คนงานNXP เฮ กรรมการสิทธิชี้นายจ้างให้ทำงาน 4 หยุด 2 วันกระทบสิทธิลูกจ้างรายวัน

C360_2014-05-11-10-50-52-85กรรมการสิทธิมนุษยชนชี้นายจ้างNXPเปลี่ยนแปลงสภาการจ้างในรูปแบบการทำงานจากเดินที่ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วันเป็นรูปแบบการทำงาน 4 วัน หยุด 2 วัน โดยการลดวันทำงานของลูกจ้างรายวันทำให้รายได้ของลูกจ้างรายวันลดลงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ คุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม และเงินทดแทน ให้ยกเลิกการจดทะเบียนสภาพการจ้าง

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557 ทางสหภาพแรงงานเอ็นเอ็กซ์พี แมนูแฟคเจอริ่ง ได้รับรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามที่สหภาพแรงงานฯได้มีการทำหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556 เรื่อง “สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชัพ กรณีข้อพิพาทแรงงานระหว่างบริษัท เอ็นเอ็กซ์พีแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (ไทยแลนด์) กับสหภาพแรงงานเอ็นเอ็กพี แมนูแฟคเจอริ่ง” ที่ได้มีการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง และสวัสดิการเพื่อให้สอดกับภาวการณ์ปัจจุบัน และต่อมาถูกนายจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อสหภาพแรงงาน จากเดิมทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน หยุด 1 วัน ได้ขอลดจำนวนทำงานลงเป็นทำงาน 4 วัน หยุด 2 วัน และเปลี่ยนระบบกะเข้าทำงานใหม่จากเดิมวันละ 3 กะๆละ 8 ชั่วโมงเป็นวันละ 2 กะๆละ 12 ชั่วโมงทำให้รายได้ของลูกจ้างที่เป็นลูกจ้างรายวันลดน้อยลงกว่าระบบเดิม และยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของลูกจ้างเนื่องจากไม่อาจมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว และสังคมได้อย่างปกติ

P5010534

P3040971

 

 

 

 

 

 

 

คณะกรรมการสิทธิฯได้มีความเห็นในการพิจารณาคำร้องโดยได้พิจารณาคำร้อง และความคิดเห็นของอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแล้วเห็นว่า การกระทำดังกล่าวของนายจ้างที่เปลี่ยนแปลงสภาการจ้างในรูปแบบการทำงานจากเดินที่ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วันเป็นรูปแบบการทำงาน 4 วัน หยุด 2 วัน โดยการลดวันทำงานของลูกจ้างรายวันทำให้รายได้ของลูกจ้างรายวันลดลงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ตามในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 และการบีบบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยมิได้สมัครใจ ขัดต่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 23และมาตรา24ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิทธิในเรื่องโอกาส และเวลาในการพักผ่อนของลูกจ้าง ตลอดจนวิถีการดำรงชีวิตในทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา ที่ต้องยึดโยงอยู่กับวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดประเพณี และวันสำคัญทางศาสนา รวมทั้งสิทธิในเงินค่าชดเชยจากการเลิกจ้างที่ต้องลดน้อยลง เนื่องจากค่าจ้างของลูกจ้างรายวันที่นำไปใช้คำนวณเพื่อให้ลูกจ้างรายวันได้รับสิทธิตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในหมวด 11 มาตรา 118 ลดลง รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ (กรณีว่างงาน ชราภาพ) จากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ 2533 และสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จาก พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537กรณีเงินค่าทดแทน จากการที่ลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือสูญหายอันเนื่องมาจากการทำงานตามมาตรา 18 กรณีที่ต้องคำนวณจากค่าจ้างของลูกจ้างด้วยเช่นกัน

P3040979นอกจากนี้ในการกำหนดประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดของคณะผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานกระทรวงแรงงานควรพิจารณารายละเอียดของข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านเป็นรายกรณีไป เพื่อไม่ให้การกำหนดประเด็นวินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากเจตนาที่แท้จริงของฝ่ายผู้ร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่เป็นลูกจ้างรายวันที่เป็นผู้ใช้แรงงานซึ่งส่วนใหญ่มีสถานะทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม ที่เอื้อต่อการเข้าถึงความรู้ การให้คำปรึกษาแนะนำน้อยกว่านายจ้างซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้โอกาสดังกล่าวมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นก็ต้องอาศัยหน่วยงานของรัฐเป็นกลไกเข้ามาช่วยเหลือ

มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และข้อเสนอแนะมีดังนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนพิจารณาแล้วเห็นควรให้กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาไปยังผู้ถูกร้อง กระทรวงแรงงาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดังนี้

1. ให้ผู้ถูกร้อง (นายจ้าง)แจ้งยกเลิกการจดทะเบียนสภาพการจ้าง สำหรับรูปแบบการทำงานใหม่ที่ใช้บังคับกับลูกจ้างรายวัน (กำหนดให้เป็นวันทำงาน 4 วันหยุด 2 วัน)อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และกลับไปใช้รูปแบบการทำงานเดิม คือกำหนดวันทำงานสัปดาห์ละ 6 วันหยุด 1 วัน

2. แจ้งให้กระทรวงแรงงาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพิจารณาทบทวนการจัดทะเบียนสภาพการจ้างของผู้ถูกร้องที่กำหนดรูปแบบการทำงาน 4 วัน หยุด 2 วันขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 โดยข้อมูลข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะกรรมการสิทธิฯเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาทับทวน

3. แจ้งให้กระทรวงแรงงานเพื่อทราบและกำกับดูแลการให้กำหนดประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานได้มีการพิจารณารายละเอียดของข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านเพื่อเป็นการป้องกันมิให้ประเด็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากเจตนาที่แท้จริงของทุกฝ่าย ที่ต้องการให้พิจารณาวินิจฉัยในเรื่องนั้นๆอันจะทำให้ผลคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเป็นไปด้วยความเป็นธรรมอย่างแท้จริง โดยนพข้อมูล ข้อเท็จจริง และความเห็นของคณะกรรมการสิทธิฯเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา

ทั้งนี้ให้ผู้ถูกร้อง กระทรวงแรงงาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการสิทธิฯภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบนี้

นักสื่อสารแรงงานรังสิตปทุมธานี รายงาน