กลุ่มผู้ป่วยจากงาน ออกแถลงการณ์เร่งรัฐดูแลคนงาน

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน ซึ่งเป็นองค์กรที่รวบรวมสมาชิกที่มีทั้งคนงานและชุมชนที่ประสบปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานและมลพิษสิ่งแวดล้อม รวมกลุ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ดำเนินการร่วมเรียกร้องสิทธิ และ ผลักดันนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กับ รัฐบาลในนามสมัชชาคนจนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้นำด้านสุขภาพในพื้นที่อุตสาหรรมต่างๆที่ทำงานขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งยังเข้าร่วมเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
 
เหตุการณ์ระเบิดของโรงงานบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบพุด  จังหวัดระยอง ผลิตสารโพลีเมอร์ผสมกับยาง เป็นชิ้นส่วนในการผลิตถุงมือยาง ทำให้เกิดไฟไหม้อย่างรุนแรงและมีสารสารโทลูอีน และสารอื่นๆ ที่ระเหยคละคลุ้งส่งผลกระทบให้กับชุมชนเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งได้ในอนาคต เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ถือว่าเป็นความบกพร่องประมาทเลินเล่อ ของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้สะเทือนขวัญต่อสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง ที่มีคนงานเสียชีวิตฉับพลัน 12 ศพ บาดเจ็บกว่า 130 ราย และในวันต่อ จากโรงงานระเบิดเพียง 4 กิโลเมตร ก็เกิดสารเคมีรั่วไหลภายในบริษัทไทยคลอ คาลี ดีวิชั่น จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ทำให้คนงานเจ็บป่วยฉับพลันกว่า 50คน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลมาบตาพุด เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่อยมาจนเป็นที่เดือดร้อนรำคาญของคนในชุมชนดังกล่าว เหตุการณ์ระเบิดโรงงานครั้งนี้นับเป็นข่าวสร้างความเสียหายอีกครั้งหนึ่งต่อภาพลักษณ์ของสังคมและประเทศชาติ  ที่อาจทำให้ถูกมองว่ามีแต่นโยบายที่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาอุตสาหกรรม  จนละเลยขาดระบบการป้องกันตรวจสอบ จากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ เมื่อวันที่ 10พฤษภาคม 2555 ผ่านมาจะครบรอบ 19 ปี สถานการณ์เรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน ชีวิตคนงานก็ยังต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต เสี่ยงภัยอยู่ทุกวินาที ทั้งภัยเครื่องจักรอันตราย และจากสารเคมีที่ร้าย

แรง  รวมไปถึงปัญหาในการเข้าไม่ถึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงมีความเห็นและขอเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล  ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ต่อกรณีนี้ดังนี้
 
ข้อเสนอเร่งด่วนดังนี้
 
1.ให้คนงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนี้ได้เข้าถึงสิทธิการดูรักษาอย่างดีและได้เข้าถึงสิทธิตามกฏหมายกองทุนเงินทดแทน                                                                                                               
 
2.ให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยเพื่อแสดงความรับผิดชอบนอกเหนือกฎหมาย
 
3.ให้ตรวจสอบสถานประกอบการณ์ที่มีอันตรายโดยเร่งด่วนและยุติการผลิตจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ปลอดภัย
 
ข้อเสนอในระยะยาว ดังนี้
 
1.รัฐต้องมีนโยบายแผนงานแห่งชาติพัฒนาระบบงานอาชีวเวชศาสตร์เพื่อให้มีการผลิตบุคลกรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีวเวชศาสตร์และสิ่ง

แวดล้อมที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอในระยะยาว การจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน ที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน การจัดบริการที่สามารถทำให้ลูกจ้าง นายจ้างเข้าถึงได้ง่าย
 
2.ต้องมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาส่งเสริมป้องกันการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพื่อลดการสูญเสียในอนาคตของลูกจ้าง นายจ้างลดรายจ่ายการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน
 
3.ต้องให้มีนโยบายส่งเสริมเรื่องตรวจสุขภาพลูกจ้าง ที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงในการทำงานตามกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่องโดยลูกจ้างมีสิทธิเลือกแพทย์สถานพยาบาล.เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจของลูกจ้าง
 
4.รัฐบาลลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ 
 
ฉบับที่ 155ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย  ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524) 
 
ฉบับที่ 161 ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) 
 

ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549) 
 
5.ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยงานจากการฯ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงาน ด้านอาชีวอนามัยฯ  เพื่อนำไปสู่ “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ในการทำงาน
 
6.การบังคับใช้กฎหมาย พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง
 
7.เร่งจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นองค์กรมหาชน มีส่วนร่วม และ บูรณาการ มาทำงานด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับแรงงานไทย โดยเน้นมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และ โครงสร้างกรรมการต้องมาจากการสรรหา
 
8.การงดใช้แร่ใยหิน  ชดเชยผู้ป่วย
          
9.จัดตั้งกองทุนผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษ
ณ.วันที่ 7 พฤษภาคม 2554
 
สมบุญ สีคำดอกแค สภาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 
The Council of Work and Environment Related Patents Network of Thailand (WEPT) 
32ถนนติวานนท์45 ซอยทรายทอง 22 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
อีเมล wept_somboon@hotmail.com www.wept.org โทรสาร 02-9512710โทรศัพท์มือถือ 081-813-28-98