ขบวนการแรงงานสากล-แรงงานไทย แถลงให้รัฐคืนสิทธิ 7คนรถไฟ

ขบวนแรงงานสากล-แรงงานไทย จับมือแถลงร่วม ให้การรถไฟยุติการดำเนินคดีและหักเงินผู้นำสหภาพแรงงาน 

วันที่ 18 มกราคม 2562 ทางสหพันธ์แรงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดแถลงข่าว เรื่อง “ขอให้ยุติการดำเนินคดีและการหักเงินผู้นำสหภาพแรงงานรถไฟแห่งประเทศไทย”

ตามที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ให้ทั้ง 7 คน จ่ายค่าเสียหายให้แก่การรถไฟฯ เป็นเงินจำนวน 15,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันที่ฟ้องจนถึงวันที่ชำระเสร็จ ซึ่งปัจจุบันเป็นเงินรวมประมาณ 24,000,000 บาท สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯในขณะนี้สร้างความตระหนกและกังวลต่อ ITF,สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อย่างมากและได้มีการส่งหนังสือแจ้งมายังรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนถึงวันที่มีการรับผู้นำสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงานและยังเรียกร้องให้รัฐไทยยุติการดำเนินคดีต่อผู้นำสหภาพแรงงานและคืนสิทธิประโยชน์ทั้งหมดในช่วงที่ออกจากงานคืนให้แก่ผู้นำทั้งหมด ซึ่งมาทราบภายหลังว่ารัฐไทยมีการดำเนินการในการหักเงินจากผู้นำแรงงานทั้ง 7 คนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 จำนวนยอดเงินตามคำพิพากษาจำนวนเงินสูงมสก และหักเงินชดใช้ต้องใช้เวลา 10 ปี ต้องส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาซึ่งบางคนขณะนี้ได้เกษียณอายุแล้วและต้องอายัดเงินยังชีพ (บำนาญ)หลังเกษียณมาชดใช้ค่าเสียหายทำให้เขาต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก

ซึ่งในวันนี้ทางสรส.และสหภาพฯได้เดินทางเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว และรองปลัดกระทรวงคมนาคมผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมทั้งรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าพบประธานคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังมีคณะกรรมการที่ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวด้วย และเพื่อยืนยันในเจตนารมณ์ขององค์กรแรงงานในประเทศและต่างประเทศ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งรัฐบาล แก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นการเร่งด่วน เพราะสิ่งที่สหภาพฯเรียกร้องคือความต้องการสร้างมาตรการความปลอดภัยแห่งสาธารณะของขบวนรถไฟมิใช่ผลประโยชน์เฉพาะตัวเฉพาะกลุ่ม โดยมีข้อเสนอดังนี้

1. ยุติการดำเนินคดีแก้ผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมด

2.ให้ยุติการหักเงินชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด

3. ให้คืนสิทธิประโยชน์ทั้งหมดในช่วงที่ออกจากงานให้แก่ผู้นำสหภาพแรงงานทั้ง 7 คน ซึ่งขบวนการแรงงานทั้งสากล และขบวนการแรงงานไทยจะเร่งติดตาม เพื่อให้ยุติเรื่องทั้งหมดโดยเร็ว

ด้านนายราชา ศรีธาร์ รองประธานสาขารถไฟ สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) กล่าวว่า การแถลงการณ์ของITF ได้รับการรับรองจากการประชุมใหญ่ ณ เมืองโซเฟีย ด้วยจัดลำดับให้ความปลอดภัยรถไฟ ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยใช้สโลแกน “ปลอดภัยไว้ก่อน” ในการรณรงค์ของสาขารถไฟมาเป็นเวลาหลายปี เหตุผลนั้นไม่เพียงแค่เพื่อรักษารถไฟให้เป็นสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยสำหรับสมาชิกเท่านั้น แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและสาธารณะโดยทั่วไปเช่นกัน หากรถไฟไม่ได้รับการบริหารอย่างเหมาะสมความเสี่ยงในการเกิดความเสียหาย การได้รับบาดเจ็บ และการสูญเสียชีวิตนั้นสูงมาก การติดตั้งระบบความปลอดภัยมีความสำคัญมากโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่จราจรรถไฟมีความหนาแน่นและรถไฟต้องใช้ความเร็วที่สูงขึ้น การมีระบบสนับสนุนทางเทคนิคขั้นสูงต้องมีความสำคัญ ระบบ’Dead man’s handlr’ ในหัวจักรรถไฟซึ่งจะสามารถหยุดรถไฟในกรณีที่พนักงานขับรถไฟหมดสติเป็นอุปกรฯ์ที่รู้จักแพร่หลายเป็นอย่างดี คนงานต้องสามารถควบคุมระบบรถไฟด้วยความปลอดภัย คนงานที่มีหน้าที่เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยต้องมีสภาพการทำงานอย่างเหมาะสม เช่น การสลับระยะเวลาในการเข้าทำงานกะกลางวัน กะกลางคืน การจำกัดระยะเวลาการขับรถไหต่อเนื่องและเวลาการหยุดพัก วันพักผ่อนและการป้องกันความรุ่นแรง โดยมีสิทธิในการปฏิเสธการทำงานที่เป็นอันตรายหรือไม่ปลอดภัยนั้นได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ฉบับที่ 155 มาตรา 13 ว่าด้วย “คนงานที่ย้ายตัวเองออกจากสถานการณ์การทำงาน ซึ่งเขามีเหตุผลอันสมควรที่จะเชื่อว่า เป็นอันตรายและมีความเลวร้ายต่อชีวิตหรือสุขภาพควรจะได้รับการคุ้มครองจากผลที่จะตามมาตามเงื่อนไขและหลักปฏิบัติของประเทศ” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับคนงานรถไฟ หากพิจารณาแล้วสถานการณ์นั้นอาจเป็นอันตราย คนงานควรหยุดการทำงานบนรถไฟ โดยไม่มีการลงโทษทางวินัย ในทางตรงกันข้าม เห็นว่า คนงานควรได้รับรางวัลด้วยซ้ำ ทั้ง 62 ประเทศให้สัตยาบัน ILO ฉบับนี้ และสิทธินี้มีผลบังคับใช้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศเหล่านั้นแล้ว หรือถึงแม้ไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฉบับนี้ แต่สิทธินี้ถูกใช้เป็นมาตรฐานสากลสำหรับแรงงานทั่วโลก และควรได้รับการเคารพ แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันสำคัญนี้ ซึ่งสหภาพแรงงานรถไฟเป็นหลักประกันที่เข้มแข็งที่สุดในการส่งเสริมอละพัฒนาระบบความปลอดภัยให้สูงขึ้นในการทำงาน จึงควรแสวงหาพันธมิตรหรือหน่วยงานภาคประชาสังคม เช่น พรรคการเมืองที่มีความเห็นใจตาอสถานการณ์และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้โดยสาร ความร่วมมือระดับสากลระหว่างสหภาพฯทวีความสำคัญมาขึ้นเรื่อยนโยบายเปิดเสรีและการแปรรูปที่ดำเนินการโดยรัฐบาลหลายประเทศเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ส่วนนายรูวัน ศุภสิงห์ อีกหนึ่งผู้แทนองค์กรแรงงานสากล กล่าวว่า เราไม่ควรละเลยข้อเท็จจริงที่ว่ากรณีนี้เป็นเริ่มจากประเด็นด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานโดย สร. รฟท. เมื่อเดือนตุลาคม 2552 เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงความล้มเหลวด้านความปลอดภัยในการเดินรถไฟอย่างรุนแรง ในเดือนนั้นภายในเวลาเพียง 4 วันมีเหตุรถไฟตกรางถึงสองครั้งและ หนึ่งครั้งเป็นอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต 7 คนและบาดเจ็บมากมาย พนักงานขับรถไฟมีวันหยุดพักผ่อนแค่หนึ่งวันหลังจากที่ต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน ระบบ ‘deadman’s switch’ ไม่ทำงาน และตามคำบอกเล่าของสหายเราจาก สร. รฟท. หัวรถจักรที่ระบบอุปกรณ์พื้นฐานชิ้นนี้ที่ยังสามารถทำงานได้อยู่มีเพียงแค่ 20% เท่านั้น การรณรงค์ที่มีสมาชิกสหภาพแรงงานเข้าร่วม 1,200 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่ปฏิเสธที่จะนำรถจักรที่ไม่สมบูรณ์ หรือ รถจักรที่ระบบ ‘deadman’s switch’ ไม่ทำงานไปให้บริการนั้น จึงเป็นเพียงการรณรงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางรางเพื่อคนงาน ผู้โดยสาร และประชาชนโดยรวม

ดังนั้น ในความเห็นของ ITF การเลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงานหลังการรณรงค์เพื่อความปลอดภัย บวกกับการลงโทษเรียกร้องค่าเสียหายจำนวนมหาศาลจากพวกเขา เป็นการคุกคามโดยใช้อำนาจศาลในขั้นสูงสุด และ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อผู้ที่รณรงค์กิจกรรมทางสหภาพแรงงาน

ในปี 2014 หลังจากที่ ITF ได้มีการร้องเรียนไปยัง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO พบว่าประเทศไทยเป็นการฝ่าฝืนหลักการของเสรีภาพในการรวมตัวที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งรัฐบาลต้องเคารพในฐานะสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ

ILO พบว่าประเด็นสำคัญของการที่ประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามหลักการว่าด้วยเสรีภาพในการรวมตัว คือ การห้ามนัดหยุดงาน ภายใต้มาตรา 33 ของ พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และ การมีบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับการมีส่วนร่วมหรือการก่อให้มีเกิดการประท้วงที่มีอยู่ในมาตรา 77 ของพระราชบัญญัติ

ในส่วนค่าเสียหายที่เรียกร้องจาก ผู้นำ สร. รฟท. ทาง ILO ตัดสินว่าเนื่องจากพวกเขาดำเนินการที่ละเมิดข้อห้ามการนัดหยุดงานซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหลักการของเสรีภาพในการสมาคม และค่าเสียหายจำนวนที่มากเกินไปน่าจะมีผลกระทบรุนแรงต่อ สร. รฟท. และผู้นำสหภาพแรงงาน และ เป็นการขัดขวางการทำกิจกรรมสหภาพแรงงานอันเป็นสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลไทยควรถอนการให้ชดใช้ค่าเสียหายโดยทันที

ในสัปดาห์นี้ระหว่างการประชุมหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรองปลัดกระทรวงคมนาคม เราได้ย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องเคารพผลการพิจารณาคดีของ ILO ในกรณีนี้ ในขณะเดียวกันเรารู้สึกมีกำลังใจจากสิ่งที่เราได้รับฟังจากการประชุม เราหวังว่ารัฐบาลไทยจะยุติการฟ้องร้องดำเนินคดีใดๆ หรือทั้งหมดที่มีต่อผู้นำ สร. รฟท. ในทันที รวมทั้งยุติการหักเงินบำนาญและเงินเดือน และคืนสิทธิประโยชน์ รวมถึงการจ่ายเงินเดือนย้อนหลังทั้งหมดให้แก่ผู้นำทั้ง 7 คนของ สร. รฟท. หลังจากที่พวกเขาถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม
เราจะรายงานความคืบหน้าของคดีนี้ให้แก่ ผู้อำนวยการใหญ่ ILO ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา และคณะกรรมาธิการยุโรปทราบอย่างต่อเนื่อง เราหวังว่าจะได้รับข่าวดีเพื่อประโยชน์ของผู้นำสหภาพแรงงาน และ ความยุติธรรมทางสังคมโดยรวม

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน