แรงงานข้ามชาติ ในไทย – ไทยในเทศ คึกคักจัดรณรงค์วันสตรีสากล

20150308_180430

เครือข่ายผู้หญิงจัดใหญ่ เดินรณรงค์เฉลิมฉลองวันสตรีสากล เรียกร้องความเท่าเทียม เน้นอย่างแท้จริง ทั้งค่าจ้างสวัสดิการ ความเคารพในอาชีพ และหยุดกระทำความรุนแรง

เนื่องในวันสตรีสากล วันที่ 8 มีนาคม 2558 เวลา 17.00น. เครือข่ายผู้หญิง และเครือข่ายแรงงานข้ามชาติภาคเหนือกว่า 200คน ได้จัดเดินรณรงค์จากอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ไปยังสวนบวกหาด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันโดยอ่าน 3 ภาษา คือภาษาคำเมือง (ไทยภาคเหนือ) ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารกับแรงงานที่เข้าร่วมรณรงค์ซึ่งมาจากหลากหลายชาติพันธ์ ดังนี้

20150308_17232220150308_180019

ในวันสตรีสากลปี 2558 การมาร่วมกันเพื่อรณรงค์ให้ผู้หญิงได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิอย่างแท้จริง ต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ต้องให้ผู้หญิงได้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง ควรยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงเสียที

ในฐานะผู้หญิง ขอเรียกร้องให้มีการเคารพสิทธิทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ และการบริการด้านสุขภาพ ขอเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงที่เกิดจากผู้ชายในทุกที่ ไม่ว่าจะในบ้าน สถานที่ทำงาน หรือท้องถนน

ในฐานะผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี เราต้องการให้หยุดตีตรา และการเลือกปฏิบัติ เราต้องการสิทธิที่เท่าเทียม

20150308_18075520150308_180750

ในฐานะแม่ เราต้องการการลาคลอดที่ยังได้รับค่าจ้างอย่างเพียงพอ และมั่นคงในงาน และผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรต้องถูกให้ออกจากงาน

ในฐานะภรรยา เราต้องการขจัดการวาดภาพเหมารวมจากความแตกต่างทางเพศสภาพ เราต้องการให้สังคมรับรู้ว่าผู้หญิงที่เป็นภรรยานั้นต้องทำงานหนักถึงสามเท่าทั้งงานประจำนอกบ้าน งานบ้าน และแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก ผู้ชายก็ควรรับผิดชอบในเรื่องงานบ้าน และการเลี้ยงดูลูกด้วยเช่นกัน เราเชื่อว่าทั้งหญิง ทั้งชาย และผู้มีความหลากหลายทางเพศต่างๆควรทำหน้าที่ต่างๆได้เช่นเดียวกัน

ผู้หญิงมีสิทธิที่จะตัดสินใจเรื่องของตนเองด้วยตัวเอง รวมทั้งการเลือกว่าจะเป็นแม่หรือภรรยาต้องได้รับความเคารพ

20150308_16544520150308_202403

ในฐานะแรงงาน ต้องการค่าจ้างที่เป็นธรรมสำหรับผูหญิง และผู้ชาย สองในสามของชั่วโมงการทำงานทั้งหมดเป็นเวลาทำงานของผู้หญิงแต่ผู้หญิงได้รัค่าแรงเพียงร้อยละสิบขิงค่าแรงทั้งหมด เราต้องสร้างค่าจ้างที่เป็นธรรมและการทำงานที่เป็นธรรม

ในฐานะแรงงานทำงานบ้าน เราต้องการได้รับความคุ้มครองตามสิทธิแรงงาน และการคุ้มครองจากการถูกละเมิดเช่นเดียวกับแรงงานอื่น

20150308_20335920150308_201730

ในฐานะพนักงานบริการเราต้องการเปลี่ยนมุมมองที่สังคมมีต่อเรา ไม่เพียงแต่ดูแลครอบครัวเท่านั้น รายได้ของเรายังมีส่วนในการพัฒนาประเทศ เงินที่ส่งกลับบ้านขากต่างประเทศมีจำนวนมากกว่าโครงการพัฒนาหลายโครงการ เราเป็นมนุษย์ และเราก็เป็นแรงงานเหมือนกัน

ในฐานะพลเมือง เราต้องการให้มีตัวแทนของพวกเราอย่างแท้จริงในทางการเมือง

ในฐานะแรงงานข้ามชาติ แรงงานหญิงเป็นฟันเฟืองสำคัญฝนการพัฒนาประเทศทั้งประเทศต้นทาง และปลายทาง การเดินทางข้ามประเทศไม้ได้หมายความว่า เรายอมสละซึ่งสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนทั้งในฐานะผู้หญิงหรือฐานะแรงงาน พวกเราควรได้รับความเคารพ

ในฐานะผู้หญิงชนเผ่า สิทธิ อัตลักษณ์ รวมทั้งวิถีชีวิตของผู้หญิงชนเผ่าต้องได้รับการยอมรับ และได้รับการเคารพ การทำให้เป็นพลเมืองชายขอบ และการถูกเลือกปฏิบัติที่พวกเราประสบจะต้องหมดไป

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความพยายามอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกันของทุกฝ่าย เราขอเรียกร้องให้ทุกคนทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เราขอเรียกร้องการสนับสนุน และความสมานฉันท์เพื่อทำสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อสิทธิผู้หญิงด้วยกัน “เราทำได้”

นางสาวรุจิสา แสนหวี หนึ่งในแรงงานข้ามชาติกล่าวว่า การที่ออกมาเดินขบวนท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองในประเทศไทยห้ามรวมตัว และประท้วงนั้น เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งของผู้หญิงทั่วโลกที่ออกมาเฉลิมฉลองเนื่องในวันสตรีสากลทั่วโลก ประเด็นต่อต้องการได้รับสวัสดิการ ได้รับการดูแลในฐานะผู้ทำงานเหมือนแรงงานไทย  ซึ่งปัจจุบันค่าจัางแม้มีกฏหมายกำหนดให้ได้รับวันละ 300 บาทเป็นค่าขั้นต่ำ แต่แรงงานหญิงข้ามชาติยังได้ค่าจัางต่ำกว่ากฏหมายไทยกำหนดจึงอยากให้มีการดูแลแรงงานหญิงให้ได้รับความเท่าเทียมจริงๆ

นางสาวมาลีรัตน์ เลเซอ กลุ่มเอมพาเวอร์ กล่าวถึงผู้หญิงทำงานบริการว่า อยากให้สังคมเปลี่ยนแปลงความคิดมองว่าการทำงานบริการคืออาชีพ เพราะเขาคือแม่ คือส่วนหนึ่งที่ดูแลครอบครัวทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว อยากให้เคารพอาชีพนี้ด้วย

ทั้งนี้นอกจากการเดินรณรงค์ และประกาศเจตนารมณ์แล้ว ยังมีการแสดงต่างๆของเครือข่ายฯ รวมถึงทางเครือข่ายไดัเชิญวงดนตรีภราดรมาร่วมแสดงดนตรีในครั้งนี้ด้วย
Image_1425871690214
Image_1425871640571

แรงงานข้ามชาติในฮ่องกงจัดรณรงค์วันสตรีสากล

การเดินขบวนในวันสตรีสากล ชาวแรงงานข้ามชาติแม่บ้าน และแรงงานฮ่องกง เป็นปกติของทุกปีในฮ่องกง ที่จะต้องยื่นข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลฮ่องกงให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายให้มีความยุติธรรมต่อผู้ช่วยแรงงานข้ามชาติอาชีพผู้ช่วยแม่บ้านต่างชาติซึ่งประกอบไปด้วยฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย  ไทย เนปาล ศรีลังกา และพม่า ข้อเรียกร้องในปีนี้ คือ ยกเลิกกฎหมายอยู่สองสัปดาห์หลังยกเลิกสัญญาจ้าง  ยกเลิกกฎหมายอาศัยในบ้านนายจ้าง  ลงโทษบริษัทจัดหางานที่เก็บค่าบริการเกินกำหนด และปฏิรูปกฎหมายแรงงานผู้ช่วยแม่บ้าน  ในการเดินขบวนครั้งนี้มีแรงงานสตรีประมาณ 700 คน จัดโดยกลุ่มแรงงาน Asian Migrants Coordinating Body ที่มีกลุ่มประเทศสมาชิกจากประเทศต่างๆข้างต้น

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน