ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมคืออะไร ?

 
 
  บัณฑิตย์  ธนชัยเศรษฐวุฒิ

กล่าวนำ

การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 250 บาททันทีทั่วประเทศจะทำให้ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นประมาณ 44 บาทสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลที่ค่าแรงขั้นต่ำตอนนี้อยู่ที่ 206 บาท  ในความเป็นจริงค่าแรงวันละ 206บาทต่อวัน  ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่แล้วคนเหล่านี้เกือบ 80-90% จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวทั้งสิ้น  ส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพมาจากต่างจังหวัดโดยเฉพาะอีสาน

            อัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรเท่ากันทั่วประเทศหรือไม่  เป็นโจทย์สำหรับนโยบายแรงงาน

            ค่าจ้างขั้นต่ำมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานไร้ฝีมือเมื่อแรกเข้าทำงานและค่าจ้างต้องเพียงพอต่อการครองชีพของลูกจ้างและสมาชิกในครอบครัวหลังจากนั้นอัตราค่าจ้างต้องปรับตามประสบการณ์และฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น           

            หากนิยามตามองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ  ค่าจ้างขั้นต่ำที่ 250 บาท ตามข้อเสนอของรัฐบาล  หรือค่าจ้างขั้นต่ำเสนอโดยพรรคเพื่อไทย300 บาท ก็ยังไม่น่าจะเพียงพอ  เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นในการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ  ต้องมีเรื่องระบบสวัสดิการสังคม  และการควบคุมค่าครองชีพมาช่วยเสริมด้วย

            การจะแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางรายได้นั้น  รัฐไม่ได้มีภาระดูแลเพียงแรงงานในระบบราว 10 ล้านคนเท่านั้น  หากรัฐยังต้องดูแลแรงงานนอกระบบกว่า 25 ล้านคนที่ต้องการระบบสวัสดิการพื้นฐานเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ

            ที่มา :ดร.อนุสรณ์  ธรรมใจ บางตอนใน ผลของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 250 บาทต่อเศรษฐกิจไทย”

                     นสพ.กรุงเทพธุรกิจ,26พ.ย.53 น.11.1/12/53


        เมื่อพิจารณาประเภทข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อนายจ้างจำนวน 3 ปี คือ ปี 2550-2552  พบว่าข้อเรียกร้องเกี่ยวกับค่าจ้างติดอันดับสูงสุดตลอดมาจำแนกได้ ดังนี้

            ประเภทข้อเรียกร้อง

ปี 2550

ปี 2551

ปี 2552

1.  เงื่อนไขการจ้าง

2.  วันและเวลาทำงาน

3.  ค่าจ้าง

4.  สวัสดิการ

5.  การเลิกจ้าง

6.  การร้องทุกข์

7.  อื่นๆ

รวม

16

53

221

171

17

90

26

22

52

149

141

16

43

22

38

57

238

239

22

97

37

602

445

728

                        ที่มา :   สถิติสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2552 น.223 

                                    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

            ข้อสังเกต  คือ  หนึ่งในสามของข้อเรียกร้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าจ้างกล่าวคือปี2550 คิดเป็นร้อยละ 36.71,ปี2551 คิดเป็นร้อยละ 33.48 และปี 2552 คิดเป็นร้อยละ 32.7 สาเหตุคือสถานประกอบการจำนวนมากไม่มีหลักเกณฑ์การปรับค่าจ้างประจำปีที่โปร่งใส  เป็นธรรม หรือนายจ้างอาจใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลประกาศเป็นเกณฑ์การปรับค่าจ้างประจำปี  จึงต้องมีการเรียกร้องปรับค่าจ้างและค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ

                ผลการสำรวจสภาพการจ้างในสถานประกอบกิจการประเภทสิ่งทอและเครื่องแต่งกายโดยสำนักแรงงานสัมพันธ์  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  เพื่อสนับสนุนการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน  พบว่าร้อยละ 90 ไม่มีสหภาพแรงงานและอัตราการปรับค่าจ้างประจำปี ของสถานประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 87  โดยเฉลี่ย 4-10 บาทต่อวัน (อนุสารแรงงานฉบับที่ 2/2549 ธ.ค.2548-ม.ค.2549 :น.19-20)ซึ่งนับว่าน้อยมากใกล้เคียงกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น

                เมื่อพูดถึงค่าจ้างที่เป็นธรรม  แต่ละฝ่ายย่อมมีวิธีคิด  และวิธีการกำหนดที่แตกต่างกัน  การเคลื่อนไหวของฝ่ายแรงงาน เช่น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นส.วิไลวรรณ  แซ่เตีย  ประธานคสรท. เสนอให้ปรับเป็นค่าจ้างที่เป็นธรรม 421 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ต่อมาเสนอเป็น 250 บาทตามที่นายกรัฐมนตรีได้พูดไว้แต่นายกฯได้เปลี่ยนคำพูดทีหลังว่าจะปรับขึ้นที่ 10-11 บาท ในขณะที่องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) โดยการนำของนายมนัสโกศล  ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยเสนอให้รัฐบาลปรับ 10 บาทเท่ากันทั่วประเทศ

            ยังมีข้อเสนออื่นจากขบวนฝ่ายแรงงาน เช่น

            1.  ให้ยกเลิกคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดเพราะไม่มีอำนาจตัดสินใจแท้จริง

          2.ปรับพื้นที่การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำใหม่เป็น 3 โซน  คือ 1.เขตกรุงเทพและปริมณฑล  2.จังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยวและ  3. จังหวัดที่เหลือทั้งหมด 

            3.  ออกกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องมีโครงสร้างการปรับค่าจ้างประจำปีในสถานประกอบการโดยไม่ยึดติดกับการประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล 

            4.  กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำบังคับใช้กับลูกจ้างไม่เกิน 1 ปี

            5.  ควรกำหนดให้ปรับค่าจ้างลูกจ้างทุกคนทุกครั้งตามอัตราค่าขั้นต่ำที่ปรับขึ้น

            ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540  ได้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากการรวมศูนย์อำนาจกำหนดไว้ที่ส่วนกลางโดยคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) เท่านั้น  เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด  โดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดตั้งแต่ปี 2543 ถึงปัจจุบัน  แต่ละอนุกรรมการจังหวัด  จะประชุมเสนอข้อมูลและมติการปรับค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ ? จำนวนเท่าไร ? ต่อคณะกรรมการค่าจ้างที่กระทรวงแรงงานให้ตัดสินใจ 

            ในขณะที่ฝ่ายนายจ้างและองค์การธุรกิจหลายแห่งจะมีการคัดค้านการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประจำ  หรือต่อรองขึ้นอัตราน้อยๆ  โดยมีข้ออ้างว่าจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ  จะทำให้สถานประกอบการขนาดกลาง  ขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ต้องปิดกิจการต้องเลิกจ้างคนงานหรือต้องจ้างแรงงานต่างด้าว, จะมีการย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าไทย  หรือเสนอว่า  แรงงานต้องมีการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงาน  ค่าจ้างจึงจะปรับสูงขึ้นไปเองตามกลไกตลาด  เป็นต้น

           แนวคิดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

            เมื่อพิจารณากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒธรรมขององค์การสหประชาชาติและอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศบางฉบับ  ประกอบกับมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2553) ที่กระทรวงแรงงานปรับปรุงขึ้นจากมาตรฐานเดิมเพื่อส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อการส่งออกให้เคารพปฏิบัติตามสิทธิแรงงานพื้นฐานโดยสมัครใจ  และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา 84 (7) จะพบว่ามีหลักการเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมสำหรับคนทำงาน  สรุปได้ดังนี้

            1.  ค่าตอบแทนที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันให้ได้รับค่าตอบแทน  สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ  เว้นแต่ความอาวุโสและความชำนาญงานที่ต่างกัน

            “ค่าตอบแทน”หมายความรวมถึงค่าจ้างและเงินเดือนปกติพื้นฐานหรือขั้นต่ำ  และค่าตอบแทนเพิ่มเติมใดๆไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือสิ่งที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างตามผลของการจ้างคนงานนั้น  ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม

            “การเลือกปฏิบัติ”หมายความถึง  การแบ่งแยก  การกีดกัน  หรือการลำเอียงใดๆที่กระทำบนพื้นฐานของเชื้อชาติ  สีผิว  เพศ  ศาสนา  ความคิดเห็นทางการเมือง  สัญชาติหรือพื้นฐานทางสังคมซึ่งมีผลทำความเสียหายต่อความเสมอภาคในโอกาส  หรือในการจ้างและอาชีพ         

            2.  คำนึงถึงความเป็นอยู่ที่เหมาะสมสำหรับตนและครอบครัว  อันคู่ควรแก่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมอื่นๆด้วย

            3.  อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนที่จ่ายแก่แรงงานต้องส่งเสริมโอกาสอันเท่าเทียมสำหรับทุกคนที่จะได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าที่สูงขึ้นในการทำงานที่เหมาะสม  โดยไม่ขึ้นอยู่กับข้อพิจารณาใดนอกจากความอาวุโสและความชำนาญที่แตกต่างกัน

            4.  สถานประกอบการต้องไม่หักค่าจ้าง  ค่าตอบแทนในการทำงานหรือเงินอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและข้อตกลงสภาพการจ้างกำหนดให้จ่ายแก่ลูกจ้าง  ไม่ว่ากรณีใดๆ  เว้นแต่มีกฎหมายยกเว้นไว้ชัดเจน  เช่น  กฎหมายภาษี  กฎหมายประกันสังคม  บางเรื่องนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนหักค่าจ้างด้วย  เช่น เงินสมทบกองทุนเงินสำรองเลี้ยงชีพ , ชำระหนี้เงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการฯลฯ

            5.  ส่งเสริมและคุ้มครองหลักประกันการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมของฝ่ายแรงงานกับฝ่ายนายจ้างและรัฐบาลในการกำหนดค่าจ้าง  ทั้งในระดับสถานประกอบการ,ระดับอุตสาหกรรมและในระดับชาติ(คณะกรรมการไตรภาคี)

            อนุสัญญาฉบับที่ 131  ว่าด้วยการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำโดยการอ้างอิงพิเศษ  แก่ประเทศกำลังพัฒนา ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) ซึ่งรัฐบาลไทยยังไม่ให้สัตยาบัน  ได้กำหนดให้ดำเนินการกำหนดระบบค่าจ้างขั้นต่ำที่ครอบคลุมผู้มีรายได้จากค่าจ้างทุกกลุ่ม  โดยการปรึกษาหารืออย่างเต็มที่กับองค์กรหรือผู้แทนของนายจ้างและคนงานที่เกี่ยวข้อง  และต้องมีผลบังคับตามกฎหมายอย่างมีหลักประกันที่เพียงพอได้ผล

          องค์ประกอบที่ต้องนำมาพิจารณาในการกำหนดระดับค่าจ้างขั้นต่ำต้องรวมถึงความจำเป็นของคนงานและครอบครัว  โดยคำนึงถึงระดับค่าจ้างทั่วไปในประเทศ  ค่าครองชีพ  ประโยชน์ทดแทนต่างๆจากการประกันสังคม  มาตรฐานการครองชีพโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มสังคมอื่นๆ  ความจำเป็นของการพัฒนาเศรษฐกิจ  ระดับของผลิตภาพแรงงาน  และการคงไว้ซึ่งระดับการจ้างงานที่สูง

       ปัจจุบัน ค่าจ้างขั้นต่ำที่มีกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติมี 2 ประเภท คือ

                1.  ค่าจ้างขั้นต่ำรายวันประจำจังหวัดมีอัตราแตกต่างตามประกาศกระทรวงแรงงาน (ที่มักจะมีประกาศปรับขึ้นเป็นรายปี โดยผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง) ปัจจุบันมีอัตราแตกต่างกันถึง 28 พื้นที่ดังนี้

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

ค่าจ้างข้นต่ำ

(บาท/วัน)

พื้นที่

206

กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

205

จังหวัดนครปฐม  นนทบุรี  ปทุมธานี  และสมุทรสาคร

204

จังหวัดภูเก็ต

184

จังหวัดชลบุรี และสระบุรี

181

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

180

จังหวัดฉะเชิงเทรา

178

จังหวัดระยอง

173

จังหวัดนครราชสีมา พังงา และระนอง

171

จังหวัดเชียงใหม่

170

จังหวัดกระบี่ ปราจีนบุรี และลพบุรี

169

จังหวัดกาญจนบุรี

168

จังหวัดเพชรบุรี

167

จังหวัดจันทบุรี และราชบุรี

165

จังหวัดสิงห์บุรี และอ่างทอง

164

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

163

จังหวัดเลย สมุทรสงคราม และสระแก้ว

162

จังหวัดตรัง

161

จังหวัดสงขลา

160

จังหวัดชุมพร ตราด นครนายก นราธิวาส ยะลา ลำพูน อุทัยธานี และอุบลราชธานี

159

จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง สตูล สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุดรธานี

158

จังหวัดกำแพงเพชร ชัยนาท นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และสุพรรณบุรี

157

จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น เชียงราย บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด และสกลนคร

156

จังหวัดชัยภูมิ ลำปาง และหนองบัวลำภู

155

จังหวัดนครพนม มุกดาหาร และอำนาจเจริญ

154

จังหวัดมหาสารคาม

153

จังหวัดตาก พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน สุโขทัย สุรินทร์ และอุตรดิตถ์

152

จังหวัดน่าน และศรีสะเกษ

151

จังหวัดพะเยา พิจิตร และแพร่

หมายเหตุ :ครม.มีมติเห็นชอบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้าง (ฉบับที่ 4)

                             ปรับเพิ่ม 3 จังหวัด (จังหวัดอุทัยธานี เพชรบูรณ์ และแม่ฮ่องสอน) เมื่อวันที่ 7

                             เมษายน 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2553 เป็นต้นไป

            2.  ค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง สำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษากำหนดอัตราเท่ากันทั่วประเทศ ชั่วโมงละ 30 บาท เพื่อคุ้มครองนักเรียนนักศึกษาที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปที่ทำงานไม่เต็มเวลาในกิจการขายสินค้า และบริการลูกค้า งานวิจัยตลาดงานร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อและงานคลังสินค้า โดยให้ทำงานได้ในช่วงวันปิดภาคเรียนไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมง และในช่วง  เปิดภาคเรียนปกตินอกเวลาเรียนไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง (ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2553)

            ภายหลังที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551  บังคับใช้  คณะกรรมการค่าจ้าง  ได้ปรับภารกิจใหม่  โดยจัดทำข้อเสนอแนะการปรับค่าจ้างประจำปีแก่ภาคเอกชน  โดยออกมา 3 ฉบับแล้ว สรุปสาระสำคัญของประกาศคณะกรรมการค่าจ้างทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวได้ดังนี้

            1.  สถานประกอบการควรปรับค่าจ้างประจำปีแก่พนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานในรอบปีแตกต่างกัน  โดยอยู่บนพื้นฐานของผลประกอบการและผลิตภาพของลูกจ้างแต่ละคน  เพื่อส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจและประสิทธิภาพในการทำงานในปีต่อไป

            2.  ควรปรับค่าจ้างประจำปีแก่พนักงานในลักษณะที่จะส่งเสริมความร่วมมือที่ดีในการทำงาน  เพื่อเพิ่มผลิตภาพของสถานประกอบการในปีต่อไป  นอกเหนือจากการเพิ่มตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งมีเจตนารมณ์มุ่งคุ้มครองลูกจ้างไม่มีฝีมือซึ่งเข้าทำงานใหม่  และมีอายุการทำงานไม่เกิน 1 ปี

            3.  ควรปรับค่าจ้างประจำปี  แก่พนักงานดังนี้

ประจำปี 2550/2551

ประจำปี 2551/2552

ประจำปี 2552/2553

–  อัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.9

–  ควรจัดพนักงานเป็น 3 กลุ่ม

คือกลุ่มที่ 1  -ระดับดีเด่น

    ควรปรับเฉลี่ยร้อยละ 6.9

    กลุ่มที่ 2  -ระดับดี

     ควรปรับปรับเฉลี่ยร้อยละ 4.9

    กลุ่มที่ 3  -ระดับปกติ

    ควรปรับเฉลี่ยร้อยละ 2.9

–  อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5  ซึ่งเป็นค่ากลางสำหรับลูกจ้างที่มีผลการปฏิบัติงานในระดับดี

–  การปรับค่าจ้างลูกจ้างมีผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่นและระดับปกติ  ขึ้นกับนโยบายบริหารค่าจ้างและผลประกอบการ

 

1.  สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่

–  ควรปรับค่าจ้างปี 2552/2553 และ/หรือจ่ายโบนัส  โดยอัตราการปรับค่าจ้างเท่าใดนั้น  ขึ้นกับนโยบายบริหารค่าจ้างและผลประกอบการ  ประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างเป็นสำคัญ

2.  สถานประกอบการขนาดเล็ก

–  กรณีมีผลกำไรในการประกอบการในปี 2552  ควรปรับค่าจ้าง แก่ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปีขึ้นไปตามประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติงานในรอบปี

ที่มา :ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง  เรื่องข้อแนะนำการปรับค่าจ้างประจำปี 2550/2551 แก่ภาคเอกชน (ลงวันที่ 9 เมษายน 2551) , ประจำปี 2551/2552 (ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2551) และประจำปี 2552/2553 (ลงวันที่ 27 มกราคม 2553)    

            4.  หากสถานประกอบการใด  มีการปรับค่าจ้างประจำปีอยู่แล้วหรือมีข้อตกลงการปรับค่าจ้างกับลูกจ้างไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว  ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำตามประกาศอีก

            นอกจากนี้กระทรวงแรงงาน  กำลังเตรียมประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปภายในระยะใกล้นี้  โดยหากนายจ้างใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษได้