วันที่ 3 กันยายน 2563 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อมด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)ได้เข้ายื่นหนังสือต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นาย ทศพล กฤตวงศ์วิมาน เพื่อติดตามข้อเรียกร้อง และข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปประกันสังคม ซึ่งนายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน รับหนังสือแทน
นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้นำเสนอว่า คสรท.ได้มีการยื่นข้อเสนอเพื่อขอปฏิรูปสำนักงานประกันสังคมมากว่า 20 ปี และเฝ้ารอและติดตามการดำเนินการปฏิรูประบบประกันสังคมตามข้อเสนออย่างต่อเนื่อง แต่ว่ากลับเป็นไปอย่างเชื่องช้า ในช่วงของการระบาดของโควิด-19 ทางคสรท. และสรส.ได้ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กระจายตามพื้นที่ จำนวน 14 แห่ง และรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบต่อผู้ประกันตน ซึ่งมีข้อเสนอ เรียกร้องเพิ่มเติม เพื่อการปฏิรูปสปส.ดังนี้
- รัฐต้องปฏิรูปโครงสร้างการบริหารสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผืประกันตนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
- ให้เลขาธิการประกันสังคม เร่งดำเนินการให้รัฐบาล นำเงินสมทบค้างจ่าย จำนวน 87,737 ล้านบาท มาคืนให้กับประกันสังคมทั้งหมดเป็นกรณีเร่งด่วน
- ให้รัฐบาลจัดตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อให้บริการผู้ประกันตน
- ให้รัฐบาลสร้างโรงพยาบาล เพื่อให้บริการผู้ประกันตน
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า สปส.ได้นำเงินไปซื้อหุ้นไว้ในธนาคารหลายแห่ง ซึ่งการซื้อหุ้นเป็นการซื้อแบบธรรมดา เวลาจะได้เงินกลับมาก็ต้องขาย ท่ามกลางสถานการณ์โลกและประเทศไทยเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ แล้วสปส.ไปถือหุ้นธนาคารแล้วยังไม่รู้ว่าอนาคตธนาคารจะเป็นแบบไหน จะเป็นแบบปี 2540 หรือไม่เพราะตอนนี้ IMF หรือธนาคารโลกอยู่ในภาวะที่หนักมาก ซึ่งIMFบอกว่า จะวิกฤติหนักมากอีก 10 ปีต่อจากนี้ ซึ่งกังวลว่าเงินที่ไปลงทุนซื้อหุ้นในธนาคารจะคงถาวรหรือว่าจะดิ่งลงจะทำให้ประกันสังคมเสียหายแค่ไหน จึงควรให้ผู้ประกันตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารเงินประกันสังคม และเห็นว่าควรตั้งเป็นธนาคารแรงงาน ซึ่งการตั้งธนาคารแรงงานแล้วจะทำให้ประกันสังคมไม่มีพื้นที่ก็ไม่ใช่ ด้วยมองว่าธนาคารแรงงานจะมาช่วยให้แรงงานเข้าถึงแหล่งเงิน เข้าถึงงาน เข้าถึงแหล่งอาชีพ ด้วยการกู้เงินนี้ไปประกอบอาชีพได้ด้วย
อีกข้อเสนอคือการสร้างโรงพยาบาลผู้ประกันตน ซึ่งทราบดีว่ามีโรงพยาบาลอยู่มาก แต่เราก็ไม่ได้ให้สร้างในทุกจังหวัด ประกันสังคมก็มีเงินอยู่มากพอที่จะผลิตแพทย์ พยาบาล โดยอาจสร้างภูมิภาคละหนึ่งแห่ง อย่างภาคเหนือ อีสาน และใต้ เป็นตน หากก้าวหน้าเจริญมากขึ้นก็เพิ่มขยายออกไป และโรงพยาบาลประกันสังคมก็ยังสามารถหารายได้จากผู้ป่วยนอกได้ด้วยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกันตนอย่างเดียว ดูตัวอย่างหลายโรงพยาบาลในกรุงเทพที่บริการดีๆมีคนต่างประเทศมาใช้มารักษาจำนวนมาก ประเทศไทยเป็นแหล่งชีวภาพมีแพทย์ทางเลือกมีสมุนไพรใช้ในการรักษาได้ ซึ่งประกันสังคมอาจมีหลายรูปแบบในด้านการรักษาพยาบาลได้ นี่เป็นเพียงข้อเสนอเชิงโครงสร้างซึ่งขอฝากผู้ตรวจการถึงเลขาธิการสปส. และคงนำเรียนถึงรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน คนปัจจุบัน โดยทางคสรท.คงจะขอเข้าพบต่อไป ทั้งนี้ในวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ซี่งเป็นวันแรงงานที่มีคุณค่า (Decent Work Day) จะมาทวงถามคำตอบกันอีกครั้ง
นายสมพร ขวัญเนตร ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)กล่าวว่า ด้วยวันสถาปนาสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกรณีเงินค้างจ่ายนั้นค้างมานานมากแล้ว ซึ่งสำนักงานประกันสังคมแจ้งว่าตอนนี้เงินค้างจ่ายไม่ใช่ 9 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ลดเหลืออยุ่ที่ 8.7 หมื่นล้านบาทโดยประมาณ ซึ่งตอนนี้ทางรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์อาจเคลียร์แล้วว่าตัวเลขที่จะคืนให้สำนักงานประกันสังคมนั้นจำนวนเท่าไร แน่นอนการทวงถามเพื่อให้รัฐบาลคืนเงินที่ติดค้างเป้นหน้าที่ของทุกคนรวมถึงผู้ประกันตน ต่อประเด็นโควิด-19 หลายคนก็ตั้งคำถามว่า การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบประชาชนได้รับ 5 พันบาท แต่ทำไหมผู้ประกันตนมาตรา 33 ถึงต้องใช้เงินประกันสังคมของตนเอง ด้วยอ้างเหตุสุดวิสัย ซึ่งแบบนี้เป็นธรรมหรือไม่ เพราะเงินผู้ประกันตนล่วงกระเป๋าจ่ายสมทบ ของราชการ หรือสป.สช.งบประมาณมาจากรัฐมาจากภาษีร้อยเปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นเงินภาษีต้องเจียดมาให้ผู้ประกันตนบ้าง แค่เงินที่รัฐบาลค้างจ่ายก็ควรนำมาคืนกับผู้ประกันตน ซึ่งต้องขับเคลื่อนร่วมกัน ที่ในส่วนของข้าราชการที่ใข้อจำกัดอะไรที่คสรท.พอช่วยได้ ที่จะหนุนเสริมกันได้
นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตอบว่า เห็นดีด้วยในข้อเสนอการตั้งธนาคารแรงงาน การที่คสรท.มาก็ถือเป็นกำลังเสริมให้กับสปส. ซึ่งจะนำเสนอให้ทางเลขาธิการสปสงรีบตอบในข้อเสนอดังกล่าว พร้อมให้ทางคสรท.เสนอนักวิชาการที่เข้าใจและเสนอแนวคิดการตั้งธนาคารแรงงาน สปส.คิดเองก็ต้องดูถึงความเป็นไปได้หรือไม่ด้วย ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย กระทรวงการคลังก็มองว่า ภาระกิจของประกันสังคมต้องตอบสนองตามกฎหมายไม่ได้ให้มาตั้งธนาคาร เขาให้การลงทุนด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซื้อหุ่นได้เล็กๆน้อยๆ โดยมองว่า ตรงไหนมีกำไรเยอะให้ซื้อหุ่นระยะยาว ซึ่งเงินมีการแบ่งเป็นกอง ทั้งหมด 4 กรณี เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตายก็แยกไป ซึ่งไม่ให้นำมาเกี่ยวข้องกัน สงเคราะห์บุตร ชราภาพอย่างนำมาเกี่ยวข้องกัน เก็บมาแบ่งในการบริหาร ซึ่งดอกผลมีเท่าไร ไม่ใช่จะนำมาใช่ได้ ซึ่งได้อธิบายกับรัฐมนตรีว่าการประทรวงแรงงานคนก่อน ซึ่งมีวินัยในการใช้ ซึ่งอย่างที่ว่าเงินที่เก็บมีไว้ในประกันสังคม 1.7 หรือ 1.8 แสนล้านล้าน เป็นเงินเก็นของผู้ประกันตน ซึ่งเป็นกองทุนชราภาพด้วย
การที่มีการนำเงินประกันสังคมมาใช้ในการหยุดงานเหตุสุดวิสัย จ่ายให้กับผู้ประกันตนนัน ด้วยไม่อยากให้ภาครัฐมีการกู้เงินมากกว่านี้ และมองว่าประกันสังคมมีเงินอยู่ และภาครัฐเองก็มีการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอยู่แล้ว ซึ่งในการประชุมภาครัฐบาลใช้คำว่า เงินประกันสังคมมีอยู่จำนวนมากเอามาช่วยประเทศไม่ได้หรือ ทำเหมือนกับว่าข้าราชการประกันสังคมไม่มีสำนึกด้วยซ้ำ แต่ก็อธิบายแล้วว่าเงินประกันสังคมมีผู้ประกันตนแนเจ้าของ และมีเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ไม่ใช่เงินของรัฐ
ทั้งนี้ ทางคสรท.และสรส.ยังได้ยื่นหนังสือ เพื่อขอเอกสารข้อมูลรายละเอียดตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร เพื่อขอข้อมูลสถานะทางการเงินที่ไม่ตรงกันอยากต่อการสื่อสารต่อสาธารณะ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ คสรท. และสรส จึงขอให้สำนักงานประกันสังคมนำส่งข้อมูลตามพรบ.ข้อมูลข่าวสาร ดังต่อไปนี้
- งบการเงินย้อนหลัง 5 ปี จนถึงปัจจุบัน
- งบการเงิน รายเดือนปี 2563 เดือนมกราคม –สิงหาคม
- รายละเอียดเงินกองลงทุนทั้งหมด แยกออกแต่ละกองทุนสิ้นสุดเดือนสิงหาคม2563
- รายละเอียดเงินสด หรือเทียบเท่าเงินสด สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2563
- เงินลงทุนทั้งหมด สิ้นสุดสิงหาคม 2563
- ยอดเงินสมทบค้างจ่ายของรัฐบาล หน่วยงานไหนที่รับผิดชอบจ่าย เอกสารการติดตามทวงถามย้อนหลัง 5 ปี จนถึงปัจจุบัน
- ข้อมูลการใช้จ่ายเงินแต่ละกองทุน ย้อนหลัง 5 ปี จนถึงปัจจุบัน
- ข้อมูลการใช้จ่ายงบบริหารไม่เกน 10% ย้อนหลัง 5 ปีจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งทางคสรท. และสรส.หวังว่าทางประกันสังคมจะดำเนินการนำส่งข้อมูลให้ในลำดับต่อไป
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน