เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2555 ณ.ห้องรัชดาแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ค คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริด เอแบร์ท(FES.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรื่องแผนการจัดทำยุทธศาสตร์สู่ทศวรรษใหม่ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ในครั้งนี้มีแกนนำกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย -อ้อมใหญ่ เข้าร่วม กว่า 20 คน และ สหภาพแรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เข้าร่วมราว 300 คน
นายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท. กล่าวว่า สมานฉันท์แรงงานไทยต้องมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทั้งในเรื่องของทศวรรษใหม่ ใน 10 ปีที่ผ่านมามองเห็นความเป็นเอกภาพขององค์กรของเรา สมานฉันท์ก็ได้มีวัตถุประสงค์และขับเคลื่อนมาโดยตลอด จะทำอย่างไรให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง และจะทำอย่างไรให้มีสิทธิเสรีภาพ แต่ในเรื่องของการปฏิบัติยังไม่เกิด เพราะถูกเอารัดเอาเปรียบถูกกระทำมาอย่างต่อเนื่อง แรงงานถูกกระทำย่ำยีมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นแรงงานภาคเกษตร นอกระบบ หรือรับงานไปทำที่บ้าน แม้แต่รัฐวิสาหกิจเราก็ถูกแบ่งแยกออกไป เพื่อให้ขบวนการแรงงานอ่อนแอ คณะกรรมการสมานฉันท์ฯยังยืนหยัดอยู่บนขาตัวเองและการผลักดันนโยบายเรื่องต่าง ๆ ในเรื่องทุนเศรษฐกิจ มีความก้าวหน้าไปมาก ยกเว้นแรงงาน ที่ยังคงถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่ทุกวันนี้
วันนี้แรงงานทั่วโลกมีปัญหาเรื่องค่าแรง เป็นปัญหาทั่วโลก กลุ่มทุนก็มีวิธีมาทำให้แรงงานมีความอ่อนแอลง โดยกฎหมายไม่เอื้อให้กลุ่มอื่นๆ เข้ามารวมกับเรา ฉะนั้นสมานฉันท์แรงงานไทยเราไม่ข้างหน้าคงจะต้องมีความเด่นชัดมากขึ้น และต้องมีการลงพื้นที่ไปดูพี่น้องว่าเขามองสมานฉันท์เป็นอย่างไร การทำงานเป็นอย่างไร ในอีก 6 เดือนข้างหน้าเราจะมีแผนลงไปพบพี่น้องแรงงานทุกภาคส่วน และเอาความเห็นมาเป็นยุทธศาสตร์เพื่อให้เป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนต่อไป สมานฉันท์เป็นบ่อเกิดการรวมพี่น้องของเราทุกาภคส่วนเป็นอันเดียวกัน เป้าหมายเดียวกัน คณะกรรมการมีมติเป็นอย่างไรในเรื่องตัวขับเคลื่อน แต่ภารกิจของคณะกรรมการของเราในอนาคต
นางสาวปรีดา ศิริสวัสดิ์ มูลนิธิ FES. กล่าวว่าเราจะรักษามรดกที่ได้รับมาจากแรงงานรุ่นก่อนเพื่อให้สืบทอดต่อไปยังแรงงานรุ่นหลังไว้อย่างไรก็ถือว่าเป็น คุณค่าที่สำคัญของกระบวนการแงงานทำให้อยู่ยง ถือว่าเป็นปึกแผ่นสมานฉันท์ การรักษาไว้ได้คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว แต่การที่เรามีโครงสร้างองค์กรที่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้นคณะกรรมการฯ จึงอาจ กล่าวได้ว่าเป็นทิศทางทีสอดคล้องกับแนวคิดของแรงงานสากล สามารถเป็นปากเป็นเสียงให้แรงงานถือว่า เป็นทิศทางที่ถูกต้องแล้ว และวันนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงในอนาคต และเป็นยุคที่ทุนต่าง ๆ ครองโลก ว่าการทำงานแรงานไม่ใช่การทำงานเพื่อให้เสร็จ ๆไป แต่เป็นการทำงานตามความเรียกร้องและทำให้ดีที่สุดเพื่อความสำเร็จขององค์กร และหลังจากนั้น พิธีกรประกาศรายชื่อองค์กรสมาชิก โดยให้องค์กรถือธงขึ้นบนเวทีเพื่อแสดงจุดยืนขององค์กร
นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นำเสนอบทวิเคราะห์ทางวิชาการ เรื่อง “อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของขบวนการแรงงานไทย เป็นแรงงานที่เกิดจากการรับจ้างมา 200 กว่าปี คนไทยยังถูกพันธนาการอยู่กับที่ดินเทือกสวนไร่นา เพราะเรามีระบบไพร่ คนไทยจึงไม่นิยมเป็นลูกจ้างจึงนำแรงงานจีนเข้ามาถือว่าเป็นบิดาแห่งแรงงานไทย การที่แรงงานเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ทำให้เขามองเห็นว่าเป็นคนต่างชาติ มีความคิดที่อาจเป็นอันตรายต่อการปกครอง ดังนั้นรัฐไทยจึงออกความมั่นคงแห่งชาติมากำหนดนโยบายกำกับดูแล จึงเข้าควบคุมคนงานแทนที่จะส่งเสริม ทำให้เป็นแบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน สาเหตุเพราะถูกปกครองระบอบอำนาจนิยมอันยาวนาน 80 ปีที่ผ่านมาไทยก็วนเวียนอยู่กับอำนาจ เป็นองค์กรระดับสภาแห่งแรก รวบรวมพี่น้องแรงงานหลากหลาย กลับมาหลังสงครามโลกที่ 2
ปี พ.ศ. 2490-2501 สมาคมกรรมกรไทย มีการจัดตั้งพรรคกรรมกร กลุ่มกรรมกร 16 หน่วย กรรมกรสามล้อเป็นปรานปัญญาชนเป็นเลขาธิการ หลัง 14 ตุลาคม 16 เกิดศูนย์ประสานงานกรรมกร กลุ่มสหภาพแรงงาน เป็นขบวนการทางสังคมก่อเกิด พลัง 3 ผสาน คืออุดมการณ์ร่วมทางการเมือง
จุดเปลี่ยนผ่านขบวนการแรงงานไทย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การปราบปราม 6 ตุลา 19 การขีดขวางแรงงานให้สู้ในรั้วโรงงาน กลไกไตรภาคี ความพ่ายแพ้ของสังคมนิยม และชัยชนะของเสรีนิยมใหม่ในระดับสากลแรงงานสัมพันธ์เชิงรุกของฝ่ายทุน รสช. และการแยกสลายรัฐวิสาหกิจ-เอกชน วิกฤติต้มยำกุ้ง 2540 ที่ทำให้เกิดการเลิกจ้างปิดโรงงาน การจ้างงานเปลี่ยนไป
ปัจจุบัน องค์กรแรงงานตามกฎหมายในวันนี้ สมาชิกองค์กรแรงงานประมาณ 3 แสนกว่าคน ประเทศไทยอยู่ในประเทศกลุ่มที่อ่อนแอทางขบวนการแรงงานเป็นสัญญาณบอกว่าประเทศนี้ขบวนการแรงงานไม่เป็นเอกภาพ สาเหตุที่ขบวนการแรงงานอ่อนแอ มีสมาชิกน้อย ผู้นำทำงานทุ่มเทเต็มเวลาน้อย ทำให้มีความเข้มแข็งน้อย ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั่วโลก ประเทศไหนมีสมาชิกคนงานเยอะ ประเทศนั้นเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย
อนาคต จะปล่อยให้เป็นไปอย่างไร เราควรกำหนดด้วยตัวเราเอง เราคืออนาคตของผู้ใช้แรงงาน ดังนั้น ต้องทำให้ขบวนการแรงงานให้เข้มแข็ง แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย นั่งเฉยๆไม่มีทางเข้มแข็งได้ เราจะต้องรวมพลังกันอย่างมากมาย ปกติดูได้สองทาง ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการรวมตัวกันได้ เปลี่ยนกรอบความคิดการพัฒนาประเทศที่เสรีนิยม เพราะการแข่งขันคือการได้เปรียบหรือการกดขี่เยอะ ผมได้ยินว่าประธานกล่าวว่าอีกและอีก 6 เดือนเราจะวางแผนจัดทำยุทธศาสตร์สู่ทศวรรษใหม่เพื่ออนาคตของขบวนการแรงงานในอนาคต และวันนี้ตลาดแรงงานยังอ่อนแอ พี่น้องในภาคต่าง ๆ ที่ยังมีสหภาพแรงงานน้อย จะมียุทธศาสตร์อย่างไรที่จะเอาเขาเข้ามาร่วม ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของแรงงานไทย 10 กว่าปีก็ต่อสู้ใน 3 แนวทางนี้ ภารกิจมี 5 ระดับ ระดับสถานประกอบการ ระดับพื้นที่ ระดับอุตสาหกรรม ระดับชาติและระดับสากล
เกศแก้ว ทะเบียนธง นักสื่อสารแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่รายงาน