คสรท.จัดเวทีถก “ทำไมต้อง 360 บาทเท่ากันทั่วประเทศ” เสนอยุบอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด หลังวิเคราะห์แรงงานขาดอำนาจต่อรอง ด้านนักวิชาการเสนอค่าจ้างขั้นต่ำควรสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2558 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ( คสรท.) จับมือ โซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ประเทศไทย ( SC ) จัดเสวนาเรื่อง ” ทำไมต้อง 360 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ” ที่โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพฯ
นางสาว วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคสรท.กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานโดยคณะกรรมการค่าจ้างอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2559 ซึ่งพิจารณาจากมติของคณะอนุกรรมดารค่าจ้างจังหวัดในแต่ละจังหวัด ที่เห็นได้ว่า มีตัวเลขแตกต่างกัน บางจังหวัดอนุกรรมการค่าจ้าง เสนอไม่ปรับ และไม่มีอำนาจต่อรองหรือลงมติ ฝ่ายลูกจ้างแพ้ การปรับขึ้นค่าจ้างมีผลต่อการดำรงชีพของแรงงาน ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวนซึ่งนับวันจะรุ่นแรง การแข่งขันที่เข้มข้นจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนงาน
นางสาวธนพร วิจันทร์ เลขาธิการคสรท. กล่าวว่า ถึงโซนค่าจ้าง ที่มาจากการขาดอำนาจต่อรองในอนุกรรมการค่าจ้างแต่ละจังหวัดทำให้เกิดการแบ่งแยก เรื่องของค่าจ้างที่เป็นธรรม ในราคาสินค้าเท่ากัน ควรจะยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด และให้รัฐปรับค่าจ่างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ เพราะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละจังหวัดเสนอตัวเลขไม่เท่ากันจนทำให้เกิดโซนค่าจ้าง
ด้านผ.ศ. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่าในระบบไตยรภาคี ถ้ารัฐไม่มีการโน้มเอียงมาทางผู้ด้อยโอกาสอย่างแรงงานก็ส่งผลกระทบต่อ แรงงาน เพราะไม่ค่อยมีโอกาสในการขยับเรื่องค่าจ้าง จากการมีรัฐบาลมาหลายสมัย ที่ชัดเจนเรื่องการปรับค่าจ้างขันต่ำให้แรงงานงาน มีแค่ 2 รัฐบาล เพราะแรงงานไม่มีอำนาจต่อรองและยังขาดความสามัครี ถ้าแรงงานไม่ยึดค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศจะลำบาก เนื่องจากความสามารถในการจ่ายค่าจ้างของนายจ้างในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ส่วนตัวเลขที่เครือข่ายแรงงานเสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 360 บาทนั้นด้วยสภาพเศรษฐกิจในกรุงเทพฯและปริมณฑล นายจ้างน่าจะมีความสามารถที่จะจ่ายได้ แต่สำหรับต่างจังหวัดอาจจะมีกำลังจ่ายน้อยประมาณวันละ 320 บาท การปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องมองภาพรวมทั้งเศรษฐกิจและชีวิตคนงาน อย่างน้อยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำน่าจะมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ เพื่อให้แรงงานมีกำลังซื้อ
นักสื่อสารแรงงานกลุ่มสระบุรี รายงาน