สำนึกอุดมการณ์แรงงานเปลี่ยนส่งผลต่อความเข้มแข็ง เสนอสร้
เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2558 มูลนิธิอารณ์ พงศ์พงัน มูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับโครงการพัฒนาผู้ นำแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติ การ “40 ปีอดีต ปัจจุบัน อนาคต ขบวนการแรงงานไทย” ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบัญฑิตอาสาสมั คร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถาเรื่อง “เส้นทาง 40 ปี พัฒนาการขบวนการสหภาพแรงงาน ความสำเร็จ กับความล้มเหลว” ว่า ขบวนการแรงงานนั้นมีมานานแล้ วไม่ใช่แค่ 40 ปี โดยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการรวมตัวในรูปแบบสมาคม ซึ่งมีความหลากหลายอาชีพ ทั้งปัญญาชน คนถีบสามล้อ กรรมกรรถราง ไม่ได้แบ่งว่าเป็นแรงงานในระบบ แรงงานจีน หรือแรงงานนอกระบบ และพระราชบัญญัติแรงงานฉบั บแรกเกิดขึ้นในปี 2499 นับว่าเป็นกฎหมายแรงงานฉบับแรกของประเทศไทย การรวมกลุ่มของกรรมกรในอดีตนั้น ทำหน้าที่ในการคุ้มครอง ต่อรองเรื่องค่าจ้าง และยังขับเคลื่อนทางการเมือง เป็นการขับเคลื่อนที่เข้มแข็ง แต่ก็ถูกทำลายด้วยอำนาจเผด็ จการทหารหลายครั้ง ทัังถูกจับกุมคุมขัง และประหารชีวิต
ในช่วง 40 ปีขบวนการแรงงาน ช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2518 ที่ขบวนการแรงงานมีพระราชบัญญั ติแรงงานสัมพันธ์ 2518 ให้สิทธิในการรวมตัวเป็ นสหภาพแรงงาน เป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรอง และเกิดองค์กรด้านแรงงานระดั บชาติ เป็นยุคที่สหภาพแรงงานมีอุดมการณ์เพื่ อสังคม เป็นการทำงานร่วมกันของผู้นำนั กศึกษา ปัญญาชน ผู้นำแรงงานซึ่งจัดตั้งเป็นศูนย์ ประสานงานกรรมกร ต่อสู้เพื่ อผลประโยชน์ของคนงาน มีการขับเคลื่อนทางการเมือง เรียกร้องเพื่อประชาชน เช่นการนัดหยุดงานคัดค้ านการขึ้นราคาข้าวสาร เหตุการณ์สำคัญคือการตั้ งสภาแรงงานแห่งประเทศไทย เมื่อ 1 พฤษภาคม 2519 มีนายไพศาล ธวัชชัยนันท์ เป็นประธาน
ช่วงรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 รัฐบาลเผด็จการทหารมีการยุ บสหภาพแรงงาน ผู้แรงงาน นักศึกษาประชาชนที่ขับเคลื่ อนทางการเมืองต้องเข้าป่า แต่เป็นระยะสั้น ปี 2521 สหภาพแรงงานเริ่มฟื้นตัวขึ้นมา และตัังสภาองค์การลูกจ้ างสหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งยังคงทำหน้าที่ทางสังคม เช่น คัดค้านการขึ้นราคานำ้มัน ค่ารถเมล์
ยุคต่อมามีการตัังองค์ กรแรงงานในรูปแบบกลุ่ มสหภาพแรงงานย่านต่างๆเกิดขึ้น โดยทำหน้าที่ผลักดันให้สภาองค์ การลูกจ้างที่ไม่ค่อยทำงานให้ ทำงาน การทำงานขับเคลื่อนช่วงนั้นคื อให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ คัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และคัดค้านสัญญาจ้างงานระยะสั้น ซึ่งเป็นผลกระทบต่อความมั่ นคงในการทำงาน และเรียกร้องกฎหมายประกันสังคม ช่วงนั้นการเคลื่ ออนไหวของขบวนการแรงงานเริ่ มโดดเดี่ยว ออกจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสั งคม
ต่อมาหลังรั ฐประหาร รสช. เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นำไปสู่การเรียกร้องรั ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2540 ขบวนการแรงงานมีบทบาทต้านรัฐประหารและเข้าร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 2540 ในการรัฐประหารปี 2549 มีการเคลื่อนไหวของสีเสื้อต่างๆ จนเกิดรัฐประหารปี 2557 ซึ่งจุดยืนและอุดมการณ์ในการขับเคลื่ อนของขบวนการแรงงานเปลี่ ยนแปลงไปจากเดิม
ผลจากวิกฤติเศรษฐกิจช่วงปี 2540 ทำให้เกิดการเลิกจ้ างคนงานจำนวนมาก ส่งผลให้คนงานต้ องออกนอกระบบการจ้างงาน กลับต่างจังหวัด หรือเป็นแรงงานนอกระบบ
การขับเคลื่ อนของขบวนการแรงงานที่คิดว่าเป็ นผลสำเร็จ คือ หลังเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ ที่คนงานต้องเสี ยชีวิตจำนวนมาก ส่งผลให้ขบวนการแรงงานมีการเคลื่ ่อนไหวเรื่องความปลอดภั ยในการทำงาน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนขององค์ กรรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น เช่นกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี เครือข่ายกลุ่มผู้ป่ วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ โลหะแห่งประทศไทย (Team) กลุ่มสหภาพแรงงาน เป็นต้น
การเคลื่อนไหวที่มองว่ายังไม่ ประสบผลสำเร็จ คือ ความเป็นตัวแทนทางผลประโยชน์ที่ เปลี่ยนไป ซึ่งปัจจุบันระบบการจ้างงานเปลี ่ยนไปจากเดิม มีการจ้างแรงงานที่หลากหลาย ทั้งแรงงานนอกระบบ แรงงานภาคบริการ แรงงานข้ามชาติ และเป็นฐานแรงงานขนาดใหญ่กว่ าแรงงานที่มีการรวมตัวเป็ นสหภาพแรงงาน แต่ความเป็นตัวแทนทางผลประโยชน์ขององค์กรแรงงานยั งทำหน้าที่เพี ยงในระบบแรงงานแบบเดิม มีเพียงองค์กรแรงงานบางองค์กรที่ ่มีการเรียกร้ องแทนแรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติบ้าง แต่องค์กรแรงงานส่วนใหญ่ยังไม่ ทำหน้าที่
การรวมพลังองค์กรแรงงานเป็นขบวนเดียวซึ่งยังทำไม่ได้ ปรากฎการณ์เท่าที่เห็นคือการขาดผู ้นำแรงงานที่รวมศูนย์แรงงานได้เหมือนกับยุค 14 ตุลาที่จะมีผู้นำแรงงานที่รวมศู นย์แรงงานเพื่อการเคลื่อนไหวเพื ่่อสังคมและผลประโยชน์แรงงานได้
สุดท้าย สำนึกทางสังคม การแสดงบทบาททางสังคม ซึ่งหมายถึงประเด็นต่างๆที่ มากกว่าตัวเรา แรงงานงานเองมีสำนึกทางการเมืองที่เข้าร่ วมทางการเมืองช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะไม่เหมือนช่ วงพฤษภาทมิฬ การเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางสั งคมและการเมือง มีสิ่งหนึ่งที่ขบวนการแรงงานที่ จะทำร่วมกันกับกระบวนการทางสั งคมคือ ขบวนการแรงงานต้องไม่โดดเดี่ ยวตัวเองออกจากสังคม โดยอาจเริ่มจากชุมชนใกล้ โรงงานของตัวเอง
นางสุนี ไชยรส นักกิจกรรมทางสังคม กล่าวถึง 40 ปีขบวนการแรงงาน จากบทเรียนและประสบการณ์ 3 ประสาน กรรมกร ชาวนา นักศึกษา สู่ขบวนการประชนร่วมสมัยว่า การเคลื่อนไหวของนักศึกษาในยุค 14 ตุลาที่มีประชาชนเข้าร่วมเคลื่ อนไหวกว่า 5 แสนคน เป็นการทำงานของนักศึกษาที่ ทำงานวิเคราะห์สังคม ความเดือดร้อนของประชาชน แรงงาน ชาวนา การลุกขึ้นมาเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำได้ 20 บาท ขบวนนักศึกษา ขบวนแรงงาน ได้ร่วมกันตั้งศูนย์ ประสานงานกรรมกร เพื่อทำหน้าที่เคลื่อนไหว ชาวนาก็ลุกขึ้นสู้ ทั้งสามส่วนจนรัฐตั้งข้อหาว่ าเป็นคอมมิวนิสต์ในช่วง 6 ตุลาคม 2519 จนต้องหนีเข้าป่า
ช่วงพฤษภาทมิฬ ขบวนการขับเคลื่อนของ 3 ประสานไม่ได้เกิดขึ้นอีก การทำงานต้องมีเป้าหมายร่วมกัน มีการเรียนรู้ ขบวนการ 3 ประสานที่เกิดขึ้นและเติบโตในยุคนั้น การทำงานของนักศึกษาต้องมี การเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทำข้อมูล ทำงานกับขบวนการแรงงาน ขบวนการชาวนา ปัจจุบันไม่มีการทำงานแบบเดิ มไม่เห็นการทำงานของนักศึกษากั บขบวนการแรงงาน แม้แต่การเคลื่อนไหวประกันสังคม ค่าจ้างขั้นต่ำ ขบวนการแรงงานต้องยกระดับที่ไม่ใช่ความขัดแย้งกับนายจ้าง แต่ต้องเคลื่อนกับนโยบายรัฐและกฎหมาย และต้องทำงานกับปัญญาชน ต้องมองหาจุดร่วมในการขับเคลื่ อนร่วมกัน ต้องส่งเสริมระบบพหุภาคี ไม่ใช่ไตรภาคีเหมือนปัจจุบัน ทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน( NGOs)ด้วย
นายไพบูลย์ แก้วเพทาย มูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์ กล่าวถึงมรดกทางความคิดของไพศาล ธวัชชัยนันท์ และอารมณ์ พงศ์พงันว่า ในยุคนั้นผู้นำแรงงานมีจุดยืนที ่ชัดเจนด้วยจิตวิญญาณ จิตสำนึกนักสู้ เพื่อสิทธิ เสรีภาพ จนตัองติดคุก การต่อสู้ที่แหลมคม ทำงานเคลื่อนไหวเพื่อสังคม เช่น คัดค้านการขึ้นราคาข้าวสาร รณรงค์คัดค้าน ข้าวสารแพง ค่าแรงถูก การระดมคนมาชุมนุมที่ท้ องสนามหลวงเพื่อต่อสู้เพื่อสั งคม การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ แรงงานเรื่องค่าจ้าง และกฎหมายประกันสังคม ที่มีการเจรจากับรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุนหะวัณ เป็นผู้นำที่มีจิตสำนึกทางชนชั้ น มีจริยธรรม คุณธรรม มีความรู้โลกทัศน์ชัดเจนเป็นต้น
นายวิชัย นราไพบูลย์ จากพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย นำเสนอว่า ในอดีตผู้นำแรงงานส่วนใหญ่มีอุ ดมการณ์สังคมนิยม ขบวนการแรงงานจึงเรี ยกร้องปัญหาใหญ่ทางสังคม เช่น การต่อต้านระบบจักรวรรดิ นิยมที่ชอบทำสงคราม สู้เรื่องสันติภาพ ปัญหาชาวบ้านก็เช่น การค้ดค้านการขึ้ นราคาข้าวสาร น้ำมัน ค่ารถเมล์ ไม่เหมือนในปัจจุบันที่ การทำงานอยู่เพียงในองค์กรตั วเอง เรียกร้องในประเด็นเฉพาะตัวเอง เช่น ค่าจ้าง โบนัส ซึ่งเปรียบเหมือนกบในกะลา ที่ไม่ได้ออกไปมองโลกภายนอก
ช่วง 14 ตุลา การต่อสู้นัดหยุดงาน ของแรงงานที่เกิดหลายร้อยครั้ งชนะเกือบทุกครั้ง เพราะนายจ้างช่วงนั้นยังไม่ได้เตรียมตัว ซึ่งเดิมความเข้มแข็งมาจากการรวมคนทุกสาขาอาชีพแบบไม่แบ่ งแยก แต่พลังก็ถูกทำลายโดยอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและอุดมณ์การทุนนิยม รัฐใช้อำนาจเผด็จการแบ่งแยกแล้วปกครอง แบ่งแยกและทำลาย มีกฎหมายเช่นแรงงานสัมพันธ์ 2518 ส่งผลให้แรงงานส่วนใหญ่ถู กแยกออกจากที่ เคยรวมตัวเป็นองค์กรเดียวกัน และต่อมาก็ออกกฎหมายแยกแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทำให้การเคลื่อนไหวของแรงงานเป็ นกลุ่มเล็กลงขาดพลัง และถอยห่างจากอุดมการณ์เดิม ขาดการถ่ายทอดประสบการณ์ผู้นำรุ ่นเก่าสู่รุ่นใหม่
ข้อเสนอคือ ขบวนการแรงงานต้องสร้างความเป็ นเอกภาพบนความแตกต่าง การรวมองค์กรอาจยาก ก็เริ่มจากการร่วมกันสร้ างเอกภาพในการเคลื่อนไหวประเด็นร่วม และต้องเปิดมุมมองที่ไกลกว่ าการทำงานสหภาพแรงงาน
นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างศูนย์ กลางแรงงานกล่าวว่า สหภาพแรงงานที่เกิดขึ้นกว่า 1,000 แห่งเกิดจากความเดือดร้อน เกิดแรงกดดัน ซึ่งช่วงก่อตั้งมีทั้งรอดและไม่รอดต้องถูกเลิกจ้าง และคนงานส่วนใหญ่ยังคิดเพี ยงทำงานหาเงิน เมื่อก่อนแม้การสื่อสารจะไม่ รวดเร็วเหมือนปัจจุบัน แต่กลับมีความเข้มแข็งมากกว่ าปัจจุบันที่มีการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย การเดินทางที่สะดวกกว่า ข่าวสารที่เสนอกลับไม่ใช่ข่าวที่ มีสาระมีข้อมูลพอที่จะสร้างอุดมการณ์ ได้เหมือนอดีตที่ถ่ายทอดกัน การทำงานอดีตก็เป็นเรื่องอุ ดมการณ์ ไม่เหมือนปัจจุบันที่ต้องใช้เงิ นมากขึ้น ด้วยปัญหาที่ตัองมีค่าใช้จ่ายที ่่สูงขึ้น
ตราบใดที่ การทำงานของขบวนการแรงงานยั งคงแยกกันเดิน แยกกันยื่นข้อเรียกร้องแม้ว่ าจะเป็นข้อเรียกร้องเดียวกัน แม้แต่วันแรงงานแห่งชาติยังคงต่ างคนต่างเดิน และรัฐวิสาหกิจต้ องแยกออกจากเอกชนด้วยกฎหมาย ความเป็นขบวนเดียวกันยังไม่เกิด ก็คงยังอ่อนแอ จึงอยากเห็นความเป็ นเอกภาพของแรงงานที่เดินไปเป็ นขบวนเดียวกัน
นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ แรงงานไทย กล่าวว่า การถูกตัดขาดออกจากกั นของแรงงานเมื่อมี กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ส่งผลให้มี การตัดขาดขบวนการแรงงานออกจากกั นนั้น สร้างความอ่อนแอให้กับกระบวนการขับเคลื่ อนของขบวนการแรงงาน ฉะนั้นคนรุ่นใหม่ต้องเสียสละ ต้องมีความสุจริต รักความเป็นธรรม ต้องยืนอยู่ข้ างหลักความถูกต้อง และต้องสร้างความรู้ให้กับสมาชิ ก เพื่อสร้างความรับรู้และมีส่ วนร่วม
นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสมาพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (CILT) กล่าวว่า สหภาพแรงงานต้องสร้ างเอกภาพเชิงปริมาณ จัดเก็บค่าบำรุงเป็นแบบเปอร์เซนต์เพื่องบประมาณในการบริหาร ต้องรวมคน รวมเงิน และการบริหารจัดการเข้าด้วยกัน ซึ่งตอนนี้ TEAM ได้ร่วมกันสร้างศูนย์ ฝึกอบรม และมีแนวคิดว่าต้องตั้งสหกรณ์และมูลนิธิเพื่อความยั่งยืน
วาสนา ลำดี รายงาน