คปก.จับมือคสรท.จัดข้อเสนอปฏิรูปประกันสังคม

6

คสรท.จับมือคปก.นัดที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฟังข้อเสนอ 15 ข้อ ปฏิรูปกฎหมายประกันสังคม ย้ำให้แก้ปัญหาด้านสิทธิ สวัสดิการ สร้างความความโปร่งใส ที่ปรึกษารับตรงใจรัฐมนตรีเตรียมเสนอให้พิจารณาอีกครั้ง ด้านกรรมาธิการวิสามัญฯประชุมแล้ว 2 ครั้ง ถกประเด็นโครงสร้างยังไม่จบ นัดต่อ 17 พ.ย.นี้

11พ.ย.57 คณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย(คปก.)ร่วมกับ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ได้นัดพบกับนายนพดล กรรณิกา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีแรงงาน กระทรวงแรงงาน (รมว.แรงงาน) ที่ชั้น 16 อาคารซอฟท์แวร์ ปาร์ค นนทบุรี เพื่อปรึกษาหารือเรื่องร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งได้ผ่านวาระ 1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมขึ้นมาเพื่อพิจารณาร่างแล้ว และมีการประชุมผ่านไปแล้ว 2 ครั้ง

นายชาลี ลอยสูงประธานคสรท.ได้กล่าวว่า จากการประชุมร่วมทางคปก.กับทางคสรท.ได้มีการสรุปข้อเสนอเพื่อเสนอให้ตัวแทนแรงงานกรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมทั้งหมด 15 ข้อ เป็นข้อเสนอเรื่องสิทธิ สวัสดิการ และสร้างความโปร่งใสด้านการบริหารจัดการ มีการตัด และเพิ่มเติมถ้อยคำในร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมที่กำลังพิจารณาอยู่ โดยมีการกำหนดว่าจะต้องส่งข้อเสนอทั้งหมดให้กับทางกรรมาธิการ เพื่อนำไปบรรจุในร่างกฎหมายด้งกล่าว

Untitled-1

โดยข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯมี ดังนี้

(1.) ในมาตรา 5 การว่างงาน หมายความว่าการที่ผู้ประกันตนต้องหยุดงานเนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะเหตุลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ซึ่งตรงนี้เป็นการตัดสิทธิลูกจ้างที่อาจมีเหตุจำเป็นในการต้องลาออก หรือถูกให้เขียนใบลาออก จึงเสนอให้ตัดคำว่า “เพราะเหตุลูกจ้างถูกเลิกจ้าง”ออกเพื่อให้เกิดความครอบคลุมเป็นต้น

(2.) ให้เพิ่มถอยคำตามร่างในมาตรา 8 วรรคสาม และตัดบางถ้อยคำออก ดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งมาจากการเลือกตั้งเติมคำว่า “โดยตรงของผู้ประกันตนและต้องคำนึ่งถึงการมีส่วนร่วมของหญิงชาย” ทั้งนี้หลีกเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่ “คณะกรรมการกำหนด”โดย ตัด “รัฐมนตรี”ออก

(3.) ให้แก้ไขถ้อยคำตามร่างในมาตรา 8/1วรรคสอง ดังต่อไปนี้ คือหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามที่ตัดรัฐมนตรีออก เติมเป็น “คณะกรรมการ”กำหนด
4. ให้เพิ่มเติม(1/1)ตามร่างในมาตรา 8/2 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งหรือที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย เติม(1/1)อายุไม่เกิน 70 ปี

(4.) ให้แก้ไขถ้อยคำตามร่างมาตรา 11(3) ดังต่อไปนี้ (3) คณะกรรมการมีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ ด้วยคะแนนเสียงตัดคำว่า “ไม่น้อยกว่าสองในสามออก เพิ่มเติมเป็น “กึ่งหนึ่ง”ของจำนวนกรรมการที่มีอยู่

(5.) ให้เพิ่มเติม (3/1) ตามร่างในมาตรา 11 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการซึ่งมีรัฐมนตรีแต่ตั้งหรือที่หรึกษาพ้นจากตำแหน่ง (3/1)เพิ่มเติมเป็น “ผู้ประกันตนไม่น้อยกว่าห้าพันคนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอประธานคณะกรรมการเพื่อให้คณะกรรมการมีมติถอดถอนกรรมการออกจากตำแหน่ง เพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่มีอยู่

Untitled-4Untitled-5

(6.) ให้เพิ่มเติมถอยคำตามร่างในมาตรา 14 วรรคสาม ดังต่อไปนี้ ประธาน และกรรมการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ หรือในด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หรือด้านการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล เพิ่มเติม “ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้ประกันตนฝ่ายละหนึ่งคน” และให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี

(7.) ให้ความต่อไปนี้เป็นร่างมาตรา 14/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 คือ“ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบจำนวนไม่เกินเก้าคนประกอบด้วย ประธาน กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอื่นจากบุคคลดังต่อไปนี้

(1) อธิบดีกรมบัญชีกลาง และรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์

(2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ เป็นที่ประจักษ์ในด้านบัญชี และการเงิน ด้านกฎหมาย ด้านบริหารการลงทุนสาขาละหนึ่งคน รวมกันไม่เกินสามคน ซึ่งไม่เป็ฯข้าราชการ พนักงานข้าราชการ ลูกจ้าง และที่ปรึกษาของสำนักงานกระทรวงแรงงาน

(3) กรรมการฝ่ายผู้ประกันตน และฝ่ายนายจ้างซึ่งเลือกกันเองในคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายละสองคนให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการตรวจสอบของสำนักงานเป็นเลขานุการ
ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการตรวจสอบความเห็นชอบร่วมกันของคณะกรรมการ และให้นำบทบัญญัติมาตรา 8/2 มาตรา 10 วรรคสอง มาตรา 11 มาตรา 12 และมาตรา 13 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

(8.) ให้แก้ไขถ้อยคำตามร่างฯในมาตรา 40 วรรคสาม ดังต่อไปนี้ ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่ตัดคำว่า “ไม่เกินกึ่งหนึ่งของ”ออก เพิ่มเติมคำว่า “ไม่น้อยกว่า”เงินสมทบที่ได้รับจากผุ้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง

(9.) ให้ตัดถ้อยคำตามร่างฯในมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นใดเห็นว่า ตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 54 และประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด โดยให้ตัด “ภายในสองปีนับแต่วันที่มีสิทธิออก” และให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายพิจารณาสั่งการโดยเร็ว

(10.) ให้ตัดถ้อยคำตามร่างในมาตรา 56 วรรคสาม ดังต่อไปนี้ ในกรณีมีการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทนตามวรรคหนึ่งเป็นตัวเงิน และได้แจ้งให้ผู้ประกันตน หรือบุคคลซึ่งมีสิทธิทราบแล้ว ให้ผู้ประกันตน หรือบุคคลซึ่งมีสิทธิมารับเงินดังกล่าวโดยเร็ว โดยให้ตัด “หากไม่มารับภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน

(11.) ตามร่างมาตรา 29 ให้เพิ่มเติมมาตรา 29/1 โดยมีถ้อยคำดังต่อไปนี้ มาตรา 29/14 ให้ยกเลิกความในมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ต่อเมื่อภายในระยะเวลาสิบห้าเดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า “หนึ่งเดือน””

(12.) ให้ตัดถ้อยคำตามร่างในมาตรา 65วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือภริยาต่อเมื่อภายในระยะเวลาสิบห้าเดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตัดคำว่า “ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดเดือน

(13.) ให้ตัดถ้อยคำตามร่างฯในมาตรา 65 วรรคสามทั้งหมด ดังต่อไปนี้ “ให้ผู้ปนะกันตน แต่ละคนมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรสำหรับการคลอดบุตรไม่เกินสองครั้ง

(14.) ให้ตัดถ้อยคำตามร่างในมาตรา 75 ดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ ตัดคำว่า “จำนวนคราวละไม่เกินสองคน” บุตรดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

(15.) ให้ตัดถ้อยคำตามร่างฯในมาตรา 79/1 ดังต่อไปนี้ ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ตัดคำว่า“เมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน และต้องอยู่ภายในระยะเวลาสิบห้าเดือนก่อนที่ผุ้ประกันคนไม่ได้ทำงาน” ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการว่างงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

Untitled-3P5010161

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคสรท. กล่าวว่า สถานการณ์การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เร็วมากสิ่งที่เป็นปัญหาแลต้องการเสนอของขบวนการแรงงานในเรื่องของความโปร่งใส เป็นอิสระ ตรวจสอบได้ ระดับโครงสร้างร่างกฎหมายฯอาจไม่สามรถเปลี่ยนได้เพราะหลักการร่างกฎหมายผ่านการพิจารณารับหลักการมาแล้วในการประชุมสนช. เช่น โครงสร้างยังเป็นระบบราชการทั้งประธาน และเลขาคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด) ความเป็นอิสระอย่างที่คลาดหวังยังไม่ได้ ซึ่งได้เสนอเรื่องหลักการการได้มาของการเลือกตัวแทนที่เห็นว่าควรเป็น 1 สิทธิ 1 เสียงจากผู้ประกันตน และคณะกรรมการการลงทุนให้มาจากสรรหาจากผู้มีประสบการ กรรมการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ที่ต้องปลอดจากการเมือง และร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องไม่มีการตัดสิทธิผู้ประกันตนที่เคยได้ เคยมี ควรต้องมีการเพิ่มสิทธิให้กับผู้ประกันตน ซึ่งประเด็นที่เริ่มเห็นถึงการลดสิทธิคือการที่คนงานลาออกแล้วไม่ได้สิทธิกรณีว่างงาน

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมในส่วนของข้อเสนอ 4 หลักการสำคัญของร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมคนทำงานตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับกรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมในสัดส่วนของตัวแทนแรงงาน และกรรมาธิการวิสามัญฯสายองค์กรเอกชนที่จะนำเสนอเข้าสู่การประชุมพิจารณาร่างกฎหมายฯ ส่วนคสรท.จะมีการนำข้อเสนอต่างๆไปเสนอต่อกรรมาธิการเพื่อให้นำข้อเสนอเข้าสู่วาระพิจารณา เพื่อให้เป็นข้อเสนอในที่ประชุมกรรมาธิการ หากข้อใดไม่ตรงกรรมาธิการสามารถที่จะแขวนไว้เพื่อการอภิปรายในสภาเมื่อเข้าสู่วาระที่ 3 เพื่อให้สภาพิจารณาได้” วิไลวรรณกล่าว

นายนพดล กรรณิกา เป็นที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าวว่า สิ่งที่ทางขบวนการแรงงานเสนอเรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคมนั้นถือว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดของรัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงานเรื่องการปฏิรูปเช่นกัน เห็นสภาพปัญหาแบบเดียวกัน และต้องการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรม ในฐานะที่ปรึกษาก็จะนำข้อเสนอที่มีการเสนอทั้ง 15 ข้อนี้กลับไปเสนอต่อรัฐมนตรีฯ อย่างไรเห็นด้วยในหลักการ สิ่งไหนที่สามารถนำมาเพิ่มเติมได้ก็จะเพิ่มเติมลงไปในร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับที่กำลังพิจารณาอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างฯ ซึ่งมีเนื้อหามุ่งเน้นให้กองทุนตอบสนองความต้องการของทุกฝ่ายทั้งผู้ประกันตน นายจ้าง และเจ้าหน้าที่รัฐให้มากที่สุด เน้นเรื่องความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สกัดกั้นทุกกลุ่มที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มการเมือง

PA300362

ด้านนายมนัส โกศล กรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. และโฆษกกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ร่างกฎหมายที่กำลังพิจารณาอยู่ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างที่ปะปุ จากกฎหมายประกันสังคมเดิมมีทั้งหมด 45 มาตรา ซึ่งผ่านการรับหลักการ และแต่งตั้งกรรมาธิการทั้งคณะ18 คน ประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง ล่าสุดประชุมเมื่อวันที่ 10 พ.ย. มีการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายไปบ้างแล้วโดยสรุปที่ประชุมมีมติในมาตรา1,2,3 ยืนหลักการตามร่างฯ ในส่วนมาตรา 4 ตามร่างนั้นที่ประชุมเสนอให้ตัดส่วน(3) ออก “กรณีที่กำหนดยกเว้นกรณีที่มีการส่งคนไปทำงานต่างประเทศ” เพื่อให้ครอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่มมากขึ้น พิจารณามาตรา 5 กรณีทุพพลภาพ และตามร่าง กรณีว่างงาน ที่มีการกำหนดตัดสิทธิกรณีลาอกจากงานไม่ได้สิทธิกรณีว่างงานประชุมเสนอให้ตัดออก โดยให้ใช้หลักการกฏหมายประกันสังคมพ.ศ. 2533ปัจจุบัน คือให้ได้รับสิทธิเหมือนเดิม ร้อยละ 30 เป็นเวลา 3 เดือน และมาตรา6,7 ที่ประชุมยืนตามร่าง ในส่วนมาตรา8 นั้นกรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ด) มีการเสนอให้เพิ่มจากเดิมฝ่ายละ 5 คนเป็นฝ่ายละ7คน ส่วนวิธีการได้มาของบอร์ดเสนอให้เป็นการเลือกตั้ง ซึ่งการเลืกตั้งนั้นตนได้เสนอให้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงจากผู้ประกันตน ซึ่งที่ประชุมก็เห็นด้วย แต่ยังไม่ได้สรุปว่าควรเป็นแนวทางเลือกตั้งแบบใด หากเลือกตั้งแบบ 1 สิทธิ 1 เสียงจะใช้งบประมาณมากน้อยแค่ไหน จะคุ้มหรือไม่ แล้วนายจ้างจะใช้วิธีการเลือกอย่างไร ในมาตรานี้ใช้เวลาอภิปรายนานมากเพราะเป็นมาตราหลักและมีหลายประเด็นที่ต้อใช้เวลาในการถกเถียงกันโดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมและวิธีการได้มาของบอร์ด. ที่ประชุมจึงมีความเห็นให้กฤษฎีกา และผู้แทนสำนักงานประกันสังคม คุณโกวิท สังจวิเศษ และคุณมนัส โกศล กรรมาธิการฯไปดำเนินการยกร่างมา เพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งหน้าในวันที่17 พ.ย.ที่จึงนี้

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน