คสรท.ถอดบทเรียน กรณีปัญหาผู้ที่ถูกดำเนินคดี และหาแนวทางป้องกัน

20150604_103305

คสรท.จัดถอดบทเรียนปัญหาผู้ถูกดำเนินคดี เพื่อหาทางออก ย้ำกลไกกฎหมายไม่เอื้อช่องว่างเพี้ยบกระทบลูกจ้างหากไม่ศึกษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ( คสรท. ) ร่วมกับ โซลิดาลิตี้เซ็นเตอร์ประเทศไทย ( SC ) จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ ถอดบทเรียน : กรณีปัญหาผู้ที่ถูกดำเนินคดี และ หาแนวทางป้องกัน ณ. ห้องประชุมสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย สวนรถไฟ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ การจัดการถอดบทเรียนนครั้งนี้นั้นเนื่องจากผู้นำแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ด้านต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำให้คนงานได้เข้าถึงสิทธิ และสวัสดิการอย่างเป็นธรรม การให้ความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน ส่งเสริมการใช้สิทธิในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน การยื่นข้อเรียกร้องเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างใหม่ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และการเจรจาต่อรอง เพื่อให้ได้สวัสดิการที่ดี รวมถึงกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ปิดกิจการ หรือปิดงานเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน บางส่วนถูกนายจ้างหาเหตุฟ้องร้องดำเนินคดี จนเป็นเหตุให้มีการจัดกิจกรรมนี้ขึ้น

14335070954921433507084527

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาแรงงานมีมากมายลูกจ้างถูกละเมิดสิทธิถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างตลอดเวลา อีกทั้งผู้นำแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ด้านต่างๆ เช่น การให้คำแนะนำในการจัดตั้งสหภาพ การเจรจาต่อรอง การเข้าถึงสิทธิต่างๆตามกฎหมาย และสวัสดิการต่างๆ จนส่งผลให้นายจ้างเกิดความไม่พอใจ และได้มีการดำเนินคดีกับผู้นำแรงงาน ส่งผลกระทบต่อการทำงาน การดำรงชีวิตของครอบครัว และสภาพจิตใจ ครั้งนี้การถอดบทเรียนพูดคุยร่วมกัน ทั้งทีมทนายความ ผู้นำแรงงานที่มาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้วย เป็นการหาแนวทางในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการเผยแพร่ให้ผู้นำองค์กรอื่นได้รับรู้ เพื่อป้องกันแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับแรงงาน

20150604_11324820150604_100716

เนื่องจากนายจ้างใช้กลไกลซับซ้อน และช่องว่างของกฎหมายก็เอื้อต่อนายจ้างมากว่า เป็นเครื่องมือการควบคลุมแรงงานมากว่าการคุ้มครอง รวมถึงการใช้วิธีการยั่วยุ ปิดกั้น การใช้ช่องว่างของลูกจ้างกดดันทางบ้าน ด้านการเงิน และการแทรกแซงในการชุมนุม ใช้วิธีการบยั่วยุ ทางจิตวิทยาต่างๆทุกทาง ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ภาพความสูญเสียเพื่อน สูญเสียคนที่รัก ทำให้การระงับอารมณ์แห่งความโกรธไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการต่อสู้ การพูดในที่ชุมนุมการสบถ การเขียนแรงๆต่อผู้อื่นทำให้เกิดปัญหาฟ้องร้องต่อผู้นำแรงงาน

ข้อเสนอคือ ผู้นำแรงงานรุ่นใหม่ ที่มีคุณลักษณะเป็นผู้นำได้ เวลาคุมการชุมนุมต้องวิเคราะห์สถานการณ์ข้างหน้าได้ และอย่าประมาท ต้องศึกษากฎหมายเทคนิคการพูดให้ถ้วนถี่ อย่าใช้อารมณ์ ต้องมีสติอย่าหลงต่อสิ่งยั่วยุ การสื่อสารต้องมีสติคิดก่อนพูด และไม่จำเป็นต้องพูดทุกเรื่องที่คิด การสื่อสารด้วยการเขียนก็ต้องสำรวจประเด็นในการสื่อสารอย่าพาดพิง หรือกล่าวหา ต้องระวัง และรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆนอกเหนือจากกฎหมายแรงงานด้วย

นักสื่อสารแรงงานกลุ่มสระบุรี รายงาน