แรงงานอยุธยา ถอดบทเรียนความช่วยเหลือแรงงานน้ำท่วม

คสรท. จัดถอดบทเรียนความช่วยเหลือแรงงาน ปิดศุูนย์ช่วยเหลือฯบางปะอิน ปรับเป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์หลังน้ำลด ปัญหาเพิ่มทั้งเลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าจ้าง นักวิชาการย้ำกระทรวงแรงงานต้องช่วยแรงงาน ไม่ใช่ทุน ตามเจตณารมณ์การก่อตั้งกระทรวง ผู้นำแรงงานเสนอมาตรการ 5 ข้อ เน้นนายจ้างอย่าฉวยโอกาส 

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ณ เต็นท์ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณริม กม. 1 ถนนสายเอเชีย บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานพระนครศรีอยุธยาและใกล้เคียง ได้ประกาศปิดศูนย์ฯในการช่วยเหลือสิ่งของให้กับผู้ประสบภัย เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้บรรเทาลงบ้างแล้ว และในส่วนของอาสาสมัครซึ่งเป็นแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดต้องมีภาระในการกลับเข้าทำงาน หลังจากที่มีการกู้นำคมอุตสาหกรรมบางปะอิน (บ้านหว้า) อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยานิคมอุตสาหกรรมโรจนะ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา  นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา  นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี

นางสาวพีรกานต์ มณีศรี ผู้ประสานงานศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บางปะอินกล่าวว่า หลังจากการเปิดศูนย์ช่วยเหลือแรงงานฯขึ้นมากว่า 1 เดือน ได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้แรงงานกว่า 3,000 คน การทำงานนั้นครอบคลุมไปถึงพื้นที่นวนครปทุมธานี จากดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานอย่างกว้างขวางจำนวนมาก ซึ่งมีแรงงานบางส่วนได้เดินทางกลับต่างจังหวัด และมีบางส่วนที่ไม่ได้กลับต่างจังหวัด เนื่องจากไม่มีเงิน กลัวตกงาน และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรใด ส่วนของศูนย์จึงได้เข้าไปช่วยเหลือ

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า จากสภาพปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบกับผู้ใช้แรงงานจ้านวนมาก คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยไม่ใช่องค์กรของรัฐ ความช่วยเหลือที่ศูนย์แรงงานฯเข้าไปให้ความช่วยเหลือนั้นไม่ได้เลือกว่าเป็นชุมชนชาวบ้าน หรือแรงงาน เข้าไปในส่วนที่น้ำลึกมาก ซึ่งได้รับความช่วยเหลือแลกคือแผ่นโฟมจากไทยพีบีเอส และเต็นท์จากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) อำนวยการประสานงานให้ความช่วยเหลือเรื่องการระดมความช่วยเหลือจากกลุ่มสหภาพแรงงาน และองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกคสรท. รวมทั้งพันธมิตร ทำให้ศูนย์นี้มีคนที่แวะเวียนมาบริจาคสิ่งของจำนวนมาก ทำให้มีส่งของในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยไม่ได้ขาด แม้กระทั้งนมที่เด็กต้องการก็ได้รับการบริจาคมาให้ตามยี่ห้อที่มีการร้องขอมาตลอดเดือนกว่า

ความช่วยเหลือวันนี้ได้ปิดลงในส่วนของการระดมข้าวของในส่วนของพระนครศรีอยุธยา แต่ยังมีการเปิดทำการรับเรื่องราวร้องทุกข์ในประเด็นปัญหาของแรงงานที่ยังมีความเดือดร้อน เพื่อเสนอต่อรัฐให้ทำการแก้ไขปัญหา วันนี้มีการเปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์ และพบว่ามีปัญหาการเลิกจ้างคนงานจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเหมาค่าแรง ซึ่งตัวเลขที่รัฐเปิดเผยการเลิกจ้างเพียงหลักพันคน แต่กลุ่มคนที่มาร้องเรียนที่ศูนย์แรงงานฯซึ่งอาจเป็นที่ที่แรงงานรู้จักเพียงไม่มากนักยังมีตัวเลข 3,000 กว่าคนแล้ว ฉะนั้นตัวเลขที่เลิกจ้างจริงตนเองคิดว่าหน้าจะมากกว่าที่รัฐนำเสนอแน่นอน คลาดว่าคงเป็นแสนคนขึ้นไปแล้ว ปัญหาที่พบต่อมาคือ มีบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ขาดการติดต่อกับลูกจ้างทำให้แรงงานกลุ่มนี้เคว้งคว้างไม่รู้จะติดต่อกับนายจ้างอย่างไร แรงงานกลุ่มนี้รัฐควรจะเข้ามาดู เพราะตกงานก็ไม่ใช่ จ้างงานอยู่หรือไม่ก็ไม่รู้ ต่อไปนี้ศูนย์ ช่วยเหลือนี้จะเปิดเป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษารับเรื่องราวร้องทุกข์รวบรวมปัญหาส่งให้รัฐเข้ามาแก้ไข หรือหากต้องเป็นคดีความฟ้องร้องก็จะหาทางให้ความช่วยเหลือกันต่อไป

นายจำลอง ชะบำรุง หนึ่งในผู้ประสานงานศูนย์ช่วยเหลือแรงงานฯกล่าวว่า บ้านอยู่บางซ้าย พระนครศรีอยุธยา อาสาสมัครที่มาอยู่รวมกันทั้งหมด 20 กว่าคน เป็นผู้ประสบภัยบ้านน้ำท่วมเหมือนกัน การที่มาอาสาทำงานที่ศูนย์ฯได้นั้นเพราะคำว่าสหภาพแรงงานทำให้มีการรวมตัวกันในการให้ความช่วยเหลือกันในส่วนของสมาชิกสหภาพแรงงาน การที่มีการรวมตัวกันทำงานเป็นการสานสัมพันธ์ความร่วมมือทำให้เกิดความเหนียวแน่นกับมวลสมาชิกสหภาพแรงงานในกลุ่มต่างๆทั่วประเทศที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือมากขึ้น

เดิมทีการทำงานของสหภาพแรงงานในพระนครศรีอยุธยา ไม่ค่อยจะได้เข้าไปประสานการทำงานร่วม การที่คสรท.เข้ามาช่วยทำให้เกิดศูนย์ฯที่ทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ถือว่าเป็นโอกาสดีที่ทำให้รู้ว่า แรงงานที่อยู่ในหอพักที่ห่างไกลไม่สามารถที่จะออกไปรับหรือร้องขอรับความช่วยเหลือจากใครได้ จากการประสานงานทำให้ศูนย์ฯได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือแรงงานทั้งส่วนที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และไม่ได้เป็นสมาชิก ชุมชนที่เป็นแรงงานนอกระบบ คนที่ไม่มีทะเบียนบ้าน ศูนย์ไม่มีการเลือกปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัย วันนี้จากการทำงานทำให้ได้เพื่อนแรงงานจำนวนมากขึ้น มีแรงงานที่ประสบภัยเหมือนกันเข้ามาร่วมช่วยทำงานมากขึ้นจากคนที่ขับเรือไม่เป็นก็ขับเรือได้ ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือคนป่วย คนเจ็บ คนที่ต้องการถุงยังชีพ แม้กระทั้งสุนัขที่ต้องเดือดร้อนถูกทอดทิ้ง ตอนนี้การปรับบทบาทการทำงานของศูนย์ช่วยเหลือแรงงาน มาทำเรื่องการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ้งยังคงเป็นการทำงานร่วมกับทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สภาพปัญหาที่พบในพื้นที่อุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นหลังน้ำลด ซึ่งขณะนี้มีแรงงานหลั่งไหลกลับมาจากบ้านที่ต่างจังหวัด เพื่อเข้าทำงาน แต่ปัญหาคือ โรงงานยังไม่สามารถเปิดการผลิตได้ทำให้แรงงานไม่มีที่พึ่ง เพราะไม่มีเงิน ไมมีงาน จึงมีคนที่เข้ามาขอความช่วยเหลือมากขึ้น ความชัดเจนในการที่จะมีงานทำ หรือว่าถูกเลิกจ้าง ไม่มีระบบเข้ามาดูแล มาตรการที่รัฐช่วยเหลือที่ชัดเจนต่อแรงงาน ทำให้ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานมีคนมาขอความช่วยเหลือมากขึ้น หลังจากปิดศูนย์ช่วยเหลือฯด้วยการมอบถุงยังชีพให้กับผู้ที่เดือดร้อนวันนี้จนหมด ก็ยังกังวลอยู่ว่าหลังจากนี้ผู้ใช้แรงงานที่กลับมาและยังไม่ได้ทำงาน จะเกิดปัญหาใหม่ เช่นการกู้หนี้ยืมสินมากขึ้นหรือไม่

นายอุดม ไกรย์ราช  ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานพระนครศรีอยุธยา และใกล้เคียง กล่าวว่า การที่น้ำท่วมอุตสาหกรรมทำให้เห็นความสำคัญของครอบครัว มีโอกาสที่จะอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ได้ดูแลลูก พบมิตรใหม่ การที่มาตั้งศูนย์ฯทำให้ได้รู้จักกับคนหลายคน จากวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ เรียกว่า วิกฤตแรงงาน วิกฤตค่าแรง วิกฤตเลิกจ้าง วิกฤติที่ต้องลุ่นว่า ยังมีอะไรเหลืออยู่บ้างในชีวิต บ้าน รถ ครอบครัว ศูนย์นั้นได้มีการพูดคุยกันเพื่อตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือ เริ่มตั้งที่ศูนย์หนองแค แต่เป็นว่า อาจไม่ตอบสนองด้านให้ความช่วยเหลือกับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งทำงานและพักอาศัย จึงได้มีการย้ายพื้นที่ตั้งที่กม.1 ถนนสายเอเชิย บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา
การตั้งศูนย์ทำให้เกิดกำลังการทำงานที่มีความหลากหลายมากขึ้น มีคนใหม่ๆเข้ามาช่วยกันทำงานอย่างขยันขันแข็ง ด้วยการนำการทำงานของคนรุ่นใหม่ๆ เป็นการสร้างทีมทำงานที่ใช้วิกฤติน้ำท่วมเข้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งหวังว่าจะเกิดการทำงานที่มีคุณภาพในอนาคตของกลุ่ม

การเปิดศูนย์ช่วยเหลือเป็นความร่วมมือของขบวนการแรงงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานที่เข้าไม่ถึง เป็นการทำงานหนุนเสริมหน่วยงานราชการที่อาจมีงานล้นมือ ซึ่งต่อไปบทบาทต้องมีการปรับเป็นการรับเรื่องราวร้องทุกข์ส่งให้รัฐแก้ไข

นายปกรณ์  อารีกุล  เครือข่ายนักศึกษา กล่าวว่า เป็นการทำงานรวมกันของนักศึกษาจากหลายสถาบัน ซึ่งได้เข้ามามีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานในช่วงงาน 1 พฤษภาคม 2554 และเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเก็บข้อมูลปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด และส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก รวมถึงอุตสาหกรรมและผู้ใช้แรงงานจำนวนมาก  การที่ได้ลงมาช่วยที่ศูนย์แรงงานบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา เพื่อการลงเก็บข้อมูลผลกระทบ และข้อเสนอ เห็นพลังของแรงงานที่รวมตัวกันในนามสหภาพแรงงาน แม้ว่าวันๆจะต้องทำงานหาเช้ากินค้ำ แต่เมื่อเกิดวิกฤตทำให้สหภาพแรงงานมีกลไกลทำงานในความช่วยเหลือ กลไกความช่วยเหลือจากรัฐมีการสั่งการล้าช้าทำให้ปัญหาการทำงานนั้น ไม่ตอบสนองในความช่วยเหลือ โดยที่ไม่มีการสั่งการให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ถูกเรียกว่า ประชากรแฝง ความช่วยเหลือที่พบว่ามีชาวบ้านที่เดือดร้อนที่ไม่ใช่แรงงานในอุตสาหกรรมเข้ามาขอความช่วยเหลือ ทั้งนม และข้าว จากศูนย์เป็นความลำบากใจมาก

นายอำนาจ บัวเสือ รองประธานสหภาพแรงงานฮอนด้าประเทศไทย กล่าวว่า ตั้งแต่เปิดศูนย์ช่วยเหลือแรงงานฯมา พบปัญหามากหมายทั้งความไม่เข้าใจกันของคนที่มีผลกระทบจากน้ำท่วม มีคนเดือดร้อนจำนวนมาก ทั้งเป็นแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และไม่ใช่สมาชิกสหภาพแรงงาน เป็นแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ  และประชาชนอื่นๆที่มาทำมาหากินและไม่มีทะเบียนบ้าน ซึ้งจริงแล้วก็คือแรงงานรับจ้างที่เรียกว่าแรงงานนอกระบบ เป็นเรื่องความเดือดร้อนในการที่ช่วยเหลือทุกคน ได้สรุปว่า ปัญหาเรื่องการจากข่าวสารที่สับสนจนทำให้ไม่สามารถที่จะป้องกันได้ ช่วงน้ำท่วม นายจ้างลูกจ้างต่างคนต่างอยู่ ลูกจ้าง นายจ้างจะติดต่อกันได้อย่างไร หากรัฐไม่มีกลไกเข้ามาดูแล ซึ่งมีเรื่องราวมาร้องทุกข์ที่ศูนย์จำนวนมาก

ปัญหาที่เกิดกับพี่น้องแรงงานข้ามชาติ ที่ถูกนายจ้างยึดทุกอย่างบัตรที่มีจนไม่สามารถที่จะออกไปไหนได้ การที่จะออกมาขอความช่วยเหลือจากภาครัฐก็ทำไม่ได้ มีความลำบากในการที่จะติดต่อกับคนรอบข้าง หวาดกลัว ปัญหาเรื่องการสื่อสารทางภาษา จะถูกจับส่งกลับต่างประเทศ ความช่วยเหลือต่างๆไม่ต้องกล่าวถึงคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับ ซึ่งทางศูนย์ช่วยเหลือแรงงานฯได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือผ่าน ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ท่วมทั้งประเทศ แต่ที่สาหัสสุดคือพระนครศรีอยุธยา ขบวนการที่จะให้ความช่วยเหลือดูแลจากภาครัฐจึงทำให้เกิช่องว่างในการเข้าถึงของผู้คน ทำให้ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานฯเข้ามาทำหน้าที่รองรับในการให้ความช่วยเหลือ โดยไม่ได้เลือกเป็นคนไทย หรือคนข้ามชาติ มีทะบียนบ้านในพื้นที่หรือไม่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือไม่เป็นสมาชิก

จากวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้รัฐบาลต้องหาแนวทางดูแล การจัดการระบบไตรภาคีที่จะเข้ามาดูแลนั้นมีส่วนร่วมของแรงงานพื้นที่เพียงพอหรือยัง ระบบนี้พอหรือไม่หรือต้องมีระบบอื่นๆด้วยในการที่จะเข้ามาดูแล การที่แรงงานมาร้องทุกข์ที่ศูนย์ช่วยเหลือนับ 1,000 คน ไม่รวมถึงจำนวนแรงงานทั้งหมดที่อยู่โรงงานเดียวกว่ากัน ในส่วนของรัฐต้องมีตัวเลขที่แท้จริง

นายเรวัตร ตัวแทนที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างกล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล มาตรการที่เลิกจ้างตนเองนั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะหลังจากที่ได้เข้าไปร่วมงานด้านสิ่งแวดล้อม มีการออกสื่อไปหลังจากนั้นเพียงข้ามคืนตนเองก็ถูกเลิกจ้าง โดยนายจ้างได้โทรศัพท์มาขอเลิกจ้างตนเอง และภรรยา วันนี้ตกงานแล้วหรือ จะทำอะไรกับชีวตต่าอไปยังไม่รู้ลูกจะเลี้ยงยังไงต้องเรียน ต้องกินยังคิดไม่ออก

การที่อาสาเข้ามาช่วยในศูนย์ช่วยเหลือแรงงานฯตรงนี้ เดิมตนเองเป็นเพียงคนที่มาขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ฯ ขอถุงยังชีพ และเห็นว่ามีสหภาพแรงงานช่วยกันทำงานขาดคนขับเรือ ขาดกำลังแรงงาน การตรวจสอบพื้นที่ที่มีความเดือดร้อนเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ ซึ่งพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยุ่เป็นพื้นที่แรงงานที่เป็นประชากรแฝงอยุ่จำนวนมาก และไม่ได้รับความช่วยเหลือ จึงอาสาที่จะเป็นคนขับเรือ และส่งสิ่งของความช่วยเหลือให้กับพี่น้องในพื้นที่

นางสาววาสนา ลำดี ผู้ประสานงานโครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน สสส.กล่าวว่า การทำงานของศูนย์พื้นที่มีการทำงานผ่านการสื่อสารข่าวสารของสื่อทั้งกระแสหลักกระแสรอง เพื่อให้เกิดการระดมสิ่งของความต้องการเข้ามายังศูนย์พื้นที่จำนวนมาก และยังทำหน้าที่สื่อสารปัญหาแรงงานที่ได้รนับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมทั้งการเลิกจ้าง การไม่ได้รับความช่วยเหลือ ไม่รู้ชะตากรรมของตนเองว่า ของแรงงานเพราะนายจ้างไม่เลิกจ้าง ไม่ติดต่อ ไม่จ่ายค่าจ้าง ส่งนักสื่อสารแรงงานส่วนกลางเข้ามาทำข่าวส่งสารให้กับสังคมได้รับรู้ผ่านเว็บไซต์ voicelabour.org และส่งให้สื่อมวลชนที่ถือเป็นเพื่อนพ้องของพี่น้องแรงงานให้ช่วยกันทำงานประชาสัมพันธ์ เช่นประเด็นของการเปิดรับบริจาคนมเด็ก เนื่องจากการที่ไปทำข่าวแล้วพบว่า เด็กมีปัญหาน้ำท่วมไม่สามารถหานมดื่มได้ และที่มีการบริจาคให้ก็ไม่ใช้นมที่เด็กดื่มทำให้เกิดปัญหาท้องเสีย ถ่ายเป็นหมูก ทำให้เกิดการรณรงค์เรื่องนมเด็กตามความต้องการ ซึ่งผ่านสื่อต่างๆทำให้ได้รับการรณรงค์จากกลุ่มอื่นๆร่วมกันทำให้มีการบริจาคนมตามความต้องการเด็กมากขึ้น

ภาพของการสท้อนปัญหาของแรงงานไปให้สังคมรับรู้เช่นความร่วมมือของลูกจ้างในการทำงานร่วมป้องกันน้ำเพื่อไม่ให้ท่วมโรงงาน ภาพดีๆที่แรงงานทำ วันนี้เกิดประเด็นการเลิกจ้าง ทอดทิ้งแรงงานที่ทุ้มเทการทำงานเพื่อนายจ้าง อาจต้องช่วยกันสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ว่า การเลิกจ้างครั้งนี้ของนายจ้าง เพื่อการปรับตัวของสถานประกอบการหรือไม่ หรือเป็นการฉวยโอกาสเลิกจ้างแกนนำสหภาพแรงงานหรือไม่ หรือต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร แรงงานเก่าที่มี่ค่าจ้างสูงไปใช้แรงงานราคาถูก อันนี้รัฐควรมีบทบาทในการประเมิน และตรวจสอบ ไม่ใช่การหนุนช่วยนายจ้างอย่างเดียว มาตรการที่รัฐออกมาต่างๆไม่ได้ตอบสนองความต้องการของแรงงาน เป็นมาตรการที่ช่วยเหลือสถานประกอบการเท่นั้นหรือไม่ อันนี้สื่อต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรการรัฐ การเข้าถึงความช่วยเหลือว่าเป็นจริงมากน้อยเพียงใด อันนี้ พื้นที่ต้องสื่อสารสะท้อนความจริงผ่านช่องทางสื่อให้สังคมได้รับรู้เข้าใจ

นางเพลินพิศ วิทยอุดม ผู้ตรวจการราชการ กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ได้มีการเข้ามาดูแลเยี่ยมเยือนศูนย์ช่วยเหลือแรงงานฯบ้าง กรมสวัสดิฯ ได้มีการเข้าไปช่วยเหลือลูกจ้าง คือ ตั้งแต่ก่อนน้ำท่วม และได้เข้าไปดูแล สอบถามสถานประกอบการ นายจ้างเสมอ และให้มาตรการในการให้ความดูแลหากน้ำเข้าโรงงานจะมีระบบในการป้องกัน แต่น้ำก็ยังเข้าท่วมอุตสาหกรรมสร้างความเสวียให้เศรษฐกิจ

สถานการณ์น้ำท่วมเป็นภาวะฉุกเฉินที่ป้องกันไม่ได้ แม้ว่าจะพยายามช่วยกันหาระบบมาป้องกันแล้ว ทางกระทรวงแรงงานมีการทำงานร่วมกันมา 2 เดือน ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และมีการจัดตั้งศูนย์พักพิง เพื่อให้ความดูแลแรงงาน จัดทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนโดยให้สถานประกอบการไหนสนใจเข้าโครงการเพื่อยืมแรงงานในสถานประกอบการที่ถูกน้ำท่วมไปทำงานชั่วคราวในพื้นที่ที่ไม่ถูกน้ำท่วม ซึ่งมีสถานประกอบการให้ความสนใจจำนวนมาก แต่ปัญหาคือความสมัครใจในการเข้าร่วมของแรงงานที่จะเข้าโครงการมีน้อย มีเพียง 3,000 กว่าคน เท่านั้น วิธีการทำโครงการฯคือ ให้นายจ้างที่จังหวัดน้ำไม่ท่วมได้ทำข้อตกลงยืมแรงงานกัน เป้าหมายลูกจ้างเดิมวางไว้หลายแสนคน เพราะโรงงานต้องการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม และเราต้องการที่จะรักษานิติสัมพันธ์ของลูกจ้างไว้ให้นายจ้างให้ถึงที่สุด สถานประกอบการไหนที่ปอดงานเกินเจ็ดวัน ที่ต้องการเข้าโครงการ รวมทั้งโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง เพื่อจ่ายเงินให้กับแรงงานรายละ 2,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ผ่านสถานประกอบการที่ต้องการเข้าโครงการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณแล้ว 606 ล้านบาท เพื่อดูแลแรงงาน 1 แสนคน และกำลังเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีก 1,212 ล้านบาท เพื่อดูแลแรงงานอีก 2 แสนคน โดยยืนยันว่าโครงการทั้งหมดเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนกับทุกฝ่าย และกระทรวงแรงงานยังมองเรื่องของสุขภาพจิตร ของแรงงานหลังน้ำลด เช่นเดียวกัน ว่าต้องมีการเข้าไปดูแลสภาพจิตรใจของแรงงานที่ได้รับผลกระทบ

นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วม เป็นวิกฤต และเป็นโอกาส ปัญหาครั้งนี้เป็นการตั้งศูนย์ของขบวนการแรงงานแบบทันต่อสถานการณ์ เดิมขบวนการแรงงานได้มีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานในช่วงของการเกิดเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งทำให้แรงงานได้รับช่วยเหลือ และทำงานควบคู่กันของแรงงานกับภาครัฐ เพื่อการทำงานขับเคลื่อนผลักดันให้รัฐเข้ามาแก้ไขปัญหา ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ สภาพปัญหาที่จะตามมาคงเป็นเรื่องใหญ่ของขบวนการคแรงงาน การที่ต้องเปิดศุนย์ช่วยเหลือแรงงาน และตามด้วยการเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์เป็นการสร้างแนวทางให้ผู้ใช้แรงงานได้มีพื้นที่ในการร้องทุกข์ ซึ่งขบวนการแรงงานต้องทำหน้าที่ในการที่ในการขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

ที่ผ่านมาแนวทางนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในปี 2540 ปี 2550 รัฐไม่เคยมองเรื่องช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน รัฐมองเพียงความช่วยเหลือให้แก่ภาคธุรกิจละเลยที่จะช่วยเหลือแรงงาน ทำให้แรงงานยังคงถูกกระทำจากทุนตลอดเวลา โดยการเลิกจ้าง ใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมมาเอาเปรียบลูกจ้าง วันนี้ในสภาพที่โรงงาน อุตสาหกรรมน้ำท่วมรัฐก็ให้การช่วยเหลือและออกมาตรการอุ้มนายจ้าง ด้วยหวังว่านายจ้างจะไม่เลิกจ้าง ด้วยความจริงจากการที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานได้สะท้อนภาพของคนงานที่มาร้องทุกข์จำนวนมาก ที่ถูกนายจ้างทิ้ง ไม่รู้อนาคต หรือถูกเลิกจ้าง จ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรม ต้องช่วยกันดูแลกันเองด้วยการระดมข้าวของเครื่องใช้ลงพื้นที่ช่วยเหลือกันเอง โดยที่รัฐซึ่งมีหน้าที่ไม่ทำ ฉะนั้นรัฐโดยเฉพาะกระทรวงแรงงานควรหันมาให้ความสำคัญในการดูแลและเยียวยาผู้ใช้แรงงาน ส่วนอุตสาหกรรมให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพราะกระทรวงแรงงานเจตนารมณ์คือกระทรวงที่ต้องทำงานให้กับผู้ใช้แรงงาน

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานแนท์แรงงานไทย ได้แถลงว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 21 จังหวัดที่เกิดขึ้น โดยภาพรวมทำให้ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบ 1,019,616 คน สถานประกอบการโรงงานได้รับความเสียหาย 28,533 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ 9 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี และ โรงงานในเขตอุตสาหกรรมอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม นิคมอุตสาหกรรมบางชัน เขตมีนบุรี กทม. และนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม.

ผลกระทบที่เกิดกับผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรม และย่านอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม และนิคมอุตสาหกรรมที่ไม่ถูกน้ำท่วมแต่ได้รับผลกระทบจากสายการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลให้นายจ้างจำนวนหนึ่งฉวยโอกาสใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 เลิกจ้างลูกจ้าง และจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมกับลูกจ้าง โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยข้อเสนอดังนี้

1. รัฐบาลต้องหยุดการเลิกจ้างในสถานการณ์วิกฤต ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ในขณะที่เมื่อเกิดภัยพิบัติลูกจ้างไม่ได้ทอดทิ้งโรงงาน หรือละทิ้งหน้าที่แต่อย่างใด  

2. รัฐบาลต้องมีมาตรการในการเยียวยาลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ชัดเจนและทั่วถึง โดยเบื้องต้นลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนที่จะได้รับปกติ และทดแทนการขาดรายได้ให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ

3. ผู้ประสบภัยพิบัติต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการในการเยียวยาและฟื้นฟูตนเองอย่างแท้จริง

4. รัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 กับลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

5. รัฐบาลต้องสำรวจและจัดทำข้อมูลที่ชัดเจน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ลูกจ้างได้รับทราบเกี่ยวกับผลกระทบและมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล

ในฐานะผู้ใช้แรงงานหวังว่า ข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานจะได้รับการพิจารณาและสนองตอบจากรัฐบาลและฝ่ายต่างๆ อย่างจริงจัง รัฐบาลควรวางมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติช่วยเหลือเพียงผู้ประกอบการโรงงาน แต่ปล่อยให้ลูกจ้างถูกลอยแพจากการเลิกจ้าง

ทั้งนี้ทางศูนย์ฯได้มีกิจกรรมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยที่ยังอยู่ในภาวะน้ำท่วมขังกว่า 500 ชุด พร้อมทั้งได้มีการมอบนมเด็กที่ได้รับการบริจาคให้กับพ่อแม่ที่ได้ลงชื่อเพื่อรับนมเพิ่มให้สามารถอยู่ได้อย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากทางศูนย์ทราบว่า ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากที่มารับนมยังไม่มีรายได้ เพราะโรงงานยังไม่เพิ่มทำงาน พร้อมทั้งยังมีการเล่นดนตรีของวงภราดร ซึ่งเป็นดนตรีของแรงงาน เพื่อให้กำลังใจด้วยบทเพลงของแรงงาน จากนั้นได้มีการปัดกวาดทำความสะอาดพื้นที่ด้วยกัน 

นายชาลี ลอยสูง ประธานฯได้กล่าวว่า ขณะนี้เหตุน้ำท่วมพระนครศรีอยุธยาอาจลดลง แต่ทางสมุทรสาคร นครปฐม ได้ถูกน้ำท่วมขังเช่นกัน และทางคสรท.ได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานฯที่แยกอ้อมน้อย สมุทรสาคร เพื่อระดม

ความช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัย ซึ่งมัผู้ใช้แรงงานจำนวนมากที่เดือดร้อนเช่นเดียวกัน

นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน