นักข่าวพลเมือง ตอน องค์กรแรงงานกับข้อเสนอพัฒนารถไฟ

การทำงานของตำรวจรถไฟวันนี้อาจไม่เหมือนทุกวันแม้ว่าจะเป็นการขึ้นตรวจปกติก็ตาม
หลังจากข่าวของเด็กผู้หญิงอายุ 13ปีที่ถูกฆาตกรรมข่มขืนบนขบวนรถไฟสร้างความเศร้าสลดในสังคม นำมาสู่คำถามถึงระบบรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการรถไฟขณะเดินทาง พร้อมคำถามมากมายถึงการทำหน้าที่ของตำรวจรถไฟ

นี่คือภาพของวันหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจรถไฟมักกะสัน กองกับการ 1 กองบังคับการตำรวจรถไฟ ได้ทำหน้าที่ขึ้นตรวจตราร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบนรถไฟบนขบวนรถสายกรุงเทพฯ ปลายทางอรัญประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ หลังเหตุสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นบนรถไฟสายใต้ ด้วยการทักทายถามไถ่ และแจกแผ่นพับ

snapshot69 snapshot68

พ.ต.ต.อดิศัย สุภัทโรภาสพงศ์ สารวัตรสถานีตำรวจรถไฟมักกะสัน กองกับการ 1 กองบังคับการตำรวจรถไฟ “มาช่วยดูแลประชาชน แต่วันนี้ได้เกณฑ์กำลังตำรวจมาช่วยประชาสัมพันธ์ว่าตำรวจรถไฟมีประจำขบวนรถไฟทุกขบวน เพื่อสร้างความอบอุ่นใจและความปลอดภัยในกับประชาชนในการโดยสารรถไฟและจะได้สร้างความเชื่อมั่นด้วย”

โดยการหน้านี้ องค์กรแรงงาน อย่าง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของเด็กหญิงผู้เสียชีวิต และเสนอมาตรการ 4 ข้อเพื่อเพิ่มมาตรการความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้โดยสารอย่างเร่งด่วน คือ 1. เข้มงวดในการคัดเลือกพนักงานที่เข้ามาทำงาน 2. ประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มีการจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแล 3.ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่สามารถใช้งานได้ในทุกขบวน และ 4. กำหนดเวลาในการดื่มสุราและมีการจัดพื้นที่
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอจากทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ที่เสนอให้มีการปรับปรุงโครงสร้างรถไฟใหม่ และขอให้ยกเลิกมติครม.28 ก.ค.2541 เพิ่มอัตราการจ้างพนักงานประจำ เปิดโอกาสพัฒนาบุคลากร รวมทั้งให้สหภาพแรงงานรถไฟมีส่วนร่วมในการจัดพนักงานขึ้นทำการบนขบวนรถด้วย

snapshot73 snapshot74

นางสาวอารีวรรณ พุ่มแพรพันธ์ นักศึกษา “การนั่งรถไฟสบายกว่านั่งรถตู้ เพราะคนเยอะปลอดภัยในการใช้ถนนถ้าเป็นรถตู้จะเกิดอุบัติเหตุง่ายจากข่าวมีรถตู้เกิดอุบัติเหตุบ่อยมากถ้าเป็นรถไฟปลอดภัยและเร็วกว่าด้วยระยะเวลาไม่ต่างกันเท่าไรและก็เดินทางปลอดภัย”
“การที่มีตำรวจรถไฟมาดูแลรู้สึกว่าปลอดภัยขึ้นเยอะ ดีกว่าที่เป็นคนต่างคนต่างมาเจอกันเมื่อก่อนเจอโรคจิตในรถไฟด้วย แผ่นพับได้บอกให้เก็บของมีค่าไว้ใกล้ตัว”

แม้สังคมอาจจะมองว่าการทำงานของการรถไฟเป็นประเภทวัวหายแล้วล้อมคอกก็ตาม และภาพลบๆ ยังคงคิดอยู่ แต่ผู้โดยสารจำนวนมากมายยังคงต้องใช้บริการด้วยความจำเป็นข้อเสนอต่างๆ ขององค์กรแรงงานนั้น สะท้อนความรู้สึกของแรงงาน ซึ่งรวมทั้งพนักงานรถไฟ ที่ต้องการให้รถไฟเป็นบริการสาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกระดับ

นักข่าวพลเมือง นักสื่อสารแรงงาน รายงาน