กลุ่มแรงงานยานยนต์ แถลงร่วมสมานฉันท์ หนุนรัฐปรับค่าจ้าง 300 บาทพรุ่งนี้

พรุ่งนี้ กลุ่มแรงงานยานยนต์ สภาองค์การแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จับมือร่วมกันเดินรณรงค์วันงานที่มีคุณค่า ประกาศหนุนรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมนำรายชื่อราว 3 หมื่นชื่อสนับสนุน นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ทำเนียบรัฐบาล
 
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (TLSC) สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย (TEAM) ร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างแรงานยานยนต์ แห่งประเทศไทย (ALTC) จัดแถลงข่าว เรื่อง “ค่าจ้างมาตรฐานเดียว  300 บาท ทั่วประเทศ ทันที !!!” เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2554 โรงแรมบางกอกพาเลซ ในงานแถลงข่าว และการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “งานที่มีคุณค่า (DECENT WORK)”
 
นายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย ได้แถลงว่า ตามที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้ประกาศหาเสียงต่อพี่น้องประชาชน และผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศในนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท และเงินเดือนสำหรับวุฒิปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาท กล่าวได้ว่านโยบายดังกล่าว เป็นนโยบายที่มีความตรงไปตรงมาถูกใจผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ จนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
 
ผู้ใช้แรงงานมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท จะได้รับการปฏิบัติโดยทันทีเมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล แต่หลังจากฯพณฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 รวมทั้งคำให้สัมภาษณ์ของนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีแรงงานว่า จะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, สมุทรสาคร, ปทุมธานี, นครปฐม, นนทบุรี, สมุทรปราการ และจังหวัดภูเก็ต ส่วนที่เหลืออีก 70 จังหวัดจะมีการทยอยปรับขึ้นค่าแรงในลำดับต่อไปนั้น
 
ผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วนรู้สึกกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่รู้ชะตากรรมว่าแรงงานอีก 70 จังหวัด จะได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่มีมาตรฐานเดียวกันเมื่อใด จากการสำรวจข้อมูลค่าใช้จ่ายรายวันของผู้ใช้แรงงานของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 พบว่า ผู้ใช้แรงงาน 1 คน มีค่าใช้จ่ายรายวันประมาณ 348.39 บาท และค่าใช้จ่ายรายวันของผู้ใช้แรงงานและครอบครัวรวม 3 คน ประมาณ 561.79 บาท ดังนั้นแล้วค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน จึงเป็นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่มีมาตรฐานเพียงพอต่อการยังชีพเท่านั้น
 
ทางสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วยสมาชิก 120 องค์กร ประมาณ 100,000 คน โดยการสนับสนุนของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้จัดสัมมนาเรื่อง “นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ และทิศทางการยื่นข้อเรียกร้องร่วมกันของคนงานอุตสาหกรรมโลหะทั่วประเทศ” เมื่อวันที่ 7–8 กันยายน 2554 ณ ศูนย์อบรมการไฟฟ้าบางปะกง จ.ชลบุรี และการสัมมนาเรื่อง “งานที่มีคุณค่า(DECENT WORK)” ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ ในวันนี้ ได้มีข้อสรุปร่วมกัน ดังต่อไปนี้
 
1. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องปรับให้กับลูกจ้างทุกคนเท่ากันทุกจังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
 
2. ยกเลิกการจ้างงานแบบเหมาค่าแรงและการจ้างงานที่ไม่มั่นคงทุกประเภท
 
3. รัฐต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคไม่ให้สูงเกินจริง
 
ทั้งนี้ ทางผู้แทนของสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ได้ลงนามแสดงเจตจำนง (MOU) ร่วมกัน เพื่อนำข้อสรุปดังกล่าวไปยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างของตนเอง และรวมถึงการเข้าร่วมรณรงค์กับพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน ในการสนับสนุนให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศตามนโยบายที่ได้หาเสียงเอาไว้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนงานให้ดีขึ้น และเป็นสัญญาประชาคมของพรรคที่ได้สัญญาไว้ต่อประชาชน และผู้ใช้แรงงานกว่า 35 ล้านคน ในวันที่ 7 ตุลาคม 2554 โดยนัดรวมตัวกันที่หน้าอาคารสหประชาชาติ (UN) เวลา 09.00 น. พร้อมเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอยื่นหนังสือ พร้อมรายชื่อที่ได้มีการร่วมกันล่ามาราว 30,000 ชื่อ เป็นการสนับสนุนนโยบายให้รัฐบาลเดินหน้าดำเนินการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทเท่ากันทันทีทั้งประเทศ
นายพงษ์เทพ  ไชยวรรณ ประธานสภาองค์การลูกจ้างยานยนต์แห่งประเทศไทย การผลิตรถยนต์มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากไม่ดูเรื่องของการจ้างงาน คุณภาพชีวิตของแรงงานที่มีในสถานประกอบการกลับต่ำ เป็นเพราะว่าอุตสาหกรรมของยานยนต์ เน้นการจ้างแรงงานราคาถูก ไม่มีแนวคิดเศรษฐศาสตร์ที่ควรมีการปรับขึ้นค่าจ้างให้คนมีชีวิตที่ดีก่อนเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างกำลังซื้อให้เกิดขึ้นในตลาด คำว่าปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท หรือ 15,000 บาท เป็นการเสนอโดยพรรคการเมืองแกนนำรัฐบาลปัจจุบันเท่านั้น ข้อเสนอนี้ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น ทันที การทำงานของรัฐบาลชุดนี้ทำให้สินค้ามีราคาสูงมากขึ้นจากนโยบายประชานิยม ฉะนั้นรัฐบาลชุดนี้ไม่ควรมีการบิดพริ้วในการที่จะไม่ปรับขึ้นค่าจ้างตามที่เสนอไว้
 
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่า ความจริงแล้วนโยบายค่าจ้างของขบวนการแรงงานไทย ได้มีการทำข้อมูล เรื่องของการปรับขึ้นค่าจ้างที่เป็นธรรม ข้อมูลเดิมปี 2552 ที่ 421 บาทต่อวัน แต่วันนี้ได้มีการสำรวจข้อมูลใหม่พบว่าค่าจ้างที่อยู่ได้คือ 561 บาท ต่อการเลี้ยงดูครอบครัว 3 คน และ 384 บาทสำหรับเลี้ยงคนๆเดียว อันนี้เป็นความสอดคล้องกับทางรัฐบาลที่ไดมีการหาเสียงไว้ว่า จะมีการปรับค่าจ้างอย่างน้อย 300 บาทต่อวัน ทันที่เท่ากันทั่วประเทศ เป็นเพียงการปรับขึ้นค่าจ้างเบื้องต้นเท่านั้น แต่วันนี้นายจ้างยอมรับไม่ได้เสนอมีการปรับค่าจ้างเป็นระบบขั้นบันได แต่ผู้ใช้แรงงานคงยอมไม่ได้เพราะค่าครองชีพมีการปรับตัวขึ้นตลอดเวลาตั้งแต่มีการเริ่มหาเสียงของพรรคเพื่อไทยในนโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง จนวันนี้แรงงานยังไม่ได้มีการปรับค้าจ้างขึ้น 300 บาทแม้แต่น้อย พรุ่งนี้จะมีการเคลื่อนไหวใหญ่ร่วมกันกับหลายองค์กรในนามของเครือข่ายแรงงาน เพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลทำตามนโยบายได้อย่างจริงๆ และเห็นใจที่รัฐบาลต้องถูกนายทุนออกมาต่อต้านอย่างหนัก แต่เพื่อไม่ให้ผิดคำสัญญาของคนส่วนใหญ่ของประเทศรัฐบาลควรมีการประกาศปรับขึ้น และกล้าที่จะทำเพื่อคนส่วนใหญ่
 
ในส่วนของคำถามเรื่องน้ำท้วม ก็เป็นปัญหาเราก็คิดว่า ส่วนนั้นที่มีผลกระทบอาจเลื่อนการปรับได้ วันนี้เรื่องการปรับขึ้นค่าจ้าง แรงงานจะไม่มีการเลื่อนออกไปกว่า 1 มกราคม2555นี้ การที่รัฐบาลมีการเลื่อนการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทออกไป เพราะต้องการที่จะดูท่าทีของแรงงานในการที่จะมีการร่วมกันเคลื่อนไหวในวันพรุ่งว่าทำได้จริงหรือไม่
 
ดร.ณรงค์ กล่าวว่า ค่าจ้างของลูกจ้างในปัจจุบันยังมีค่าจ้างพอยังชีพไปวันๆ ค่าจ้างรายวัน 
ค่าจ้างประเภทที่ 2 คือค่าจ้างที่เป็นธรรม การแบ่งปันมีความเป็นธรรมหรือไม่ มีการเจรจากันอย่างไร ระหว่างนายจ้างลูกจ้างในการที่จะแบ่งปันรายได้ กับการสร้างอำนาจในการต่อรอง การที่จะขอแบ่งปันกำไรจากนายจ้างลูกจ้างมีปากมีเสียงเพียงพอหรือไม่ ใครลงทุนใครทำงานมากกว่ากัน ความเป็นอยู่ที่ว่ายอมรับกันได้จะเป็นธรรม การเจรจาข้อตกลงในสังคมไทย การเจรจาของลูกจ้างนายจ้างสามารถตกลงกันได้หรือไม่
 
ขณะนี้มีลูกจ้างเอกชน 14 ล้านคน กลุ่มลูกจ้างประเภทไหนกลุ่มแรก คือ ลูกจ้างที่มีค่าจ้างพอยังชีพได้ โดยเฉลี่ยค่าจ้างของแรงงานเป็นต้นทุนเพียง 2-3 % เท่านั้น ค่าจ้างตรงนี้ยังรวมค่าจ้างของฝ่ายบริหารด้วย ค่าจ้างโดยเฉลี่ยเป็นต้นทุนเพียง 10%  แต่ต้นทุนของประเทศเจริญค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 20 % ค่าจ้างที่ต่ำของประเทศที่เจริญจะลดต้นทุนอยู่ที่ประเทศด้อยพัฒนา 
 
ต้นทุนประเทศที่การพัฒนาสร้างแรงงานรุ่นใหม่ ประเทศไทยกำลังที่จะก้าวเข้าสู่สังคมคนสูงอายุ การที่คนสูงอายุต้องมีกองทุนในการที่จะเลี้ยงคนที่สูงอายุ การที่แรงงานจะต้องมีค่าจ้างรับผิดชอบคน 3 ประเภท คือ รุ่นตัวเอง (คนทำงาน) เด็ก (รุ่นลูก) และ คนสูงอายุ (รุ่นพ่อ แม่) เรียกว่า ค่าจ้างสำหรับสามารถเลี้ยงครอบครัวมนุษย์ การดูแลคนสูงอายุคือ ต้องมีค่าจ้างที่สูงมีระบบกองทุน สามารถดูแลเด็กคือกองทุนประกันสังคม สวีเดนจะมีกองทุนในการดูแลเด้กตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ แรกเกิด สามารถเบิกเงินมาดูแล กรณีนั้นให้ความสำคัญกับเด็กค่าจ้างพ่อแม่ต้องเพียงพอในการที่จะดูแลเด็ก ผู้ที่มีค่าจ้างถือว่าเป็นเสาเข็มที่ปักเลี้ยงคนได้ทั้งครอบครัว จึงต้องมีค่าจ้างที่สูงเพียงพอในการเลี้ยงครอบครัว
 
การที่นายจ้างบอกว่าค่าจ้างประเทศไทยสูงแล้วได้รับค่าจ้าง 300 บาทแล้ว แต่มีใครรู้บ้างว่าค่าจ้าง 300 บาททำงานมาแล้วกี่ปี รถยนต์ยังมีค่าจ้างที่ไม่ถึง 300 บาท หากมองว่าค่าจ้างในอุตสาหกรรมรถยนต์ดีกว่าคนอื่นๆ แล้วกำไรของรถยนต์ดีกว่าสินค้าอื่นหรือไม่ บีเอ็ม ฟอร์ด มาสด้า โตโยต้า ฯลฯ ราคาคันละเท่าไร จีนมีค่าจ้างชั่วโมงละ 90 บาท วันละ 700 บาท ใครว่าค่าจ้างคนจีนต่ำ แล้วค่าจ้างของแรงงานรถยนต์สูงจริงหรือไม่ ค่าจ้างที่ได้รับนั้นเป็นธรรมหรือยัง
 
ค่าจ้างที่เป็นธรรม คือ ค่าจ้างที่อยู่ได้ ค่าจ้าง 300 บาทเป็นค่าจ้างที่พอแค่ยังชีพ หรือเป็นค่าจ้างที่เป็นธรรม หากใช้ค่าจข้าง 300 บาทในการเป็นตัวกลางในการปรับค่าจ้างทั้งหมดให้เกิดค่าจ้างที่เป็นธรรมบวกเข้าไปทั้งผลกำไร  นายจ้างมีมากควรแบ่งอย่างเป็นธรรมโดยการต่อรองของลูกจ้าง 
 
เวลาคำนวณเรื่องต้นทุน ค่าจ้างคือ พลังแรงงานที่ผลิตเอามาขาย เป็นสิ่งที่ผลิตออกมา เมื่อนายจ้างยอมรับว่าแรงงานคือ ต้นทุน ทำไมสินค้าแรงงานไม่มีการคิดชดเชยต้นทุนชีวิต ค่าเล่าเรียนกี่ปีคือต้นทุน ค่าเลี้ยงดูลูก ค่าเล่าเรียนลูกส่งจนมาเป็นแรงงาน แต่นายทุนไม่คิดว่า ต้องมีการอนุลักษณ์เผ่าพันธุ์มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง หรือรัฐไม่ได้มองคุณค่าของแรงงานในฐานะมนุษย์ เพื่อการคุ้มครองดูแลแรงงานในฐานะมนุษย์ควรมีความเป็นธรรม
 
นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน