สรุปการประชุมเครือข่ายแรงงานและชุมชนสิ่งแวดล้อม เรื่อง การเปลี่ยนผ่านพลังงาน…ความเป็นธรรมต่อแรงงานและชุมชน วันที่ 10-11 สิงหาคม 2562 ณ ห้องบางปะกง โรงแรมอ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จัดโดย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท(FES) และมูลนิธินิติธรรมและสิ่งแวดล้อม
นางสาวปรีดา ศิริสวัสดิ์ กล่าวว่า มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม และหันมาทำงานเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม และFESได้ทำงานร่วมกับในส่วนของเครือข่ายแรงงาน โดยเป็นเรื่องใหม่สำหรับแรงงาน ซึ่งมีความน่าสนใจและมีการพูดคุยกันเรื่องภาวะโลกร้อน มากขึ้น ซึ่งทำผ่าน การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ในโครงการ Just Transition และในส่วนของความขัดแย้งกันบ้างระหว่างชุมชน กับอุตสาหกรรม ซึ่งประเด็นนี้ทางเครือข่ายเล็งเห็นความสำคัญจึงได้มีการจัดขบวนการลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐด้านโรงงานไฟฟ้าอย่างอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา หรืออุตสาหกรรมในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่EEC ที่ได้ลงมาเรียนรู้อีกพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องมาดูเรื่องความเป็นธรรมในการที่จะสร้างความเป็นเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นว่าจะมีความเป็นธรรมในการเปลี่ยนผ่านอย่างไร
นายมานิต พรหมการีย์กุล รองประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปที่เกิดภาวะโลกร้อนอย่าง ด้วยทางแถบนั้นตอนนี้เกิดการละลายของหิมะจำนวนมากส่งผลกระทบต่อภาวะสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทยนั้นยังเน้นการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม กระทบกับชุมชน ซึ่งคนที่อยู่กับธรรมชาติ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาจำนวนมาก ผลกระทบกับเด็ก โรงเรียนอนาคตของชาติ กระทบต่อวัด แต่ว่าการเรียกร้องไม่ให้มีการเรียกร้องทางอุตสาหกรรมนำเงินไปบูรณะชุมชน โรงเรียน แต่ห้ามคัดค้าน หากลุกมาคัดค้านก็จะโดนฟ้อง เกิดคดีความกับชาวบ้านชุมชนจำนวนมาก การพัฒนาแบบนี้สร้างความไม่เป็นธรรม สร้างความเหลื่อมล้ำมากมายเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ฉะนั้นการพัฒนาต้องสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำ
นางสาวสุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธิยุติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การพัฒนาที่เกิดขึ้นทุกส่วนก็มีความสัมพันธ์กัน คือ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และแรงงานด้วย กลุ่มธุรกิจไม่ได้มองแรงงาน และชุมชน ด้าน สภาพแวดล้อมที่จะต้องได้รับผลกระทบ ด้วยนโยบายรัฐเองก็ไม่ได้สนใจเรื่องความเป็นธรรมทางด้านกฎหมาย ความเป็นธรรมด้านการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
นายสันติ โชคชัยชำนาญกิจ นักวิชาการกลุ่มจับตาพลังงาน กล่าวว่า ขอย้ำปัญหาภาวะโลกร้อน ประเทศไทยมีทั้งกรมป่าไม้ฟ้องชาวบ้านเรื่องตัดต้นไม้ คือจริงๆปัญหาจากนโยบายพลังงาน และสิ่งแวดล้อม คาร์บอนส่วนหนึ่งไม่ได้อยู่ในบรรยากาศ แต่ว่า มาจากถ่านหิน น้ำมัน และแก๊ส ซึ่งปัญหาเมื่อมีการขุดเอาน้ำมันขึ้นมาทำให้คาร์บอนขึ้นสู่บรรยากาศ และทำให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการกล่าวถึงการลดคาร์บอนมานานเกือบ 30 ปีแล้ว แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จนมีการนำไปสู่ปัญหาเพิ่มขึ้นอีกก้าว ตอนนี้โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน คือ แม่เมาะที่เดียว และที่ถ่านหินนำเข้าก็มี พีพีที กับ ถ่านหินที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม
ถ่านหินที่นำเข้ามาจากไหน นำมาทางเกาะสีชัง และเข้ามาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อขึ้นมาภาคกลาง ที่อยุธยามีจุดขึ้นถ่านหินขนาดใหญ่ ทั่วโลกมีการกล่าวถึงการลดภาวะโลกร้อน แต่ประเทศไทยไม่มีการพูดถึงประเด็นนี้เลย และยังมีการหันไปหาถ่านหินมีการขุดหาถ่านหินเพิ่มขึ้น
หากกล่าวถึงนโยบายของรัฐปัจจุบันไม่ได้มีการลดภาวะโลกร้อน หรือหากมีการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็หาว่า จะเกิดไฟดับ กระแสไฟฟ้าไม่พอ ตอนนี้เราใช้ไฟฟ้า 3 หมื่นเมกะวัตต์ ภายใต้เราผลิตได้ 4 หมื่นเมกวัต เรามีกระแสไฟฟ้าเหลือใช้อยู่ เรามีโรงไฟฟ้าเหลือเฟือแต่ว่าเมื่อปี 2556 ไฟดับที่ 3จังหวัดภาคใต้ รัฐบอกกระแสไฟฟ้าไม่พอ และเมื่อเราผลิตไฟฟ้าที่พม่าเมืองหงสา ผลิตเพิ่มแล้ว แต่ไฟฟ้ายังดับอยู่อีกหมายความอย่างไรทั้งที่ไฟฟ้ายังเหลือใช้จำนวนมาก ฉะนั้นเรื่องไฟฟ้าที่ผลิตอยู่ประชาชนต้องมารับผิดชอบจ่ายค่าFTอยู่ และผันผวนขึ้นลงตลอด
การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) จากการผลิตพลังงานน้ำมันและแก้ส มาผลิตไฟฟ้าด้วย และได้ลงไปผลิตและสร้างเขื่อนที่ลาวด้วย นอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ก็ไปสร้างกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่ลำตะคอง ชาวบ้านอย่างเรายังต้องเป็นคนที่ใช้พลังงาน ซื้อจากรัฐ พร้อมต้องรับผิดชอบค่าFT ด้วย
ภายใต้โลกกำลังปรับเปลี่ยนแล้ว และมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา และปรับตัวเป็นระบบดิจิตอล กระแสของโลกคำนึงถึงภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องใหญ่และประเทศไทยก็คงจะหลีกเลี่ยงกระแสนี้ไปไม่ได้ ตอนนี้มีการกระจายโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นการกระจายศูนย์ ใครที่จะพยายามจะผูกขาดอาจทำไม่ได้อีกแล้ว และรถยนต์ไฟฟ้าจะมาแทนรถที่ใช้น้ำมันแน่ และการลงทุนหากมีทุนลงทุนไปจะได้คืนใน 7 ปี การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด ซึ่งการที่ลมพัดบ้างแดดไม่ออกบ้างทำให้ระบบไฟฟ้าหมุนเวียนอาจไม่สเถียร แต่ว่าระบบแบตเตอรี่จะเข้ามาจัดการระบบทำให้เกิดความเสถียรในอนาคตซึ่งประเทศเยอรมนีเขาทำแล้ว ตอนนี้โลกก้าวสู่พลังงานยุคใหม่แล้ว และอัตราการเติบโตเร็วมาก ประเทศเราก็มีการพัฒนา อย่างมีโรงไฟฟ้าแก้สธรรมชาติอย่างเขาหินซ้อนที่ตอนนี้มีการสร้างแล้ว
ด้วยประเทศไทยเรามีพลังงานที่มั่นคงอยู่แล้ว กรุงเทพฯมีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากถึงร้อยละ 30 มีไฟฟ้ามาจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งกระทบกับชีวิตคนหลายรุ่นแล้ว และเขื่อนปากมูลที่ทำให้คนต้องสูญเสียอาชีพมากมาย จริงแล้วเรามีความพยายามที่จะใช้พลังงานสะอาดอย่างการผลิตไฟฟ้าชีวมวล ไฟฟ้าโซร่าเซลล์ ในส่วนของภาคเอกชนมีการทำอยู่บ้างแล้ว แต่ว่ายังน้อยมากด้วยไม่มีการกำหนดเป็นนโยบายรัฐ ด้วยการใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพจำนวนมาก ต่างประเทศเขาจะไม่คิดสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แต่ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้การใช้ไฟฟ้าโดยรวมลดลงและได้งานเหมือนเดิม ซึ่งเราควรมีการมีการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนคือสามารถที่จะนำพลังงานนั้นมาใช้ใหม่ได้
อย่างการกล่าวถึงเรื่องการพัฒนาหรือการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น แต่ว่าเขาคิดว่าจะต้องมีการวางแผนงานในการสร้างโรงไฟฟ้า คิดที่จะสร้างไฟฟ้าจากถ่านหิน การมีรถยนต์ไฟฟ้ารัฐควรคิดว่าจะต้องสร้างที่ชาร์ตไฟฟ้าให้รถยนต์ กับมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้รถยนต์ไฟฟ้าต้องใช้ไฟฟ้าที่ไม่สะอาด สิ่งที่รัฐทำจึงไม่จริงใจ ไม่ใช่ระบบกระจ่ายศูนย์ออกไปโดยส่งเสริมให้มีการลงทุนการชาร์ตไฟของชุมชนเอง มีการส่งเสริมระบบโซล่าเซลล์ ตอนนี้มีเอกชนที่พยายามทำแต่ว่า มีคนเข้าร่วมโครงการยังน้อยมากซึ่งรัฐบาลควรมีนโยบายสนับสนุน
ประเด็นถ่านหินสะอาดคือการพยายามที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่างแม่เมาะมีซันเฟอร์ไดออกไซด์ ที่เป็นปัญหาต่อชุมชนชาวบ้านด้านสุขภาพ มีการดักจับคาร์บอนจากปล่องมาฝังลงดิน ซึ่งจะทำอย่างนั้นทำไม เพราะเราคิดทำเรื่องอื่นได้หรือไม่ ตอนนี้พลังงานสะอาดยังไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ช่วงการเปลี่ยนผ่านก็มีความจำเป็นที่พอจะยอมรับได้คือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งตอนนี้มีการค้นพบเซลแก้สปตท.ก็ได้พยายามทำอยู่
นายสันติ โชคชัยชำนาญกิจ กล่าวอีกว่าโรงไฟฟ้าเขาหินซ้อนเป็นระบบใหญ่ที่นำไฟฟ้าออกมาขายเข้าระบบ การใช้ถ่านหินจะมีผลกระทบกับสุขภาพอย่างรุนแรง แต่ว่าการทำรายงานยังไม่ผ่านแต่ว่า เขาไม่ยกเลิกและมีแนวคิดที่จะนำเข้าไปพิจารณา อย่างกรณีปตท.นำก๊าซแอลพีจีมามากจนต้องหาแผนเพื่อขายให้ได้ ภาคตะวันออกจะสร้างอีก 5 พันเมกะวัตต์ด้วย จึงคิดว่าไม่จำเป็นที่จะ สร้างโรงไฟฟ้าที่นี่ โดยมีการเซนสัญญาซื้อก๊าซ ซื้อถ่านหินแล้วหากไม่ทำก็ถูกปรับอีก ด้วยรัฐไปทำสัญญาซื้อขายสิ่งเหล่านี้ที่เรากำลังพูดถึงผลกระทบในอนาคตแบบไม่ลืมหูลืมตาไม่รับผิดชอบต่อปัญหาในอนาคตอย่างแนวคิดที่ว่าถ่านหินสะอาด วึ่งในความเป็นจริงไม่มีถ่านหินสะอาดบนโลกใบนี้
ภาคแรงงานในภาครัฐวิสาหกิจอย่างกฟผ. จากการทำงานแบบรัฐวิสาหกิจ แบบภาคราชการก็มีแนวว่าอนาคตจะเอาคนออก 6 พันคน ซึ่งจะมีการแก้เรื่องภาพการพัฒนาทั้งอีอีซี อย่างพลังประชารัฐ การพัฒนาแบบลดแลกแจกแถม จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาแบบกระจายอำนาจ และให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนาที่กระทบกับแรงงาน
ประชาชนจะใช้ฟ้าตามความจำเป็นของชีวิตเท่านั้น การเข้าถึงไฟฟ้าร้อยละ 99 แล้ว คนไทยใช้ไฟฟ้า 20 % ส่วนที่เหลือเป็นภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม ภาระการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มไม่ใช่ประชาชนเลย ที่เกี่ยวในการหาเพิ่มคือภาคอุตสาหกรรม เขาควรต้องรับผิดชอบรับภาระสิ่งแวดล้อม ผลกระทบ ตอนี้เราใช้ไฟฟ้าจากเขือน แก้ส ถ่านหิน พลังงานสะอาดมีบ้าง หากเราต้องการใช้ไฟฟ้าสะอาดแต่เราไม่สามารถตัดขาดจากไฟฟ้าของรัฐได้ และผู้บริโภคหากต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเราเลือกไม่ได้ แต่ต่างประเทศเขาเลือกได้ว่าเขาจะใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานถ่านหิน ตอนนี้กฎหมายยังไม่เปิด
นายสมนึก จงมีวศิน นักวิชาการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เมื่อมนุษย์เข้ามาอยู่บนโลกนี้ และเมื่อมีการพัฒนาก็สร้างภาวะโลกร้อน ซึ่งในแคนนาดา ก็มีความพยายามที่จะมีการปรับเรื่องของการใช้พลังงานคาร์บอนเป็นโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และมีการใช้สินค้าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งหากมีการใช้พลังงานที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ถือว่าเป็นพลังงานไม่สะอาด แต่ช่วงของการปรับตัวมีการหันมาใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่หากหันมาดูประเทศจีนเองเขาปรับจากพลังงานถ่านหินมาใช้พลังงานจากแก้สทำให้ลดคาร์บอนโรงไฟฟ้าถ่านหินได้จำนวนมาก ซึ่งแคนนาดาก็มีการปรับมาใช้พลังงานแก้สก่อน
ภาคแรงงานก็กลัวมากกับการดิสดับที่ส่งผลกระทบกับแรงงาน ในอุตสาหกรรมต่างๆที่จะมีการเปลี่ยนผ่านและมีแนวคิดในการพัฒนา และมีการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาหรือไม่ และมีการสร้างศูนย์กลางอินเตอร์เน็ตออฟติงส์หรือยัง และการนำอ้อยมาทำอะไรต่างๆอย่างชีวะวัตถุ ภายใต้การปลูกอ้อยเรายังใช้ยาฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า ปุ๋ยเคมี จึงไม่ใช่อ้อยออร์แกนนิก ตอนนี้การกลั่นน้ำมันเราใช้ก๊าซในการกลั่นแล้ว และมีกระบวนการที่ออกแบบมาที่ทำให้แรงงานหางานยากมากขึ้น
ประเทศไทยอุตสาหกรรมด้านอิเล็กทอร์นิกส์ที่เข้ามาตอนแรกยังอยู่ในตึกด้วย ในอุตสาหกรรมยุคแรกๆ ก่อนที่จะไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ระบบอุตสาหกรรมที่เข้ามาไม่เคยถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทยแม้ว่าจะส่งไปดูงานก็ไม่ได้ดูทั้งระบบ เราจึงไม่เคยเห็นเทคโนโลยี และเราก็ไม่เคยได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างของตนเองได้ ทั้งรถไฟฟ้าก็จะรู้แค่โครงสร้างข้างนอกเท่านั้น
โรงงานหลายแห่งพยายามที่สร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้ามาใช้เอง เนื่องจากปัญหาไฟฟ้าในระบบมีปัญหาและรัฐบาลเองก็ไม่จัดการกับระบบ ซึ่งการปล่อยให้เองชนผลิตไฟฟ้าใช้เองโดยไม่มีการควบคลุมตรวจสอบเรื่องคุณภาพกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมนั่นคือปัญหาใหญ่ที่จะเกิดผลกระทบต่อแรงงาน และชุมชน
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การมีการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร ในส่วนของไทยเรายังไปไม่ถึงอตุสาหกรรม 4.0 ซึ่งมีการใช้หุ่นยนต์แขนกลมาทำงานแทน แต่ว่าการผลิตยังเป็นเพียงระบบไฮบริด จะมีคนตกงาน แต่ว่าระบบทุกอย่างต้องมีคนทำงาน แต่เราต้องมีการพัฒนาตัวเองไป และมีเวลาที่จะมีการเปลี่ยนผ่านอยู่ ซึ่งก็มีอาชีพใหม่เข้ามาทดแทน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐในการพัฒนางาน เมื่อมีการพัฒนาแล้วต้องกระทบแน่มีการลดชั่วโมงการทำงาน ซึ่งในประเทศสวีเด็นเขามีการชดเชยการขาดรายได้ ซึ่งอุตสาหกรรม 4.0 ต้องมีนโยบายแบบนี้ ประเด็นต่อมาในส่วนของการศึกษาต้องพัฒนาให้เข้าระบบอุตสาหกรรมใหม่เพื่อลดอัตราการตกงาน
ผู้แทนจากจังหวัดสระบุรี กล่าวถึงประเด็นการปรับเปลี่ยนสีผังเมืองทำให้ผลกระทบกับชุมชน เกษตรกรรม ธรรมชาติที่ดีตอนนี้มีการปรับเปลี่ยน และเกษตรอินทรีย์ ความต้องการที่จะลดต้นทุนการผลิตของเขาซึ่งกระทบต่อการเลี้ยงโคนม ทั้งสัตว์ป่า สวนป่ารัศมีตรงนั้นที่เราใช้ประโยชน์อยู่ต้องได้รับผลกระทบจากการสัมปทานและการจัดการปรับเปลี่ยนสีผังเมือง
จากนั้นได้มีการลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนกับระหว่างผุ้ได้รับผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เครือข่ายผู้นำแรงงานกลุ่มต่างๆ กับเครือข่ายเพื่อนตะวันออก
โดยสรุปการลงพื้นที่บริเวณตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง และอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะชิงเทรา
นางนันทวัน หาญดี ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เล่าว่า 304 มีการพัฒนาเริ่มจากการค้าไม้และมาทำกระดาษ ต่อยอดเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งข้างหลังการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลมีการใช้ถ่านหินในระบบการเผาไหม้เพื่อให้เกิดระบบไฟฟ้าที่นำมาช็ซึ่งยังไม่ทราบว่าเข้าสายส่งไปทางทิศใดด้วย ซึ่งทางพื้นที่ชาวบ้านไม่ทราบข้อเท็จจริงในตัวโครงการเพราะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและการทำEIAคือ การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ ถือว่าเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบต่อกฎหมายในทางปฏิบัติ ซึ่งจากการร้องเรียนทำให้เกิดกระบวนการนัยหนึ่งในการทำEIA ในส่วนของโรงไฟฟ้าต่างๆก็มีการเดินหน้าในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลอยู่ ซึ่งที่่อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี สร้างไม่ได้ก็มาสร้างที่นี่
โครงการนี้กระทบต่อระบบเกษตรอินทรีย์ที่ชาวบ้านทำอยู่ ซึ่งการต่อสู้ของชาวบ้านได้มีการทำรายงานผลกระทบด้วยในด้านที่ทำกิน รายได้ และสิ่งแวดล้อม กันเองตั้งแต่ปี 2554 ก็มีการยื่นรายงานข้อมูลดังกล่าวของชาวบ้านจนทำให้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)ไม่ผ่านและต้องกลับมาทำกระบวนการใหม่ และเครือข่ายฯมีการทำตลาดสีเขียวให้รัฐได้เห็นถึงคุณค่าของอาหารสีเขียว อาหารปลอดภัย ตอนนี้ผังเมืองEEC มีการปรับผังเมืองใหม่อีก ผังเมืองเป็นสีม่วงทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่า การที่จะหยุดโครงการโรงงานไฟฟ้าฯของเขาคงยากมาก จึงคิดว่า การทำงานของเครือข่ายฯต้องเชื่อมกันกับผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มอื่นๆด้วย ตอนนี้สถานการณ์ในพื้นที่เริ่มเลวร้ายมากขึ้น ที่กระทบหนักคือกับแหล่งน้ำแหล่งอาหารน้ำจะเสียกระทบกับสัตว์ และพืช รัฐไม่สามารถที่จะผ่านโครงการที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาพได้แต่ว่ารัฐกลับไปปลดล็อคเซนสัญญาซื้อขายและสร้างโรงไฟฟ้าแล้ว เครือข่ายต้องพยายามในการผลักดันเพื่อคัดค้าน แต่ว่าต้องต่อสู้ทั้งด้านข้อมูลงานวิจัย การจัดกิจกรรมต่างๆเชิงการณรงค์ให้ภายนอกได้เห็นศักยภาพพื้นที่ แหล่งอาหารเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ สัตว์กุ้ง หอย ปูปลา ความอุดมสมบุรณ์ของพื้นที่ วัว ควาย ที่ต้องการไม่ให้เกิดการปนเปื่อยสารเคมีในน้ำ ในพืชพันธุ์ต่างๆทั้งคนกินสัตว์กิน อีกด้วย
นายกัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อนตะวันออกโรงงานไฟฟ้าจะอยู่บนเนิน ชุมชนอยู่ข้างล่างจากเดิมชุมชนสามารถใช้บ่อน้ำตื่นๆได้ ชาวบ้านขุดบ่อน้ำลึกเพียง 3-4 เมตรก็สามารถใช้น้ำสะอาดดื่มใช้ได้แต่ตอนนี้ต้องซื้อน้ำดื่ม น้ำที่มีที่ขุดขึ้นมาใช้ในการดื่มกิน หรือในอุปโภคบริโภคไม่ได้เลย ปัจจุบันน้ำที่ใช้มาจากประปาหมู่บ้าน ด้วยกระบวนการผลิตของไฟฟ้าชีวมวลให้เกิดปัญหาน้ำเสียในชุมชน
นางสาวสุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธิยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้เติมข้อมูลโครงการโรงไฟฟ้า ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีว่า สร้างก่อนได้รับใบอนุญาต อุตสาหกรรมสระบุรีนั้นไม่ทราบหรือไม่ว่ามีการสร้างโรงไฟฟ้า เกิดโรงไฟฟ้าในจังหวัดสระบุรีนั้นจำนวนมาก มีโรงไฟฟ้าที่ แก่งคอย 7 โรง หนองแซง 1 โรง อำภอหนองแค 7 โรง ซึ่งอยู่หนองปลาหมอ วังน้อย แค่ตำบลโคกแย้ มีถึง 2 โรง อำเภอเมืองสระบุรี 5 โรง เป็นของเอกชน ทั้งขนาดกลางขนาดเล็ก ซึ่งหากดูพื้นที่และกำลังการผลิตคิดว่าน่าจะใช้กันไม่หมด และเกินความต้องการ โดยปัจจุบันที่ชาวบ้านออกมาคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเนื่องจากมีการนำถ่านหินมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าของบริษัทเอกชนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนขนาด 150 เมกะวัตต์ใกล้แม่น้ำป่าสัก ซึ่งลักษณะของภูมิประเทศเป็นแหล่งที่อุดมสมบรูณ์ทั้งพืชพันธุ์อาหารไร่องุ่น การเลี้ยงปตุสัตว์ เช่นโคนม แหล่งท่องเที่ยว แหล่งน้ำสำคัญของประเทศซึ่งต้องกระทบต่อแน่ทั้งคนสัตว์ พืช คน และแห่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน หมายถึงประเทศนี้ด้วย โดยชาวบ้านได้รวมกลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเหมืองปูน เพื่อขับเคลื่อนแลได้มีการสื่อสารกันในกลุ่ม เพื่อให้สังคม และรัฐให้ความสนใจ และมาแก้ไขปัญหา หากนำตัวเลขของการผลิตไฟฟ้าในจังหวัดสระบุรีมารวมๆกันก้อาจเกินความจำเป็นที่จะต้องมาสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มในประเทศ นี้แล้ว
นายสมนึก จงมีวศิน ยังกล่าวอีกว่า จังหวัดสระบุรี นั้นยังเป็นพื้นที่ที่ถูกนำขยะจากที่ต่างๆมาทิ้ง หรือขุดหลุมฝังกลบในพื้นที่จำนวนมากตามที่มีข้อมูล ซึ่งถือว่า เป็นพื้นที่ที่ถูกกระทำแบบซ้ำซาก มีเพียงบางพื้นที่ที่ทราบก้ออกมาคัดค้านเป็นจุดๆไม่ได้รวมกลุ่มกันเป็นเครือข่าย
ต่อมาได้มีการระดมความคิดพร้อมข้อเสนอ ซึ่งทางที่ประชุมเสนอว่า ปัญหาเมื่อมีการลงทุนในประเทศมาจากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบันก็ถึงฉบับที่ 12 แต่ด้วยแผนการพัฒนาเศรษฐกิจมุ่งเน้นเพียงพัฒนาอุตสาหกรรมไม่ได้มองเรื่องของเศรษฐกิจพื้นฐานคือเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจสีเขียว คือ อาหารสะอาด ตอนนี้ด้วยปัญหามลพิษทำให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะเป็นพิษทำให้สภาพภูมิอากาศมีปัญหาเป็นพิษเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นมะเร็งเสียชีวิต
สิ่งที่อุตสาหกรรมทำคือ CSR กับทางชุมชน ทำให้วิถีชุมชนมีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่วิถีหากินได้ทุกอย่างในชุมชนตอนนี้กินไม่ได้แล้ว การเกษตรกลายเป็นเกษตรอุตสาหกรรม
การแบ่งปันทรัพยากร ทุนเป็นเจ้าของทรัพยากรทั้งหมดที่เหลือให้กับชุมชนคือมลภาวะและมลพิษเท่านั้น
ปัญหาด้านกฎหมายต่างๆที่มาจากการแย้งชิงทรัพยากร เราควรต้องมีนักกฎหมาย และนักวิชาการในการที่จะมาขับเคลื่อนทางกฎหมาย การโดยกระทำต่างๆที่กระทบกับทางกฎหมาย เศรษฐกิจชุมชนล่มสลาย ตามซึ่งปัญหาสังคม
ปัญหาอุตสาหกรรม และชุมชนจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบได้ออกมาร่วมกันขับเคลื่อน แม้ว่าสหภาพแรงงานถูกกำหนดด้วยกฎระเบียบไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับคนภายนอก ทำให้เกิดการห่างกับสังคมชุมชน ปัญหาอุปสรรคคือแรงงานต้องมีการจัดการตนเองในการที่จะเข้ามาร่วมกับชุมชน สังคม
แนวทางการแก้ไขปัญหา ต้องมีการสร้างเครือข่ายระดับประเทศ ต้องมีทุกสาขาเข้ามาร่วมกัน ทั้งชุมชน แรงงาน นักวิชาการ สื่อมวลชนต้องมาร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อน และคงต้องสร้างแนวร่วมจากต่างประเทศ ต้องมีการปรับเรื่องทัศนคติ และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม อนาคตต้องมีการสร้างเครือข่าย ขับเคลื่อนทางการเมือง โดยต้องมีทั้งแรงงาน นักศึกษา นักวิชาการ ผู้ได้รับผลกระทบ
วิธีการ สร้างเครือข่าย รวมแต่ละกลุ่มเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อน การสื่อสาร ลงภาคสนามเก็บข้อมูล มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามกลุ่ม ทำข้อเสนอต่อรัฐ
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน