ข้อกังวลกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 07.00 น.  เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ ประเทศไทย คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ชมรมเพื่อนโรคไต เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเภสัชชนบท กลุ่มศึกษาปัญหายา มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธิสุขภาพไทย และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) จัดกิจกรรมรณรงค์และยื่นหนังสือต่อรัฐบาล โดยนัดรวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และเดินรณรงค์ไปยังทำเนียบรัฐบาลฝั่งตรงข้ามกับกระทรวงศึกษาธิการ กิจกรรมบนเวทีมีแกนนำสลับขึ้นปราศรัยเพื่อให้ความรู้ทำความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมการชุมนุมเพื่อให้เห็นถึงสภาพปัญหาเนื้อหาที่มีความบทพร่องและถูกละเลยหลายประการจากกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศในระยะยาว

406225_10151544626726667_1691831047_n 156491_10151543115556667_517357403_n

กลุ่มผู้ชุมนุมจึงต้องการให้สมาชิกรัฐสภาช่วยพิจารณาแก้ไขเพื่อให้การเจรจาเป็นผลประโยชน์กับประเทศอย่างแท้จริงหลายประเด็น อาทิ  ร่างกรอบการเจรจาเริ่มต้นด้วยแนวนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ว่ามีนโยบายขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี โดยเร่งรัดผลประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้วแต่ละเลยเนื้อหาสำคัญที่ตามมาอีก 2 ประโยคคือ พร้อมทั้งวางแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น กำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทำทำให้การวางกรอบการเจรจาละเลยที่จะวางแนวทางป้องกันผลกระทบ วัตถุประสงค์และเป้าหมายการเจรจาไม่คำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่มีการกำหนดให้มีระยะเวลาในการปรับตัวและมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น  หวังผลเพียงต่อสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ไม่มีการวางแนวป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับระบบสาธารณสุขของไทย ซึ่งมีงานวิจัยจากสำนัก อย.ระบุว่า หากประเทศไทยซึ่งจะทำการเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปถูกผูกมัดด้วยบทบัญญัติทั้งการขยายอายุการคุ้มครองสิทธิบัตร  และการผูกขาดการขึ้นทะเบียนยา จะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อระบบสารธารณสุข โดยเฉพาะการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ภาครัฐอย่างรุนแรง ซึ่งหมายถึงผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทย และกระทบกับความมั่นคงทางยาของประเทศในที่สุด  ละเลยข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะที่คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นได้ไปรวบรวมมาตั้งแต่ก่อนร่างกรอบเจรจา โดยที่มีข้อห่วงกังวลสูงสุดซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยไม่เคยเจรจาเปิดเสรีมาก่อนในเอฟทีเอกรอบอื่นๆ เพราะเป็นประเด็นที่มีผลกระทบสูง เช่น  ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ  ประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ  การคุ้มครองการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน

313360_572834632727361_1132099449_n 558097_572553742755450_79190862_n

 

549847_572651266079031_117531062_n 1886_572552829422208_959987430_n

 

ทั้งนี้ เวลา ประมาณ 14.30 น คณะผู้แทนจำนวน 20 คนได้เข้าพบนายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ผู้แทนรัฐบาลเพื่อหารือให้พิจารณาประเด็นปัญหาข้อกังวลต่างๆ ซึ่งภายหลังการเจรจาได้มีข้อตกลงดังนี้ รัฐบาลรับปากจะกลับไปพิจารณาร่างกรอบใหม่โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ  ให้มีการตั้งคณะทำงานที่เป็นตัวแทนภาคประชาชนเพื่อติดตามการทำงานตลอดระยะเวลาที่จะมีผลสรุปภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน