นักวิชาการชี้ ระบบไตรภาคีล้มเหลวต้องปฏิรูป

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ชี้ระบบไตรภาคียังล้มเหลว การได้มาของระบบตัวแทนยังไม่ใช่ตัวจริงขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าความเป็นตัวแทน

วันที่ 10 ตุลาคม 2557 มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ได้จัดรายงานการศึกษา เรื่องไตรภาคี : ความท้าทายในการปฏิรูป ? ที่โรงแรมเซ็นต์จูรี่ ปาร์ค ดินแดง กทม.

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่างว่า ความจำเป็นในการปฏิรูปคณะกรรมการไตรภาคี มีข้อวิจารณ์ ดังนี้ ปัญหาความไม่ชอบธรรม ปัญหาความรับผิดชอบของประชาคม คือ กรรการไตรภาคีไม่ใช่ภาคีที่แท้จริง เพราะบางคณะรัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงกำหนดเช่น คณะกรรมการค่าจ้าง การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทเป็นการกำหนดจากนโยบายของรัฐบาล ที่เห็นว่าควรมีการปรับ กรณีคณะกรรมการประกันสังคมที่มีการลดการส่งเงินสมทบก็เช่นกัน ที่กำหนดโดยอำนาจรัฐบาล บางคณะรัฐบาลเมินเฉย ปล่อยปะละเลย หรือละเมิดต่อไปได้ เช่น คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ สภาที่ปรึกษาและพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ซึ่งเป็นชุดเดียวที่ไม่ใช่ข้าราชการกระทรวงแรงงานเป็นประธาน

คณะกรรมการไตรภาคีไม่ใช่ตัวแทนลูกจ้างที่แท้จริง ไม่ใช่ผู้แทนสหภาพแรงงาน ผู้มีงานทำส่วนใหญ่ไม่ใช่ลูกจ้าง ซึ่งร้อยละ 64 หรือ 25 ล้านคน คือแรงงานนอกระบบการได้มาของตัวแทนมาจากการเลือกตั้ง 1 สหภาพ 1 เสียง โดยไม่คำนึงถึงจำนวนสมาชิก ตัวแทนสหภาพแรงงานมาใช้สิทธิน้อยคือร้อยละ 50 ของทั้งหมด การกระจุกตัวของผู้ลงสมัคร ผู้ได้รับเลือกตั้งผู้ลงคะแนน ผู้แทนลูกจ้างไม่ได้ทำงานเชื่อมโยงกับฐานลูกจ้างหรือถูกตรวจสอบได้

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 84 (7) ได้กำหนดให้คนทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตนในไตรภาคี เป็นแนงคิดธรรมาธิบาลในการบริหาร คือ หลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า โดยมาตรฐานอนุสัญญาฉบับที่ 144 ว่าด้วยการร่วมปรึกษาหารือไตรภาคี 1. รัฐบาลต้องยอมรับการเจรจากับผู้แทนข้างมาก ขององค์การนายจ้าง ลูกจ้าง 2. ผู้แทนองค์กรนายจ้าง ลูกจ้างได้รับการคัดเลือก โดยองค์กรของตนเองอย่างเสรี 3. ผู้แทนทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกันในการปรึกษาหารือกัน ได้รับการปฏิบัติเท่ากัน
ปมความขัดแย้ง ระบบไตรภาคี คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปัญหาวิธีการเลือกตั้ง ตามระเบียบการเลือกตั้งของกระทรวงแรงงานปี 2551 คุณสมบัติ คือต้องเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน หรือกรรมการลูกจ้าง หรือกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ สหภาพแรงงานในพื้นที่แต่ละเขตภาคส่งชื่อผู้ลงคะแนนล่วงหน้า รอรับแจ้งวันเวลาลงคะแนน ห้ามเปลี่ยนชื่อผู้ลงคะแนน

วิธีการเลือกตั้ง คือเลือกตามที่ตั้งของสหภาพแรงงานในพื้นที่เขตภาค 1-10 ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างหลายคณะไตรภาคีพร้อมกัน 1 คะแนนเท่ากับ 1 สหภาพ ไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำของผู้มีสิทธิหรือใช้สิทธิบลงคะแนน เลือกตั้งตามโพยหมายเลขมากกว่าการแข่งขันเรื่องคุณภาพของคนผู้ลงสมัคร

ข้อเสนอปฏิรูปไตรภาคี จะก้าวไปทางไหน ประกอบด้วยวิธีได้มาผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในไตรภาคี คือ 1. เลือกตั้งโดยตรง 1 คน 1 เสียง ไม่ใช่ 1 สหภาพ 1 เสียง 2. เลือกโดยตรง 1 คนหลายเสียง ตามสัดส่วนมากน้อยของสมาชิก 3. มีการคัดสรร ทดสอบก่อนเป็นกรรมการไตรภาคีแบบผู้พิพากษาสมทบ มีการสอบทั้งข้อเขียน และสัมภาษณ์ 5. สภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งมีส่วนร่วมแต่ละคณะไตรภาคี

ประเด็นคุณสมบัติของผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในไตรภาคี 1. เป็นกรรมการสหภาพแรงงานไม่น้อยกว่า 3 ปี 2. อายุขั้นต่ำ 30 ปี ไม่เกิน 60 ปี 3. มีความรู้กฎหมายแรงงาน หรือประสบการณ์ด้านแรงงานอย่างน้อย 5 ปี 4. ต้องมีการกระจายกรรมการไตรภาคีให้ครอบคลุมแต่ละพื้นที่ 5. ตรวจสอบคุณสมบัติให้แน่นอนว่าเป็นกรรมการไตรภาคีที่เป็นนายจ้าง หรือลูกจ้าง 6. ควรเป็นผู้แทนจากสหภาพแรงงานที่แท้จริง คือมีการขจัดตั้งทำงานสหภาพแรงงานจริง ไม่ใช่มีชื่อแต่ไม่ได้ทำหนาที่สหภาพแรงงาน 7. ผู้สมัครเป็นกรรมการไตรภาคี ไม่ต้องมาจากสภาองค์การลูกจ้าง 8. กำหนดคุณสมบัติด้านความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับงานไตรภาคีแต่ละคณะ

การบริหารจัดการเลือกตั้ง คือ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ปรับปรุงระเบียบวิธีการได้มาของกรรมการฯ ดูแลเลือกตั้งตั้งแต่วันรับสมัครจนสิ้นสุดการเลือกตั้ง 2. กำหนดวันเวลารับสมัคร วันลงคะแนนและเปลี่ยนแปลงผู้ใช้สิทธิให้ชัดเจนล่วงหน้าสำหรับการเลือกตั้งไตรภาคีทุกคณะ 3. อำนวยความสะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิลงคะแนน เช่นเพิ่มหน่วยเลือกตั้ง ใช้สำนักงานประกันสังคมทุกจังหวัด พื้นที่เป็นที่ลงคะแนน

บทบาทฝ่ายรัฐกับไตรภาคี คือ รัฐให้ความเป็นอิสระในการทำงานของไตรภาคี แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเป็นกลาง เปิดให้แรงงานทุกภาคส่วนรวมทั้งผู้ไม่สังกัดสหภาพแรงงานมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ใช้สิทธิลงคะแนน และจัดตั้งสภาไตรภาคี

นายโกวิทย์ บุรพธานินทร์ กรรมการมูลนิธินิคม จันทรวิทุร กล่าวว่า ระบบไตรภาคีไม่ใช่ระบบตัวแทนที่แท้จริง การเลือกตั้งที่ได้มาของตัวแทนจากโพยที่มีการส่งมาเพื่อกาเลือก ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกเข้ามาขาดความเชข้าใจ ขาดความรู้ถูกครอบงำได้ง่าย จากผู้ทรงคุณวุฒิ และรัฐ

“กรรมการไตรภาคีที่เข้าไปของแรงงานยะงไม่ได้มาจากตัวแทนที่แท้จริง เพราะไม่สามารถทำหน้าที่บทบาทที่เอื้อต่อประโยชน์ของกลุ่มตน เช่นกรรมการไตรภาคีกับการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นการทำตามนโยบายของรัฐบาลไม่ใช่บทบาทของกรรมการไตรภาคี เพราะความไม่เข้มแข็งของคณะกรรมการไตรภาคีจึงถูกแทรกแซงได้ การที่จะทำให้เกิดการยอมรับบทบาทกรรมการไตรภาคีต้องแสดงบทบาทความเป็นตัวแทนของตนเองเสียก่อน” นายโกวิทย์กล่าว

นายโกวิทย์ยังกล่าวอีกว่า ระบบไตรภาคียังมีระบบอุปถัมภ์อยู่มากมีการวิ่งเต้นของข้าราชการเกษียณอายุเพื่อเข้ามามีบทบาทเป็นที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการไตรภาคีชุดต่างๆ แล้วจะให้เกิดความโปร่งใสได้อย่างไร เมื่อยังมีระบบเล่นพักเล่นพวก เป็นกลุ่มปาร์ตี้การเมืองในอยู่ในระบบกระทรวงแรงงาน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นางรัดกล้า เชาวลิต ผู้อำนวยการกลุ่มงานทะเบียนกลาง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานนำเสนอประบบไตรภาคีเรื่องสิทธิการเลือกตั้งที่กำหนดสัดส่วนเพิ่มจากเดิม 1 สหภาพ 1 เสียง ได้ปรับเพิ่มในส่วนของสัดส่วนกรรมการลูกจ้างกรรมการสวัสดิการที่ได้มีการตั้งตัวแทนในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ซึ่งเปลี่ยนแปลงเมือปี 2551 หลังรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดในมาตรา 84 เพื่อให่แรงงานได้มีสิทธิในการเลือกตัวแทน ต่อประเด็นที่แรงงานมีกมารเสนอให้มีการเลือกตั้ง 1สิทธิ 1 เสียง และตัวแทนต้องมีความเชี่ยวชาญ ภายใต้ขณะนี้มีการตั้งสหภาพแรงงานใหม่เพิ่มมากขึ้นด้วยเหตุใดกระทรวงคงไม่ก้าวล่วงถึงจุดประสงค์ของการจัดตั้งสหภาพแรงงานของลูกจ้างที่มีเข้ามา อีกข้อเสนอต่อการเลือกตั้งเป็นระบบสัดส่วนเช่นเดียวกับที่ศาลแรงงานมีการเลือกตั้ง และกำหนดคุณสมบัติผู้สมัคร ตรงนี้ก็ยังมีข้อกังวลต่อประเด็นการแจ้งระบบสมาชิกมาการตรวจสอบอาจต้องดูที่งบดุลย์การจ่ายค่าบำรุง การดำเนินกิจกรรมจริง ต่อประเด็นข้อเสนอของผู้นำแรงงานการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมแบบ 1สิทธิ 1 เสียง เพื่อให้ผู้ประกันตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทน

ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ ประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ กล่าวว่า ระบบตัวแทนของกรรมการไตรภาคียังมีปัญหา สับสนว่าเป็นตัวแทนของลูกจ้างง หรือนายจ้าง ด้วยคุณสมบัติบางคนที่เข้าไปเป็นตัวแทนมีสภาพเป้นนายจ้างเมื่อทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนก็แสดงความเห้นเข้าข้างรัฐบาง นายจ้างบ้าง ลืมบทบาทหน้าที่ความเป็นตัวแทนของลูกจ้าง อยากให้มีการวิจัยการเข้าไปสู้ระบบไตรภาคีนั้นจริงแล้วผลประโยชน์แท้จริงคืออะไร เพราะค่าตอบแทนเบี้ยประชุมจริงแล้วไม่ได้มากนัก ต่างประเทศผู้นำแรงงานที่เข้าสู่ระบบไตรภาคีเพื่อก้าวเข้าสู่ระบบการเมือง เช่นผู้นำแรงงานในสิงคโปร์ทีได้รับเลือกตั้งเข้าเป็นประธานาธิบดี ในประเทศไทยอะไรคือสิ่งที่ผุ้นำต้องการ สายสะพาย เครื่องราช ได้รับการยอมรับมีหน้าตา ซึ่งทำให้ผู้นำแรงงานดีๆกลายเป็นขุนนาง ทำไมสหภาพแรงงานต้องยึดติดกับระบบไตรภาคี องค์การแรงงานระหว่างประเทศไม่ใช่องค์กรของแรงงานการสร้างระบบไตรภาคีก็เพื่อที่จะสร้างเวทีปรึกษาหารือเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรง ด้วยสหภาพแรงงานกับนายจ้างคือคู่ความขัดแย้งกับ จึงใช้กลไกลไตรภาคีเข้ามาเป็นเวที ซึ่งจริงแล้วเมื่อมีการโหวตก็จะมี 2 เสียงต่อ 1 เสียงซึ่งตนยังไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสหภาพแรงงานเท่าไร

นายAlain Pelce ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กล่าวว่า ILO ได้มีการสร้างระบบไตรภาคีขึ้นมาเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม 3 ฝ่าย คือ ภาคประชาสังคมหรือสหภาพแรงงาน ภาครัฐ และนายจ้าง เป็นการบริหารงานแบบร่วมตัดสินใจไม่ใช่แค่ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเดียว ILO ได้กำหนดเรื่องบทบาทการมีส่วนร่วมไว้ในอนุสัญญา 2 ฉบับคือ อนุสัญญาฉบับที่ 113 และฉบับที่ 144 เพื่อให้เกิดขบวนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย กฎหมาย ไม่ให้เป้นอำนาจรัฐเพียงฝ่ายเดียว เพราะนโยบาย หรือกฎหมายมีผลกระทบต่อลูกจ้าง และนายจ้างโดยตรง ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมต่างๆมักเป็นอำนาจของรัฐในการพัฒนาส่วนใหญ่เป็นการพัมนาโดยไม่มีส่วนร่วม ILO จึงกำหนดอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับให้ภาคีสมาชิกILOปฏิบัติ ไม่ว่าจะให้สัตยาบันหรือไม่ให้สัตยาบันก็ตาม รัฐบาลมีหน้าที่ในการจัดทำรายงานความคืบหน้า การกำหนดบทบาทการมีส่วนร่วมของ 3 ฝ่ายในการมีส่วนร่วม

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน