นักวิชาการ นักกฎหมายแนะประชาชนต้อง ใช้ขบวนการทางการเมือง สังคมดันสำนึกรัฐมนตรี กลับมาคิดถึงประโยชน์ของประชาชน หากไม่ทำก็ฟ้องกรณีเจตนาทุจริตต่อหน้าที่ เตะส่งการออมแห่งชาติเป็นทางเลือกที่ 3 ของประกันสังคม แรงงานนอกระบบห่วงการบริหารประกันสังคมไม่โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ ไม่เป็นองค์กรอิสระ กองทุนการออมบริหารแบบเป็นองค์กรอิสระ มืออาชีพ ไม่อยากฝากเงินอยู่ภายใต้การบริหารของอุ้งมือมาร /กระทรวงการคลังตอบ รัฐมนตรีหวัง สร้างกองทุนออมที่มั่นคงอยู่ได้ต้องร่วมกับประกันสังคม
วันพุธที่ 17 เมษายน 2556 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวชั่น ห้องเมจิก จัดโดย คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ เครือขายการออมแห่งชาติ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบแห่งชาติ สภาผู้สูงอายุแห่งชาติ สภาเด็ก เยาวชนกทม. มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน และแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน (สสส.) ได้จัดสัมมนาวิชาการ เรื่องกองทุนออมแห่งชาติ ถ้าไม่บังคับใช้ใครเสียประโยชน์ มีผู้เข้าร่วมราว 100 คน
นายสมคิด ด้วงเงิน ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติที่ถูกประกาศให้เป็นกฎหมายตั้งแต่พฤษภาคม 2554แล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่มีการเปิดรบสมาชิกเข้าสู่กองทุนฯ แม้ทางกระทรวงการคลังได้มีการประกาศว่าจะเปิดรับสมัครสมาชิกในเว็บไซต์ แต่บอกว่าอยู่ระหว่างการปรับปรุงพร้อมเปิดรับเมื่อไรจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ทำให้ระชาชนที่เป็นแรงงานนอกระบบจำนวน 33 ล้านคน ที่รอคอยอยู่ต้องเสียโอกาสในการออมเงิน และได้รับการสนับสนุนเงินจากรัฐ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในอนาคต เพราะการออมของประชาชนจะทำให้เกิดกองทุนที่มีเงินมหาศาลเพิ่มอีก 1 กองทุน และในอนาคตผู้สูงอายุก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น มีเงินใช้จ่าย ไม่ต้องพึ่งรัฐ เพราะทุกวันนี้ต้องพึ่งรายได้จากเบี้ยยังชีพซึ่งไม่เพียงพอ การเป็นองค์กรอิสระของกองทุนฯ มีการจัดจ้างคนที่มีความเชี่ยวชาญมาบริหารกองทุนจะทำให้เกิดความงอกงามของเงินมากขึ้นอนาคตรัฐบาลอาจไม่จำเป็นต้องจ่ายเบี้ยยังชีพ เมื่อประชาชนมีการออมเงินเข้าสู้ระบบกองทุนการออมแห่งชาติ
นายกรณ์ จาติกวณิช ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการเงิน การคลังฯ และอดีตรับมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า กฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติได้มีการบังคับใช้มาแล้วร่วม 1 ปีเต็ม คนร่างกฎหมายได้กำหนดให้เวลาเตรียมตัวในการวางแผนการจัดตั้งกองทุนไว้ 360 วัน เพื่อให้เกิดความพร้อม ในการจัดตั้งเปิดบัญชีการออม และในปีที่ 2 ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้เตรียมความพร้อมในการบังคับใช้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการ เนื่องจากมีปัญหาเชิงแนวคิด นโยบายรัฐบาลที่ทำให้ประชาชนต้องเสียสิทธิเข้าไม่ถึงกองทุนฯ เพราะการไม่สนับสนุนทางการบริหารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะตามที่เจ้าหน้าที่กระทรวงฯมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการเงิน การคลังฯพบว่า ทางราชการได้ดำเนินการแล้ว แต่ยังอยู่ที่รัฐมนตรีฯยังไม่ลงนาม โดยส่งให้ตั้งแต่กลางปี แต่รัฐมนตรีฯท่านยังไม่ยอมลงนามทำให้ยังทำการเปิดรับสมาชิกหรือดำเนินการาต่อไปไม่ได้
มาวิเคราะห์ว่าใครเสียประโยชน์ ซึ่งสรุปได้ว่า ประชาชนเสียประโยชน์ ในการเข้าถึงสิทธิ การได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการคลัง
การที่รัฐมนตรีฯ ไม่พร้อมเพราะต้องการแก้ไขกฎหมายก่อน คิดว่าเปลี่ยนแปลงได้ กฎหมายทุกฉบับไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่กฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการยอมรับจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านอย่างท้วมท้นอย่างที่มีกฎหมายน้อยมากที่จะผ่านมติโดยส.ส. ทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นเอกฉันท์ การที่จะแก้ไขกฎหมายเป็นหน้าที่ของสภาฯไม่ใช่รัฐมนตรีฯ การที่ประชาชนเข้าไม่ถึงกฎหมายทำให้เสียสิทธิ ประชาชนต้องรักษาสิทธิของตนเอง และตนคิดว่ากฎหมายฉบับนี้มีส่วนดีเป็นการทำให้ประชาชนมีบำนาญชราภาพเป็นการออมเงินเพื่ออนาคต ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนสามารถเข้าถึงสิทธินี้ได้ หากมีการออมเงินเข้าสู่กองทุน เป็นการออมเพื่ออนาคต ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาฯมีหน้าที่ชี้แนะแทนประชาชน ในฐานะส.ส.ก็คงไม่ปฏิเสธในการที่จะปกป้องสิทธิตัวเอง อย่างไรก็ตามก็หวังว่ารัฐบาลจะหยิบยกผลประโยชน์ของประชาชนมากกว่าประเด็นทางการเมือง
กองทุนการออมแห่งชาติ ไม่ใช่ความคิดของตน แต่เป็นเพราะคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่หวังเห็นประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระมีสวัสดิการ เหมือนกับข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และลูกจ้างเอกชน จึงมอบหมายในกระทรวงการคลังรับมาทำในฐานะที่ตนเองช่วงนั้นมีอำนาจอยู่ จึงอยากฝากให้รัฐมนตรีฯดำเนินการเพราะเป็นโค่งสุดท้าย โดยไม่คิดว่ากฎหมายมาจากรัฐบาลไหนคิด เพราะหากรัฐมนตรีฯทำก็ถือเป็นผลงานของรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์
นายกรณ์ จาติกวณิช ยังกล่าวอีกว่า ได้นำเสนอต่อประเด็นใครได้ใครเสียถ้าไม่บังคับใช้กองทุนฯว่า การมีกองทุนการออมแห่งชาติเป็นเรื่องดีๆที่มีความร่วมมือของทุกฝ่ายที่ร่วมกันทำคลอดออกมาเพื่อให้การคุ้มครองคนจำนวนมาก และคิดว่าประชาชนไม่ได้คิดว่าประชาชนกฎหมายฉบับนี้ออกในรัฐบาลไหนหากเป็นประโยชน์กับประชาชนเขาก็รับได้ แต่ผู้มีอำนาจในรัฐบาลนี้ไม่ทำ ซึ่งทำให้ประชาชนราว 30 ล้านคนต้องเสียประโยชน์ไป 1 ปี เป็นเงินคนงานละ 1,000 บาทต่อปีก็รวม 30,000 ล้านบาท หากวันนี้ยังไม่มีการบังคับใช้กองทุนการออมฯรัฐบาลก็ยังมีภาระจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับประชาชนผู้สูงอายุ
นายชนะชัย ประยูรสิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลังกรทรวงการคลัง นำเสนอว่า การที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง มีแนวคิดแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มสิทธิ การรับเงินเกษียณอายุให้หลากหลายขึ้น สามารถรับเงินเป็นบำเหน็จ หรือบำนาญก็ได้ การสมทบเข้ากองทุน ออมได้ไม่มีเพดาน แต่จำกัดการสมทบเงินข้าวของรัฐบาล โดยแก้ให้สะสมได้ร้อยละร้อย จำกัดสมทบปีละไม่เกิน 1,200 บาท ทุพพลภาพแก้ให้รับเงินก้อนได้ และการร่วมกับสำนักงานกฎหมายประกันสังคม ให้เพิ่มเรื่องบำนาญชราภาพเป็นเมนูที่ 3 ในกฎหมายประกันสังคมมาตรา 40 โดยเอาแนวกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติไปทั้งหมด ทั้งสิทธิ และการส่งเงินสมทบ เพราะว่าการทำงานมีลักษณะคล้ายกัน มาตรา 40 มีบำเหน็จจ่ายคืนเงินก้อน จึงเพิ่มเมนู 3 เป็นอีกทางเลือกในกรณีบำนาญชราภาพ
กระทรวงการคลังได้ออกกฎหมายเพื่อมาดูแลประชาชน ให้มีหลักประกันทางรายได้ยามชราภาพเช่นกฎหมายกองทุนการออมฯก็เป็นวิวัฒนาการเพื่อสร้างหลักประกันทางรายได้ วันที่ 22 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมารัฐมนตรีได้นำเสนอถึงการบังคับใช้กองทุนต้องมั่นคง และได้เห็นปัญหาผลกระทบของกองทุนอื่นๆที่บริหารแล้วมีปัญหาจึงได้ให้กระทรวงการคลังร่วมกับประกันสังคมศึกษาการประกันสังคมแรงงานนอกระบบให้เป็นทางเลือกที่ 3 ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 1-2 อาทิตย์ข้างหน้านี้ ด้วยเห็นว่าสำนักงานประกันสังคมมีความพร้อม และมีสาขาทั่วประเทศ อกแบได้โดยผ่านกฤษฎีกา ไม่ต้องนำเข้าสภา คนอายุ 60 ปีก็สามารถเป็นสมาชิกออมได้ เมนู 3 จะเปิดให้คนอายุ 60-80 ปีเป็นสมัครสมาชิกได้
นายอเนก จิระจิตรอาทร รองประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบกทม. แสดงความเห็นว่า ทำไมกระทรวงการคลังต้องปล่อยให้รอ เมื่อมีกฎหมายออกมาบังคับใช้แล้ว ไม่อยากเห็น รัฐบาลเล่นเกมซ์ทางการเมืองเพราะทำให้แรงงานนอกระบบเสียสิทธิ การแก้กฎหมายนั้นเห็นว่าทำได้หากเป็นการเพิ่มสิทธิให้กับประชาชน แต่อยากให้ประกาศใช้เสียก่อน เพราะยังไม่มีการบังคับใช้ก็ไม่ทราบว่ากฎหมายมีข้อบกพร่องอย่างไร หากบกพร่องก็จะได้แก้ตรงจุด ไม่ใช่ให้ชาวบ้านรอคอยโดยไม่รู้เมื่อไรจะได้เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิกได้ซะที
การที่จะนำเรื่องการออมแห่งชาติซึ่งถือเป็นองค์กรอิสระ ที่ครอบคลุมคุ้มครองประชาชนจำนวนมากไปอยู่ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม โดยหวังพึ่งบุคลากรคนทำงาน หรืออ้างว่าเป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันก็ตาม ตนไม่เห็นด้วย เพราะกองทุนการออมฯเป็นกฎหมายใหญ่ที่แยกเป็นอิสระ และหากเปิดรับสมัครสมาชิกจะมีเงินไหลเข้าสู่กองทุนจำนวนมาก จากการบริหารที่ต้องมีมืออาชีพเป็นอิสระมาบริหารจะทำให้กองทุนโตขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าจะมีเงินมากกว่ากองทุนประกันสังคมอีกด้วย จึงไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลจึงมองไม่เห็นคุณค่าของการส่งเสริมการออม
ประเด็นสำนักงานประกันสังคมทุกวันนี้ก็มีภาระมากอยู่แล้ว และเมื่อร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับประชาชน ที่เสนอให้เป็นองค์กรอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ถูกส.ส.ปฏิเสธโหวตร่างนี้ตกไป ก็ไม่เหลือที่พึงที่น่าไว้ใจการบริหารงานทุกวันนี้ตรวจสอบไม่ได้ อยู่ภายใต้ระบบราชการ และกองทุนการออมฯเป็นการเปิดให้เป็นสมาชิกโดยสมัครใจ คนคงไม่อยากเอาเงินไปฝากไว้กับอุ้งมือมารแน่นอน ทางแรงงานนอกระบบคงกังวลใจหากต้องนำเงินส่วนนี้ไปควบรวมกับประกันสังคม ซึ่งตนคิดว่าการฟ้องร้องศาลปกครองคงต้องทำหากรัฐมนตรียังไม่ใส่ใจที่จะลงนายบังคับใช้กำหมาย
นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กล่าวว่า เหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดทุกข์คือรัฐมนตรีต้องออกไป ในฐานะผู้ที่ผลักดันให้เกิดกฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เนื่องจากตนเองตั้งใจทำข้อมูลผู้สูงอายุ โดยได้ทำการศึกษากรณีการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยมานาน พบว่าเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมีปัญหา 3 อย่าง คือ 1. ปัญหาสุขภาพ 2. ปัญหาความจน 3. ปัญหาความเหงา
ปัญหาความยากจนเป็นประเด็นหลัก ถามว่าทำไมถึงจน เพราะความจนเป็นพื้นฐานของคนไทย คนไทยเป็นเกษตรกร ทำมาหากิน ทำบุญสุนทานสะสมไว้ชาติหน้า ไม่มีการเก็บออมเงินทอง พออายุ 60 ปี ก็ยังต้องทำงาน ทำไม่ไหวขอลูกหลานกิน ลูกไม่มี หรือลูกจนก็ไม่มีกิน จึงต้องพัฒนาตัวเอง ต้องออมเงินที่ละเล็กที่ละน้อย ต้องเป็นผู้สูงอายุแบบมีศักดิ์ศรี จึงผลักดันให้มีกองทุนการออมแห่งชาติ เป็นพระราชบัญญัติเป็นกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 กำหนดให้มี คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีที่ประชุมร่วมด้วยทุกครั้งน้อยครั้งมากที่จะไม่เข้าร่วมประชุมคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่วนนายกคนปัจจุบันเคยเข้าร่วมประชุมเพียงครั้งเดียว ข้อมูลเพียงแค่นี้ก็รู้แล้วว่านายกคนไหนที่สนใจเรื่องผู้สูงอายุ แต่ก็เป็นได้ว่างานท่านมีมาก รองประธานบางครั้งก็ต้องทำหน้าที่แทน โดยคิดว่าการที่มีกองทุนการออมแห่งชาติ จะทำให้ผู้สูงอายุไม่จน มีชีวิตอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีมากขึ้น ไม่ต้องขอเงินใครเพื่อดำรงชีพ มีการกำหนดทุนตั้งต้นที่ 1,000 ล้านบาทสนับสนุนกองทุนดำเนินการ
ถ้ารัฐยังไม่มีการบังคับใช้กองทุนการออมฯใครเสียประโยชน์ คือ 1. กลุ่มแรงงานนอกระบบ 33 ล้านคน 2. ประเทศไทยเสียประโยชน์ในข้อที่ว่าคนไทยไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี การที่คนไทยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี คือต้องมีปัจจัยทางเศรษฐกิจ 3. พรรคเพื่อไทย เนื่องจากกฎหมายกองทุนการอมแห่งชาติได้ออกมาแล้วต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะการที่ประชาชนเสียประโยชน์ถึง 33 ล้านคน แล้วประชาชนไม่พอใจที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ไม่บังคับใช้ พรรคก็จะเสียประโยชน์ฐานเสียงเลือกตั้งจำนวนมาก
นายไพสิฐ พาณิชกุล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การที่รัฐบาลไม่บังคับใช้ผิดหรือไม่ คิดว่าผิด
ประเด็นที่ 1. แต่ทางราชการเจ้าหน้าที่มีความพยายามที่จะทำงาน แต่ต้องอยู่กับรัฐมนตรีผู้มีอำนาจว่าจะลงนามให้มีการบังคับใช้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานตามหน้าที่หรือไม่ หากทำเกินบทบาทที่รัฐมนตรีมอบหมายอาจเจอกับวิชามารได้
ประเด็นที่ 2. กลไกลศาลปกครองกรณีรัฐมนตรีไม่ใช้อำนาจหรือใช้อำนาจแล้วสร้างผลกระทบกับประชาชน หรือทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ก็ตามสามารถนำไปฟ้องศาลปกครองได้
ประเด็นที่ 3. ใช้กลไกรัฐสภากรณีการไม่ปฏิบัติหน้าที่ บังคับใช้กฎหมาย หรือต้องลุกขึ้นมาตรวจสอบ หากบังคับใช้กฎหมายกองทุนการออมแล้วจะส่งผลกระทบต่อบริษัทเอกชนที่ทำประกันชีวิต ทำให้เสียลูกค้า เพราะประชาชนมีทางเลือกในการออมเพื่อการชราภาพมากขึ้น ซึ่งน่าคิดว่ามีใครมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่ทำประกันหรือไม่ หากมีการบังคับใช้กฎหมายการออมฯจึงพยายามที่จะไม่บังคับใช้
ประเด็นที่ 4. ส่วนท่าทีของรัฐมนตรีฯที่ต้องการปรับแก้ไขกฎหมาย หรือไม่บังคับใช้ ไม่บังคับใช้ กฎหมายภาคแรงงาน ประชาชนต้องใช้การต่อสู้ทางการเมืองที่ทะให้กลไกการออมนี่สู้กับระบบทุนกระแสหลัก การระดมทุนการออม
ประเด็นที่ 5 กรณีรัฐธรรมนูญที่กล่าวถึงตัวการออกกฎหมาย การบังคับใช้ กฎหมายที่ออกมาแต่ไม่มีการอกกฎกระทรวงมารองรับให้เกิดการบังคับใช้ได้ ความล่าช้า อาจเป็นเพราะการเคลื่อนไหวของประชาชนสุภาพเกินไป กลไกการคุ้มครอง การออกกฎหมายไม่ออกกฎหมาย สามารถฟ้องรัฐมนตรีได้ ด้วยเป็นเจตนาทุจริต มองเพิ่มเติมอีกว่า การลงโทษทางสังคม การเมืองก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายลงโทษ อยู่ที่ประชาชนผู้เสียประโยชน์ สื่อมวลชนที่จะทำให้รัฐมนตรีสำนึกกลับมาคิดถึงประชาชน
ประชาชนจะใช้กลไกไหน ใช้กลไกรัฐสภา กรรมาธิการรัฐสภาในการสอบสวน ใช้กลไกศาลปกครองการจัดการเอกสารก็ต้องทำเองไม่ต้องรอขบวนการผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)ได้มีเอกสารที่เสนอมาให้แล้ว การเคลื่อนไหวทางสังคมกดดัน รัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า ความจริงเคยมีพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2497 แต่ไม่มีการบังคับใช้เพราะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่บ่อย แรงงานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจระบบประกันสังคม ส่วนธุรกิจเอกชนมองว่ารัฐบาลทำระบบประกันแข่งกับเอกชน ภาคประชาชนก็ไม่เข้มแข็งพอในการต่อสู้ กฎหมายประกันสังคม พ.ศ.2533 จึงได้เขียนให้บังคับใช้ภายในกี่ปี หากไม่ทำจะมีบทลงโทษ ส่วน กฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติไม่มีการกำหนดโทษหากไม่บังคับใช้ การให้เข้าสู่ระบบมาตรา 40 ประกันสังคม การโอนให้กองทุนออมแห่งชาติเป็นทางเลือกที่ 3 จะออกแผนเป็นอย่างไร และรัฐมนตรีจะทำอย่างไรกับกฎหมายกองทุนออมแห่งชาติที่ประกาศออกมาเป็นกฎหมายแล้ว แม้ไม่มีกองทุนการออมเป็นทางเลือกที่ 3 ประกันสังคมมาตรา 40 ก็เป็นทางเลือกอยู่แล้ว เพราะทั้ง 2 ระบบเป็นระบบสมัครใจ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอาจเข้าใจภารกิจ อำนาจตัวเองผิดว่า สามารถแก้ไขกฎหมายได้ ที่จริงไม่ใช่หน้าที่รัฐมนตรี อำนาจมีไม่ทำกลับผลักภาระไปให้สำนักงานประกันสังคมให้สร้างเมนูที่ 3 ของมาตรา 40 อ้างไม่มีกำลังคน หากทำเองจะมีความซ้ำซ้อน หากคิดอย่างคนที่มีอัตราสูงคือ ไม่บังคับใช้เพราะกฎหมายเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ การฟ้องร้องศาลปกครองเอกสารประกอบการฟ้องมีอยู่แล้วทั้งเอกสารโฆษณาของกระทรวงฯที่ประกาศจะรับสมัครสมาชิกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน