นักข่าวพลเมือง : มักกะสันมีประวัติศาสตร์แรงงานไทย(1)

รูปปั้นหญิงชายช่วยกันผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้า บ่งบอกถึงคุณค่าและความสำคัญของแรงงานต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศไทยมาตั้งแต่อดีต โดยมีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานให้สังคมได้รับรู้ ตั้งแต่ยุคแรงงานเกณฑ์ ไพร่-ทาส จนเกิดแรงงานรับจ้างที่ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

snapshot6 แรงงานไทย (1)

พัชรี ชมภู  คนงานชิ้นส่วนยานยนต์ซันสตาร์

วันนี้ที่ได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ก็รู้สึกว่าคนงานไทยก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนกันที่พัฒนาประเทศ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

ประสิทธิ์ ประสพสุข  คนงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

พอได้มาที่นี่ก็ทำให้เรารู้เรื่องของประวัติศาสตร์แรงงาน รู้รากเหง้าของเรา ..

คนอื่นที่เป็นคนงาน… ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เค้าได้รับสวัสดิการได้รับสิทธิประโยชน์เช่นปัจจุบันมันได้มาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรซึ่งเป็นบรรพบุรุษของเราทั้งสิ้น

แรงงานไทย (2) แรงงานไทย (3)

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ตั้งอยู่ที่ถนนมักกะสัน เปิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2536  นอกจากจะเป็นสถานที่ศึกษาท่องเที่ยวของผู้ใช้แรงงาน นักเรียนนักศึกษา และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติแล้ว ยังมีเยาวชนจากชุมชนใกล้เคียงที่คอยแวะเวียนมาเติมความหมายให้ชีวิตวัยเยาว์อยู่เสมอ

วรารัตน์ สินสมุทร เยาวชนชุมชนมักกะสัน

อยากให้เพื่อนๆพวกเด็กๆนักเรียนมาเที่ยวจะได้รู้ว่าเป็นยังไง เห็นพวกแรงงานว่าสมัยก่อนลำบากขนาดใหน…

แรงงานไทย (4) แรงงานไทย (5)

20 ปีของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ช่วยเติมเต็มประวัติศาสตร์ที่ขาดหายไปของแรงงานให้สมบูรณ์ขึ้น ในวันที่พื้นที่มักกะสันกำลังจะถูกพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า จึงมีเสียงเรียกร้องให้คำนึงถึงด้านคุณค่าที่มีต่อผู้คนและสังคมด้วย

พัชรี ชมภู  คนงานชิ้นส่วนยานยนต์ซันสตาร์

ตอนนี้กลายเป็นโบราณสถานไปแล้ว การพัฒนาหรือการก้าวไปสู่เทคโนโลยีที่ก้าวนำขึ้นคิดว่าพิพิธภัณฑ์นี้ยังคงต้องอยู่ค่ะ

ลาเร่ อยู่เป็นสุข ประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์

ในกรณีที่จะมีการก่อสร้างมักกะสันคอมเพล็กซ์ตรงนี้ … ถ้าเกิดว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องย้ายออกไป ในส่วนของพี่น้องแรงงานคิดว่าจะร่วมต่อสู้อย่างถึงที่สุดครับ

นักข่าวพลเมือง เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน รายงาน