ปฏิบัติการแนวทางการเมืองของขบวนการแรงงานไทย

PB020003

คสรท.จัดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการทำงานการเมืองของขบวนการแรงงาน หวังดำเนินยุทธสาสตร์ว่าด้วยเรื่อง “ขบวนการแรงงานไทยก้าวสู่การเป็นพลังนำในการสร้างสังคมที่เสมอภาค และเป็นธรรม” ชูพรรคการเมืองของแรงงาน แรงงานต้องมีส่วนร่วม และสนับสนุนอย่างเป็นเจ้าของ

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 ยุทธศาสตร์ที่ 1 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการทำงานการเมืองของขบวนการแรงงาน ครั้งที่ 1 ที่ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้นำสหภาพแรงงาน นักวิชาการ และนักศึกษา

PB020002PB020004

นายชาลี ลอยสูง ประธานคสรท. กล่าวว่า คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้จัดทำยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งแก่ขบวนการแรงงานมีทั้งหมด 4 ยุทธศาสตร์เมื่อปี 2555 โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง “ขบวนการแรงงานไทยก้าวสู่การเป็นพลังนำในการสร้างสังคมที่เสมอภาค และเป็นธรรม” ซึ่งมาตรการจัดการศึกษาเรื่องเสรีนิยมใหม่ สู่กรอบแนวคิดใหม่ในการพัฒนา และกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงาน การหาหรือถึงความจำเป็นที่ต้องมีเวทีเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดร่วมกันในเรื่องแนวทางการบริหารจัดการพรรคการเมืองของแรงงาน และการจัดการสำรวจแรงงานกับการมีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ ครั้งนี้เป็นการจัดเวทีสำรวจบทเรียนประสบการณ์การทำงานการเมืองของขบวนการแรงงาน ทั้งแรงงานในประเทศ และต่างประเทศ เป็นเวทีระดมความคิดเห็น ให้ความรู้แนวคิดกำหนดทิศทางการทำงานทางการเมือง ว่าพรรคการเมืองแบบไหนที่ขบวนการแรงงานต้องสนับสนุน หรือมีพรรคการเมืองของตนเอง นโยบายเพื่อสังคม และคนงานเพื่อความเป็นธรรม

ดร.โชคชัย สุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอเรื่องบทเรียน และประสบการณ์พรรคสังคมนิยมธิปไตยว่า การเมืองเกี่ยวข้องกับแรงงานนั้นมี 3 ระดับ คือระดับสหภาพแรงงานในสถานประกอบการที่ใช้เรื่องการต่อรองในระบบแรงงานสัมพันธ์ และระดับกลาง การรวมกลุ่มในกลุ่มสหภาพแรงงานย่านต่างๆ และประเภทสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม สหพันธ์แรงงาน เช่นสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ ที่ยื่นข้อเรียกร้องรวมๆระดับอุตสาหกรรมบ้าง

PB020033PB020009

การเมืองระดับกลางอีกแบบเรียกว่าระดับไตรภาคีมีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ต่อรองทางการเมืองบ้างในระดับกระทรวงแรงงาน และองค์การแรงงานระหว่างประเทศด้วย และการรวมตัวระดับบนใช้แนวคิดเสนอนโยบายแรงงานต่อพรรคการเมือง สนับสนุนพรรคการเมืองโดยการดูนโยบายพรรคที่สอดคล้องกับแรงงานบ้าง มีการสนับสนุนตั้งพรรคการเมือง เช่นพรรคสังคมนิยมธิปไตยของสมพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) แต่ไม่สำเร็จสามารถมีตัวแทนเข้าสภาได้ เดิมมีพรรคแรงงานของชิน ทับพี ที่เป็นผู้นำแรงงานปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งการเลือกตั้งที่ผ่านมาหวุดหวิดเกือบได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)เข้าสู่สภาเป็นคนแรก หากถามผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ไม่รู้จักรพรรคแรงงาน

PB020008PB020014

ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอในหัวข้อบทเรียนประสบการณ์พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยว่า ประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั้นมีพรรคการเมืองที่มีแรงงานเข้าไปเกี่ยวข้อง คือพรรคสังคมนิยมที่เกิดขึ้น มีพรรคสหชีพ พรรคแนวสังคมนิยม พรรคเศรษฐกร พรรคสหชีพ ที่ถูกกวาดล้างอย่างรุนแรงภายหลังจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการตั้งพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมอีกหลายพรรคเช่น พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย และพรรคสังคมนิยม วิศิษฐ์ ศรีภัทรา ผู้นำกรรมกรรถไฟ ฯลฯ ปรากฏว่าในการเลือกตั้งปี 2500 แนวร่วมพรรคสังคมนิยมได้รับเลือกเข้าในสภา 11 ที่นั่ง

ความตกต่ำเมื่อจอมพลสฤษดิ์ทำการรัฐประหารครั้งที่ 2 และปกครองประเทศแบบเผด็จการเต็มรูปแบบ ครั้งนี้นักการเมืองหัวคิดสังคมนิยมตกเป็นเป้าของการกวาดล้างอย่างรุนแรงถูกจับขังคุก โดนประหารชีวิต ทำให้บางส่วนต้องหนีเข้าป่าข้อหาคอมมิวนิสต์ และหลัง 14 ตุลาคม 2516 ประชาธิปไตยเริ่มฟื้นขึ้นใหม่ ตั้งพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย อีกกลุ่มตั้งพรรคพลังใหม่ พรรคการเมืองที่มีแนวคิดสังคมนิยมได้พยายามดำเนินการต่อสู่ทางรัฐสภาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทำให้สังคมนิยมคือคอมมิวนิสต์ รัฐปราบปรามอย่างเดียวเพราะฝ่ายปกครองเป็นฝ่ายปกครองแนวคิดขาวจัด มีความพยายามตั้งพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมหลายครั้ง แต่หลังจากปี 2535 เป็นต้นมาก็ไม่มีตัวแทนพรรคแนวทางสังคมนิยมในรัฐสภาอีก แม้ว่าอดีตสมาชิกพรรคสังคมนิยม สังคมประชาธิปไตย และพลังใหม่หลายคนจะยังเป็นสมาชิกสภาอยู่ แต่ก็ไม่ได้ดำรงอยู่ในนามของพรรคแนวทางสังคมนิยมอีก ถึงเวลาที่จะมีการทบทวนรื้อฟื้นพรรคแนวคิดสังคมนิยมขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อต่อสู้ในรัฐสภา เพราะพรรคการเมืองปัจจุบันเป็นเพียงตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองของธุรกิจคงตอบสนองการแก้ปัญหาความยากจนในสังคมไทยที่ผู้คนยังใช้ชีวิตที่ลำบากไม่ได้

PB020015PB020023

นายสุรพล ธรรมร่มดี สถาบันอาศรมศิลป์ นำเสนอหัวข้อบทเรียน และประสบการณ์ขบวนการประชาชน และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในลาตินอเมริกาว่า บทเรียนพรรคแรงงานในบราซิล ปี 1980 ที่พูดถึงเรื่องของแรงงาน และปี 1990 ก็กาดที่นั่งชนะเลือกตั้งระดับท้องถิ่นได้มากมายพอเข้าไปมีบทบาทมาก ก็เริ่มขายตัว และเริ่มทำประชาธิปไตยให้กลุ่มทุน ประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่มีพรรคการเมือง บทบาทการเมืองที่ไม่ใช่สังคมนิยมจริงๆ บทเรียนการเมืองประเทศอเมริกา การเลือกตั้ง จะมีเพียง 2 ทางเลือกใหญ่คนอเมริกันที่จะเลือกตั้ง คือไม่เลือก จอร์จ ดับเบิลยู บุช พรรครีพับลิกัน ก็เลือกบารัค โอบามา พรรคเดโมแครต ประเทศบราซิลก็เช่นเดียวกัน การเลือก ลูลา ดาซิลวา ปี 2002 ซึ่งถือว่าเป็นกรรมกรโรงงานเหล็กเป็นประธานาธิบดีบริหารประเทศ เมื่อพรรคเลเบอร์เข้ามาบริหารประเทศ และมีการตัดงบด้านสวัสดิการแรงงานไม่เห็นด้วย การตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่

หากคนงานต้องการทำงานทางการเมืองต้องมีข้อเสนอที่ดึงดูดให้คนส่วนใหญ่เห็นด้วย และเข้าร่วม การเมืองต้องข้ามสีเหลืองกับแดงเป็นประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งการเมืองไทยตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกลุ่มทุนมาโดยตลอด การเมืองสีเหลืองกับแดงพูดถึงแนวทางปฏิรูปประเทศ และการเมืองสีเหลืองกับแดง ก็ถูกปราบปรามจากอำนาจรัฐ ประชาชนยังคงเรียกร้องความเป็นธรรม การเมืองยังคงมีการหลอกใช้ประชานเป็นฐาน เป็นได้แค่หางเครื่อง ทางออกคือแรงงานต้องการประชาธิปไตยทางตรง ที่ยังได้นายทุนมาบริหาร เราต้องการการเลือกตั้งที่เป็นระบบประชาธิปไตย และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม ตอบสนองต่อการจัดสวัสดิการ เศรษฐกิจและสังคม ขบวนการแรงงานต้องมีความชัดเจนในการตั้งพรรคการเมือง และต้องชัดเจนและอดทนในการตอบคำถาม การอธิบายความเป็นพรรคการเมืองของแรงงาน

PB020030PB020028

นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นำเสนอหัวข้อบทเรียนและประสบการณ์พรรคสังคมประชาธิปไตยในเยอรมันนี ว่า การต่อสู้เพื่อสังคมประชาธิปไตยเกิดขึ้นยากหากยังไม่ความเห็นด้วยกัน อำนาจการต่อสู้ รากไม่ได้อยู่ที่พรรคการเมืองอย่างเดียว อยู่ที่อำนาจต่อรองของผู้ใช้แรงงานด้วย อำนาจแรงงานที่จะเข้าสู่เส้นทาง ทางการเมืองจำนวนมาก แม้มีช่องทางอืนๆแต่ก็ไม่สามารรถหนีการมีพรรคการเมืองได้ แต่พรรคการเมืองของแรงงานควรเป็นรูปแบบไหน และต้องเสนอนโยบายแบบไหนให้พรรคการเมืองสนใจ ซึ่งมีบางประเทศที่แรงงานตั้งพรรคการเมืองเอง หรือสนับสนุนพรรคการเมือง ทำให้มีพรรคการเมืองที่ใช้ได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ หากไม่มีพลังก็ไม่สามารถที่จะเสนอความต้องการได้ พรรคการเมืองที่แรงงานเสนอได้คือ พรรคการเมืองที่แรงงานสนับสนุนและมีความเป็นเจ้าของ และเป็นประชาธิปไตยมีการบริหารที่ชัดเจน มีส่วนร่วม สังคมประชาธิปไตย มีความแตกต่างมีเป้าหมายความละเอียดที่แตกต่าง

ที่ผ่านมาพรรคการเมือง หรือสังคมประชาธิปไตยซึ่งมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เช่นประเทศเยอรมัน ที่มีแนวคิดปฏิวัติก่อนแล้วปฏิรูป พรรคHPD มีแนวคิดเดิมเป็นแนวคิดแบบสังคมนิยม และมีกลุ่มทางตะวันตกเห็นว่า ควรใช้วิถีทางรัฐสภาในการปรับเปลี่ยน ในเยอรมัน พรรคการเมืองกับขบวนการแรงงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคการเมืองของแรงงานถูกยุบไป ซึ่งก็มีการปรับเปลี่ยนพรรคใหม่ให้เป็นแนวปฏิรูปไม่ใช่แนวสังคมนิยมอย่างเดียว และเป็นพรรคของประชาชน ซึ่งออกห่างจากแรงงาน

ประเทศเยอรมันมีรัฐบาลที่มีกรอบประชาธิปไตย ไม่ปล่อยให้ระบบทุนนิยมทำงานอย่างเดียว รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงทั้งระบบภาษีต่างๆ เพื่อจัดสวัสดิการในเยอรมัน แม้ว่าจะเป็นระบบเดียวกันของพรรคการเมืองกับแรงงาน แต่หากมีการเสนอเรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคม แรงงานไม่เห็นด้วยรัฐต้องยกเลิกแนวคิด

ประเทศไทยแรงงานจะมีบทบาทการเมืองได้ ต้องเริ่มด้วยการสร้างขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง การทำให้เกิดพรรคการเมือง หรือพรรคการเมืองหันมาฟังข้อเสนอของแรงงาน ขบวนการแรงงานต้องเข้มแข็ง ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ เช่นทางประเทศแถบยุโรป ขบวนการแรงงานจะเข้มแข็งมาก รัฐจึงมีการจัดสวัสดิการ หากขบวนการแรงงานยังเล็กๆอยู่อย่างนี้ก็ไม่มีเหตุผลที่จะทำให้เกิดการยอมรับจากกพรรคการเมือง และต้องไม่อยู่ในอิทธิพลทางการเมือง ขบวนการแรงงานต้องรักษาระยะห่างระหว่างพรรคการเมือง เพื่อความเป็นอิสระต่อกัน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน