ข้อมูลเพื่อประกอบการผลักดัน “ค่าจ้างที่เป็นธรรม”

 

ข้อมูลเพื่อประกอบการผลักดัน “ค่าจ้างที่เป็นธรรม”

1. ความเป็นมา

“ค่าจ้าง” ไม่ได้เป็นเพียงตัวชี้วัดค่าตอบแทนสำหรับคนงานเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวชี้วัดสินค้าและบริการที่เข้าออกในระบบเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของกลไกการผลิตด้วยเช่นกัน เศรษฐกิจจะมั่นคงอยู่ได้ก็เพราะค่าจ้างของคนงานที่ส่งผลต่อเนื่องถึงสมาชิกในสังคมกลุ่มอื่นๆ และส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในสถานการณ์ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ไม่พอเพียงต่อการดำรงชีพของคนงานในแต่ละวัน โดยขบวนการแรงงานไทยได้พยายามผลักดันให้เกิดค่าจ้างที่เป็นธรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้คนงานและครอบครัวดำรงชีพอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐแต่อย่างใด

ด้วยความตระหนักถึงปัญหาในเรื่องค่าจ้าง ในปี พ.ศ.2551และ พ.ศ.2552คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และเครือข่ายองค์กรแรงงาน ได้มีการออกแบบสำรวจเพื่อประกอบการผลักดันค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยเป็นแบบสำรวจที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจริงในการดำรงชีพของลูกจ้าง 1คนต่อวัน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภคอื่นๆที่ต้องจ่ายจริงต่อเดือน และข้อมูลค่าจ้างขั้นต่ำต่อวันที่ควรจะเป็น

2. จำนวนแบบสอบถามและกลุ่มตัวอย่าง

            ปี พ.ศ.2551

  • คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้กระจายแบบสอบถามให้แก่องค์กรสมาชิก จำนวน 650 ชุด
  • แบบสอบถามที่เก็บข้อมูลกลับมาได้สมบูรณ์ จำนวน 520 ชุด (คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของแบบสอบถามทั้งหมด)
  • กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล แยกตามพื้นที่และภูมิภาค แบ่งออกเป็น
  • แบบสอบถามที่ได้จากคนงานในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 246 ชุด
  • แบบสอบถามที่ได้จากคนงานในนิคมอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ จำนวน 274 ชุด
  • กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล แยกตามสายอุตสาหกรรมต่างๆ แบ่งออกเป็น
  • สายอุตสาหกรรมสิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวน 96 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 98 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 86 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมธนาคารและการเงิน จำนวน 54 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ จำนวน 25 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ จำนวน 42 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมเซรามิก จำนวน 61 ชุด
  • กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 58 ชุด

ปี พ.ศ.2552

  • คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้กระจายแบบสอบถามให้แก่องค์กรสมาชิก จำนวน 600 ชุด
  • แบบสอบถามที่เก็บข้อมูลกลับมาได้สมบูรณ์ จำนวน 531 ชุด (คิดเป็น 88.5 เปอร์เซ็นต์ของแบบสอบถามทั้งหมด)
  • กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล แยกตามพื้นที่และภูมิภาค แบ่งออกเป็น
  • แบบสอบถามที่ได้จากคนงานในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 232 ชุด
  • แบบสอบถามที่ได้จากคนงานในนิคมอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ จำนวน 299 ชุด
  • กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล แยกตามสายอุตสาหกรรมต่างๆ แบ่งออกเป็น
  • สายอุตสาหกรรมสิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวน 77 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 73 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 74 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมธนาคารและการเงิน จำนวน 57 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ จำนวน 47 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ จำนวน 53 ชุด
  • สายอุตสาหกรรมเซรามิก จำนวน 55 ชุด
  • แรงงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ จำนวน 49 ชุด
  • กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 46 ชุด

 

3. กรอบเนื้อหาในการสำรวจ

  • ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพต่อวันของคนงาน 1 คน ในปี พ.ศ.2551 และ 2552
  • ค่าใช้จ่ายประจำเดือนของคนงานในการยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัว ในปี พ.ศ.2551 และ 2552
  • ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดต่อเดือนของคนงาน ในปี พ.ศ.2552
  • ค่าจ้างขั้นต่ำที่เป็นธรรม ที่สอดคล้องกับการดำรงชีพของคนงาน ในปี 2552

4. ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ (แบบสอบถาม)

4.1. ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพต่อวันของคนงาน 1 คน

รายจ่าย

ปี 2551

ปี 2552

อัตราเพิ่มขึ้น

ค่าพาหนะ

35.00 บาท

40.86 บาท

16.74 %

อาหาร+เครื่องดื่ม

88.50 บาท

97.00 บาท

9.60 %

ยารักษาโรค

29.50 บาท

34.22 บาท

16.00 %

รวม

153.00 บาท

172.08 บาท

12.47 %

 

4.2. ค่าใช้จ่ายประจำเดือนของคนงานในการยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัว

รายจ่าย

ปี 2551

ปี 2552

อัตราเพิ่มขึ้น

ค่าเช่าที่อยู่อาศัย

1,310.05 บาท

1,511.29บาท

15.36 %

ค่าสาธารณูปโภค

401.24 บาท

503.33บาท

25.44 %

กิจกรรมทางสังคม

352.03 บาท

423.59บาท

20.32 %

เลี้ยงดูครอบครัว

2,781.22 บาท

2,974.35บาท

6.94 %

ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

852.33 บาท

1,050.63บาท

23.26 %

ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา

911.01 บาท

1,005.03บาท

10.32 %

รวม

6,607.88 บาท

7,468.22 บาท

13.01 %

4.3. ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดต่อเดือนของคนงาน ในปี พ.ศ.2552

  • ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพรายวันในหนึ่งเดือน 5,162.40 บาท
  • ค่าใช้จ่ายรายเดือน 7,468.22บาท
  • รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือน 12,630.62บาท

4.4. ค่าจ้างขั้นต่ำที่เป็นธรรม ที่สอดคล้องกับการดำรงชีพของคนงาน ในปี 2552

  • จากค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือน 12,630.62 บาท
  • ดังนั้นค่าจ้างต่อวันที่จะเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายก็ควรจะเป็น 421.02 บาท (12,630.62หารด้วย 30วัน)

 

ที่มา : คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย