กรมสวัสดิการจัดหนักเตรียมรับ AEC

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  กระทรวงแรงงาน  ได้จัดอบรมเสวนาเรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับผลกระทบและการปรับตัวของแรงงานไทย  ณ โรงแรม ปริ๊นส์ตั้น  พาร์คสวีท  เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร   มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 คน

นายอาทิตย์   อิสโม  อธิบดี กระทรวงแรงงาน ได้เดินทางมาถึงและเป็นประธาน เปิดงาน เสวนา ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับผลกระทบและการปรับตัวของแรงงานไทย  หรือAsean Economic Community – AEC ในครั้งนี้ ท่านกล่าวว่า ผมต้องขอโทษจริงๆที่เดินทางมาล่าช้าเพราะติดเจรจากับนายจ้างของบริษัทฯหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา ที่คนงานมาขอความช่วยเหลือที่กระทรวงแรงงานและกล่าวต่ออีกว่า การจัดงานในครั้งนี้ไม่ว่าเป็นเจ้าของกิจการ ผู้แทนสภาองค์กรลูกจ้างและผู้ใช้แรงงานประชาชนทุกภาคส่วนผมอยากให้ทุกท่านนำความรู้ที่จะได้รับในวันนี้ เพื่อไปรับใช้ในกลุ่มประชาคมอาเซียน (Asean Economic Community – AEC) อีก 3 ปีข้างหน้าใน ปี 2558 และขอเปิดงานในครั้งนี้

ต่อมาเวลา 10.00 น. นางสาวทวินันท์  จันทนจุลกะ ( ผอ.ส่วนธุรกิจบริการ สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์ )  ได้บรรยาย ประเทศไทยกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ว่าเราประเทศไทยเป็นผู้ก่อตั้งประชาคมฯ เรามีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศในอาเซียนโดย ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ.2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน ซึ่งทุกประเทศต้องลดภาษีให้เป็น 0%  เพื่อการค้านำเข้า ตอนนี้ประเทศไทยเป็นรองด้านภาษาอังกฤษแต่เรามีฝีมือด้านแรงงานไม่แพ้ชาติอื่นเป็นต้นและทางด้านสวัสดิการต่างๆของแต่ละประเทศยังไม่ได้คุยกันในเรื่องนี้ 

ในช่วงบ่าย ก็ได้เชิญวิทยากรทั้งสี่ท่าน นายวรานนท์  ปีติวรรณ (ผอ.สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน)  รศ.ดร.ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ) รศ.ดร.อภิญญา  เลื่อนฉวี ( คณะนิติศาสตร์ ปรีดี  พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ )และนายจงรักษ์  สุพลจิตร์  (หัวหน้าแผนกบุคคล บริษัทสายไฟฟ้า ไทยยาซากิ จำกัด ) ทั้งหมดจะบรรยายภาพรวมๆใครเสียเปรียบใครได้เปรียบ แต่ต่างจาก อาจารย์ ณรงค์กล่าวว่า เราเสียเปรียบทุกๆด้านไม่ว่าภาษา ธุรกิจการค้า  การท่องเที่ยวและแรงงานและประเทศที่ได้เปรียบมากที่สุดไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน แต่เป็นประเทศจีนที่จะได้เปรียบทุกด้านเพราะจีนทำสินค้าได้ทุกประเภทเป็นต้นจากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมซักถามข้อสงสัยต่างและปิดการเสวนาในครั้งนี้

วาสุเทพ บุญคุ้ม นักสื่อสารแรงงาน  ย่านรังสิต-ปทุมธานี รายงาน