ภาวะโลกร้อน อุตสาหกรรมใหม่ผลกระทบต่อแรงงาน

“ ภาวะโลกร้อน…..คืออะไร…..เกี่ยวกับแรงงานตรงไหน” ผู้เข้าร่วมสะท้อนอุตสาหกรรมบางส่วนกระทบ หากเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ เน้นการมีส่วนร่วมหากปรับเปลี่ยน

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้นำแรงงาน “ ภาวะโลกร้อน…..คืออะไร…..เกี่ยวกับแรงงานตรงไหน” วันที่ 24 เมษายน 2561 จัดโดย สมาพันธ์แรงงานฮอนด้าประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สนับสนุน มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ห้องประชุมสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าประเทศไทย ลาดกระบัง กรุงเทพฯ

นายธนกิจ สาโสภา ประธานสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าประเทศไทย ได้กล่าวว่า สำหรับโครงการนี้ที่มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซึ่งมีเรื่องราวเรื่องภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกับภาวะโลกที่ร้อนขึ้น และการที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เรื่องของการที่ต้องการลดภาวะโลกร้อน และเมื่อมีการปรับตัวด้านเทคโนโลยี ส่งผลต่อการผลิตหรือไม่ แรงงานจะมีผลกระทบอย่างไร จะเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในการมีงานทำหรือมีงานใหม่หรือไม่

นางสาวปรีดา ศิริสวัสดิ์ กล่าวว่า มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ที่ต้องขึ้นเพื่อที่ต้องการที่จะสนับสนุนผู้ใช้แรงงานการทำงานกับขบวนการแรงงานเยอรมัน และได้มีการทำงานร่วมกับอีกหลายประเทศ และทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2519 เพื่อการทำงานกับขบวนการแรงงานมาตลอด ทำไมต้องมาทำงานเกี่ยวกับเรื่องโลกร้อน ด้วยเห็นว่าภาวะโลกร้อนมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม หากต้องการที่จะลดภาวะโลกร้อนก็ต้องมีการปรับตัวด้านอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่ใช่ฟอสซิล ซึ่งมีผลกระทบต่อแรงงานแน่นอนหากมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีใหม่ งานหลายอย่างที่เกี่ยวกับการใช้ฟอสซิลก็จะหายไป ซึ่งต่างประเทศแรงงานที่ได้รับผลกระทบ และเห็นด้วยกับการเปลี่ยนผ่านด้านอุตสาหกรรมเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน แต่การเปลี่ยนผ่านนั้นต้องเป็นธรรม เช่นการจัดสวัสดิการ ระบบป้องกันการว่างงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดระบบเกษียณอายุ ระบบบำนาญเพื่ออนาคต หรือกระทั้งการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการจัดการงานใหม่ให้กับแรงงานผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งประเทศไทยเองก็ต้องมีการเปลี่ยนผ่านด้วยในอนาคต แม้ว่า วันนี้จะยังไม่เกิดขึ้น แต่วันพรุ่งนี้เมื่อมีการปรับตัวก็ต้องมีสวัสดิการใดมารองรับ และจะต้องมีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมอย่างไรก็ต้องมีการเสนอต่อไปในอนาคต

จากนั้นได้เปิดวิดีโอ รายการแผ่นดินไท เพื่อไท เป็นไท ยืนหยัด อยู่ได้ อย่างยั่นยืน ตอน ต้นเหตุแห่งความทุกข์ ซึ่งได้มีการนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อน ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวถึงอุตสาหกรรมจากการพัฒนาแบบอยู่พอกินเป็นการพึ่งพาทางด้านการตลาด ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน การใช้พลังงานฟอสซิลที่เป็นต้นเหตุและนำมาซึ่งโลกที่ขาดสมดุล น้ำแข็งมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจำนวนมากภายในเวลา 4 ปี น้ำแข็งละลายหมดประเทศบางประเทศจะหายไปเกาะจำนวนมากจะจมอยู่ใต้น้ำและต้องอพยพคนออกห่างจากทะเล 1 ไมค์ สัตว์ พืช สูญพันธุ ซึ่งกระทบต่อมนุษย์

ภาวะโลกร้อน ทำให้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป เกิดความรุนแรงทั้งภัยแล้ง พายุฝนรุนแรงน้ำท่วมแผ่นดินถล่ม ทำให้ผู้คนล้มตายจากการขาดอาหารในฟิลแลนด์ และภาวะโลกร้อนยังมาถึงการการถล่มของพายุเฮริเคนที่ส่งผลต่อชาวพม่าที่ถูกพายุถล่มจนเสียชีวิตจำนวนมาก โลกมีความเชื่อมร้อยกัน ปัญหาจึงเกิดทุกที่แม้แต่ประเทศไทย

นายธนกิจ สาโสภา กล่าวถึงภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน เกิดต่างๆ การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโลกซึ่งกระทบส่งผลต่อวิกฤติเกิดภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม หิมะละลาย ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้พืช สัตว์ มนุษย์ได้รับผลกระทบ จุลชีพ ที่หายไปจากการที่โลกร้อน ทำให้เกิดปัญหาด้านอาหารต่อมนุษย์การหาอยู่หากินไม่เพียงพอ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเนื่องจากมนุษย์เน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมที่ใช้ฟอสซิล จนเกิดคาร์บอนจำนวนมากที่ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลต่อก๊าซเรือนกระจกจากเดิมที่ปกป้องโลก เนื่องจากที่ระบายอากาศร้อน เย็นได้ แต่เมื่อก๊าซคาร์บอนจากอุตสาหกรรมและการเผ่าไหม้ต่างๆจากการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ก๊าซเรือนกระจกหนาขึ้น และโลกร้อนมากขึ้น ซึ่งสารที่ส่งผลกระทบต่างๆก็อยู่ในกระบวนการผลิตทั้งรถยนต์ มอไซค์ หรือเครื่องปรับอากาศ เมื่อโลกร้อนก็มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น

ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดคือ ประเทศจีน รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 22  แต่ว่า หากไม่มีการลดการใช้ชีวิตมลภาวะต่างๆจะส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศภายนอก โลกก็จะมีความร้อนสูงขึ้น

เปิดการแลกเปลี่ยน การประกอบมอเตอร์ไซค์ เมื่อเกิดควันฟุ้งในโรงงานกระบวนการผลิตจะดูดออกนอกโรงงาน โรงงานผลิตอลูมิเนียมก็มีเรื่องความร้อนในกระบวนการผลิต เนื่องจากการหลอมละลาย

โรงงานผลิตพลาสติก มีกระบวนการฉีดพลาสติก มีปัญหาเรื่องกลิ้น การผลิตแผ่นสังกะสี โรงงานคอย เป็นการนำเข้าแผ่นเหล็กที่ม้วนซึ่งนำเข้ามาและคอยเป็นการตัดแผ่นเหล็ก เพื่อส่งไปผลิตตัวถังภายนอก กระบวนการผลิตพาสที่ใช้โรบอทมาทำงานในพื้นที่เสี่ยง และอากาศร้อนแทนคน เป็นต้น

จากนั้นบรรยายต่อ ทั่วโลกได้มีการทำข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เช่นอนุสัญญา UNFCC  เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม ทั้งในส่วนของพิธีสารโตเกียวที่มีความต้องการที่จะลดก๊าซเรือนกระจก  ข้อตกลงปารีสในการที่จะพยายามที่จะแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยกำหนดว่าจะลดลง 2 องศาเซลเซียส ซึ่งประเทศไทยก็มีการรับรองอนุสัญญา ข้อตกลงต่าง ๆเพื่อที่จะร่วมในการลดภาวะโลกร้อน และมีการกำหนดเป็นนโยบายในการที่จะพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต โดยกำหนดว่าจะลดการปล่อยการเรือนกระจกลงถึงร้อยละ 20 ซึ่งการที่กำหนดดังกล่าวเพื่อที่จะช่วยโลกเย็นลง ตามนโยบายโลกด้วยเช่นกัน

นายอำนาจ บุญประสงค์ สหภาพแรงงานฮอนด้าประเทศไทยได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อนนั้นเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่ไม่สามารถระบายความร้อนสะท้อนออกไปสู่ภายนอกโลกได้ ด้วย เดิมคือโอโซนที่ป้องกันรังสีได้ แต่เมื่อเป็นภาวะเรือนกระจกสามารถที่จะสะท้อนระบายได้ แต่ว่าปัจจุบันภาวะเรือนกระจกไม่สามารถที่จะระบายความร้อนได้ เมื่อโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนทำให้เกิดปัญหากับมนุษย์ทุกคน รวมถึงแรงงานที่ร้อนทำงานไม่ได้ เจ็บป่วยง่าย โรคระบาดต่างๆ ส่งผลต่อสุขภาพด้วย

ภาวะโลกร้อน มีผลกระทบจากอุตสาหกรรม ซึ่งหากต้องการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเพื่อสร้างสมดุลด้านภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม ก็ต้องมีการลดการผลิตหรือการปรับด้านอุตสาหกรรมใหม่ โดยได้มีการกำหนดเป็นข้อตกลงต่างๆด้านสนธิสัญญา หรือพิธีสารต่างๆเพื่อลดภาวะโลกร้อน ยังมีการใช้กลไกการตลาด การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน การที่มีการนำเสนอเพื่อลดขยะก็ถือว่าเป็นอีกมาตรการ คือการรียูส และการรีไซเคิล เป็นการนำของเก่ามาเข้าขบวนการจัดการใหม่ แล้วนำมาใช้ ทั้งกระดาษ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว ฯลน แต่ว่าต้องมีการแยกขยะเสียก่อนเพื่อสะดวกต่อการนำมาใช้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งการผลิตสินค้าสีเขียวก็จะมีสัญลักษณ์ทางการค้า หากว่าเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการใช้สินค้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของการกีดกันทางสินค้าได้

อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนด้านอุตสาหกรรม ซึ่งหากน้ำท่วมโรงงานก็ต้องย้าย คนงานก็ต้องย้ายถิ่นฐานตามสถานประกอบการ หรือหากไม่ย้ายตามก็กระทบต่อการจ้างงานเป็นต้น ฉะนั้นโลกร้อน น้ำท่วม ภัยแล้งเกี่ยวกับแรงงานแน่นอน การปรับเรื่องขบวนการผลิตอย่างเดิม หากว่ามีการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรม การผลิตรถมาเป็นรถไฟฟ้า งานเดิมบางงานหายไป แต่ก็มีงานใหม่เข้ามา ซึ่งการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นจึงมีทั้งบวกและรบ เช่นกัน ซึ่งการเปลี่ยนผ่านต้องเป็นธรรม หากว่าคนไม่สามมารถปรับตัวได้จะต้องมีมาตรการอื่นๆมารองรับ แนวนโยบายของรัฐต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่าน คือการต้องมีการหางานใหม่ให้ และจัดสวัสดิการตอนที่ไม่มีงานทำ มีการชดเชย และออกแบบการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้แรงงานสามารถปรับตัวได้ และสร้างแรงงานยุคใหม่เพื่อให้เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ ซึ่งการคุ้มครองทางสังคมต้องมีการจัดสวัสดิการให้ ด้วยขณะนี้ยังไม่มีการกล่าวถึง และมีการปรึกษาหารือระหว่างรัฐ นายจ้าง และสหภาพแรงงานเพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน และผู้ได้รับผลกระทบ

นโยบายรัฐที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีเรื่องแนวทางในการคุ้มครองแรงงาน แม้ว่าจะมีการประกาศที่จะมีการลดภาวะโลกร้อน และการที่ให้ความรู้หรือว่าทิศทางการปรับตัวยังคงเป็นการเริ่มโดยเอกชน มาตรการที่รองรับยังเป็นไปตามกฎหมายแรงงานเดิม คือประกันสังคม การจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเท่านั้นยังไม่ได้มีมาตรการอื่นๆที่เป็นธรรม

Just Transition หรือการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม คือ ต้องมีการสร้างมาตรการต่างๆในการดูแลทั้งจากนายจ้างและภาครัฐ เช่นการหางานใหม่ และการจัดสวัสดิการรองรับ ความเป็นมาของ Just Transition คือการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมนั้น มาจากการต่อสู้ของทหารรับจ้างในอเมริกา ต้องการเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมเมื่อมีการปลดประจำการ และการเปลี่ยนผ่านต่อมาเกิดหลังข้อตกลงปารีสที่เกิดขึ้น ด้วยขบวนการแรงงานได้มีการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยมีการรณรงค์จากITUC สมาพันธ์สหภาพแรงงาน เพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงานด้วย ขบวนการแรงงานไม่ได้มีการค้านต่อการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมด้านภาวะโลกร้อน แต่การเปลี่ยนผ่านนั้นต้องเป็นธรรมต่อแรงงาน เช่นการจัดการเรื่องการหางานใหม่ หรือปรับทักษะใหม่ให้เข้าสู่ระบบการจ้างงาน การดูแลเรื่องบำนาญ มีการประเมิน และวางแผนเพื่อการชดเชย ปรึกษาหารือกับผู้ได้รับผลกระทบกับแรงงานอย่างกว้างขว้าง เพื่อการดูแลเรื่องสวัสดิการต่อผู้ได้รับผลกระทบด้าย ซึ่งในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นอเมริกา เดนมาร์ก เยอรมัน และอีกหลายประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการเสนอเพื่อการเจรจาต่อรอง การตัวเพื่อเสนอให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน และชุมชน เพื่อการสร้างงาน อาชีพ สวัสดิการ ดูแลสิทธิต่างๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีการสร้างงานใหม่ๆด้วยจึงต้องมีการพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อการรองรับ หากว่าไม่สามารถเข้าสู่ระบบงานได้ก็ต้องมีสวัสดิการเกษียณอายุมีระบบบำนาญรองรับ

การช่วยโลกได้ด้วยมือเราคือ การประหยัดไฟ มีการใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟ การเดินทางใช้รถร่วมกัน รวมถึงรถรับส่ง การดับเครื่องยนต์ขณะเติมน้ำมัน การแยกขยะ การใช้แผงโซล่าเซลในการผลิตไฟใช้ในครัวเรือน เพื่อลดการใช้ไฟในบ้านได้บางส่วน

โรงงานมีการปรับอาคารให้โปรง ใช้อุปกรณ์หลังคาที่เป็นสกายไลท์ เพื่อให้แสงผ่านได้ ลดการใช้ไปตอนกลางวัน ซึ่งแม้ว่าไม่เพียงพอแต่ว่าช่วยโลกได้ การติดแผงโซล่าเซล เพื่อสร้างไฟฟ้าใช้เองในบางจุดก็ได้ การควบคุมอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ หากทำอาคารให้เย็น การใช้อุปกรณ์เตาเผาขยะซึ่งต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถมารีไซเคิลผสมทำอิฐบล็อกด้วย

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมเปลี่ยนเพราะต้องเข้าสู่การลดการใช้พลังงานฟอสซิล หรือว่าต้องการที่จะปรับกระบวนการผลิตใหม่เพื่อการลดภาวะโลกร้อน โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตแรงงาน การจ้างงานใหม่ในอนาคตจะมีหน้าตาอย่างไร การเรียนรู้โลกเพื่อการพัฒนาตนเองในการเข้าสู่ระบบงานใหม่ ซึ่งการที่นำเครื่องจักรใหม่ที่พัฒนามาเพื่อให้เป็นอุตสาหกรรมสะอาด ซึ่งหมายถึงไม่มีการจ้างงานจะเตรียมพร้อมอย่างไร หากรอให้รัฐมาให้ความรู้แรงงาน หรือนายจ้างมาจัดให้คงไม่รู้ว่าเมื่อไรจะเกิดขึ้น การเรียนรู้ครั้งนี้จึงต้องเรียนรู้และขยายต่อ เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม โดยมีข้อเสนอทั้งต่อรัฐและนายจ้างเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงานด้วย ไม่ใช่ดูแลแต่การลงทุนเพียงอย่างเดียว

จากนั้นได้มีการแบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม โดยสมติว่าเป็นนายจ้าง กับลูกจ้าง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยสรุปได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ตัวแทน ฝ่ายลูกจ้าง  เรื่อง  การทำกิจกรรมภาคสังคมและ CSR   ได้แก่ การปลูกป่าให้กับธรรมชาติ การดูแลป่า และ ลดการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเพิ่ม ออกซิเจนให้กับโลก เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า ร่วมปรึกษาหารือกับนายจ้างเพื่อการเปรียบเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีในโรงงาน เพื่อการดูแลเรื่องสิทธิและสวัสดิการคนงานที่ได้รับผลกระทบ

กลุ่มที่2 ตัวแทน ฝ่ายนายจ้าง เรื่องการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า  ได้แก่ การควบคุมการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น  การใช้แสงสว่างจากภายนอก เปลี่ยนระบบไฟเป็นLEDหลอดประหยัดไฟ รวมทั้งการรณรงค์การสร้างจิตสำนักให้คนงาน ช่วยกันประหยัดทรัพยากรน้ำ การแยกขยะรีไซเคิลในแต่ละหน่วยงาน ปลูกต้นไม้รอบอาคาร ปรับปรุงอาคารให้มีการระบายความร้อน ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม