ครม.มีมติอนุมัติ 6 มาตรการเยียวยาเอสเอ็มอี

 

ครม.มีมติอนุมัติ 6 มาตรการเยียวยาเอสเอ็มอี

ข่าว Thai PBS ออกอากาศวันที่ 8 มกราคม เวลา 20:28

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมาตรการเยียวยา ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี จากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท 6 มาตรการ ขณะที่ภาคเอกชน เห็นว่า มาตรการที่รัฐบาลออกมานั้น ยังแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรัขึ้นร้อยละ 10-12

ครม.เห็นชอบมาตรการเยียวยา ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี 6 ข้อ เช่น  ขยายมาตรการทางภาษีออกไปอีก 1 ปี โดยจะหักค่าใช้จ่ายส่วนต่างได้อีก 1.5 เท่า หักค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรใหม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ในปีแรก รวมถึงยกเว้นภาษีให้ เอสเอ็มอี ที่มีกำไรไม่เกิน 3 แสนบาท

กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี : ก็ปรากฏชัดเจนว่าที่เป็น 7 จังหวัดแรกที่ได้มีการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่ที่จริงก๋เป็นศูนย์กลางผู้ประกอบการจำกว่าครึ่งของประเทศก็ไม่พบว่ามีปัญหาในเรื่องของการที่จะถูกเลิกจ้างในขณะเดียวกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในเรื่องของกำลังซื้อที่มากขึ้น บรรดาผู้ประกอบการโดยรวมทั่วไปสามารถที่จะมีธุรกิจที่ดี แม้แต่รัฐเองก็สามารถที่จะมีรายได้ทางด้านภาษีมูลค่าเพิ่มที่มากขึ้นด้วย

  

ส่วนมาตรการที่ภาคเอกชนเสนอให้ภาครัฐช่วยเหลือด้วยการตั้งกองทุนเพื่อใช้จ่ายค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นบางส่วนให้กับผู้ประกอบการ นายกิตติรัตน์ ระบุว่าไม่สามารถดำเนินการได้เพราะจะทำให้ภาครัฐมีภาระต่องบประมาณมากเกินไป ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเห็นว่ามาตรการที่ออกมา เช่น ธุรกิจ เอสเอ็มอี ไม่ตรงจุดทั้งการหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและขยายภาษี โดยค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ทำไห้ธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีกำไรน้อยอยู่แล้วต้องแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มร้อยละ 10 -12 เหลือกำไรประมาณร้อยละ 5 ขณะที่นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์การค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำมีผลกระทบในช่วงไตรมาตรที่ 2และ3 ซึ่งในระยะสั้นจะเริ่มเห็นการปรับ ลด พนักงานลง ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่าจะให้การช่วยเหลือเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบแต่ยืนยันว่าการปรับค่าแรงจะทำให้การบริโภคในประเทศดีขึ้น