ประวัติศาสตร์สาธารณะกับองค์กรแรงงาน

ประวัติศาสตร์ มักถูกมองว่าเป็นเรื่องเก่าไม่ทันสมัยและน่าเบื่อ ทั้งที่เรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาล้วนมีคุณค่ามาก ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในอดีตสามารถนำมาเป็นบทเรียนเพื่อกำหนดปัจจุบันและอนาคตได้ “ประวัติศาสตร์สาธารณะ” (Public History) จึงเป็นความพยายามที่จะนำเสนอเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่ผ่านมาด้วยวิธีการที่ไม่ใช่เป็นวิชาการ โดยนำเสนอผ่านรูปแบบวิธีการเผยแพร่อันหลากหลายที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย ทันสมัยและเชื่อมโยงกับสังคม

ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของเรื่องราวในอดีต มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริคเอแบร์ท จึงได้จัดการบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์สาธารณะ และฝึกอบรมการสร้างเว็บบล็อกด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ให้กับนักสื่อสารแรงงานและแกนนำแรงงานพื้นที่ต่างๆเมื่อวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2556 ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน กรุงเทพ

DSCN8042DSCN7923DSCN7886

DSCN7837DSCN7901DSCN7771

Felix Pleum ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์สาธารณะกล่าวว่า คนทั่วไปมักไม่ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ แต่ความจริงเราสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้จากอดีตมาใช้ในปัจจุบันได้ แต่เรื่องราวที่ผ่านมาก็ถูกบันทึกผ่านมุมมองที่แตกต่างกัน จึงต้องหาจุดสมดุลในการนำมาประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งโดยทั่วไปรัฐมักมีอำนาจเป็นตัวกำหนดว่าจะบันทึกอะไรและปกปิดอะไร แต่ในที่สุดข้อมูลที่แท้จริงก็จะเปิดเผยออกมามากขึ้นจนกลายเป็นความทรงจำของสาธารณะ

ส่วนเรื่องประวัติศาสตร์สาธารณะ (Public History) นั้น เกิดขึ้นจากข้อสังเกตที่ว่า ประวัติศาสตร์มักถูกมองเป็นเรื่องวิชาการเก่าแก่และน่าเบื่อ ไม่เชื่อมโยงกับปัจจุบัน แต่เราจะพบว่าเมื่อเรื่องราวประวัติศาสตร์ถูกนำเสนอผ่านภาพยนตร์ ละครหรือแม้แต่เกมคอมพิวเตอร์ กลับเชื่อมโยงกับคนในสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้ดี ฉะนั้นการที่คนไม่สนใจประวัติศาสตร์ จึงน่าจะเป็นเพราะปัญหาในการนำเสนอมากกว่าเรื่องเนื้อหา
ซึ่งการนำเสนอเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์มีขั้นตอนสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือประสบการณ์จากอดีต การตีความ และมุมมองเพื่อนำมาใช้โดยใช้ทักษะสัมผัส 3 H คือ

Head ให้คิดถึงว่าคนสนใจอะไร เราจะเสนออะไรให้น่าสนใจ

Heart เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกร่วม จะทำให้คนรับและจดจำได้ดี เช่น บุคคลหรือสถานที่ในอดีตที่เชื่อมโยงกับปัจจุบันได้อย่างเป็นรูปธรรม

Hand ให้คนเรียนรู้โดยการร่วมปฏิบัติได้ในสิ่งที่จัดแสดง

containercontainer2

ส่วนวิธีการและเทคนิคในการจัดแสดงแบบประวัติศาสตร์สาธารณะก็คือจะไม่ใช้วิธีการแบบวิชาการ แต่จะมีรูปแบบหลากหลายที่สอดคล้องกับพื้นที่และเรื่องราวต่างๆ เช่น ใช้แท่งเสากลมรูปแบบเดียวกันจัดแสดงในสถานที่ต่างๆ ดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ ใช้สถานที่ที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเป็นที่จัดแสดงมีการจัดทัวร์ท่องเที่ยวเรียนรู้แหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีทันสมัยผ่านสื่อดิจิตอลยุคปัจจุบัน เช่น การประยุกต์ใช้แอพพิเคชั่นต่างๆ การสร้างเป็นเกมคอมพิวเตอร์ สร้างคลิปเสียง คลิปวิดีโอ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากช่องทางเว็บไซต์หรือเว็บบล็อก

ซึ่งแกนนำแรงงานต่างเห็นว่า แนวทางของประวัติศาสตร์สาธารณะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรแรงงานได้มาก เช่น การทำหลักหมายจุดที่สมาชิกเสียชีวิตระหว่างการชุมนุมต่อสู้ของสร.ไทยเรยอน การดัดแปลงวัสดุเพื่อจัดแสดงเรื่องของสหภาพแรงงานในชุมชน การทำคลิปวิดีโอเผยแพร่ผ่าน youtube  แล เว็บไซต์หรือเว็บบล็อกขององค์กรแรงงาน 

วิชัย นราไพบูลย์ รายงาน

column2 column

column4

digital