โดยสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 11 กันยายน 2555
กระแสสุขภาพตอนนี้กำลังฮิตในวงการบ้านเรา ปัญหาความเจ็บไข้ได้ป่วย ดูเหมือน ทุกคนจะเข้าใจ แต่สำหรับผู้ใช้แรงงาน ยากที่สังคมจะเข้าใจ เพราะมองดูแล้วทุกคนจะเข้าใจ เหมือนกับว่าคนงานในระบบอุตสาหกรรม ช่างดี มีกฎหมายคุ้มครอง มากมายแล้วแต่…..สถานการณ์ จริงๆ ยังยากลำบากคนงานในระบบ ที่ ต้องทำงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำงาน ในนิคมอุตสาหกรรม ที่ปลอดจาก การดูแล ของ สหภาพแรงงาน สิ่งสำคัญในตัวเลขและสถิติ มันอยู่ตรงที่ พี่น้องคนงาน ไม่สามารถใช้สิทธิ หรือ เข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนได้ ด้วยหลายเหตุผล หลายประการ อย่างที่พี่น้องเพื่อนผู้ใช้แรงงานทราบอยู่แล้ว นั่นเอง และ ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ นโยบาย ที่ทำให้ความปลอดภัย เป็นศูนย์ คือตัวเลขเป็นสูญแต่ความเป็นจริง คือ ตัวเลขยังสูง ที่ไม่สามารถ เข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนได้ ที่สำคัญ คือ พี่น้องคนงานส่วนใหญ่ ไปใช้สิทธิกองทุนประกันสังคม เลยไม่เข้าข่าย การเจ็บป่วย และ การประสบอันตรายจากการทำงาน หรือการใช้สิทธิรักษากับกองทุนสุขภาพที่ทางสถานประกอบการจัดเป็นสวัสดิการรายปีให้
และพอรู้สึกตัวว่า มันน่าจะ เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน ไปขอใช้สิทธิ ภายหลังเมื่อไปขอยื่นเรื่องเจ้าหน้าที่ประกันสังคม ก็จะบอก กับคนงานๆ นั้นว่า " คุณป่วย ตั้งแต่ ปี 2552 -2555 ถ้า จะเข้าใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน คุณก็ต้องไปเอาเงิน ค่ารักษาพยาบาลที่ผ่านมา คืนให้แก่ประกันสังคมเสียก่อน นี่คือประเด็นการบ่ายเบี่ยง ที่สำคัญจริงๆ ที่ไม่มีใครรู้ว่า ทำแบบนี้มันผิดวัตถุประสงค์ของกองทุนเงินทดแทน แล้วปีแรกๆ คุณทำไม ไม่แจ้งให้ลูกจ้าง ใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนเล่า ?
และนายจ้างเองถ้าไม่แจ้งการเจ็บป่วย หรือ ประสบอันตรายจากการทำงานให้ลูกจ้างภายใน 15 วัน มีโทษทั้งจำและปรับ ที่ เบี่ยงเบน การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ให้ไปใช้ สิทธิกองทุนสุขภาพ หรือกองทุนประกันสังคมเจ้าหน้าที่ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน เคยเอาผิด จริงจังกับเรื่องนี้ บ้างหรือเปล่า ? หรือ ปล่อยไปแบบทำทองไม่รู้ร้อนจนมีกรณี คนงานเสียชีวิต จากมะเร็ง จากสารเคมี ในโรงงานหลายรายที่ไม่สามารถเข้าใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนได้ เพราะไม่มีเงินไปคืน ประกันสังคม และ อีกหลายกรณี ยังคาราคาซัง เพราะกองทุนไม่รับเรื่องการเจ็บป่วยจากการทำงาน ของคนงานหรือของนายจ้าง
คิดว่าจะต้องเสนอ ท่านเลขาธิการประกันสังคม แล้วว่า ปล่อยให้ ระเบียบแบบนี้ ออกมาได้ไง หรือ เป็นความผิดพลาด ของเจ้าหน้าที่ ประกันสังคมเอง หรือเปล่า ? ถ้าเป็นเช่นนั้น จะจัดการปัญหานี้ อย่างไร ?? ทีประกันสังคม มักตัดสินใจแทนลูกจ้างโดยบอกว่า ไม่ให้ใช้สิทธิกับกองทุนเงินทดแทน แล้วถ้าลูกจ้าง เขาสูญเสียอวัยวะขึ้นมา เจ้าหน้าที่คนนั้น จะชดใช้ ค่าสูญเสียอวัยวะ ให้แก่คนงาน คนนั้นเอง หรือไม่ รวมทั้งค่ายา ค่ารักษาพยาบาล มีเพดานถึง 300,000 บาท แต่หลายกรณีกลับมาตันที่เงินจำนวน 45,000 บาท เบิกไม่ได้ต้องมีการฟ้องขึ้นลงขึ้นศาล กัน อย่างรายคุณจันมณี กลิ่นถนอม ฟ้องศาลให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของกองทุนเงินทดแทน ชนะแล้วก็ยังอุทธรณ์อีก แต่ละหว่าง การดำเนินคดีอยู่ในชั้นพิจารณาของศาล 4-5 ปี คนงานจะทำอย่างไร ? อาการเจ็บป่วยของโรค และตกงาน เมื่อคนงานที่ป่วยมักสายป่านสั้น รวมทั้งผลการวินิจฉัย คนงานเป็นกระดูกทับเส้น หรือหมอนรองกระดูกแต่ กองทุนเงินทดแทนมักชอบวินิจฉัยแค่ กล้ามเนื้ออักเสบ สามารถรักษาทางกายภาพบำบัดได้จำนวนครั้ง ..10 ครั้งแบบนี้ ทำให้คนงานรู้สึกดีใจว่า ได้รับการวินิจฉัยว่าสืบเนื่องจากการทำงานแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเงื่อนไขที่ถูกวินิจฉัยนั้นไม่ตรงกับแพทย์เชี่ยวชาญชั้นหนึ่ง วินิจฉัยมาให้ ทำให้ต้องเสียสิทธิ์ ต้องอุทธรณ์บ้าง บางคนไม่ได้ดูใบคำวินิจฉัย ของกองทุนเงินทดแทน (ด้วยดีใจเห็นว่าเนื่องจากงานก็เอาแล้ว) พอเกินกำหนด 1 เดือน สิทธิอุทธรณ์ก็หมดไป ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิไป เลย หลายต่อหลายคนเป็นแบบนี้ ….เพื่อความเป็นธรรมของคนงาน กองทุนเงินแทนประกันสังคม ต้องเร่งนโยบายแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน**ข่าวจากกรุงเทพฯ ธุรกิจ ฉบับเมื่อวาน (5 ก.ย. 2555) ชีวิตคนงานที่แสนถูก สร้างความมั่งคั่ง ให้กับนายทุน แต่กลับได้รับ ค่าตอบแทนที่น้อยมาก…. บ่อยครั้งต้องเอา สุขภาพ เอา ชีวิตเข้าแลกอย่างที่เห็น ในปี 2555 กองทุนเงินทดแทนได้จ่ายเงินทดแทนรวม 1,616 ล้านบาท แก่ลูกจ้าง129,632คน ในจำนวนนี้ มีลูกจ้างเสียชีวิต 590 คน ทุพพลภาพ 4 คน สูญเสียอวัยวะ 1,630 คน และจำนวนเงินในกรณี เป็นค่าทดแทน 847.8 ล้านบาท ค่ารักษาพยาบาล 753.2 ล้านบาท และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน 2.1 ล้านบาท ค่าทำศพ 13.3 ล้านบาท**(ข้อมูลมาจากคุณสกุลเดช ศิลาพงษ์)
ตัวอย่าง กรณีนายอักษร อัคติ
ที่เจ็บป่วยจากการทำงาน ด้วยการทำงายกของหนัก ในคลังสินค้า แถววังน้อย อยุธยา นายอักษร อรรคติ อายุ 37 ปี โสด การศึกษาจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ภูมิลำเนาเดิม จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่อยู่เป็นบ้านเช่า เดือนละ 2000 บาทอยู่ สองคนกับเพื่อนเคยทำงานโงงานไก่ต้องล้วงเครื่องในไก่ทำแค่ช่วงสั้นๆ แล้วมาเข้าโรงงาน ประเภทอุตสาหกรรมค้าปลีกคลังสินค้า มีหน้าที่เบิกสินค้า ยกของ เข้างานตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2548 บรรจุเป็นพนักงานประจำวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 อายุ การทำงาน 6 ปีป่วยเป็นโรค หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท มีอาการ คือ ปวดหลังลงข้างซ้ายสะโพกชา ลงขาจากการเจ็บป่วยได้ไปใช้สิทธิ์ที่ ประกันสังคม และ สวัสดิ์การของบริษัทที่มีงบปีละ 6 หมื่นบาท บริษัทในขณะที่ต้องทำงาน 3 กะ เวลา 07.00น.-15.00 น .เวลา15.00น.-23.00น.เวลา 23.00น.-07.15 น.ทำงาน 1 ชั่วโมง เบรก 1 ชั่วโมง ทำงาน 6 วันหยุด 1 วัน ค่าแรงเดือนแรก บรรจุ 5,680 บาท จนปัจจุบัน 7,393 บาท ค่าครองชีพ 1,800 บาท ค่า มีค่าข้าว 350 บาท/เดือน ค่ากะ เหมาจ่าย เป็นเดือนๆ ละ 450 บาทได้ตลอด ไม่เกี่ยวกับการหยุดงาน เบี้ยขยัน 200 บาท/เดือนต่อไป 600 บาท แต่แม้กระนั้นค่ายังชีพก็ยังไม่เพียงพอกับรายจ่ายต้องฝืนทนทำโอที อักษรทำงานอยู่ ในตำแหน่ง เบิกสินค้าในคลังสินค้า แล้วยกของตามออเดอร์ สั่งงานงานมา เช่น 80 กล่อง จะจะมีทั้งตู้เย็น ทีวี เช่น ทุกอย่าง ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า น้ำอัดลม สินค้าเบ็ดเตล็ด ประมาณ กะละ 500-800 ชิ้น ต่อวันแต่บางครั้งก็เป็นพันชิ้น การยกของต้องใส่พาเลส ที่มีรถเสียบอยู่แล้ว ในหนึ่งพาเลซ สามารถบรรจุได้ 45-50 ชิ้น แต่ถ้าเป็นทีวีตู้เย็นจะวางได้ 2 ชิ้น ตามใบออเดอร์จ่ายงานวันหนึ่งๆต้องได้700ชิ้นต่อวันอย่างต่ำ หนักบ้างเบาบ้าง ถ้าใครได้น้อย จะถูกหัวหน้างาน เรียกไปสอบถาม ห้องหัวหน้า และถ้ายกของไม่หมดให้เร่งมือเบิก ในวันต่อไปให้ได้ ตามเป้าหมาย เท่ากับงานจะเป็นสองเท่าตัว
จากการต้องยกของหนักในโกดังสินค้า เป็นระยะเวลานาน ถึง 5 ปี อย่างรีบเร่ง เริ่มมีอาการป่วยปวดกล้ามเนื้อหลัง ปี พ.ศ.2552 กลางปี กะดึก รู้สึกปวดหลังแรกๆปวดแผ่นหลังร้าวมาเอว ต่อ มาปวดถึงสะบัก สะโพก และแจ้งหัวหน้าให้ใบส่งตัวไป พบแพทย์ที่ ร.พ. แพทย์ระบุว่าป่วยกล้ามเนื้ออักเสบ ให้หยุดงาน 2 วัน นายจ้าง ส่ง กท .16 ไปครั้งเดียวก็ไม่ไปอีกเลย อักษรกล่าวว่า "ผมรู้สึกว่าแพทย์ไม่เต็มใจตรวจเท่าไหร่" แพทย์ให้ยาคลายกล้ามเนื้อแก้อักเสบ ต่อมามีประกันสังคมจังหวัดอยุธยา ได้เรียกอักษรไปสัมภาษณ์อาการป่วย หมอสั่งหยุด จำไม่ได้ว่าหยุดกี่วัน (และไม่รู้ว่าตนเองใช้สิทธิ์อะไร) แต่ประกันสังคมได้เรียกไปสัมภาษณ์ ต่อจากนั้น บอกว่าทำไมไม่ไปรักษา รพ.ในประกันตน เพราะค่ายาแพงมาก ซึ่งอักษรก็ได้พักร้อนหยุดงานหลายวัน กลับมาทำงานหัวหน้าเปลี่ยนงานให้ ให้ไปลากสินค้า โดยเสียบพาเลช แล้วไปส่งหน้าตู้ เพื่อส่งเข้าสโตนว์ พออาการดีขึ้น อักษรกับถูกสั่งให้กลับไปยกของตามออเดอร์อีก ซึ่งเป็นงานแผนกเดิม ซึ่งหัวหน้าคนนั้นบอกว่า ไม่ว่าไม่ต้องยกมากทำที่พอทำได้
แต่พอเปลี่ยนกะก็มีหัวหน้าคนใหม่มาก็เร่งงานเหมือนเดิม อักษรต้องทนทำงานแบบนั้นหลายเดือนต่อมา เมื่อไม่ไหวจึงไปพบแพทย์ โดยแพทย์มีความเห็นว่าเป็นโรคปวดหลัง(หมอนรองกระดูก,กล้ามเนื้ออักเสบ) ให้หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และให้อักษรไปทำการกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงการใช้งานยกของหนัก ( ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 จนถึง 4 มกราคม 2553) ซึ่งการรักษาต้องไปทำกายภาพบำบัดโดยดึงหลัง อบ ช๊อตไฟ อักษรลำบากต้องหาวันไปทำกายภาพบำบัดเพราะแพทย์ไม่ได้ให้ลาหยุดพักรักษาตัว ซึ่งการทำกายภาพบำบัด มันทำให้ชาและดีขึ้น ทำติดต่อกันนับสิบครั้ง โดยแพทย์ไม่ได้บังคับมาทำก็ได้ไม่ก็ได้ 8 ธันวาคม 2552 ก็ไปพบแพทย์หมอนัดทุกเดือน หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยได้ไปหาหมอโดยรักษาประกันสังคมเป็นผู้ป่วยนอก
มิถุนายน 2553 ผจ. ฝ่ายบุคคลส่งไป รพแถววิภาวดี เพื่อไปพบแพทย์เนื่องจากนายจ้างไม่เชื่อว่าอักษรเจ็บกระดูกทับเส้นประสาท แล้วแพทย์ท่านนั้นที่นายจ้างพอไปพบ บอกว่า เป็นกล้ามเนื้ออักเสบ ไม่เห็นเป็นอะไร อักษรฉุนมากเถียงกับแพทย์ว่าปวดเจ็บจริงๆ คุณหมอจะมารู้ดีกว่าผมได้อย่างไง แพทย์จะสั่งยาอักษรจึงไม่เอา เพราะเริ่มไม่กลัวและไม่ไว้ใจ ซึ่งมันต่างกับ รพ.ที่เคยรักษาประจำอย่างมาก
กรกฎาคม 2553 นายจ้าง ส่ง ไปวินิจฉัยโรค รพ.แถววิภาวดีอีก คุณหมอก็วินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อหลังอักเสบ รักษาต่อเนื่อง แต่แพทย์ท่านนี้บอกว่า เจอหมอนรองกระดูกที่มันโผล่ออกมาเป็นตุ่ม แพทย์บอกว่าอย่าให้แตกนะเพราะว่าถ้ามันแตกมันจะหลั่งสารที่ทำให้เราอ่อนแรงและปวด อักษรคิดว่าหมอทราบเป็นหมอนรองกระดูก แต่เนื่องจากกลัวว่านายจ้างจึงไม่วินิจฉัยออกมา อีกสองเดือนต่อมา ผู้จัดการทั่วไป เรียกไปพบ บอกว่าอักษรพักรักษาตัวมานานหลายเดือนแล้ว และสั่งให้ไปยกของพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี ตู้เย็น โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 200 – 300 ชิ้น ( ออกหนังสือสั่งให้ไปยกของในวันที่ 13 ตค. 54 ) ถ้าหากยกแล้วรู้สึกเจ็บให้มาบอกโดยตรงโดยไม่ต้องไปบอกหัวหน้าลาย อักษรไปยกได้ 39 ชิ้น อักษรก็รู้สึกมีอาการขัดที่หลังจึงไปแจ้งโดยตรงกับ ผจ.เขาถามว่าเป็นอย่างไงอักษร ก็บอกว่ารู้สึกเจ็บที่หลัง ผจ.แจ้งไปที่ ฝ่ายการเงินว่า ทำไม? รพ. 2 รพ.แจ้งไม่เหมือนกัน อีก รพ. เป็นกล้ามเนื้อ อีก รพ.เป็นกระดูกทับเส้น นายจ้างก็เลยพาไปทำ MRI ที่โรงพยาบาล แพทย์ได้ลงความเห็นว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อักษรได้รับใบส่งตัวของบริษัทให้ไปรักษาตามสวัสดิการของบริษัท มีวงเงินหกหมื่นบาท แต่ทางโรงพยาบาลฯ เขาไม่รับ เขาบอกว่า มีประกันสังคม ก็ใช้สิทธิ์ประกันสังคม ไป อักษรจึงไปรักษาตัวที่ รพในประกันตน.วิภาวดีต่อแพทย์ก็ลงความเห็นว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นรักษาตัวต่อเนื่อง ต่อมาสหภาพแรงงานได้พามาพบกับสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ แนะนำให้ไปตรวจ รพ.นพรัตน์ราชธานี และ พบ นพ. กิติพงษ์ พนมยง แพทย์วินิจฉัยว่าจากดูประวัตการเจ็บป่วยคนงานยังทำงานในลักษณะเดิม จึงทำให้มีอาการปวดกระดูกทับเส้น อยู่ระหว่างนี้รอผลจากการรักษาของแพทย์ผู้ดูแลและติดต่อขอหัวหน้า เรื่องการปรับการทำงานวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 พบ นพ.กิตติพงษ์ พนมยง รพ.นพรัตน์ ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติ อาการปวดยังมีอยู่ ให้ติดตามการรักษา กับศัลยแพทย์ออโธปิติกส์รพ.นพรัตน์ วันที่ 27 พฤษภาคม 2554 และ ส่งมาปรึกษาคลินิกอาชีวเวชศาสตร์การหยุดงาน โดยการซักประวัติเพิ่มเติมรักษากับ รพ.เดิมที่รักษาอยู่มีค. 54 ได้รับการเจาะเข้าไปในไขสันหลัง และหมอนวางแผนติดตามการรักษาอีก กรกฏาคม 2554 โดยจากการซักประวัติ ผู้ป่วยว่าไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาเรื่องผ่าตัดอย่างไรก็ตามอาการปวดปัจจุบัน ควรมีการปรับสภาพงาน หลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่กระตุ้นอาการปวด เช่น ก้มมากและบิดเบี้ยว ยกของหนัก และวางแผนระยะยาว อาจต้องพิจารณาหยุดและเข้ารับการรักษา อักษรมีความอัดอั้นใจมากๆ ที่การเจ็บป่วยของตนเอง มีปัญหามากมาย และ สึกว่านายจ้างทำการละเมิด ใช้งานหนักในการยกของจำนวนชิ้นมากชิ้น และเกินอัตรากำลังร่างกายที่จะรับได้ จนปวดหลัง อักเสบ พอรู้ทั้งรู้ว่า ป่วยแล้วเป็นโรคปวดหลังอักเสบ หมอนกระดูกเคลื่อน ทับเส้นประสาทจากการทำงาน แทนที่จะใช้ไปลากที่ไม่ต้องใช้กำลังยกของหนัก กลับใช้ไปลากของหนักเหมือนคนปกติทั้งๆที่อักษร รักษาอาการก็ดูจะดีขึ้นแล้ว ขนาดมีใบรับรองแพทย์ มายืนยันชัดเจนยังไม่เชื่อ ยังใช้ให้ยกของหนักเช่นเดิม จนทำให้อาการเจ็บปวดหลังเป็นมากขึ้น เรื่อยๆ การกระทำดังนี้อัคษรบอกว่า เสมือนถูกกลั่นแก้งให้ทำงานไม่ไหว เพื่อจะได้ลาออกเอง แบบคนงานคนอื่นๆที่ออกไปหลายคนแล้ว และถูกเพ่งเล็งจากหัวหน้างาน อักษรโทรมาว่าผมอยากฟ้องเพื่อให้นายจ้างรับผิดชอบซึ่งระยะเวลาเพียงอีก 1 วัน จะหมดสิทธิการฟ้อง เมื่ออธิบายแจ้งให้อักษรทราบอักษรก็ไปยังศาลเองแต่ต้องผิดหวัง ที่นักกฎหมายไม่มีใครเขียนคำฟ้องให้ แถมยังบอกว่า กรณีเช่นนี้ ฟ้องไม่ได้
เมื่ออักษรกลับมาแจ้ง สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงส่งเรื่องให้ผู้นำกลุ่มแรงงานสัมพันธ์ตะวันออกเขียนคำฟ้องให้ ในเวลาคืนนั้น และวันรุ่งขึ้น จึงได้พาอักษรไปยื่นฟ้องที่ศาลแรงงานกลาง จนศาลรับฟ้องและคดีดำเนินการมาตั้งแต่ 13 ตค 54 สืบโจทก์ และพยานโจกท์คือ ท่าน นพ.กิติพงษ์ พนมยง แพทย์เชี่ยวชาญสาขาอาชีวเวชศาสตร์ระดับสูงของ รพ.นพรัตน์ราชธานี..วันที่-17กรกฎาคม 2555 ศาลได้พิพากษาให้อักษรชนะคดีด้วยค่าสินไหม 180,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องจนถึงวันพิพากษาคดี อักษร อัคติ รู้สึกปราบปลื้มใจ ที่ศาลท่านมีความเมตตา ให้ความเป็นธรรมกับอัคษร อักษรบอกว่าตั้งแต่เจ็บป่วยมีแต่ความทุกข์ความเศร้าและสับสนในชีวิต วันนี้รู้สึกอบอุ่น รู้สึกมั่นใจ ที่ทำในสิ่งที่ถูกต้องทำให้เพื่อนๆรู้ว่าโรคที่เป็นกันอยู่นี้มันเกิดขึ้นจากการทำงาน แต่อัคษรก็ต้องลดความดีใจเมื่อ ทราบว่านายจ้างขอขยายเวลาอุทธรณ์จนถึงวันที่ 16 กันยายน 2555 นี้
สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ ก็เลยเอากรณี 1 ในร้อยคนที่ป่วยแบบนี้แล้วลุกขึ้นมาต่อสู้สิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย ก็ได้แต่หวังว่าคดีนี้ นายจ้างจะยอมรับคำพิพากษา แล้วชดใช้ค่าเสียหายในการเจ็บป่วย ให้กับอักษร อัคติ เพราะชีวิตนี้ของอักษร อัคติ คงจะไม่กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงเหมือนปกติได้ และยังไม่รู้ว่าวันข้างหน้า จะการผ่าตัดแล้วผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งแพทย์วินิจฉัยมาแล้วว่า ต้องทำการผ่าตัด แต่อักษรเองยังไม่พร้อมจะผ่าตัดเนื่องจากยังมีคดีความที่ยังไม่เสร็จสิ้น และยังไม่มั่นใจว่าผ่าตัดแล้วจะดีกว่าเดิมหรือแย่ลงกว่าเดิม นี่เป็นเพียงตัวอย่างกรณีหนึ่งในจำนวนหลายสิบคดี หรือ หลายร้อยกรณีที่มีอาการแบบเดียวกันนี้แต่ไม่คิดจะต่อสู้ เพื่อสิทธิของตัวเอง นั่นหมายความว่า สถานประกอบการ ก็จะไม่มีการปรับปรุง ระบบวิธีการทำงานให้ดีปลอดภัยขึ้นสำหรับคนหลังๆ ที่จะเข้ามาในขณะที่คนอีก 30-40 คน ยอมเจ็บปวดอยู่แบบนั้น หลายสิบคนที่ยอมลาออกไปเงียบๆ ท่านผู้อ่านแล้วจะคิดเหมือนดิฉันไหมว่า การที่ห้างใหญ่ๆ มีของสินค้าราคาถูกขายนั้น มันเกิดจากการที่ เจ้าของกิจการ กดขี่ขูดรีดแรงงานอย่างหนัก โดยเจ้าของกิจการผลักภาระต้นทุนไปยังคนงานต้องทุกข์ยากเดือดร้อน เจ็บป่วย
นี่เองที่ 19 ปี ผ่านไปแต่คนงานยังตกอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน "สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ฯ รัฐจะจัดตั้งในแบบที่เครือข่ายแรงงานเสนอได้หรือยัง ? ที่จะต้องมีศูนย์รับร้องเรียน เพื่อแก้ไขปัญหา ยังจุดกำเนิด โครงสร้างของกรรมการต้องมาจากการสรรหา ตัวแทนลูกจ้างนายจ้างต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยใช้ประชาธิปไตย โดยใช้สัดส่วน 50 คนต่อ 1 เสียงและสถิติตัวเลขที่โชว์ว่า จำนวนคนงานที่เจ็บป่วยตายลดลง..มันจึงไม่น่าภาคภูมิใจ อะไรเลยสำหรับคนงานที่เข้าไม่ถึงสิทธิ์ ต้องเสียสิทธิไปไม่รู้เท่าไหร่ ?หวังว่าถึงเวลาแล้วที่ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชันวัตร จะจริงใจ แก้ไขและเอาร่างสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ที่ท่านรัฐมนตรีเซ็นต์ผ่านเสนอเข้า ครม.มาทบทวนจริงจังเสียที เพื่อสถาบันส่งเสริมฯ จะได้คลอดออกมา ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง โดยรัฐไม่มากำกับครอบงำ เพื่อต้อนรับเข้าสู่เวทีอาเซียนใน 2 ปีข้างหน้าในปี 2555
สมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ 081-813028-98 www.wept.org อีเมลwept_somboon@hotmail.com
32 ถ.ติวานนท์ 45 ซ.ทรายทอง 22 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
สุขภาพดี คือ ชีวิตที่มั่นคง ความปลอดภัย คือ หัวใจของการทำงาน