กรรมาธิการรับลูก ประชาชนร่วมทวงกอช. นัดเข้าพบรัฐมนตรีคลัง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง ฯรับปากเครือข่ายบำนาญภาคประชาชน จี้กระทรวงการคลังแจงการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ เห็นด้วยกฎหมายดีเป็นประโยชน์กับประชาชนรัฐบาลต้องทำ สั่งอนุกรรมาธิการฯประชุม ทำข้อมูลก่อนนัดปลัด รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเข้าพบ และนัดเข้าเยี่ยมที่กระทรวงฯพร้อมภาคประชาชน

คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจาณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การคลัง การธนาคาร ตลาดการเงิน ตลาดทุนและสถาบันการเงินประเทศ มีมติพิจารณาศึกษาเรื่องร้องเรียนของผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชนในนาม “เครือข่ายบำนาญภาคประชาชน” ที่ขับเคลื่อนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)เกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 และได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนแล้ว เห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จึงเชิญเหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงตลอดจนชี้แจงเรื่องการบังคับใช้พรบ.กองทุนการออมฯ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเสียโอกาสในการเข้าถึงระบบการออมเงินเพื่อความมั่นคงในชีวิตปั้นปลาย จึงขอเชิญเข้าร่วมการประชุมในวันที่ 7 มีนาคม 2556 เวลา 09.00 น เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 3401 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา 3

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายกรณ์ จาติกวณิช รองประธานคณะกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในฐานะที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องในการที่ผลักดันให้เกิดกฎหมายกอช.ด้วยเห้นเป็นเรื่องดีในการจัดสวัสดิการให้กับประชาชน ช่วงที่มีการเสนอผ่านไปด้วยดีโดยไม่มีการคัดค้านได้รับการประกาศบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 และสิ่งที่กังวลคือจนถึงวันนี้ประชาชนยังเข้าไม่ถึงสิทธิในการที่บังคับใช้กฎหมาย ตามที่มีผลโดยต้องเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 กรรมาธิการฯควรต้องตั้งคำถามว่าทำไม่ทางรัฐมตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงไม่มีการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนฯ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งยังไม่มีสวัสดิการด้านบำนาญชราภาพ ซึ่งการละเลยในการบังคับใช้กฎหมายทำให้ประชาชนต้องสัยสิทธิการเข้าถึงการออม โดยภาครัฐสมทบเพิ่ม

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นางสาวอรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญภาคประชาชน ชี้แจงว่า ในฐานะผู้เสียประโยชน์ ขณะนี้ตนมีอายุ 59 ปี ปีหน้าอายุจะครบ 60 ปี การที่รัฐไม่บังใช้ในปีนี้ทำให้ต้องเสียสิทธิการออมไป ขณะนี้หากนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555 ก็ร่วม 11 เดือนที่ต้องเสียไป เนื่องจากกฎหมายการออมฯนั้นกำหนดว่าหากประชาชนออมเข้ากองทุน 100 บาท รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังก็จะสมทบให้ประชาชน 100 บาทเช่นกัน จากการที่ลงไปให้การศึกษากับสมาชิกในชุมชน และภูมิภาคต่างๆ ประชาชนส่วนใหญ่สนใจและพร้อมที่จะสมัครสมาชิกกองทุนฯ ด้วยเห็นอานาคตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ ปัจจุบันการที่ประชาชนอายุ 60 ปีได้รับเบี้ยยังชีพเดือนละ 600 บาทนั้นไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ทำให้ต้องทำงานหนักอยู่หากไม่มีลูก หลานเลี้ยง จึงต้องร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการฯให้ช่วยทำอย่างไรให้ทางรัฐมนตรีกระทรวงการคลังบังคับใช้กฎหมาย ภาคประชาชนได้นำเรื่องนี้ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีและท่านก็รับปากว่าจะช่วยตามให้แต่ก็เงียบ และไปร้องที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแล้วด้วยเช่นกัน และกำลังมองหาที่พึ่งว่ามีที่ใดบ้างที่จะช่วยผลักดันกระตุ้นให้รัฐมนตรีบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นางสาวกรรณิการ์ เอกเผ่าพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังกล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไปแล้วเพื่อการเตรียมตัวเปิดรับสมัครสมาชิก ทั้งการจัดหาเจ้าหน้าที่ และธนาคารกรุงไทยก็มีการเตรียมแล้ว พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่การที่จะเปิดรับสมัครสมาชิกต้องมีการออกกฎกกระทรวงมารองรับทั้งหมด 7 ฉบับ เช่น การเปิดรับสมัครการกำหนดสิทธิการเป็นสมาชิกการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนของรัฐ และการจัดการเงินของกองทุน ซึ่งได้ส่งร่างให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ด้านงบประมาณตามบทเฉพาะกาลกำหนดให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุนในวาระเริ่มแรกเป็นเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งทางกระทรวงได้ขอจัดสรรงบสำหรับจัดตั้งดำเนินงานและได้รับงบประมาณ2555จำนวน 225 ล้านบาท และปี 2556 จำนวน 500 ล้านบาทรวม 725 ล้านบาท ขณะนี้กระทรวงอยู่ระหว่างการจัดสรรงบประมาณปี 2557 จำนวน 350 ล้านบาท

P1121128P1121105

การดำเนินการ ได้จัดหาสถานที่ทำการกอช.นั้น ได้ตั้งอยู่ที่ อาคารเอ็กซิม แบงค์ ชั้น 21 และได้คัดเลือกพนักงานและลูกจ้างของกองทุนแล้วจำนวน 9 ตำแหน่ง รวมถึงการสรรหาเลขาธิการกองทุนฯ ซึ่งต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ และทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ

ด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ สศค.และกอช.ได้พิจารณาแนวทางการดำเนินงานด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับหน่วยงานอืนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ธนาคารของรัฐ ในการเป็นหน่วยงานรับสมัครสมาชิก รวมทั้งได้ประสานขอความร่วมมือกับกรมการปกครอง สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เชื่อมโยงข้อมูลการตรวจสอบสิทธิของผู้สมัครเป็นสมาชิก

ปัญหาอุปสรรค การดำเนินการกอช.ของกระทรวงการคลัง เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมได้มีการเปิดรับสมัครสมาชิกผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และเห็นว่าเป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกัน อาจมีความซ้ำซ้อนของสมาชิกจากทั้ง 2 กองทุนที่มีการจัดสวัสดิการด้านการชราภาพให้แก่แรงงานน้อกระบบ เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลด้านเงินสมทบเข้ากองทุน ดังนั้นทางกระทรวงการคลังจึงได้มีการหาหรือกับทางกระทรวงแรงงาน เพื่อหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน โดยจะใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในด้านบุคลากรผู้ปฏิบัตงาน ช่องทางติดต่อสมาชิก รวมถึงระบบเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนจะได้รับการออมเพื่อการชราภาพ จึงต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกทั้ง 2 กองทุน ประกันสังคมมาตรา40 มีสิทธิประโยนช์หลายกรณี ส่วนกอช.ได้เพียงสิทธิบำนาญชราภาพเท่านั้น

P1180043

นางสุจิน รุ่งสว่าง ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า การที่กระทรวงการคลังอ้างเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 40 มีความซ้ำซ้อนนั้น เห็นว่าไม่มีความซ้ำซ้อนกัน เพราะมาตรา 40 ไม่มีบำนาญชราภาพ แต่กอช.มีบำนาญชราภาพ ส่วนกลุ่มเป้าหมายซ้ำซ้อนกันก็จริงแต่เป็นการดีที่กอช.ไม่ต้องไปหาสมาชิกใหม่เพราะมีสมาชิกที่ชัดเจนเป็นลูกค้าแน่นอนอยู่แล้ว และการที่ประชาชนสนใจกอช.เพราะอยากจะมีบำนาญชราภาพ และการสมทบการออมของรัฐที่จะทำให้ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการบำนาญชราภาพอย่างแท้จริง เรื่องการประชาสัมพันธ์ของกอช.ในการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนก็น้อยมาก ซึ่งในส่วนของภาคประชาชนได้มีการจัดการให้การศึกษารณรงค์ ทำหน้าที่ให้ความรู้กับเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้าใจ ซึ่งก็สร้างความต้องการที่จะเข้าเป็นสมาชิกกอช.กันจำนวนมากเพราะเห็นสิทธิประโยชน์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่เด็ก เยาวชนอายุ 15-60 ปี ซึ่งต้องเสียสิทธิไปแล้วกระทรวงการคลังจะทำอย่างไร ในการที่จะทำให้เขาไม่ขาดสิทธิการออมเพื่ออนาคต เพราะเด็กออมเดือนละ 100 บาท รัฐสมทบเดือนละ 100 บาท เพราะเมื่อเขาครบอายุ 60 ปีจะมีเงินออมจำนวนมากที่เดียว

นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า ทางกรรมาธิการฯ คิดว่า การที่ภาคประชาชนยื่นหนังสือร้องเรียนเข้ามาคงไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอนวันนี้ต้องการที่จะฟังข้อมูล และได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันชี้แจง และร่วมกันหาทางออก ซึ่งทางกรรมาธิการจะทำหนังสือถึงรมว.ให้ตอบ นำเรื่องเข้าคณะอนุกรรมาธิการ การเชิญปลัด กับรมว.กระทรวงการคลัง คงต้องรอผลคณะอนุประชุม และเชิญตัวแทนเครือข่ายเข้าร่วม และรมว.ปลัดกระทรวงการคลังจะชฺญโดยกรรมาธฺการฯ และจะ ทำหน้าที่สส.ฝังรัฐบาลสอบถาม หากเกิดขึ้นในสมัยนี้รับบาลต้องได้แต้ม การที่รัฐมนตรีไม่ลงนาม และเรื่องที่จะแก้กม.นั้นเป็นเพราะอะไร รวมทั้งยังไม่ได้บังคับใช้ กฎหมายฉบับนี้เป็นประโยชน์ของประชาชนทางคณะกรรมาธิการฯจะมีการแจ้งให้เครือข่ายภาคประชาชนถึงการดำเนินการเป็นระยะ และคณะกรรมาธิการฯจะนัดเข้าไปเยี่ยมทางกระทรวงการคลังพร้อมกับเครือข่ายภาคประชาชน โดยให้นัดทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อเข้าพบ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ทั้งนี้เวลาต่อมาทางเครือข่ายบำนาญภาคประชาชน ได้ยื่นหนังสือต่อนายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการฯ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายแรงงานนอกระบบหลายกลุ่มอาชีพในระดับพื้นที่ เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายแท็กซี่ เครือข่ายมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เครือข่ายหาบเร่แผงลอย เครือข่ายผู้รับงานไปทำที่บ้าน เครือข่ายตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน และแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้รณรงค์ขับเคลื่อนร่วมกันมาอย่างต่อเนื่องกับเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ในนามของ “เครือข่ายบำนาญภาคประชาชน”  เพื่อให้กระทรวงการคลังสมัยที่มีนายกรณ์ จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554  เพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบทุกคนได้มีหลักประกันยามชราภาพ ถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญเป็นหลักประกันคุณภาพแห่งชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีในการเป็นพลเมืองของประเทศ

การมีพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 เป็นการส่งเสริมการออมภาคประชาชนที่ไม่ใช่ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์ทดแทนบำเหน็จบำนาญ และเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านหลักประกันชราภาพในชีวิตของคนยากจนผู้สูงอายุ

ทั้งนี้กฎหมายได้ใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2554 โดยแนวคิดของกองทุนการออมแห่งชาติตั้งอยู่บนพื้นฐานของการออม (การสะสมเงิน) และการสมทบร่วมของรัฐบาล สมาชิกแต่ละคนมีบัญชีบำนาญเป็นของตนเอง การได้รับบำนาญยามชราภาพมากหรือน้อยขึ้นกับระยะเวลาของการจ่ายเงินสะสมและการได้รับเงินสมทบร่วมจากรัฐบาล

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่วันที่กฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ และกระทรวงการคลังได้จัดงานเปิดตัวกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไปเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 จนถึงบัดนี้ กระทรวงการคลังในฐานะผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย ยังไม่มีการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนฯ เพื่อให้แรงงานนอกระบบสามารถเข้าสู่การมีหลักประกันทางรายได้ในยามชราตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

เครือข่ายบำนาญภาคประชาชนเห็นว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 อ้างเหตุผลว่า ต้องการปรับปรุงให้กฎหมายฉบับนี้ให้ดีขึ้นโดยไม่ดำเนินงานตามเงื่อนเวลาที่กฎหมายและสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกำหนดไว้ เป็นการละเมิดต่อสิทธิได้รับบำนาญตลอดชีพในอนาคตของประชาชนจำนวนมากที่รอคอยโอกาสนี้ คือ เป็นการไม่ปฏิบัติการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 84 (4) ที่บัญญัติให้รัฐจัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

ประการสำคัญ การเลื่อนเวลาการเปิดรับสมัครสมาชิก โดยไม่มีกำหนดแน่นอน ยิ่งทำให้ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นแรงงานนอกระบบยังไม่ได้รับความคุ้มครองหลักประกันดำรงชีพยามชราภาพไปเรื่อยๆ ตกอยู่ในความเสี่ยงเรื่องความยากจนในวัยสูงอายุ อันเนื่องมาจากขาดโอกาสเข้าถึงระบบการออมเงินในขณะวัยทำงาน และก่อให้เกิดผลเสียหายโดยตรงแก่ผู้ที่มีความตั้งใจจะเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ เครือข่ายบำนาญภาคประชาชน จึงมีข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้

1. ขอให้ดำเนินการตรวจสอบกระทรวงการคลังในฐานะผู้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 กรณีละเลยไม่ดำเนินการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนฯ

2.  ขอให้ดำเนินการจัดเวทีสาธารณะเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของกองทุนการออมแห่งชาติ โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกผ่ายมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน