คนทำงานไม้-ก่อสร้างยกระดับการรวมตัวสู่สากล

PC030053

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ประชุมสัมมัชชาเปิดตัว เครือข่ายสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง และคนทำไม้แห่งประเทศไทย (BWICT) เพื่อสร้างเครือข่ายคนทำงานก่อสร้าง และคนทำงานไม้ ระหว่างประเทศ เพื่อความสามัคคี หวังความเข้มแข็ง

วันที่ 1-5 ธันวาคม 2556 คณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับสหพันธ์แรงงานก่อสร้าง และคนทำไม้ระหว่างประเทศ (BWI) จัดสมัชชาระดับโลกครั้งที่ 3 ที่โรงแรมรอเยล ออคิดเชอราตัน กรุงเทพ เป็นการเปิดตัวเครือข่ายสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง และคนทำไม้แห่งประเทศไทย (BWICT)ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (BWICT-TLSC) เพื่อรับรองรากฐานแห่งความสมานฉันท์สามัคคี สำหรับการดำเนินการจัดตั้งรวมตัวกันเป็นองค์กรระดับอุตสาหกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ของคสรท. รับร้องเห็นชอบคณะกรรมการประสานงานที่จะเป็นคณะทำงานผู้ตัดสินใจในฐานะคณะกรรมการบริหารองค์กร และรับรองแผนปฏิบัติการ 3 ปีตามแผนยุทธศาสตร์ 10 ปีของคสรท.ที่มุ่งเน้นการจัดตั้ง และขยายสมาชิกใหม่ การควบรวมของสมาชิกที่มีอยู่เดิม และวางโครงสร้างการทำงานองค์กรแรงงานระดับอุตสาหกรรม
PC030044PC030016

นายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท.กล่าวว่า เครือข่ายอุตสาหกรรมก่อสร้าง และคนทำไม้แห่งประเทศไทย (BWICT) เป็นสหภาพแรงงานของสายอุตสาหกรรมที่ทำงานอยู่ภายใต้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยซึ่งทำงานร่วมกับสหพันธ์แรงงานก่อสร้างฯ(BWI) ทั้งในระดับภูมิภาค และสากลเพื่อส่งเสริมขยายสิทธิประโยชน์ของแรงงานในสายงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง และคนทำไม้ ขบวนการแรงงานต้องเปลี่ยนแปลงบนหลักการดังนี้

1. เชิดชูสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีของคนงาน โดยจะต้องปฏิเสธและต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบแรงงานมนุษย์ทุกรูปแบบ

2. ส่งเสริมสถาบันแบบประชาธิปไตย ความโปร่งใส การใช้เงินกองทุนแรงงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเต็มที่ และเป็นประโยชน์ต่อมวลสมาชิก

3. ส่งเสริมความสามัคคีฉันท์มิตรสหายการทำงาน และภราดรภาพในหมู่สมาชิกสหภาพแรงงาน

PC030071PC030031

เครือข่ายสหภาพแรงงานอุสาหกรรมก่อสร้างฯเป็นแรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อตั้งเพื่อการทำงานปรับปรุงแก้ไขสภาพการจ้างงาน และชีวิตแรงงานในอุตสาหกรรมให้ดีขึ้น เป็นการรวมตัวเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรม สามารถคุ้มครองการจ้างงาน และตอบสนองความเข็มแข็งขบวนการแรงงานที่ต้องมีช่องทางการแสดงสิทธิและเสียงของคนงานให้เป็นที่รับรู้ ประจักษ์ต่อสาธารณะชน เพื่อที่จะบรรลุหลักการเป้าหมาย ความสามัคคี ความเป็นเอกภาพ ซึ่งประกอบด้วย

1. อุตสาหกรรมนี้จะต้องมีการสร้างเสียงๆเดียวกันให้กับคนงานสายอุตสาหกรรมนี้

2. เสริมความแข็งแกร่งในสายอุตสาหกรรม สร้างการทำงานร่วมมือ การประสานงาน ความเป็นเอกภาพของขบวนการสหภาพแรงงานทั้งหมด

3. ให้การสนับสนุน และเป็นเสียงที่เข็มแข็งกับขบวนการแรงงานของคนงานไทยในการรณรงค์ ให้เกิดการเชิดชูสิทธิเสรีภาพแรงงานข้ามภาคส่วนอุตสาหกรรมในระดับสากล และระห่างประเทศ

4. ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางนิติบัญญัติและทางการเมือง เช่นสิทธิตั้งสหภาพแรงงาน สิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนงานที่มีรูปแบบการจ้างงานที่ไม่เป็นระบบ

5. ให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานโดยผลักดันให้มีการตอบสนองต่อประเด็นปัญหาต่างๆภายในสายงานอุตสาหกรรมนี้ เช่นค่าแรง สภาวะสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของการทำงาน ระบบประกันสังคม และเสริมสร้างทักษะให้กับคนงาน

6. การปรับกรุงแก้ไขความไม่เท่าเทียมกัน การปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อคนงานทั่วไปให้มีการกระทำที่ดีเท่าเทียมกันสม่ำเสมอกัน และเป็นธรรมต่อคนงานโดยไม่คำนึงถึงเพศสถานะ สภาพร่างกายเชื้อชาติ ชาติพันธ์ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อและอื่นๆ

7. ให้มีบรรยากาศแห่งการแบ่งปั่นสมานฉันท์ในการเดินรณรงค์เคลื่อนไหวต่างๆ

PC030057PC040087

นายบุญสม ทาวิจิตร ผู้ประสานงานเครือข่ายBWICT กล่าวว่า ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่มีการรวมตัวอุตสาหกรรมก่อสร้าง และคนทำงานไม้ภายใต้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และได้มีการประกาศการรวมตัวกันของสหภาพแรงงานภายใต้อุตสาหกรรม ซึ่งขณะนี้มีส่วนของสหภาพแรงงานในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่รวมตัวเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม และตอนนี้มีการรวมตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างคนทำไม้ ซึ่งมีทั้งคนงานในเอกชน และรัฐวิสาหกิจ มีทั้งคนทำไม้ ก่อสร้าง ผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ เซรามิค ปูน ฯลฯ โดยมีการปรึกษาหารือกันหลายครั้งสรุปว่าจะมีการรวมตัวกันในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งในส่วนของนายจ้างได้มีการรวมตัวกันในระดับสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อการต่อรองรับเหมาก่อสร้าง ในการประมูลงาน แต่คนงานยังไม่มีการรวมตัว หรือรวมกันเพียงในประเภทกิจการ ต่อรองกันเพียงภายในสถานประกอบการของตน คสรท.ในฐานBWICTจะทำงานในระดับภูมิภาค เสริมขบวนการ เพื่อเรียกร้องสวัสดิการให้กับคนทำงานก่อสร้าง และคนทำไม้

เพื่อต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบ การใช้กองทุนอย่างโปร่งใส ส่งเสริมให้ได้รับสิทธิ และสวัสดิการอย่างเท่าเทียมกัน และสร้างเสริมให้เกิดความเป็นเอกภาพภราดรภาพในหมู่คนทำงาน

ปัญหาของคนทำงานก่อสร้าง และคนทำไม้คือ ความไม่มั่นคงในการมีงาน ความไม่ปลอดภัยในการทำงาน การทำงานบนตึกสูง การไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการรวมตัว เพื่อให้คนงานได้รับสิทธิ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

PC040081PC040084

นายRC Khuntia Joint Committee of Central Trade Union of India กล่าวว่า ขบวนการแรงงานมีมากว่า 94 ปี มีกระทรวงแรงงานอินเดีย ขบวนการแรงงานอินเดียเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมเรียกร้องเอกราช และเรียกร้องสิทธิประโยชน์ให้กับคนทำงาน มีสัญญาการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน มีสวัสดิการประกันสังคม ความมั่นคงในการทำงาน สนับสนุนให้มีค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อสร้างมาตรฐานค่าจ้าง
ปัจจุบันมีมีแนวโน้มในการใช้การจ้างงานแบบทดแทนการจ้างงานที่มีสัญญาที่แตกต่างกัน ค่าจ้างสวัสดิการที่ไม่เท่ากับการจ้างแรงงานปกติซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน

แม้ว่าอินเดียจะมีกฎหมายแรงงานก็ตามแต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาจึงมีความพยายามที่จะให้มีการบังคับใช้ โยสหภาพแรงงานเรียกร้องผลักดันจนเกิดการชุมนุมใหญ่นัดหยุดงาน กฎหมายฉบับเดียวกันแต่ปฏิบัติแตกต่างกันในแต่ละประเภทกิจการ สัญญาจ้างต่างกัน สภาพปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการทำงานร่วมกับ BWIเพื่อให้เกิดการผลักดันร่วมกัน ในการเสนอเรื่องไปที่กระทรวงแรงงานให้มีการคุ้มครองการจ้างงานตามสัญญาจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

ประเทศอินเดียมีสหภาพแรงงานราวหมื่นแห่ง มีศูนย์กลาง 11 สภา มีการทำงานร่วมกับทางพรรคการเมืองในการทำงานด้านนโยบาย ซึ่งก็มีความต่างกันของสภาแต่ละแห่ง ในการสนับสนุนพรรคการเมือง

PC030076PC030035

นายเดเนียว จากประเทศนิวเซอร์แลนด์ กล่าวว่า ประเทศจะทำงานตัดไม้เพื่อส่งออก มีอุตสาหกรรมทำไม้ที่เป็นแรงงานพลัดถิ่น(แรงงานข้ามชาติ)เข้าไปทำงานจำนวนมาก ซึ่งสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมคนทำงานไม้มีสมาชิกรวมประมาณ 25,000 คน และได้เข้าร่วมกับขบวนการแรงงานใหญ่ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นทำให้รู้เรื่องการเมือง และระหว่างการพัฒนาทำให้เกิดเรื่องใหม่ๆมากขึ้นในเรื่องการเมือง และการทำข้อตกลงร่วมกับทางรับบาลเรื่องป่าไม้ มีคนงานเข้าไปทำงานในป่าไม้ราว 3 แสนกว่าคน ที่พ่อแม่ ลูกเมียเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งทางสหภาพแรงงานได้ทำข้อตกลงด้วยเงื่อนไขการทำงานต้องมีการดูแลเรื่องความปลอดภัย และมีบรรษัทข้ามชาติที่เข้าไปจ้างงานเหมาซึ่งก็ต้องได้รับการคุ้มครองมีมาตรฐานการจ้างงาน และความปลอดภัยในการทำงานเช่นเดียวกัน เพราะงานไม้เป็นการทำงานที่ไม่ปลอดภัย งานทุกอย่างที่เกี่ยวกับการทำไม้ส่งออก นำเข้าจะมีการใช้แรงงานพลัดถิ่น

นาย Gerard Seno NAGKAISA Philippines กล่าวว่า องค์กร นากาซะเป็นการรวมตัวของ 49 สหภาพที่ต้องการความก้าวหน้าเป็นบวนจัดตั้งภายใต้แนวคิดสร้างความสามัคคี และการคุ้มครองให้เกิดความมั่นคงในการทำงาน การแสดงออกในทางการเมือง และสร้างการจ้างงานความเหมาะสม
องค์กรมีคณะทำงาน เลขาธิการมาจากสหภาพแรงงานต่างๆ มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ต้องเป็นคนที่ทำงานเสียสละ กองเลขาทำงานไม่เต็มเวลา แต่มีเจ้าหน้าที่ทำงานประจำ มีการต่อสู้เฉพาะเรื่อง เช่นที่พักแพง ค่าไฟฟ้า รวมถึงสิทธิต่างๆ ขบวนการแรงงานร่วมกันผลักดันค่าจ้างขั้นต่ำ ลดค่าไฟฟ้า เดินขบวนร่วมกันในวันกรรมกรสากล เดินรณรงค์ชุมนุมช่วงที่มีการประชุมเวิร์ดแบงค์ การจัดการศึกษาให้ความรู้
การต่อสู้เรื่องเพิ่มค่าจ้าง ลดค่าไฟฟ้า เพราะที่ฟิลิปปินส์มีค่าไฟฟ้าที่แพงมาก และการสร้างบ้านพักที่แพงเชนกัน ค่าจ้างจะใช้ประเภทกิจการในการจ้างงานทำให้ฟิลิปปินส์มีอัตราค่าจ้างที่ต่างกันถึง 16-17 ประเภทอุตสาหกรรม

นายMarlon Quesada SASK Finland กล่าวว่า คนงานในภูมิภาคเอเชียประสบปัญหาการจ้างงาน และความแตกแยกของสหภาพแรงงาน ข่าวดี มีความพยายามทำงานร่วมกันมากขึ้นเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ในการแก้ไขปัญหาแรงงานภายใต้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เป็นสหภาพแรงงานใหญ่ในระยะหลังที่มีการรวมตัวของอุตสาหกรรมโลหะ ยานยนต์ ตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อทำหน้าที่เรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำของคสรท. ให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม

เช่นเดียวกันมีความหลากหลายขององค์กรแรงงาน การรวมตัวของแรงงานในนิวซีแลนด์มีความพยายามที่จะรวมตัวกันมากขึ้น ฟิลิปปินส์ สหภาพแรงงานที่เคยทะเลาะกันวันหนึ่งก็มาคุยกัน และทำงานร่วมกัน เพื่อเรียกร้องให้รับบาลปรับขึ้นค่าจ้าง และลดค่าไฟฟ้าที่แพงที่สุดในภูมิภาคนี้
ประเทศเนปาล สหภาพแรงงานมี 7 แห่งรวมตัวกันเพื่อให้บรรลุข้อเสนอกำหมายประกันสังคมได้ และต้องการให้มีค่าจ้างขั้นต่ำ

แรงงานในอินโดนิเซีย การรวมตัวเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2 ปีซ้อนคือ ปี 2011-2012 มีคนเข้าร่วมชุมนุมราว 2 ล้านคนทำให้รัฐบาลต้องประกาศค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ การจ้างงานต้องผ่านสหภาพแรงงานทำให้ลดการจ้างงานแรงงานนอกระบบที่ถูกขุดรีดเอาเปรียบ
พลังการทำงานร่วมกันสำคัญมาก BWICT จึงเป็นการทำงานข้ามสาขาอาชีพ ทำให้ขบวนการแรงงานเติบโต ไม่แตกแยก จะเห็นว่าความสามัคคีจะทำให้เกิดสิ่งดีๆได้ ต้องรวมกันจึงจะชนะ และจะชนะไม่ได้ ข้อเรียกร้อง ค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าครองชีพแพง สถานการณ์ทำให้ต้องร่วมมือกัน ผู้นำแรงงานต้องหยุดทะเลาะกัน ต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ชัยชนะคือแรงบันดาลใจ การสร้างความแข็งแกรงคือการจัดตั้ง เอกภาพจะทำให้เข้มแข็งได้

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน