“คิดถึงตุ๊กตา” รำลึก 30ปี โศกนาฏกรรมเคเดอร์ คึกคักผู้เข้าร่วมราว 100 คน ทั้งองค์กรแรงงานต่างประเทศ และองค์กรแรงงานไทย มีพิธีสงฆ์ กล่าวรำลึก วางดอกไม้ด้านหน้าอนุสรณ์เตือนใจความปลอดภัยของคนงาน บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จากนั้นจัดงานอภิปราย “ถอดบทเรียน 30 ปีหลังจากโศกนาฏกรรม Kader และอนาคตความปลอดภัยของคนงาน”ต่อ
วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 วันนี้ครบรอบ 30ปี โศกนาฏกรรมเคเดอร์ พิพิธภัณฑ์แรงงงานไทย ร่วมกับ AMRC(Asia Monitor Resource Centre /Korea.) และ สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมรำลึกรำลึก 30 ปี โศกนาฏกรรมเคเดอร์
กรณีเหตุเพลิงไหม้โรงงาน บริษัท เคเดอร์อินดัสเตรียล ไทยแลนด์ จำกัด ถนนพุทธมณฑล สาย 4อำเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 เวลา 16.00 น. ทำให้คนงาน เสียชีวิตรวม 188 คน บาดเจ็บ 469 คน โดยโรงงานแห่งนี้ผลิตสินค้าตุ๊กตาของเล่นสำหรับเด็กส่งออกไปยังต่างประเทศ คนงานเล่าวว่าก่อนหน้านี้โรงงานดังกล่าวเคยเกิดเพลิงไหม้อาคารมาแล้ว 3 ครั้งมาแล้ว และจากการสืบสวน พบว่าเพลิงไหม้ครั้งนี้ จนทำให้เกิดความสูญเสียและถือว่าเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่มีคนงานเสียชีวิตและบาดเจ็บพิการจำนวนมากนั้นเกิดจากการก่อสร้างอาคารที่ไม่ได้ตามมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม และไม่มีการซักซ้อมการรับมือกับการอัคคีภัยให้แก่พนักงาน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือภายหลังเกิดเพลิงไหม้ประมาณ 15 นาที โรงงานก็ได้ ยุบตัวพังทลายลงมา นอกจากนี้ยังพบว่า โรงงานดังกล่าวไม่มีบันไดหนีไฟและประตูทางเข้าออกมีน้อยและคับแคบเกินกว่ากฎหมาย กำหนด และช่วงที่ไฟไหม้ประตูทางเข้าออกถูกปิดล็อค ไม่มีระบบการเตือนภัยที่สมบูรณ์และได้มาตรฐาน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก เนื่องจากมีการปิดประตูโรงงาน เพราะกลัวคนงานจะขโมยทรัพย์สินในอาคาร เจ้าหน้าที่ระบุว่าสาเหตุของ การเกิดเพลิงไหม้ว่าเกิดจากคนงานทิ้งก้นบุหรี่ไว้แล้วเกิดการติดไฟกับผ้าในโรงงาน และนำมาซึ่งการเสียชีวิตของคนงานเคเดอร์ 188 ศพ และบาดเจ็บพิการราว 469 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิง
กิจกรรมกิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศล ร่วมกันกล่าวรำลึกและวางดอกไม้ที่ “อนุสาวรีย์เตือนใจความปลอดภัยของคนงาน” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนเครือข่ายแรงงานในทวีปเอเชีย และในประเทศไทยเข้าร่วมจำนวนมาก จากนั้นได้มีการจัดการอภิปราย “ถอดบทเรียน 30 ปีหลังจากโศกนาฏกรรม Kader และอนาคตความปลอดภัยของคนงาน” ที่โรงแรมบางกอกพาเลซ มักกะสัน กรุงเทพมหานคร รวมถึงฉายวิดิทัศน์ “คิดถึงตุ๊กตา รำลึก 30 ปีโศกนาฏกรรมคนงานเคเดอร์ “ เพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์ประวัติศาสตร์การขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาและสร้างมาตรฐานการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย และมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านอาคาร และอุปกรณ์ความปลอดภัยเพื่อทำให้คนทำงานเกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่ด้วยสถานการการจ้างงานที่เปลี่ยนไปความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งกฎระเบียบ กฎหมายที่มีอยู่อาจไม่คุ้งครองป้องกันความปลอดภัยให้กับแรงงานได้อย่างสมบูรณ์
โดยองค์กรร่วมจัด นำโดย คุณสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และคุณ Ram Charitra Sah ANROEV Coordinator เป็นผู้แทนในการอ่านแถลงการณ์ โดยสรุปมีข้อเสนอดังนี้
1.ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับสารเคมี มลพิษ สิ่งแวดล้อม โรคมะเร็งจากการทำงานต่าง ๆ และให้ตั้งโรงพยาบาล คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ในย่านนิคมอุตสาหกรรมให้เพียงพอ
2. ต้องมีมาตรการทั้งที่เป็นกฎหมาย นโยบาย แผนงานที่ชัดเจนทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยเฉพาะการรื้อถอนอาคารเก่าต้องมีมาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัดไม่ให้ฝุ่นแร่ใยหินไม่ให้ฟุ้งกระจาย
3. บังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเข้มข้นพร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อคนงานโดยให้คนงานสามารถเข้าถึงสิทธิง่าย สะดวก รวดเร็ว ครอบคลุมทุกโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานและเกี่ยวเนื่อง
4. สร้างมาตรการ กลไกการปฏิบัติให้คนงาน ประชาชน สามารถเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานทั้งการป้องกัน การส่งเสริมความปลอดภัย การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และการวินิจฉัยโรค รวมทั้งงบประมาณ และ คลินิก บุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
5. รัฐบาลต้องเร่งออกกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาดฉบับประชาชน และเร่งแก้ไขปัญหา PM 2.5
6. รัฐต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 155 ว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน และอาชีวอนามัย ค.ศ. 1981 (พ.ศ.2524) และฉบับที่ 161 ว่าด้วยการบริการอาชีวอนามัย ค.ศ. 1985(พ.ศ.2528) และให้ตรากฎหมายรองรับให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับข้อตกลงของนานาประเทศ และขอให้รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานเรื่องการบริการอาชีวอนามัยอย่างเต็มที่ จริงจัง