กมธ.พร้อมผลักดันประกันสังคมโปร่งใสตามเจตนารมณ์ รมว.แรงงาน

กรรมาธิการวิสามัญประกันสังคมแจง ใช้ร่าง คปค.และ คปก.เป็นข้อมูล ชี้ที่ผ่านมากฎหมายประกันสังคมให้อำนาจอยู่ในมือราชการฝ่ายเดียว ยินยันเน้นแก้กฎหมายเพิ่มเรื่องสิทธิประโยชน์ ผู้นำแรงงานระบุหารือ รมว.แรงงานไฟเขียวทำให้ประกันสังคมโปร่งใสและผู้ประกันตนได้ประโยชน์ เตรียมนัดพบรมว.แรงงานอีกครั้งวันที่ 2 พ.ย. กระทรวงแรงงาน

20141127_102211

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ประกอบด้วยนายชูศักดิ์ จันทยานนท์,นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา,นางสาวอรุณี ศรีโต ผู้แทนองค์การเอกชน, และนายมนัส โกศล ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ร่วมหารือกับคณะทำงานขับเคลื่อนประกันสังคมฉบับคนทำงาน (คปค.) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 ที่โรงแรมกานต์มณี กรุงเทพฯ

โดยนายชูศักดิ์ กล่าวว่า ได้ใช้ข้อมูลจากร่างกฎหมายของคณะทำงานขับเคลื่อนประกันสังคมคนทำงาน(คปค.) และคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย (คปก.) ในการพิจารณาแปรญัตติร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่รัฐบาล)โดยเห็นว่าหากมีความแตกต่างกันเรื่องหลักการก็จะใช้วิธีเปิดประเด็นให้มากๆและสงวนคำแปรญัตติไว้ เพื่อให้กฎหมายออกมาดีที่สุดในสถานการณ์ที่มีกฎหมายของรัฐบาลเข้าสู่การพิจารณาเพียงร่างเดียว

PB270396PB270394

ขณะที่นางสาวสุรีรัตน์ กล่าวว่า กฎหมายประกันสังคมที่ผ่านมาคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด)แทบไม่มีอำนาจกำหนดอะไร ส่วนใหญ่อำนาจอยู่ในฝ่ายของราชการซึ่งก็มักถูกแทรกแซงจากการเมืองเพื่อหาประโยชน์ การแก้กฏหมายครั้งนี้แม้เป็นแค่การปะผุ แต่ก็มุ่งให้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ และจะเสนอให้มีการชดเชยค่าเสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุขและทางการแพทย์

ด้านนายมนัส กล่าาว่าจากที่ได้เข้าพบหารือกับพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อชี้แจงพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับคนทำงาน เห็นว่ารมว.แรงงานต้องการแก้ปัญหาแรงงานเรื่องหัวคิวแรงงาน ส่วนประกันสังคมก็ต้องการให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกันตนมากที่สุด

PB27039220141127_094539

สำหรับความคืบหน้าของการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมในชั้นกรรมาธิการได้ผ่านการพิจารณานับข้อเสนอของคปค.หลายประเด็นคือ

ในมาตรา 4 ที่ยกเว้นการใช้บังคับเช่นในส่วนลูกจ้างของ ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศนั้น ให้ตัดข้อความ(3)ออก เพื่อให้เกิดความครอบคลุมคุ้มครองลูกจ้างที่อาจถูกส่งตัวไปทำงานในต่างประเทศให้มีสิทธิประกันสังคมอย่างต่อเนื่องด้วย

มาตรา 5 กรณีว่างงานให้ได้รับสิทธิการว่างงานเหมือนกับกฎหมายประกันสังคมเดิม ด้วยร่างใหม่มีการตัดสิทธิกรณีลาออกจากงาน โดยร่างกฎกมายว่างงานใหม่เขียนว่า “การที่ผู้ประกันตนหยุดงานเนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลงเพราะเหตุเลิกจ้าง”เท่านั้น ด้วยทางคกค.เห็นว่าปัญหาลูกจ้างจำนวนมากถูกนายจ้างให้เขียนใบลาออก จึงเสนอให้กรณีว่างงานให้ได้รับสิทธิเช่นเดิม

มาตรา 8 เรื่องกรรมการประกันสังคม (บอร์ด) ได้เสนอเรื่องจำนวนกรรมการเพิ่มจาก 5 คนเป็นฝ่ายละ 7คน มีการปรับองค์ประกอบคณะกรรมการประกันสังคมในส่วนภาครัฐโดยเพิ่มผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด้วยนอกเหนือจากผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นกรรมาการ และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ผู้แทนฝ่ายนายจ้างฝ่ายละ 7 คน โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน ทั้งนี้หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ซึ่งคปค.ได้เสนอให้มาจากการเลือกตั้งจากผู้ประกันตนหนึ่งคนหนึ่งเสียงซึ่งคณะกรรมาธิการฯเห็นด้วย แต่ยังติดเรื่องวิธีการเลือกตั้งว่าจะทำอย่างไร ด้วยห่วงเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้ในการเลือกตั้ง และร่างกฎหมายกำหนดไว้วาระละ 2 ปี และสามารถเป็นได้ไม่เกิน 2วาระ คือ 4 ปี แต่อนุกรรมาธิการฯคปค.เสนอ 4 ปีดำรงตำแหน่งวาระเดียว

ในคณะกรรมการแพทย์ในมาตรา 14 องค์ประกอบเดิมมีแต่แพทย์เข้ามาเป็นกรรมการ ให้แต่งตั้งโดยสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆหรือด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หรือด้านการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล ผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนผู้ประกันตนฝ่ายละหนึ่งคนจากเดิมไม่มีส่วนของนายจ้างและลูกจ้างเลย

โดยประเด็นพิจารณาของคณะกรรมาธิการ เรื่องการจะเพิ่มคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกองทุน คณะกรรมการมาตรฐานทางการแพทย์ และการเข้าชื่อถอดถอนเพื่อความโปร่งใสในการบริหารกองทุน กรรมาธิการคงเข้าหารือกับรมว.แรงงานเพื่อขอคำปรึกษาในการขอแก้ไขหลักการ การปรับปรุงโครงสร้างที่ยังหาข้อยุติทางคณะกรรมาธิการฯยังไม่ได้ โดยจะขอนัดพบรมว.แรงงานในวันที่ 2 ธ.ค.57 นี้ที่กระทรวงแรงงาน นายมนัสกล่าว

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน