ของการจ้างงานทั้งหมดอยู่นอกระบบ ประเทศเวียดนาม ใช้สัญญาจ้างงานกว่า 1 ใน 3 มีระยะเวลาจ้าง 1-3 ปี

การจ้างงานรูปแบบที่ไม่มีมาตรฐานนั้นสัมพันธ์ระหว่างGDP โดยเฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เช่นในปีที่มีความเติบโตด้านเศรษฐกิจต้องการใช้แรงงานจำนวนมากมีการว่าจ้างผ่านสำนักงานจัดหางานเพิ่มขึ้น ส่วนในปีที่มีการชะลอตัวความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจะลดน้อยลง มีการใช้สัญญาจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาเกือบทุกภาคการจ้างงานในหลายอาชีพ ในสถานประกอบการมีการจ้างเหมาช่วงมากขึ้น

ส่วนนายจ้างมีความเห็นต่างกันไปเรื่องการจ้างงานระยะสั้น และแรงงานเหมาช่วง ด้วยเพราะมีความต้องการแรงงานที่ไม่แน่นอน ต้องการลดกำลังการผลิต ลดกำลังแรงงาน และทรัพยากรที่กระจุกตัวอยู่เฉพาะธุรกิจหลัก และการจ้างงานนอกระบบมาตรฐานเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางธุรกิจด้านทรัพยากรบุคคล หรือเพื่อสนองตอบความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจแบบวันต่อวัน(ระยะสั้น)

หากถามว่าการจ้างงานเหมาช่วงทำให้ต้นทุนลดลงหรือไม่ จากผลสำรวจของ MEF ในปี 2548 จากบริษัท 99 แห่ง พบว่า ร้อยละ 40 ต้นทุนในการจ้างเหมาช่วงของฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36 ตอบว่า ช่วงก่อนการจ้างงานเหมาช่วงมีต้นทุนต่ำกว่า และร้อยละ 24 ว่าต้นทุนเท่าเดิม โดยสรุปจึงไม่แน่เสมอไปว่าการจ้างงานเหมาช่วงจะช่วยลดต้นทุน

จากกรอบความสัมพันธ์แบบ 3 ฝ่าย มิติความคอรบคลุมตามภาคการทำงานประเภทงาน และกิจกรรมทางธุรกิจ กรณีอย่างผ่อนปรน คือ ไม่มีการกำหนดอนุญาตให้มีการจ้างงานผ่านการจัดหางาน จ้างแบบไม่มีมาตรฐาน กรณีควบคลุมเข้มงวด คือมีการระบุกิจกรรมทางธุรกิจ หรือประเภทของงานที่อาจใช้แรงงานที่จัดหาโดยบริษัทรับเหมาช่วง สัญญาจ้าง หรือผู้จัดหาแรงงาน

มิติการจ้างงานระยะเวลา แบบผ่อนปรน ไม่มีเวลากำหนดสูงสุดไว้ แบบควบคลุมเข้มงวดมีการกำหนดข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในสัญญาแรก จะสามารถต่ออายุสัญญาได้กี่ครั้ง และจำนวนปีสูงสุดที่สามารถทำงานภายใต้สัญญาจ้างงานแบบกำหนดระยะเวลาได้

มิติ กฎระเบียบเรื่องการจ้างงานของบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้จัดหาแรงงาน ระบบผ่อนปรน มีกฎหมาย และกฎระเบียบเรื่องการจัดหาและจัดส่งแรงงาน แบบควบคลุมอย่างเข้มงวด กฎหมาย และกฎระเบียบเรื่องจัดหาและจัดส่งแรงงาน เสริมด้วยกฎมายพิเศษที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับปฏิบัติการในการจัดหา และส่งแรงงานเช่น ข้อกำหนดเรื่องทุน เรื่องการเป็นเจ้าของ เครื่องมือและอุปกรณ์ การจดทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน

มิติข้อกำหนดความรับผิดชอบร่วมระหว่างสถานประกอบการ ผู้ใช้แรงงาน และบุคคลที่สามซึ่งจัดหาแรงงาน ผ่อนปรนไม่กำหนด ควบคลุมอย่างเข้มงวด กำหนดบริษัทหลักหรือสถานประกอบการที่ใช้แรงงานมีความรับผิดร่วมกับผู้จัดหาแรงงานสำหรับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างของลูกจ้างที่ผู้จัดหาแรงงานจ้างมา

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

หากจัดกลุ่มประเทศตามกรอบการควบคลุม ระบบผ่อนปรน ค้นพบในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ประเภทควบคลุมอย่างเข้มงวดในการจ้างงานคือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ส่วนประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ อยู่ระหว่างกึ่งกลางทั้งสองแบบ แต่มีกรอบกฎหมายที่ควบคลุมอย่างเข้มงวด ซึ่งไม่ได้ประกันว่าจะสามารถปกป้อง หรือจำกัดการเอาเปรียบ หรือละเมิดสิทธิแรงงานได้ ซึ่งในส่วนสหภาพแรงงานมีการใช้กลยุทธ์หลายรูปแบบเพื่อหยุดยั้งการจ้างงานไม่มั่นคงนอกมาตรฐาน และเพื่อคุ้มครอง เป็นปากเป็นเสียงให้ลูกจ้างที่ได้รับการจ้างงานนอกมาตรฐานด้วย แม้ว่าแรงงานกลุ่มนี้จะไม่ได้รวมกลุ่มหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน มีความร่วมมือรวมตัวกันระหว่างสหภาพแรงงาน (FSPMI และSBSIในอินโดนีเซีย) การรวมพลังเชิงรุกในแรงงานภาคบริการ คือ UNI-MLC ในมาเลเซีย จัดให้มีโครงสร้างตัวแทนในระดับสถานประกอบการ ในกลุ่มสหภาพแรงงานยานยนต์ในประเทศไทยมีที่มีการจ้างงานเหมาช่วง และคณะอนุกรรมการลูกจ้างเหมาช่วงของUNI-MLC ที่DiGi Telecom

ในฟิลิปปินส์มีการสร้างอำนาจต่อรองในระดับสถานประกอบการเกี่ยวกับความมั่นคงในการทำงาน และจำกัดงานที่จะจ้างงานเหมาช่วง ส่วนในสหภาพแรงงานยานยนต์สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ(สรส.)ในประเทศไทยการเพิ่มค่าจ้าง เพิ่มสิทธิประโยชน์ และการจ้างงานลูกจ้างเหมาช่วงให้เป็นลูกจ้างประจำ ในสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ใช้โครงสร้างไตรภาคีระดับอุตสาหกรรมเพื่อการสานเสวนาทางสังคม เพื่อเสริมกรอบทางกฎหมาย ใช้โครงสร้างใหม่ที่มีตัวแทนลูกจ้างแบบสัญญา และลูกจ้างแบบชั่วคราวภายในสภาองค์การลูกจ้างระดับชาติ

โดยสรุปยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบาย 6 ประเทศในอาเซียน พบว่าใน 5 ประเทศ ยกเว้นเวียดนามมีการรวมตัวจัดตั้งลูกจ้างนอกมาตรฐานอย่างจริงจัง มี 4 ประเทศคือมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ใช้รูปแบบโครงสร้างใหม่ในการเป็นตัวแทน ประเทศฟิลิปปินส์ และไทย มีการขยายความครอบคลุมให้ลูกจ้างนอกมาตรฐานสามารถเจรจาต่อรองร่วมได้ ประเทศฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ได้ใช้โครงสร้างอุตสาหกรรมแบบไตรภาคี และมี 4 ประเทศ คืออินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามที่เสริมสร้างกรอบนโยบาย

สรุปว่า ต้องใช้แนวทางหลายมิติเพื่อแก้ปัญหาการจ้างงานไม่มั่นคงนอกมาตรฐานที่เพิ่มขึ้น ต้องมีการจัดตั้ง และใช้นวัตกรรมรูปแบบการมีตัวแทน และการฟื้นฟู การเจรจาต่อรองร่วม ขยายให้ครอบคลุมลูกจ้างนอกมาตรฐานด้วย ต่อรองให้นำลูกจ้างเหล่านี้มาเป็นลูกจ้างประจำ และจำกัดการจ้างงานเหมาช่วงของฝ่ายบริหาร ใช้ยุทธศาสตร์การต่อรองกับนายจ้างหลายราย ใช้การสานเสวนาทางสังคมโดยใช้โครงสร้างไตรภาคี การจัดทำกรอบความตกลงระดับชาติกับรัฐบาล และองค์กรนายจ้าง เพื่อลดช่องว่างความคุ้มครองในกฎหมายแรงงาน เพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ และความเท่าเทียมในกฎหมายแรงงาน บังคับใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ การกำหนดค่าจ้างมาตรฐานสำหรับทุกคน ระบบประกันสังคมให้ความคุ้มครองทุกคนรวมทั้งสุขภาพ ต้องอาศัยความตระหนักรู้ในระดับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของงานนอกมาตรฐาน และความเต็มใจที่จะนำรูปแบบการเป็นตัวแทนกับรูปแบบการต่อรองใหม่มาใช้เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับการจ้างงานแบบไม่มั่นคง

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

Mr. John Richotte ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารแรงงาน และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.) กล่าวถึงการจ้างงานสัญญาระยะสั้น และมาตรฐานแรงงานสากลว่า การที่แรงงานกลุ่มเปราะบางไม่ได้รับการจ้างงานที่มีชื่อเรียกกันแบ่งแยกหลายแบบ ซึ่งเป็นการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ไม่แน่นอนทำให้เกิดปัญหา ILOยอมรับว่าการจ้างงานเป็นของนายจ้างที่จะว่าจ้างลูกจ้างได้ ILO มีบทบาทเพียงทำหน้าที่กระตุ้นให้รัฐบาลให้การคุ้มครอบดูแลด้วยการออกกฎหมายซึ่งต้องอิงกับสถานการณ์การจ้างงานที่เกิดขึ้นจริง มีการสร้างกลไกเพื่อเฝ้าดูแลการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ควรกำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติ และให้ความจำกัดความการจ้างงานที่เป็นอิสระนั้นมีความมั่นคงอย่างไร การหลีกเลี่ยงการจัดสวัสดิการเป็นการจ้างงานที่ไม่เหมาะสมกับลูกจ้างด้วยการเลี่ยงบาลี และการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิผลเพียงใด เมื่อมีการจ้างงานที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นจำนวนมากไม่ว่าจะนิยามครอบคลุมลูกจ้างไม่ว่าจะอยู่ในประเภทไหน ดูว่าลูกจ้างคนนั้นทำงานรูปแบบใดเป็นเหมาค่าแรงเป็นแรงงานมาจากบริษัทข้างนอกหรือว่าเป็นคนรับงานไปทำที่บ้านต้องมีการบัญญัติมาคุ้มครองหากเป็นการจ้างงานปกติโดยตรงที่ต้องทำประจำๆต้องจ้างลูกจ้างให้ทำงานที่มั่นคง หากต้องการจ้างงานที่ไม่มั่นคงต้องเป็นงานลักษณะที่ไม่ประจำ การจ้างงานนั้นมาใช้เครื่องมืออุปกรณ์ของโรงงาน หรือว่าของบริษัทรับเหมาช่วง ซึ่งอนุสัญญาILOฉบับที่ 198 ว่าด้วยความสัมพันธ์การจ้างงาน เสนอให้รัฐบาลทำ การทบทวนและปรับแก้กฎหมายขอบข่ายเพื่อการคุ้มครองลูกจ้างที่อยู่ในความสัมพันธ์การจ้างงาน โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อเรียก เสนอว่าควรควบคลุมสถานการณ์การจ้างงานใหม่ๆที่เกิดขึ้นด้วย

เหตุผลที่ใช้การจ้างงานบริษัทเหมาช่วงเพราะง่ายต่อการไล่ออก เป็นระบบการจ้างงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งนำมาใช้ในการจ้างงาน

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าการจ้างงานที่ไม่มั่นคง และไม่ได้มาตรฐานซึ่งขณะนี้มีตัวเลขสูงขึ้นนั้น ด้วยแนวคิดการจ้างงานแบบนอกระบบเป็นระบบการจ้างงานแบบยืดหยุ่น เป็นสุภาษิตไทยที่ว่ามีงานมีเงิน ไม่มีงานไม่มีเงินงานดีเงินดีเป็นต้น มุมมองวิชาการที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ประสบการณ์ของผู้ใช้แรงงานหรือไม่ หากรัฐจะแก้ไขปัญหาต้องดูความเป็นไปได้หรือไม

มีนักศึกษามีการทำวิจัยกรณีการจ้างงานเหมาค่าแรงในกิจการธนาคาร กับระบบโรงงาน มีแนวโน้มจะทำให้ลูกจ้างประจำเป็นลูกจ้างไม่ประจำ เลิกจ้างได้ไม่ต้องกลัวตกงาน เพราะกลับมาทำที่เดิมได้ทันทีเงินเดือนเท่าเดิมเป็นระบบการจ้างงาน และสวัสดิการ เมื่อมีค่าจ้างสูงขึ้นก็มีการจ้างงานนอกระบบเพิ่มมากขึ้น การเลิกจ้างคนงานเหมาค่าแรง คนงานเหมาช่วงกระทำได้ง่าย และมีการทำให้แรงงานในระบบออกนอกระบบมากขึ้น ใช้ในระบบโรงงาน หรือลูกจ้างคอปกขาวมากขึ้น

แม้ขณะนี้จะมีการกำหนดกฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองทำให้การเลิกจ้างไม่คล่องตัว เพราะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และมีระบบประกันสังคมรองรับ ซึ่งในปี2540 วิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงานคนในระบบการจ้างงานที่มั่นคง ส่งผลในมีการจ้างงานที่ไม่มั่นคงเพิ่มมากขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น การจ้างงานนอกระบบเป็นการนำมาใช้ในการลดต้นทุนเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ รัฐจะมาอุ้มลูกจ้างไม่ได้ ลูกจ้างต้องปกป้องตนเองต้องคุยกับเอเยนที่มีการย้ายงานไปเรื่อยๆทุก 3 เดือนตามที่ได้ทำสัญญาไว้ สหภาพแรงงานก็ดูตามเงื่อนไขที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์กำหนดที่ตีความมากมาย ตามกระทรวงอุตสาหกรรมแยกแบ่งไว้ ตามการจดทะเบียน เช่นภาคบริการ จะมารวมกับกิจการยานยนต์ไม่ได้

กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตร 11/1 ที่ได้มีการออกมาบังคับใช้เพื่อการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในสถานประกอบกิจการเดียวกันโดยไม่มีการแบ่งว่าเป็นประเภทไหน แต่ก็มีการฟ้องจนศาลฎีกามีคำพิพากษาออกมา แต่ก็ยังตีความกันอยู่ว่าคุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง หากคุ้มครองแค่ไหน ยังไม่มีแนวปฏิบัติออกมา ยังมีเรื่องการจ้างงานแรงงานข้ามชาติ และแรงงานนอกระบบ เป็นการจ้างงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีการคุ้มครองซึ่งปล่อยให้เป็นเรื่องที่ต้องไปเรียกร้องเอาเองของแรงงานใช่หรือไม่

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต นำเสนอว่า แนวโน้มการจ้างงานระยะสั้นที่ถือว่าเป็นการจ้างงานที่ไม่ได้มาตรฐานมีเพิ่มมากขึ้น กระแสแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ทำให้การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตในการแข่งขันทางการค้า หากไม่มีการจ้างงานแบบยืดหยุ่นจะลดต้นทุนไม่ได้

การจ้างงานระยะสั้นที่ไม่ได้มาตรฐานผลกระทบคือ 1. ทำให้ลูกจ้างขวัญกำลังใจต่ำ ธุรกิจรับเหมาค่าแรง หรือการจ้างงานเหมาช่วงออกไป จ้างบริษัทเอาว์ซอส รายย่อยมากลูกจ้างรู้สึกถึงความไม่มั่นคง เข้าออกงานบ่อย 2. ผลิตภาพต่ำ จ่ายราคาถูกแต่แข่งขันไม่ได้ เพราะลูกจ้างไม่มีความรู้ องค์กรไม่มั่นคงรายได้ต่ำ และไม่มีสวัสดิการ ใช้การจ้างงานระยะสั้น เป็นการทดลองงานจนกว่าดูแล้วเหมาะสมกับองค์กรจึงจะจ้างประจำ อำนาจต่อรองเป็นของนายจ้าง 3. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การจ้างงานที่สะท้อนความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจมีอยู่ในประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งต้องใช้พลังการผลักดันของลูกจ้างที่เป็นฐานของความเป็นประชาธิปไตยในระบบสหภาพแรงงาน

ต้องบังคับใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเข้มงวด และค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยยังไม่เพียงพอ ค่าจ้างไม่สูงพอที่จะทำให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอ เมื่อค่าจ้างต่ำครอบครัวต้องหย่าร้างครอบครัวแตกแยก เด็กต้องส่งไปอยู่กับตา ยาย ปู่ ย่า ทำให้เด็กไม่มีคุณภาพ ทั้งนี้ยุทธศาสตร์การจ้างงานต้องมีคุณภาพ มีความเท่าเทียมกันทั้งค่าตอบแทน และสวัสดิการ และค่าจ้างปัจจุบันขั้นต่ำไม่เพียงพอ ซึ่งขบวนการแรงงานได้มีการทำข้อมูลพบว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่จะพออยู่ได้อย่างมีคุณภาพคือ 400 กว่าบาท

ต่อมาช่วงบ่ายได้สัมมนาเรื่อง การส่งเสริมงานที่มีคุณค่าสำหรับการจ้างงานระยะสั้น-ตัวอย่างที่ดี

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

Dr. melisa Serrano นำเสนอว่า การจัดทำกฎหมายให้ครอบคลุมการจ้างงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรมีการกำหนดกฎหมายในการรวมตัว และให้การคุ้มครองการเจรจาต่อรองร่วมรัฐควรมีการผลักดันในเกิดการจ้างงานที่ได้มาตรฐาน มีนโยบายการจ้างงานที่มีคุณค่าให้กับแรงงาน ส่งเสรมการจ้างงานที่มีค่าจ้างสูงจะทำให้ประเทศมีเศรษฐกิจที่ดี มีการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน จำกัดการจ้างงานที่ไม่มั่นคง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า นายจ้างมีหลายแบบเป็นผู้ประกอบการตรง หรือรับเหมาเอาลูกจ้างเข้ามาทำงานในสถานประกอบการ ซึ่งเป็นลักษณะการจ้างงานประจำ การจ้างงานลูกจ้างชั่วคราว การทดลองงาน และการคุ้มครองแรงงานที่มีการจ้างงานสัญญาจ้าง และดูแลด้านสิทธิแรงงาน

วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มีการจ้างงานประเภทที่หนึ่ง เป็นการจ้างงานที่ไม่เอาเปรียบเป็นแรงงานไทย แต่หลังวิกฤติการจ้างงานแรงงานข้ามชาติเข้ามา และการจ้างงานเหมาช่วง เหมาค่าแรงกฎหมายคุ้มครองแรงงานบอกว่าไม่ว่าจะจ้างลักษณะไหนก็ต้องดูแลคุ้มครองรับผิดชอบตามหน้าที่กฎหมายให้เกิดความเท่าเทียมกัน องค์กรแรงงานสะท้อนผลักดันเรื่องการคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้รัฐปฏิบัติหน้าที่ และแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสม ซึ่งในปี 2551 ได้มีการแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 11/1 ให้การคุ้มครองแรงงานโดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ประกอบการต้องมีหน้าที่จ่ายเท่าเทียมกันทั้งค่าจ้าง และสวัสดิการ ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างตรงในสถานประกอบการ หรือเป็นลูกจ้างจากบริษัทรับเหมาค่าแรงเข้ามาทำงานในสถานประกอบกิจการ และหาทุกวิถีทางในการช่วยเหลือบังคับใช้กฎหมาย ศาลได้มีคำพิพากษาตัดสิน ศาลก็ส่งเสริมระบบการอยู่ร่วมกันแบบทวิภาคี ใช้รูปแบบการจ้างงานแบบนี้ต้องให้สิทธิในการรวมตัว การมีองค์กรลูกจ้าง การต่อรองเป็นสิ่งที่ดี ลูกจ้างต้องปฏิบัติการรวมตัวกันเพื่อต่อรอง ผลักดันให้มีการรับลูกจ้างเข้าทำงานประจำเพิ่มมากขึ้น มองอีกแบบเมื่อมีการรับลูกจ้างประจำเพิ่มมากขึ้นส่วนแบ่งที่นายจ้างต้องแบ่งปันให้ก็ต้องลดลง แต่การจ้างงานเป็นระบบจะได้ใจลูกจ้างการผลิตสินค้ามีคุณภาพมากขึ้น

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นำเสนอว่า วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ส่งผลต่อการขับเคลื่อนร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 เพื่อการคุ้มครองแรงงาน แต่ยังมีประเด็นเรื่องการจ้างงานที่ไม่ได้มาตรฐานการจ้างงานเหมาช่วง เหมาค่าแรงขึ้น การเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1 เพื่อให้เกิดการคุ้มครองลูกจ้างในครอบคลุมมากขึ้น โดยมีการเสนอในปี 2551 ยกระดับให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงได้มีความเท่าเทียมกับลูกจ้างประจำในสถานประกอบการ กรณีนายจ้างที่เลี่ยงการจ้างงานลูกจ้างประจำ ซึ่งศาลได้สั่งให้นายจ้างสถานประกอบการต้องจ่ายค่าจ้างสวัสดิการให้เท่าเทียมกัน แต่ปัญหาคือยังไม่มีแนวปฏิบัติจึงยังคมมีปัญหาทางการบังคับใช้

สหภาพแรงงานไหนที่มีการจ้างงานเหมาค่าแรงให้ทยอยฟ้องร้องเพื่อให้ศาลตัดสิน จำนวนคดีที่ฟ้องมากขึ้น คิดว่าจะส่งผลสะเทือนกับรัฐ เพราะวันนี้ยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย แม้ว่ากฎหมายให้การคุ้มครอง และศาลสั่งลงมาแล้วก็ตาม

การทำงานตามเงื่อนไขสัญญาจ้างที่มีการทดลองงาน หากมีการทดลองงาน 120 วัน แล้วบรรจุงานอันนี้ลูกจ้างรับได้แต่การจ้างงานทดลองงานหรือสัญญาจ้างระยะสั้นมีมีระยะเวลาทำให้ลูกจ้างขาดความมั่นคงในการทำงาน

การจ้างแรงงานข้ามชาติ ลาว กัมพูชา พม่า มีการนำเข้ามาทำงานในหลายประเภทกิจการ ทั้งยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หลายประเภทกิจการที่ยังต้องห้ามมีการส่งเสริมการลงทุนจากBOIที่ห้ามใช้แรงงานข้ามชาติในการผลิต ซึ่งผิดกฎหมายแต่รัฐก็ไม่บังคับใช้ หรือแก้ไขปัญหาแต่อย่างไร ซึ่งนายจ้างมุ่งใช้แรงงานข้ามชาติเพราะราคาถูก ไม่มีสวัสดิการ

องค์กรแรงงานได้เสนอกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนดเรื่องอัตราค่าจ้างตามทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อให้เกิดการส่งเสริมแรงงานฝีมือให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น ระบบการจ้างงานตามฤดูกาล การจ้างงานตามโครงการมีนายจ้างใช้วิธีการจ้างงานแบบซิกแซ็กเหล่านี้

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการอาวุโสมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า การจ้างงานระยะสั้นการจ้างงานเหมาค่าแรงเป้นการจ้างงานที่ไม่มีคุณค่า การคุ้มครองแรงงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดวิธีการเลิกจ้างให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย การจ้างงานที่มีการกำหนดระยะเวลาสัญญาจ้างชัดเจนหากมีการจ้างโดยมีสัญญาต่อเนื่องกฎหมายก็ให้การคุ้มครอง ซึ่งการจ้างงานแบบสัญญาจ้างระยะเวลาจะเป็นการจ้างงานตามฤดูกาล แม้กฎหมายกำหนดไว้ว่าการจ้างงานลูกจ้างในประเภทงานเดียวกันแบบถาวรเป็นลูกจ้างเหมาค่าแรงจากบริษัทอื่นกฎหมายให้การคุ้มครองแต่นายจ้างก็ยังซิกแซ็กอีก ขบวนการจ้างงานมีความหลากหลายมากขึ้น หลากหลายบริษัทในสถานประกอบการ

การเข้าสู่การสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างเหมาค่าแรง มีปัญหาด้วยสภาพกิจการที่นายจ้างจดทะเบียนเป็นประเภทกิจการภาคบริการ ไม่รวมถึงการที่นายจ้างสั่งย้ายไปตามโรงงานต่างๆหากเข้ามาร่วมกับสหภาพแรงงาน เป็นกลุ่มแรงงานที่ไม่มีทักษะฝีมือ เพราะย้ายงานบ่อยจึงไม่มีความเชี่ยวชาญด้านใดๆ

ดร.ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ นำเสนอว่า การทำนโยบายที่แก้ไขปัญหาต้องบังคับใช้ได้ สภาพการจ้างงานที่ไม่มั่นคงนั้นไม่ได้มีเพียงการจ้างงานในระบบอุตสาหกรรม เอกชน แต่ตอนนี้เข้าสู่ระบบรัฐ มหาวิทยาลัยด้วย เป็นการจ้างงานระบบสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาชัดเจน และมีการต่อสัญญาไปเรื่อยๆ ด้วยความคิดว่าการจ้างงานแบบนี้เป็นการลดต้นทุน ส่วนลูกจ้างต้องการค่าจ้าง และความมั่นคง โดยได้รับการคุ้มครอง การที่จะแก้ไขต้องมีการปรับทัศนคติ

ท้ายสุดร้อยละ 60 เป็นแรงงานที่อยู่ในเศรษฐกิจกระแสหลักทั้งนายจ้างและผู้บริโภคในเศรษฐกิจกระแสหลัก ในโลกโลกาภิวัตน์ผนวกกันกับการเปิดเสรีอาเซียนที่จะมาถึงประเทศไทยเรื่องแรงงานคิดว่าไม่ได้ประโยชน์อะไร การเคลื่อนย้ายแรงงานที่ไม่มีฝีมือของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา ซึ่งการเปิดเสรีแรงงานมีเพียง 8 อาชีพ ที่มีทักษะฝีมือเท่านั้น ซึ่งคนไทยคงไม่ได้เคลื่อนย้ายไปใช้แรงงานในอาเซียน แต่การเปิดเสรีอุตสาหกรรมไทยที่กระทบต่อการจ้างงานของลูกจ้างที่มีการเคลื่อนย้ายปรับตัว กฎหมายไทยดีแต่บังคับใช้ไม่ได้ ซึ่งรัฐอ้างเรื่องกำลังคน การจ้างงานเท่าเทียมกันทำได้ยาก แต่ต้องทำให้เท่าเทียมกันได้

นางสาวอรัญญา ภคภัคร โครงการการจ้างงานระยะสั้นในเอเชียINdustriALL กล่าวว่าในประชาคมยุโรปมีการแก้ปัญหาการจ้างงานผ่านนายหน้า ซึ่งกฎหมาย EU ว่าด้วยการจ้างงานผ่านเอเจนซี่ กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ถูกจ้างงานชั่วคราวผ่านบริษัทเหมาค่าแรง และเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการจ้างงานชั่วคราวผ่านเอเจนซี่ โดยการการันตีหลักการที่ลูกจ้างต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และการที่บริษัทเอเจนซี่มีสถานะเป็นนายจ้างในขณะเดียวกันมีกรอบที่เหมาะสมสำหรับการใช้รูปแบบการจ้างงานผ่าเอเจนซี่ โดยมีมุมมองในเรื่องการสร้างงาน หลักการว่าด้วยการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ตลอดช่วงเวลาของการทำงานที่บริษัท นายจ้างหลัก สภาพการจ้างของลูกจ้างที่ถูกจ้างผ่านเอเจนซี่ต้องไม่น้อยกว่าสภาพการจ้างที่คนงานจะได้รับหากถูกจ้างโดยตรงจากบริษัทนายจ้างหลัก สำหรับการทำงานประเภทเดียวกัน

การได้รับปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันทั้งในด้านค่าจ้างสวัสดิการสิทธิต่างๆ รวมทั้งต้องได้รับการแจ้งเมื่อมีตำแหน่งงานในบริษัทนายจ้างหลักว่าง เพื่อการมีงานทำที่มั่นคง ประเทศที่เป็นสมาชิก EUต้องปรับปรุงมาตรฐานเพื่อให้ลูกจ้างเอเจนซี่มีโอกาสได้รับการฝึกอบรม การศึกษาเพิ่มเติมทักษะ มีบทลงโทษกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายEU

ข้อเสนอของINdustriALL คือบริษัทนายจ้างหลักควรเปิดโอกาสบรรจุเป็นลูกจ้างประจำของบริษัทนายจ้างหลัก การเจรจาต่อรอง ทำข้อตกลง กรณีที่จะมีการใช้การจ้างงานที่ไม่ประจำ โดยได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ด้านค่าจ้าง สวัสดิการ ประกันสังคม มาตรฐานด้านความปลอดภัย สิทธิในการเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อการคุ้มครอง หรือบังคับใช้กฎหมาย และสหภาพแรงงานต้องมีนโยบายให้การคุ้มครอง และรวมกลุ่มลูกจ้างงานสัญญาจ้างระยะสั้น มีการแก้ข้อบังคับสหภาพแรงงานเพื่อเปิดรับลูกจ้างที่ถูกจ้างงานไม่ได้มาตรฐานเป็นสมาชิก และลูกจ้างเหล่านี้ต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน มีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรองร่วมเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการจ้างงานประจำ การปรับปรุงสภาพการจ้างการทำงานของลูกจ้างทุกคน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน