นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า การทำงานของเครือข่ายความช่วยเหลือ และฟื้นฟูแรงงานที่ประสบภัย ได้มีการทำงานมากว่า 2 เดือนเพื่อการตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือหลังจากที่มวลน้ำมหาศาลได้ทะลักไหลบ่าเข้าท่วมแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ภาคเหนือส่งผลกระทบกับประชาชน ชุมชน อุตสาหกรรมต่างๆทั้งแรงงานในระบบนอกระบบ เกษตรพันธสัญญา จนถึงพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรม และโรงงานจำนวนมากตั้งอยู่ และมีการจ้างงานแรงงานจำนวนมาก ทั้งแรงงานในระบบ แรงงานเหมาค่าแรง แรงงานข้ามชาติ และแรงงานที่อยู่นอกระบบ ซึ่งต้องได้รับผลพวงกระทบต่อการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ และการจ้างงาน
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ในฐานะองค์กรนำแรงงานได้ทำการปรึกษาระดมความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆของแรงงาน สภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานและองค์กรต่างๆ ที่ยังมีกำลังในการให้ช่วยเหลือ ผ่านศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เพื่อให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า เช่นข้าวสารอาหารแห้ง ของใช้ที่จำเป็น พร้อมทั้งได้มีการรวบรวมจัดทำข้อมูลด้วยการจัดทำแบบสอบถามเพื่อการจัดทำข้อเสนอความต้องการของผู้ใช้แรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม และแนวทางแก้ไขต่อภาครัฐ
ผลการศึกษา “การสำรวจข้อมูลผลกระทบจากอุทกภัยต่อแรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี จ.สมุทรสาคร จ.นครปฐม” โดยคณะนักศึกษาอาสาสมัครแรงงาน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ รวมกว่า 20 คน
จากผลสำรวจพบว่า การได้ทำการลงพื้นที่ร่วมให้ความช่วยเหลือ และการจัดเก็บข้อมูลโดยการจัดทำแบบสอบถามใช้เวลาเพียง 1 เดือน จาก 3 พื้นที่ คือพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสมุทรสาคร-นครปฐม เป็นการแจกแบบสอบถามผ่านการให้ความช่วยเหลือของสหภาพแรงงานในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้อาจไม่สามารถครอบคลุมแรงงานจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบได้ แต่ข้อมูลนี้อาจใช้สะท้อนปัญหาของผู้ใช้แรงงานกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้และอาจมีสภาพเดียวกันกับผู้ใช้แรงงานอีกหลายคนที่เป็นผู้ประสบเช่นเดียวกัน โดยได้มีการเริ่มจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม –วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 โดยการกระจายแบบสอบถามลงตามพื้นที่ต่างๆหลังที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม
องค์ประกอบข้อแบบสอบถาม คือชื่อ สกุล สถานภาพผู้ตอบ เพศ อายุ ที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน เป็นสหภาพแรงงานหรือไม่ สภาพการจ้างงาน ลูกจ้างประจำเหมาค่าแรงฯลฯ ผลกระทบจากน้ำท่วมสถานที่ทำงาน ที่บ้าน หรือฯลฯ การหยุดงานเช่นหยุดเอง นายจ้างสั่ง หรือ ค่าจ้างที่ได้รับช่วงน้ำท่วม เช่นได้รับร้อยละ 75 หรือเต็ม100 ฯลฯ ค่าใช้จ่ายรายเดือน นี้สินต่างๆ รายได้เสริมช่วงน้ำท่วมมีหรือไม่ รวมถึงข้อเสนอต่อรัฐ พร้อมที่อยู่ที่ติดต่อได้
รวมแบบสอบถามที่ครบถ้วนสมบูรณ์จำนวน 1,337 ชุดจาก 3 พื้นที่ สรุปได้ดังนี้ พื้นที่ในเขตอุตสาหกรรมพระนครศรีอยุธยา จำนวนคนงานทั้งหมด 548 คน เป็นผู้ชาย 220 คน คิดเป็นร้อยละ 40.10 เป็นผู้หญิง 328 คน คิดเป็นร้อยละ 59.90
ในพื้นที่ อุตสาหกรรมอ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร และอ้อมใหญ่ จ.นครปฐม จำนวนผู้ตอบรวม 673 คน เป็นผู้ชาย 119 คน คิดเป็นร้อยละ 18 เป็นผู้หญิง 554 คิดเป็นร้อยละ 82
ในพื้นที่รังสิตปทุมธานี จำนวนผู้ตอบ 116 คน เป็นผู้ชาย 78 คน คิดเป็นร้อยละ 32.8 เป็นผู้หญิง 38 คน คิดเป็นร้อยละ 67.2
แรงงานส่วนใหญ่ทั้ง 3 พื้นที่ สมรสแล้ว จำนวน 676 คน หย่าร้าง หรือแยกกันอยู่จำนวน 162 คน และส่วนใหญ่แรงงานจำนวน 637 คนมีบุตรเพียง 1 คน
จากแบบสอบถามยังพบว่า แรงงานยังมีปัญหาเรื่องความไม่มั่นในด้านรายได้ และการที่เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ ข้อจำกัด คือการที่มีการเก็บข้อมูลที่ต้องกระชับสั้นที่สุด เพราะการจัดเก็บต้องใช้เรือในการเข้าไปทำแบบสอบถามตามหอพักคนงาน ซึ่งพบส่วนใหญ่ของแรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เป็นคนนอกพื้นที่จังหวัดที่มาทำงาน คือไม่ใช่คนในพื้นที่ทะเบียนบ้านทำให้การที่จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ในมาตรการทั้งเฉพาะหน้าและนโยบายเป็นไปได้อยาก เนื่องจากการทำงานให้ความช่วยเหลือของรัฐท้องถิ่นเป็นการสำรวจตามที่อยู่อาศัยของประชาชนตามที่ตั้งทะเบียนบ้านซึ่งมีรายชื่อคนอาศัย ทำให้แรงงานในเขตอุตสาหกรรมพระนครศรีอยุธยากว่า 2 แสนคน ต้องตกสำรวจในการที่จะได้รับความช่วยเหลือ อยู่ที่ ร้อยละ 57.76 ซึ่งก็สอดคล้องกัน ทั้งส่วนของแรงงานในพื้นที่รังสิต ปทุมธานี และสมุทรสาคร นครปฐม
ในส่วนข้อมูลที่สอบถามเรื่องการมีสหภาพแรงงาน และความเป็นสมาชิก ที่จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้ตอบว่ามีสหภาพแรงงานร้อยละ 31 รังสิต จ.ปทุมธานีคล้ายกันส่วนอ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร -อ้อมใหญ่ จ.นครปฐม ร้อยละ 92 เนื่องจากในส่วนของรังสิต กับอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เป็นการทำงานใส่วนพื้นที่ของกลุ่มสหภาพแรงงานที่ทำงานในส่วนสมาชิกกลุ่มจึงได้ตัวเลขที่แตกต่างจากส่วนของพระนครศรีอยุธยา ที่ทำงานในพื้นที่ที่กว้างกว่าไม่ได้เน้นสอบถามเฉพาะสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานเท่านั้น
เรื่องสภาพการจ้างงานพบว่าทั้ง 3 พื้นที่ ที่มีการสอบถามสรุปว่าเป็นลูกจ้างประจำเป็นส่วนใหญ่ คือ พระนครศรีอยุธยาร้อยละ 49 อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ร้อยละ 66 และรังสิต ร้อยละ 70
สถานการณ์การหยุดงานในช่วงน้ำท่วมทั้ง 3 พื้นที่ส่วนใหญ่ นายจ้างสั่งให้หยุด ส่วนเรื่องการได้รับค่าจ้างช่วงน้ำท่วมนั้นปรากฏว่า ในพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นเขตที่น้ำท่วมหนักนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แรงงานเต็ม100 จำนวนร้อยละ 38 ได้รับค่าจ้างร้อยละ 75 จำนวนร้อยละ41.40 และมีบางส่วนที่ไม่ได้รับค่าจ้างเลยร้อยละ 12.40 ซึ่งยังมีที่ตอบแบบอื่นๆอีกไม่น้อยทีเดียวคือร้อยละ 8.20 เช่น จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้ลูกจ้างเป็น125% ทำงานได้รับค่าจ้างร้อยละ 50 จ่ายเดือนแรกเต็มร้อย เดือนต่อมาจ่ายร้อยละ 75 เป็นต้น ที่น่าสังเกตุคือ แรงงานในอยุธยาส่วนใหญ่รับค่าจ้างรายวันต่ำกว่าวันละ 200 บาท จำนวน 281 คน ส่วนใหญ่ที่อยู่ได้เพราะต้องทำงานเสริมหรือทำงานล่วงเวลา
ในส่วนพื้นที่อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ได้รับค่าจ้างเต็มร้อยจำนวนร้อยละ 16 รับค่าจ้างร้อยละ 75 จำนวนร้อยละ 48 ไม่ได้รับค่าจ้างเลยร้อยละ 6 มีผู้ตอบว่าอื่นๆถึงร้อยละ 30 นายจ้างให้ใช้สิทธิวันลาอื่นแทนการให้หยุดงาน นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับคนที่มาทำงานเพิ่มเป็น 125% ไปทำงานได้ค่าจ้างร้อยละ 75 จำนวน 5 วัน ไม่จ่ายค่าจ้าง 4 วัน ซึ่งแปลกกว่าพื้นที่อื่นที่หยุดงานได้ร้อยละ 75 และยังมีไม่แน่ใจว่าจะได้ค่าจ้างหรือไม่อีก 15 คน แรงงานส่วนใหญ่รับค่าจ้างรายวันๆละ200-300 บาท จำนวน 286 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีการทำงานล่วงเวลา
ในพื้นที่รังสิต มีแรงงานที่ตอบว่าได้รับค่าจ้างร้อยละ 18.75 ได้รับค่าจ้างร้อยละ 75 จำนวนร้อยละ 52.68 และไม่ได้รับค่าจ้างเลยร้อยละ 16.07 ส่วนตอบว่าอื่นๆร้อยละ 12.50 ซึ่งประกอบด้วย นายจ้างให้ไปทำงานในนิคมอื่นที่น้ำไม่ท่วม นายจ้างไม่ได้ชี้แจงให้ความชดเจนเรื่องการจ่ายค่าจ้าง ได้รับค่าจ้างเพียงร้อยละ 50 และนายจ้างเลิกจ้างแล้ว และส่วนของแรงงานในรังสิตส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวันและได้รับค่าจ้างวันละ 200-300 บาท ไม่ต่างกับแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ อยุธยาคือต้องมีการทำงานล่วงเวลา หารายได้เสริมเพิ่มรายได้
กรณีเรื่องผลกระทบจากน้ำท่วม ในส่วนของแรงงาน อาจมองเพียงบริเวณที่ได้รับผลกระทบ มีน้ำท่วมที่พัก หรือน้ำท่วมโรงงาน นิคมอุตสาหกรรมอย่างเดียวไม่ได้ แต่จริงแล้วควรมองว่า ผลกระทบของแรงงานยังมีเรื่องการเดินทางไปทำงานที่อาจมีความเสี่ยง และยากลำบาก หากต้องไปทำงานเพราะโรงงานบางแห่งน้ำไม่ท่วม ต้องโดยสารเรือราคาแพง ไม่สามารถไปทำงานได้ ซึ่งตอนนี้เริ่มมีผลพวงกระทบกับแรงงานในกลุ่มที่นายจ้างไม่ได้ให้หยุด และไม่สามารถลางานได้ หยุดงานเกิน 3 วันโดยไม่ได้ลา เป็นต้น
ข้อเสนอ แรงงานส่วนใหญ่ใน 3 พื้นที่ ต่อการได้รับความช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เรียงตามอันดับความต้องการของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยผู้ตอบสามารถตอบได้มากกว่า 1 ข้อ คือ 1. กรณีจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย ผู้ตอบจำนวน 1,116 คน จากภาครัฐ ซึ่งมีแรงงานที่สะท้อนว่าห้องพักข้าวของเสียหาย แต่ไม่ได้รับการรับรองจากเจ้าของบ้านเช่า ทำให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือรัฐเน้นช่วยเหลือแค่เจ้าของบ้านเท่านั้น ตามด้วย 2. หลักประกันการว่างงาน จำนวน 1,110 คนซึ่งมีความใกล้เคียงกับข้อเสนอเรื่องของการจ่ายค่าชดเชยต่างกันเพียง 6 คนเท่านั้น 3. ด้านการควบคุมสินค้าที่จำเป็น จำนวน 638 คน 4. เสนอตั้งกองทุนป้องกันความเสี่ยง จำนวน 549 คน 5. เสนอให้มีการจัดให้สินเชื่อเงินกู้ยืมปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 492 คน 6. ให้มีการพักชำระหนี้ จำนวน 454 คน 7. จัดสวัสดิการสังคม 303 คน 8. ด้านนโยบายเกี่ยวกับสุขภาพการรักษาพยาบาล จำนวน 156 คน ซึ่งยังมีข้อเสนออื่นๆ เช่นเฉพาะหน้าคือ ปรับปรุงระบบระบายน้ำให้ดี จ่ายค่าจ้างให้เป็นธรรม ขอให้มีการจัดถุงยังชีพให้สำหรับทุกคน ไม่เก็บค่าหอพักช่วงน้ำท่วม จ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากทรัพย์สินที่ถูกน้ำท่วม จ่ายค่าเดินให้กลับมาทำงานได้ เมื่ออพยพ หางานพิเศษให้ทำช่วงน้ำท่วมฯลฯ
ที่น่าสังเกต คือ ข้อเสนอในส่วนของพระนครศรีอยุธยาในกรณีหลักประกันการว่างงานถึง 653 คน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าในส่วนของแรงงานในอยุธยากังวลเรื่องการตกงาน หรือไม่อาจเป็นเพราะความที่นายจ้างขาดการติดต่อกับทางแรงงานจนรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในการมีงานทำเป้นต้น ซึ่งต่างกับทางอ้อมน้อยขอ้อมใหญ่ที่มีข้อเสนอเรื่องการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายที่สูงถึง 645 คน ซึ่งอาจเป็นเพราะแรงงานทางอ้อมน้อยฯมีความเสียหายของที่อยู่อาศัยมาก และกลัวว่าจะไม่สามมารถเข้าถึงค่าชดเชยความเสียหาย เพราะเป็นบ้านเช่า
นำเสนอสภาพปัญหาแรงงานที่ได้รับผลกระทบ
คุณสมทรง บุญรักษา ประธานสหภาพแรงงานไดนามิค กล่าวว่า นายจ้างได้สั่งให้หยุดงานตั้งแต่น้ำยังไม่ท่วม โดยให้คนงานเซนต์ชื่อก่อนออกจากโรงงาน หลังนั้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 บริษัทไม่ได้ติดต่อกับทางคนงานเลยว่า จะจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายหรือไม่ ซึ่งทำให้คนงานคนหนึ่งเครียดจนเส้นเลือดในสมองแตก และยังไม่ทราบว่าจะพิการหรือไม่ตอนนี้ยังนอนอยู่โรงพยาบาล ถามว่านายจ้างทำไมใจดำ ไม่เห็นใจคนงานที่ยามยากก็ช่วยกันทำงานลำบากร่วมกันมาตลอดเวลานี้ทิ้งกันได้อย่างไร โดยที่ไม่คิดจะช่วยเหลือคนงานเลย ซึ่งตอนนี้นายจ้างได้มีการปรึกษาหารือกับทางสหภาพแรงงานได้นามิคเรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือให้คนงานทุกคนๆละ 2,000 บาท ถามว่าเพียงพอในการดำเนินชีวิตหรือไม่
ช่วงน้ำท่วมคนงานได้นามิคลูกจ้าง ต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการขอเขากิน อยู่ตามใต้สะพานลอย รอว่าจะมีใครนำของมาบริจาคบ้าง ไปไหนไม่ได้กลัวนายจ้างเรียกไม่ได้เข้าทำงาน ต้องกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจนว่าหากนำเส้นมาต่อกันคงยาวหลายกิโลเมตร
วันที่ 22 พฤศจิกายน ทางผู้บริหารตอบว่า จะจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 และจะเข้าโครงการร่วมกับทางกระทรวงแรงงาน ต่อมาไม่จ่าย และมีการปิดประกาศอีกครั้งในวันที่ 29 พ.ย ประกาศปิดงาน และวันที่ 2 ธันวาคม2554 คนงานได้ไปร้องที่กระทรวงแรงงาน และได้มีการมอบหมายให้อธิบดีมาเจรจา แต่ได้มอบหมายให้ทาง สวัสดิการจังหวัดนครปฐมมาเจราจาไกล่เกลี่ย ซึ่งได้คำตอบว่า ไม่มี่การเลิกจ้าง และไม่มีเงินจ่ายค่าจ้าง ต่อมาวันที่ 8 ธ.ค.ได้มีการนัดเจรจากันอีกครั้งที่สวัสดิการจังหวัด นายจ้างยินยอมที่จะจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายเพียง 2,000 บาท ซึ่งทางคนงานขอเพิ่มเป็น 3000 บาทเพราะ ไม่เพียงพอในการจ่ายค่าห้องเช่าเท่านั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการบอกคนงานว่า หากฟ้องจะใช้เวลานาน และอ้างว่า การที่น้ำท่วมนี้เป็นเหตุสุดวิสัยไม่สามารถที่จะป้องกันได้ ทางตัวแทนคนงานได้มีการรวมกันเพื่อการประชุมหาความชัดเจน ตกลงว่าคนงานยอมรับค่าจ้างที่นายจ้างเสนอ 2,000 บาท การที่นำท่วมโรงงานถามว่าเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ทำไมโรงงานอื่นๆในอ้อมน้อยสมุทรสาครไม่ท่วม เขาป้องกันได้ เปิดทำงานได้ หรือบางทีปิดโรงงาน แต่ก็มีการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ทำไมโรงงานเราไม่ได้ค่าจ้าง รัฐควรมีการตรวจสอบบ้างว่าเป็นธรรมหรือไม่ ไม่ใช่บอกว่าไม่พอใจก็ไปฟ้องศาลแรงงานอย่างเดียว การที่ไปร้องเจ้าหน้าที่สวัสดิการจังหวัดเพื่อให้ช่วยเหลือ
คุณแอ็ด เกตุแก้ว โรงงานผลิตน้ำมันสน (ทินเนอร์) เล่าว่า มีลูกจ้างราว 50 คน ช่วงน้ำท่วมลำบากมาก ครอบครัวต้องแยกกันอยู่เพราะสามีไปทำงานก่อสร้างที่อื่น เพื่อหารายได้ เพราะตนเองนั้นนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง ครอบครัวพ่อก็ตาบอดทำงานไม่ได้ ตอนนี้ต้องผับถุงขายเพื่อยังชีพรองานทำ และค่าจ้างจากนายจ้าง ยังไม่ได้รับคำตอบว่าจะได้เมื่อไร? ภาระก็มากอยากให้นายจ้างเห็นใจกันบ้าง บอกด้วยว่าจะเอายังไงกับคนงาน เพราะพวกเรารออยู่
คุณลักษมี นามประภา กรรมการสหภาพแรงงานทานตะวันกล่าวว่า นายจ้างให้หยุดงานไม่จ่ายค่าจ้าง มาตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 หลังจากนั้นนายจ้างได้ประกาศเปิดทำงานตามปกติ เพราะน้ำไม่ท่วม โรงงานจ่ายค่าจ้างให้คนงาน 500 บาทเท่านั้น ตอนนี้ได้กลับมาทำงานแล้ว ช่วงที่นายจ้างให้หยุดงานไปนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้เลย ซึ่งไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม่ไม่จ่าย ทั้งที่นายจ้างสั่งหยุด และน้ำก็ไม่ท่วม รัฐเองควรต้องมีการทำงานเชิงรุกมากกว่านี้ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิแรงงานของนายจ้าง
คุณสุพัตรา ขำทิม คนงานซันแฟ็ค โรจนะ เล่าว่า ปัญหาน้ำท่วมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 โดยนายจ้างประกาศจ่ายร้อยละ 75 ต่อมาได้ส่ง SMS เรื่องการเลิกจ้างคนงานโดยเริ่มตั้งแต่คนงานใหม่ จนปัจจุบันได้เลิกจ้างคนงานทั้งหมด โดยนายจ้างประกาศจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย สภาพการจ้างงานคือ โรงงานมีคนงานข้ามชาติด้วย ซึ่งก็กระทบเหมือนกันทั้งหมด และไม่ทราบว่าตอนนี้คนงานข้ามชาติเป็นอย่างไร ถูกเลิกจ้างหรือได้รับค่าจ้างหรือไม่
ตอนนี้การจ้างงานในอนาคตของโรงงานคิดว่า นายจ้างคงเน้นการจ้างคนงานข้ามชาติ เพราะค่าแรงต่ำกว่า ไม่มีสวัสดิการ ต่างกับการจ้างคนงานไทยที่มีสหภาพแรงงาน และต้องจ่ายสวัสดิการต่างๆให้เพิ่มขึ้น
คุณแรม ที่ลักษณ์ คนงานนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี เล่าว่า เมื่อน้ำเข้าท่วม นวนคร ปทุมธานี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคน นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ ต่อมาหลังจากนั้นไม่ได้จ่ายค่าจ้าง และนายจ้างได้มีการสอบถามพนักงานเรื่องส่งคนงานไปทำงานที่มาเลเซีย ซึ่งคนงานไม่ไป เพราะว่าตนเองมีครอบครัว และไม่เข้าใจ แต่เมื่อรู้ว่า มีศูนย์ช่วยเหลือแรงงาน เลยได้มาร้อง และได้มีการยื่นที่กระทรวงแรงงาน เพื่อให้ช่วยเหลือเพราะ 2 เดือนแล้วที่นายจ้างไม่มีการติดต่อ ว่าจะจ่ายค่าจ้างหรือไม่ ความชัดเจนว่าจะไปมาเลเซีย หรือว่าจะทำงานที่ประเทศไทยไม่ชัดเจน
คุณอุทัย ทองหล้า คนงาน MMI คนงาน 220 คน เดือนแรกที่น้ำท่วมนายจ้างจ่ายร้อยเปอร์เซนต์ วันที่ 24 พย.ได้เรียกคนงานไปเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย คนงานส่วนใหญ่อายุมากแล้วหางานลำบากมาก เพราะถามว่าจะทำงานอะไร คงหายาก ซ้ำยังมีหนี้สินผ่อนบ้านผ่อนรถส่งลูกเรียนอีก ค่าชดเชยที่ได้มาก็ไม่เพียงพอสำหรับการที่จะอยู่รอดได้
คนงานเหมาค่าแรงควรถูกนายจ้างเลือกเลิกจ้างก่อนทุกที
คุณทัดดาว อารีซะวา คนงานเหมาค่าแรงในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ริโก้ เล่าว่า ในโรงงานมีคนงานประมาณ 1,000 คน ตนเองเป็นคนงานรับเหมาค่าแรง ไม่รับค่าจ้าง และไม่ได้รับการติดต่อ รู้สึกถึงความไม่แน่นอนว่า ตอนนี้ยังเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือไม่ เพราะนายจ้างดูแลแต่คนงานประจำเท่านั้น ถามว่ารู้สึกว่าทำไมนายจ้างไม่ดูแลคนงานเหมาค่าแรงด้วย เพราะเป็นลูกจ้างทำงานในโรงงานเดียวกัน ตอนนี้ลำบากมาก เพราะมีลูกต้องเลี้ยงอีก 4 คน คิดไม่ออกว่าจะช่วยเหลือตัวเองยังไง รู้แต่ว่ารอว่าเมื่อไรนายจ้างจะเรียกกลับเข้าทำงาน
คุณสายพิน แคโอชา คนงานเหมาค่าแรงในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เล่าว่า ที่นายจ้างให้ออก เนื่องจากเป็นคนงานรับเหมาค่าแรง เพราะนายจ้างต้องเลือกพนักงานของเขาก่อน คนงานเหมาค่าแรงที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมดประมาณ 400 คน โดยไม่ได้รับค่าชดเชย ตนเองทำงานมา 2 ปี ช่วงที่เลิกจ้างนายจ้างได้เพียงโทรมาบอกว่า เลิกจ้างไม่ต้องมาทำงานอีกแค่นั้น บอกเพียงว่า จะจ้างในส่วนของคนงานประจำเท่านั้น ยังดีที่สามีเป็นคนงานประจำจึงยังได้ทำงานอยู่ แต่รายได้ก็ยังไม่พอเพราะต้องผ่อนรถมอเตอร์ไซด์ และส่งลูกเรียน ลำบากมาก ต้องการกลับเข้าทำงานให้เร็วที่สุดเพราะอายุ 40 กว่าปีจะหางานที่ไหนทำ
คุณกัญญวรา ธำรงรัตน์ คนงานชั่วคราวในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคบ้านหว้า เล่าว่า บริษัทมีคนงาน 900 คน ตนทำงานอยู่ใน บริษัทผลิตฮาร์ทดิสไดส์ ตอนนี้ถูกเลิกจ้างแล้ว ทั้งสามีภรรยา ยังไม่รู้จะไปทำอะไร เพราะอายุมากแล้วมีลูก 2 คน ได้ค่าชดเชยจากนายจ้างเพียงเดือนเดียว จ่ายค่าจ้าสงเพียงร้อยละ 75 ตนกับสามีได้พยายามหางานทำแล้ว แต่ปัญหาไม่สมารถเดินทางไปทำงานที่ไกลๆได้ จึงรอบริษัทเดิม เพราะแนวโน้มทางบริษัทอาจเปิดการผลิตได้ในปีหน้า ถามว่าวันนี้จะไปขายของก็ยากเพราะไม่มีเงินงบประมาณ และยังมีปัญหาเรื่องของคนตกงานจำนวนมากจะขายให้ใคร ปัญหาที่ยังต้องผ่อนรถมอเตอร์ไซด์จะทำอย่างไร ไม่เห็นเป็นอย่างที่รัฐประกาศในทีวีเรื่องของการผ่อนผันหนี้สิน เพราะตอนนี้ก็ถูกทวงหนี้ผ่อนรถทุกวัน พอตอบว่าไม่มีก็จะยึด คนงานอย่างเราคงทำได้แต่ตั้งคำถามว่าทำไมรัฐบาลไม่ช่วยเราเลย ดูอย่างการช่วยเหลือชดเชยบ้าน 5,000 บาทจ่ายให้ได้ แต่คนงาน 2,000 บาทยังไม่ให้ ไปฝากให้นายจ้างจ่ายใครจะจ่ายตรวจสอบบ้างหรือไม่?
ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาได้ร่วมแสดงความคิด ดำเนินรายการโดย คุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน โดยสรุปได้ดังนี้
คุณยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติคนที่เดือดร้อนที่สุดคือ คนงาน มีการจ้างงานแบบเหมาค่าแรง ซึ่งถือว่าเป็น การจ้างงานแบบไม่ต้องลงทุน ในการจ้างคนงานประจำ เมื่อน้ำท่วมก็ส่งคนงานคืนให้บริษัท ซึ่งมีเพียงโต๊ะตัวเดียวตอนเปิดรับสมัคร ทำให้คนงานต้องถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ค่าชดเชย เพราะไม่รู้ว่านายจ้างอยู่ไหน เพราะไม่มีที่ตั้งชัดเจน การจ้างงานแบบซิกแซกเกิดขึ้นในช่วงของการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ก็ตอบชัดเจนว่า ต้องช่วยนายจ้างก่อนเงิน 2,000 บาท ที่ลูกจ้างต่างเข้าใจผิดว่ารัฐเอาเงินมาช่วยก็ไม่ใช่ เพราะให้ผ่านมือนายจ้าง แล้วใครจะรู้ ใครจะตรวจสอบ ทั้งที่เงิน2,000 บาท ต้องให้ลูกจ้างไม่ใช่เอาให้นายจ้าง แม้เงินจำนวนนี้ไม่ได้มากมายแต่สำหรับคนงานสามารถบรรเทาทุกข์ได้บ้าง แล้วตั้งคำถามว่าคนงานเหมาค่าแรงจะได้เงิน 2,000 บาทได้อย่างไร กระทรวงแรงงานเป็นสิ่งที่ลูกจ้างเรียกร้องให้ตั้งมาเพื่อคุมครองแรงงาน ไม่ใช่คุ้มครองนายจ้าง มาตรการที่ช่วยนายจ้างให้เป็นหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงานอย่าหลงบทบาท
คุณอุดม ไกรย์ราช ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานพระนครศรีอยุธยากล่าวว่า การเลิกจ้างที่พระนครศรีอยุธยามีเกิดขึ้นทุกวัน บริษัทอิกิฟูระ คนงานราว10,000 คน มีคนงานเหมาค่าแรง การที่โรงงานที่น้ำท่วมแล้วมีการแฝงด้วยการเลิกจ้าง และล้มสหภาพแรงงานไปด้วย หลายโรงงานที่มีปัญหาการกระทบเรื่องของความไม่เป็นธรรมในการเรียกร้องเจรจาต่อรอง กับสหภาพแรงงานมาตลอด วันนี้ใช้โอกาสเลิกจ้าง เพื่อโละสหภาพแรงงานหรือไม่?
การที่จะจ่ายค่าจ้างให้คนงานเต็มรอย ตนเองเห็นว่า นายจ้างจ่ายได้ เพราะค่าจ้างในพระนครศรีอยุธยาต่ำอยู่แล้ว แต่นายจ้างยังจ่ายค่าจ้างเพียงร้อยละ 75 ก็ตามที่รัฐ กระทรวงแรงงานที่มองว่าน้ำท่วมเป็นเหตุสุดวิสัย โดยที่ไม่ได้มีการตรวจสอบพิจารณา ฟันธงว่าใช้ แถมบอกว่า นายจ้างจะจ่ายค่าจ้าง หรือไม่จ่ายก็ได้ และยังขอความอนุเคราะห์ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 นายจ้างที่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเต็มร้อย เลยฉวยโอกาสจ่ายร้อยละ 75 แถมยังมีเงินช่วยเหลืออีก 2,000 บาทต่อคน หากนายจ้างทำMOU ไม่เลิกจ้างคนงานภายใน 3 เดือน ถามว่าแนวการให้นายจ้างจ่ายร้อยละ75 คนงานขนาดรับค่าจ้างเต็มร้อยยังอยู่แบบสมศักดิ์ศรีได้ยากเลย รัฐควรมีการตั้งคณะทำงานเข้ามาตรวจสอบ โรงงานน้ำท่วม โรงงานน้ำไท่วม โรงงานเหล่านี้มีเงินในการช่วยเหลือหรือไม่ ไม่มีเงินจริงหรือ รัฐควรมีการพิสูจน์ความจริงก่อนว่านายบจ้างมีปัญหาจริงหรือหากประสบปัญหาจริงรัฐต้องดูว่า จะช่วยกันอย่างไร? ไม่ใช่ตัดสินแล้ว ว่าจะเลือกช่วยใครก่อน ไม่สนคนงานว่าจะเดือดร้อนแค่ไหน
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาพัฒนาแรงงานกล่าวว่า มาตรการที่รัฐเข้านำเสนอในช่วงน้ำท่วมนั้น ไม่ใช่มาตรการใหม่ เป็นเพียงมาตรการเก่า ที่มีอยู่แล้ว เช่น การจ่ายประกันสังคมร้อยละ 50 ซึ่งหากลูกจ้างถูกเลิกจ้างก็ได้รับอยู่แล้ว แต่หากนายจ้างไม่เลิกจ้างประกันสังคมกรณีว่างงานก็จ่ายไม่ได้
มาตรการเงินช่วยเหลือ 2,000 บาทไม่มีนายจ้างเข้าไปทำMOU ไม่ทราบกระทรวงแรงงานคิดได้อย่างไร ช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้าง การที่ถูกเลิกจ้าง คนงานควรไปร้อง เพื่อขอให้กระทรวงแรงงานจ่ายเงินกองทุนช่วยเหลือลูกจ้าง และต้องดูว่าไม่ใช่อะไรก็เลิกจ้าง กรณีซันโย จริงแล้วมีการเทคโอเวอร์ไปแล้ว ซันโยเป็นยี่ห้อ น้ำท่วมครั้งนี้เป็นเหตุฉุกเฉินจริงหรือ น้ำท่วมฮิตาชินายจ้างจ่ายค่าจ้างร้อยเปอร์เซนต์ เมื่อคณะรัฐมนตรีประชุมมีมติให้นายจ้างจ่ายร้อยละ 75 ทำให้นายจ้างส่วนใหญ่จ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 หมด ในกรณีนี้ยังไงให้คนงานรวมตัวกันร้องสวัสดิการจังหวัดทุกจังหวัดที่เกิดน้ำท่วม จากปัญหาหนี้สินของคนงานที่มีมากเช่นกัน ทั้งผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ กระทรวงแรงงาน ต้องมีการเสนอให้มีการพักหนี้ให้คนงานด้วย ต้องมีข้อเสนอแบบนี้บ้างคนงานก็เดือดร้อน เช่นเดียวกับนายจ้าง เกษตรกร ในฐานะตัวแทนคนงานต้องช่วยกันสะท้อนส่งเสียงออกมาว่าคนงานเดือดร้อนแค่ไหน
สรุป คือคนงานขาดข้อมูล ขาดความรู้ รัฐไม่ได้ให้ความรู้กับคนงานเรื่องสิทธิ ผลกระทบนาจจ้างใช้วิกฤติเป็นโอกาสในการที่จะเข้ามาจัดการกับคนงานที่มีการรวมกลุ่ม คนงานยังไม่สามมรถเข้าถึงข้อมูลสวัสดิการความช่วยเหลือต่างๆจากรัฐ
คุณอำนาจ บัวเสือ รองประธานสหภาพแรงงานฮอนด้า กล่าวว่าอยุธยา แรงงานจังหวัดใช้คำพูดที่ชัดเจนว่า น้ำท่วมเป็นเหตุสุดวิสัย นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างได้ เพราะน้ำท่วมเพราะออกจากเขือนไม่ใช่น้ำป่า กรณีตัวอย่างเช่นกระณีโรงงานมินิแบ ทำไมป้องกันน้ำไม่ให้ท่วมโรงงานได้ ปัญหาคือ ลูกจ้างถูกนายจ้างจัดการก่อนโดยใช้คำว่าสุดวิสัยเลิกจ้าง โดยที่รัฐไม่มีขบวนการเข้ามาดูแลลูกจ้าง
คุณตุลา ปัจฉิมเวช ที่ปรึกษากลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เล่าว่า พื้นที่ที่เกิดเหตุในสมุทรสาคร นครปฐม น้ำท่วมหนักมาก แต่เจ้าหน้าที่สวัสดิการไม่ได้เข้ามารับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อบรรเทาหรือแก้ไขปัญหา แม้แต่ลูกจ้างที่ไปร้องเรียนที่จังหวัด เจ้าหน้าที่ก็ไม่รับคำร้อง ไล่ให้ลูกจ้างกลับ บอกไม่มีหน้าที่ให้ลูกจ้างไปฟ้องศาล เพื่อหาความยุติธรรมเอง ปัญหาการร้องเรียนที่ตนเองและทนายความอาสาได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณแยกอ้อมน้อย จังหวีดสมุทรสาคร คือ เรื่องของการที่ถูกนายจ้างคัดชื่อลูกจ้างออกโดยไม่มีการบอกกล่าวอ้างว่าไม่มาทำงาน ซึ่งช่วงน้ำท่วมนายจ้างสั่งให้คนงานหยุด เมื่อน้ำไม่ท่วมก็เปิดทำงาน แต่คนงานไม่ทราบ หลังกลับมาที่โรงงาน หรือบางรายน้ำท่วมบ้านมาทำงานไม่ได้ อันนี้สุดวิสัยหรือไม่ นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่ต้องมีการพิสูจน์ก่อนหรือไม่ บางกรณีนายจ้างมีการส่งคนงานไปทำที่จังหวัดลำพูนประมาณ 300 กว่าคน เมื่อคนงานรู้ว่า น้ำลดขอลากลับบ้านนายจ้างไม่ให้ลา มีคนงานดื้อขอกลับมาบ้าน และขอกลับเข้าทำงานที่เดิม แต่นายจ้างให้กลับไปรายงานตัวที่จังหวัดลำพูนไม่เช่นนั้นจะถูกเลิกจ้าง ทำไมโรงงานเก่าไม่ให้คนงานเข้าทำงาน อันนีรัฐต้องตรวจสอบหรือไม่?
ยังมีกรณีปัญหาคนงานข้ามชาติที่นายจ้างเลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชย ซึ่งคนงานต้องการเพียงให้ นายจ้างทำหนังสือแจ้งเลิกจ้าง เพื่อจะได้หางานใหม่ทำ
สรุปเสียงสะท้อนมาตรการความช่วยเหลือจากรัฐ สรุปได้ดังนี้
1. กรณีเงินกู้เพื่อซ่อมแซมบ้าน 50,000 บาท นั้นไม่ได้เพราะทำงานรายวัน ค่าจ้าง 215 บาทไม่ให้กู้ลูกจ้างไม่สามารถที่จะเข้าถึงเงินกู้เนื่องจากธนาคารมีมาตรการในการให้เงินกู้อยู่แล้ว เพราะลูกจ้างรายวันคงเข้าถึงไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารตั้งไว้ทั้งคนค้ำประกัน และใบรับรองเงินเดือน
ปัญหานายจ้างมีการหักเงิน แต่ไม่นำส่ง แต่ในสลิปเงินเดือนถูกหักมา 7 เดือน การจะรู้ว่าไม่มีสิทธิเมื่อคนงานเกิดปัญหาด้านสุขภาพต้องการใช้สิทธิ
2. โครงการชดเชยค่าเสียหายที่อยู่อาศัย 5,000 บาท ได้แต่เจ้าของหอพักเท่านั้น ลูกจ้างที่เช่าหอมีความเสียหายไม่ได้รับค่าชดเชย กรณีคนที่เช่าบ้านเป็นหลัง เจ้าของบ้านไม่ยอมเซ็นต์มอบอำนาจให้ทำให้ผู้เช่าไม่ได้ หากเซ็นต์ ต้องจ่ายให้เจ้าของบ้าน 3,000 บาท
3. มาตรการความช่วยเหลือ 2,000 บาท เป็นของบริษัท แต่มาตรการที่ออกมาทำความสับสนให้กับลูกจ้าง ด้วยคิดว่าทางรัฐให้ความช่วยเหลือแรงงาน ข้อสังเกตุ คือปี 2551 เงิน 2,000 บาทให้ลูกจ้าง แต่วิวัฒนาการนี้ ให้นายจ้างโดยทำMOU กับทางนายจ้าง ในการไม่ให้เลิกจ้างภายใน 3 เดือน
4. โครงการเพื่อช่วยเพื่อน คิดว่าไม่สามารถทำงานใช้ได้ การที่จะให้ไปทำงานที่อื่นแล้วกลับมาทำงานที่เดิมโดยการนับอายุงานต่อเนื่องอาจเกิดปัญหาแน่นอน เป็นโครงการแยกสามีภรรยา ทำให้ครอลครัวแตกแยก และตกงานในที่สุด การส่งไปทำงานสวัสดิการต่างกัน และมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเพราะอยู่นอกพื้นที่ ต้องเช่าบ้านใหม่ สวัสดิการใหม่ เป็นไปได้ยาก
5. โครงการฝึกอาชีพ เป็นการฝึกอาชีพเพื่อให้เข้าไปฝึก แล้วได้มีอาชีพจริงหรือไม่? หรือเพียงให้ได้เบี้ยเลี้ยงวันละ 120 บาท และต้องเผยแพร่ว่า มีอาชีพอะไรบ้าง เพื่อให้คนงานได้เลือกว่า อยากทำการฝึกอบรมอาชีพที่เหมาะสม และทำแล้วสร้างรายได้ๆจริง และควรมีการสนับสนุนเงินทุน กู้ยืมปลอดดอกเบี้ยให้ด้วย
6. มาตรการที่ช่วยการกรอกทราย กรอกถุงยังชีพ คนงานเข้าไม่ถึง และยังไม่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์
7. มาตรการลดเงินสมทบประกันสังคม เห็นว่า สามารถบรรเทาความเดือดร้อนได้บ้าง แต่ปัญหาคือคนงาน 9 ล้านคน นายจ้างลดการส่งเงินสมทบหมด กรณีนี้ไม่ใช่แค่คนงานที่กระทบจากน้ำท่วมเท่านั้น ซึ่งกังวลต่อประเด็นเงินชราภาพ กับประกันว่างงาน เสนอว่า หากมีการพิจารณาเรื่องของไม่ลดเงินสมทบ แต่ให้จัดสวัสดิการในช่วงที่คนงานไม่มีค่าจ้างน่าจะดีกว่า
8. โครงการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาทักษะและยกระดับฝีมือลูกจ้างแรงงานรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต โดยสรุปนายจ้างไม่คิดเรื่องการพัฒนาคน นายจ้างจะเข้าไปใช้ในการพัฒนาหัวหน้างาน ไม่มีการอบรมให้คนงานซึ่งมีจำนวนมากในโรงงานอยู่แล้วอันนี้คิดว่า คนงานได้ประโยชน์น้อย
ข้อเสนอต่อรัฐ คือ
มีคณะกรรมการเฝ้าระวัง การพิจารณาการเลิกจ้าง หรือการใช้ม.75 โดยมีตัวแทนในพื้นที่ ไม่ใช่แค่ตัวแทนสภาองค์การลูกจ้าง
ตั้งกองทุนช่วยเหลือแรงงาน ในการพักชำระหนี้ ให้คนงานได้เข้าถึงสิทธิ ความช่วยเหลือจากรัฐ มีการจัดนัดพบเจ้าหนี้ของลูกจ้าง
ประมวลสถานการณ์แรงงานในระบบหลังวิกฤติอุทกภัย
สภาพปัญหา |
ข้อเสนอ |
คนงานขาดข้อมูลสภาพการจ้างในสถานประกอบการ เนื่องจากขาดการติดต่อส่อสารจากนายจ้าง บางกรณีนายจ้างไม่ยอมเจรจา |
– กระทรวงแรงงาน/แรงงานจังหวัด ต้องสำรวจและจัดทำข้อมูลสภาพการจ้างงาน และแนวโน้มการเลิกจ้างในสถานประกอบการ – รัฐต้องมีบทบาทเป็นกลไกกลางในการจัดเวทีเจรจาหาทางออกระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เกิดขึ้น |
การเลิกจ้างโดยฉวยโอกาสวิกฤติอุทกภัย อาทิ การเลิกจ้างเพื่อล้มสหภาพแรงงาน, การเลิกจ้างเพื่อรับแรงงานข้ามชาติเข้ามาทดแทน, การเลิกจ้างเพื่อนำเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานคน, |
– การตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อพิจารณาตรวจสอบการเลิกจ้าง – มาตรการช่วยเหลือสถานประกอบการของรัฐ จะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของนายจ้างเพื่อไม่ส่งเสริมให้เอาเปรียบหรือการละเมิดสิทธิแรงงาน |
ข้อพิพาทที่เกิดจากการเจรจาต่อรอง นายจ้างฉวยโอกาส / นายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวน |
– หลักการในการแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงาน จะต้องมีส่วนร่วมจากตัวแทนคนงาน |
ภาระหนี้สิน
|
– ให้รัฐตั้งกองทุนดูแลเรื่องการพักชำระหนี้ให้คนงาน – ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณแก่ผู้ใช้แรงงาน เช่น สถาบันการเงินของผู้ใช้แรงงาน สหกรณ์สหภาพแรงงาน กองทุนหมู่บ้าน (ควรสนับสนุนระบบสหกรณ์ในสหภาพแรงงาน) – คนงานควรเข้าถึงกองทุนของภาครัฐได้มากกว่านี้ – ให้รัฐจัดทำข้อมูลหนี้สินผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบ และจัดเวทีนัดพบเจ้าหนี้กับลูกหนี้ |
นายจ้างอ้างมาตรา 75 |
– กลไกทางกฎหมายในปัจจุบัน ได้แก่ กก.สวัสดิการ กก.ความปลอดภัย กก.ลูกจ้าง กก.สหภาพ – ให้มีคณะกรรมการไตรภาคีระดับชาติ ระดับนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมาจากสหภาพแรงงาน สถานประกอบการ ซึ่งจะมีข้อมูลงบดุลบริษัท เพื่อพิจารณาใช้มาตรา 75 หรือไม่ – ในระยะยาวจะต้องมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอุทกภัย ไม่ใช้มาตรา 75 – ให้รัฐบาลแต่งตั้งกลไกคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อพิจารณาการตรวจสอบ มาตรา 75 โดยผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ภายใต้หลักการการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แรงงาน – มาตรการระยะยาวคือ การให้ทบทวนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 มาตรา 126 – ปัญหาการตีความเรื่องมาตรา 75 กรณีเหตุสุดวิสัย ดังนั้น กระทรวงแรงงานต้องตรวจสอบกรณีมาตรา 75 กระบวนการปกติก็คือ การร้องต่อสวัสดิการแรงงานเพื่อตรวจสอบ มาตรา 75 |
ภาพรวมการแก้ปัญหา คือ 1. รัฐบาลต้องแก้ปัญหาแบบบูรณาการ สร้างกลไกกลางในการแก้ปัญหา 2. แจ้งข้อมูลจากสถานประกอบการในการเลิกจ้างคนงาน 3. รัฐใช้กฎหมายเดิมในการแก้ไขปัญหา ไม่มีมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ 4. ต้องแก้ปัญหาอย่างกระชับ 5.ให้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน ระหว่างลูกจ้าง รัฐ นายจ้าง 6. ตั้งกองทุนแรงงานช่วยแรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า 7. คสรท. องค์กรแรงงานควรสนับสนุนทีมที่ปรึกษา ทีมทนายความ
สรุปโดย นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อฯ