กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียงจับมือคณะกรรมการสมานฉันท์จัดการความรู้อนุสัญญาILOฉบับที่ 87 และ 98

Untitled-1

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง ได้ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉัน์แรงงานไทยจัด เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนและรณรงค์ของแรงงานในระดับพื้นที่ต่อการผลักดันให้ รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98″ ณ  โรงแรมแมนฮัตตัน (นวนคร ) โดยการสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนผู้เข้าร่วม 66 คน ประกอบด้วย สหภาพแรงงาน 20 แห่ง, กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาชุมชน และสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย วิทยากรประกอบด้วย นายชาลี ลอยสูง  ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และนายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย โดยมีเนื้อหาโดยสรุปความสำคัญของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 นั้นขบวนการแรงงานได้มีความเคลื่อนไหวการขับเคลื่อนผลักดันมานาน ความคืบหน้าปัจจุบันนั้นอยู่ระหว่างการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนก่อน คือนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมครม. หลังจากกฤษฏีกาตรีความว่าไม่ต้องนำเข้าสภาเพื่อขอมติ และได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์มาทั่วประเทศและทุกกลุ่มแล้วมีความเห็นชอบให้มีการรับรองอนุสัญญาทั้ง2 ฉบับแล้ว แต่วันนี้ยังไม่มีเสียงจากรัฐบาลว่าจะรับรองเมื่อไร

Untitled-25

ทั้งนี้ยังมีการพูดถึงความเป็นมาของ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยที่ได้กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ “การขับเคลื่อนและการรณรงค์ของสหภาพแรงงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานในระดับพื้นที่/กลุ่มย่านอุตสาหกรรม และรวมถึงกลุ่มแรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ จำนวน 450 คน ใน 12 จังหวัดได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระบุรี อยุธยา อ่างทอง กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม ได้เกิดความรู้ความเข้าใจและแนวทางการขจัดอุปสรรคทางกฎหมายต่างๆ เพื่อให้แรงงานทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อนำมาสู่การรณรงค์ในระดับประเทศ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2556 ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ในวันที่ อนาคตต่อไป

จากนั้นได้มีการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1.  ท่านคิดว่าอนุสัญญา ฉบับที่ 87 และ 98 มีประโยชน์อย่างไร

-ทำให้การจัดตั้งและต่อรองง่ายขึ้น ทำใหการรวมตัวกันง่ายขึ้น

-เพิ่มพลังมวลชนในการต่อรองกับนายจ้าง

-เปลี่ยนค่านิยมของทุนนิยมให้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานให้แนวทางใกล้เคียง

-ป้องกันการคุ้มครองและแทรกแซงจากรัฐบาลและลดช่องว่างระหว่างแรงงานข้ามชาติกับแรงงานในชาติ

-ลดปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ

-เพื่อเป็นธรรมในการรวมตัวต่อรอง

-รักษาภาพลักษณ์ของประเทศให้มีมาตรฐานทางสากล

-จัดตั้งองค์กรหรือตัวแทนขึ้นมาต่อรอง

-ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว

-ให้เรามีสิทธิอย่างเสรีมากขึ้น โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากภาครัฐ

2.   ท่านและองค์กรของท่านจะมีส่วนร่วมในการรณรงค์อย่างไร

-รวมตัวเพื่อผลักดันให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที 87 และ 98

-มีการอบรมให้ความรู้กับสมาชิกในอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 87 และ 98

-สือสารปราสัมพันธ์เกี่ยวกับ อนุสัญญาILO ฉบับที 87 และ 98

-ให้คณะทำงานทำหนังสือถึงรัฐมนตรี

-จัดให้มีการหาทุนเพื่อการรณรงค์

-สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ใช้แรงงานในการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา ILO

-ระดมทุนเพื่อการเคลื่อนไหว

-จัดตั้งพรรคแรงงานเพื่อแรงงงานมีพรรคเป็นของตัวเองเข้าไปอยู่ในรัฐบาล

-เข้าร่วมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานทั้งประเทศเคลื่อนไหวในวันที่ 7 ตุลาคม2556

นายชาญเมธินทร์ โชติสวัสดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง รายงาน