วันที่ 25-26 สิงหาคม 55 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ได้จัดเวทีสัมนาผู้บริโภคสื่อวิทยุและโทรทัศน์ระดับภูมิภาค ณ ห้องประชุมทรายมณี โรงแรมลองบีซ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
เวลา 9.30น. กสทช.นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีสัมนาในครั้งนี้ว่า ในฐานะที่ตนเองเป็น 1 ในคณะกรรมการ กสทช. ตนเองรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาศเข้าร่วมในเวทีนี้กับทุกท่าน และได้พบกับเครือข่ายภาคประชาชนที่มาเข้าร่วมสัมนาในครั้งนี้สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้เป็นครั้งที่สามแล้ว ครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 2 จัดที่จังหวัดอุบลราชชธานี และครั้งที่ 3 ก็คือครั้งนี้ที่เรามาจัดที่จังหวัดชลบุรี ก็พยามจะเชิญตัวแทนเครือข่ายต่างๆ ให้มาเข้าร่วมในครั้งนี้ให้มากที่สุด สำหรับงานในวันนี้เกิดขึ้นได้ก็สืบเนื่องจากทั้งเจตจำนงค์ในกฎหมายที่บอกว่า กสทช.ต้องมีแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในกิจการวิทยุโทรทัศน์และในแผนแม่บทของกสทช.เองที่ได้ผ่านราชกิจจานุเบกษาไปก็ได้ให้ความสำคัญในด้านของผู้บริโภคแต่เนื่องจากว่า ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่พูดถึงเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุและโทรทัศน์อย่างเป็นทางการ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะว่า กสทช.เองเนื่องจากก่อตั้งเมื่อปลายปีที่แล้วนี้เองในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ก็จะครบ 1 ปี ของการทำงานแล้ว ท่านก็คงจะติดตามข่าวคราวของ กสทช. มาพอสมควรแล้วเราก็รับผิดชอบงานค่อนข้างกว้างทั้งในด้านของการจัดสรรค์เคลื่อนความถี่ด้าน ในของการกำกับดูแลซึ่งแบ่งเป็นในด้านของโทรคมนาคมและกิจการด้านกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีคณะกรรมการทั้งหมด 11 ท่านก็แบ่งเป็น 5 ท่านที่ดูแลในด้านโทรคมนาคม อีก 5 ท่านดูแลในด้านวิทยุกระจายเสียงและก็มีท่านประธานอยู่ตรงกลาง ตัวดิฉันเองอยู่ในส่วนของบอร์ดที่ดูแลในส่วนของวิทยุ โทรทัศน์ หรือ กสท. เป็น 1 ใน 5 แต่ว่า ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานในด้านคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลักและเป็นงานเฉพาะ เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการเริ่มต้นการทำงานในปีแรก งานหลักของกสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงก็คือการที่ต้องร่างเกณฑ์ขั้นตอนต่างๆมากมายเต็มไปหมดเพื่อที่จะนำไปสู่การกำกับดูแล สถานีวิทยุ-โทรทัศน์ที่ยังไม่เคยโดนกำกับดูแลอย่างเป็นรูปแบบมาก่อน
แม้ว่าปัจจุบันนี้เราจะมีสถานีวิทยุ-โทรทัศน์มากมายไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชนกว่า 8,000 สถานี และสถานนีเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม เป็น 1,000 แห่งซึ่งก็อยู่ในหน้าที่รับผิดชอบของกสทช.ที่กำลังออกกติกาที่จะดึงสถานี้ทั้งหมดมากำกับดูแลต่อไป เพราะฉะนั้นงานหลักๆก็จะดูในเรื่องของการจัดสรรค์สถานีเคลื่อนความถี่ใหม่ แต่ก็ต้องดูความชอบธรรมของการใช้คลื่นปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐเดิมก็ถือครองคลื่นอยู่ ก็ต้องมีการไปตรวจสอบว่าชอบธรรมหรือไม่และมีความจำเป็นที่จะต้องถือครองต่อหรือเปล่าเช่นเดียวกันกับการที่จะทำให้คลื่นที่เกิดขึ้นใหม่เข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายต่อไปนั่นคือในส่วนของการจัดสรรค์คลื่นความถี่และในระยะยาวก็คือจะมีการปรับเปลี่ยนทีวี วิทยุระบบอนาล็อกให้เข้าสู่ระบบดิจิตอลทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมดูแลต่อไป.
ปัจจุบันนี้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อสังคมและประชาชนผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นในด้านของ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ ฯลฯเนื่องจากปัจบันนี้คนทำสื่อมุ่งเน้นในด้านของธุรกิจและผลกำไร มากจนเกินไปจึงทำให้จนทำให้ขาดคุณธรรมและจริยธรรม และความถูกต้อง ขาดความรับผิดต่อสังคม จึงทำให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาอย่างรุนแรง ผู้บริโภคสื่อ เกิดความเชื่อในทางที่ผิดๆ และเกิดการลอกเลียนแบบตามสื่อที่ได้เสพโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จึงนำมาซึ่งปัญหาการก่ออาชญากรรมตามมา ดังเช่นทุกวันนี้ เนื่องจากขาดหน่วยงานที่ดูแล และเอาจริงเอาจังในด้านนี้
ดังนั้นกสทช.จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาเหล่านี้จึงได้ริเริ่มโครงการในนการที่จะสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภคสื่อฯสำหรับเนื้อหาในการสัมนานั้นเป็นการระดมความคิดเห็นว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้บริโภคสื่อนั้นตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่เกิดประโยชน์และเป็นธรรม โดยสาระสำคัญของการจัดเวทีสัมนาระดมความคิดในครั้งนี้ก็คือการสร้างกลไกภาคประชาชนโดยจัดตั้งศูนย์ให้ข้อมูลความรู้ รับเรื่องราวร้องทุกข์ ในพื้นที่โดยทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานกสทช. และประชาชน การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในในสิทธิ / อำนาจ หน้าที่ กฎหมายให้กับภาคประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งจะเกิดการขยายผลอย่างรวดเร็ว กสทช.เองต้องเป็นหน่วยงานอิสระปราศจากการแทรกแซงจากทุนจึงจะทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิ์ และเป็นองค์กรของผู้บริโภคสื่อโดยแท้จริง.
กระมนต์ ทองออน นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวสมุทรปราการรายงาน