เครือข่ายแรงงานนอกระบบยื่นร่างพ.ร.บ.บำนาญคณะกรรมาธิการการแรงงาน

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.30 น. ตึกรัฐสภา 3 ชั้น 3 นางสุจิน รุ่งสว่างประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาค กทม.และคณะยื่นหนังสือเรื่อง ร่าง พระราชบัญญัติบำนาญชราภาพ พ.ศ. …. (ฉบับภาคประชาชนร่วมกับผู้ใช้แรงงาน) ต่อ นายสถาพร มณีรัตน์ กรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฏร นางสุจิน กล่าวได้นำเสนอว่า เรื่องขอให้นำร่าง พ.ร.บ. บำนาญชราภาพ พ.ศ. ….(ฉบับภาคประชาชนร่วมกับผู้ใช้แรงงาน) เพราะฉบับของภาคประชาชนมีข้อแตกต่างจากร่างของรัฐบาลในเรื่อง หลักการออม

มึนตึ้บ! ขอลากิจแต่นายจ้างให้ลาออก ชวดสิทธิเงินทดแทน

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ได้รับการเปิดเผยจากนางสาวสุรินทร์ พิมพา เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ของกลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ว่า คนงานหญิงแผนกเย็บผ้า บริษัทรัตนาภรณ์ ตั้งอยู่ย่านอ้อมใหญ่ ว่าเมื่อราวปลายเดือนกันยายนเคยถูกใบเตือนเนื่องจากลากิจไปรับลูกที่ภาคใต้เพื่อที่จะไปส่งให้แม่ที่จังหวัดอุดรแต่ทางบริษัทไม่ยอมให้ใบลาแต่กลับให้ใบเตือน ต่อมาเมื่อวันที่30ตุลาคมได้ไปขอใบลาเพื่อลาไปส่งลุกที่อุดรทางฝ่ายบุคคลไม่ยอมให้ใบลาแถมขู่ว่าหากหยุดงานจะให้ออกจากงาน

ต้นทุนแรงงานต่ำ ชะตากรรมแรงงานไทย

บรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจาก บี โอ ไอ ในการลดหย่อนภาษีจากรัฐบาลไทย ได้แสวงหาผลประโยชน์กำไรอย่างมหาศาลจากการจ้างงานราคาถูก จ้างงานแบบเหมาช่วง แบบชั่วคราว Subcontract โดยการใช้ช่องโหว่ของกฎหมายแรงงานไทย

แรงงานฮึด!ตั้งเป้าล่า 4 หมื่นชื่อ หวังปฏิรูปประกันสังคม

เครือข่ายแรงงานผนึกพลังนักการเมืองและนักวิชาการ เปิดวงสัมมนาชำแหละประกันสังคมล้าหลังขาดความโปร่งใส ประกาศร่วมล่ารายชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย หวังปฏิรูปประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ โปร่งใสตรวจสอบได้ โดยผู้ประกันตนต้องมีส่วนร่วม รวมทั้งขยายสิทธิประโยชน์ให้ดีขึ้นและต้องครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม

พลังสื่อ เพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน ลดความเหลื่อมล้ำ

สื่อมวลชนร่วมเสวนานักสื่อสารแรงงาน ถกแนวทางการทำงานระหว่างแรงงานกับสื่อมวลชนเพื่อยกประเด็นแรงงานสู่สาธารณะ หวังลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยเห็นว่าปัจจุบันมีช่องทางมากขึ้นจากสื่อทางเลือกและสื่อเฉพาะต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน หรือสื่อใหม่อย่าง อินเตอร์เน็ทและสื่อออนไลน์ต่างๆ แต่เห็นว่ายังไม่ควรทิ้งสื่อกระแสหลักทั้งหนังสือพิมพ์และทีวีที่ยังมีพลังเปลี่ยนแปลงสังคมอยู่อย่างน้อยอีก 10 ปี แต่แรงงานต้องมีวินัย มีความเป็นมืออาชีพในการสร้างข่าวและช่องทางของตัวเองตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยต้องข้ามให้พ้นความซ้ำซากทั้งในด้านการนำเสนอประเด็นเนื้อหาและตัวบุคคลเป็นข่าว

แรงงานข้ามชาติอีสานใต้ป่วยด้วยสารเคมี

เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเขมราฐ จ.อุบลราชธานี รายงานว่า มีประชาชน สปป.ลาวไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อปีที่หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้วหายไป โดยไม่กลับคืนสู่บ้านของตัวเองตามระยะเวลาที่ขอข้ามแดนในเอกสาร อีกทั้งในพื้นที่ชายแดนอีสานใต้ยังมีแรงงานจาก สปป.ลาวที่ข้ามเขตมาทำงานตามฤดูกาลโดยไม่ทำเอกสารใดๆ แต่จะผ่านเข้ามาในชุมชนโดยมีนายหน้าเป็นผู้จัดการ เพื่อเข้ามาทำงานตามฤดูกาลเช่น ดำนา เกี่ยวข้าว ตัดอ้อย ปลูกยาสูบ ทำงานในสวนยางพารา อีกด้วย

แรงงานบ่อวินรวมใจหาเงินสร้างพลังหนุนแก้ปัญหาพื้นที่

วันที่ 31 ตุลาคม 2553 คณะทำงานกลุ่มแรงงานบ่อวิน สัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก สำนักงานเลขที่ 120/46 ม. 4 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้จัดกิจกรรมทำบุญสำนักงานฯ และทอดผ้าป่าเพื่อเป็นทุนช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ตั้งเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนในการจัดกิจกรรมให้กับสมาชิก โดยมีผู้เข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่า 150 คน

ทั้งนี้ สหภาพแรงงานต่างๆที่เป็นสมาชิกของกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก และผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วนได้ร่วมกันบริจาคเงินสนับสนุนกิจกรรม”แรงงานบ่อวินรวมใจสร้างอนาคตให้ตนเอง”ในครั้งนี้ประมาณ 200,000 บาท

แรงงานร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ที่โรงแรมบางกอกพาเลซ ถนนมักกะสัน กรุงเทพ ในงานสัมมนาเรื่อง “สร้างการเรียนรู้เพื่อมีส่วนร่วมในการผลักดัน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. …จัดโดยคณะคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานและแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน โครงการ “แรงงานร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” โดยความร่วมมือของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (มพร.) ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเปิดรับบริจาคเงินจากองค์กรแรงงานต่างๆ เพื่อรวบรวมส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม ในวันดังกล่าวผู้เข้าร่วมการสัมมนาจำนวนมากร่วมกันบริจาคตามกำลังศรัทธา รวมแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 38,734.75 บาท(สามหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยสามสิบสี่บาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะได้นำส่งมอบเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัย น้ำท่วมผ่านทางทีวีไทย ต่อไป

โรงงาน“หลอมทองแดง” ทำหนึ่งชีวิตแรงงานดับ

โรงงานประหยัดลดต้นทุน สั่งเผาวัตถุดิบปนเปื้อนราคาถูก หนึ่งชีวิตผู้ใช้แรงงานดับคาที่ และอีกสองชีวิตยังไม่เต็มร้อย ยังมีอาการเจ็บหน้าอก คปอ.สั่งหยุดเครื่องจักรตรวจสอบและแก้ไขเร่งด่วน
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 เวลาประมาณ 21.00 น. มีพนักงานบริษัทผลิตท่อทองแดง ส่งออกและขายภายในประเทศ ตั้งอยู่ที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวีดสระบุรี ถูกหามส่งโรงพยาบาลมิตรภาพ จังหวัดสระบุรี จำนวน 3 คน โดยมีนายจำรัส กงเพ็ชร ตำแหน่งโฟร์แมน ได้เสียชีวิต 1 ราย อีก 2 ราย อยู่ระหว่างการดูอาการของแพทย์

ขบวนการแรงงานเปิดรับบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (มพร.) ได้ร่วมกันจัดโครงการ “แรงงานร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” ขึ้น เพื่อเปิดรับบริจาคเงิน (ไม่รับสิ่งของ) จากองค์กรแรงงานต่างๆ รวบรวมส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ โดยสามารถบริจาคเงินได้ที่บัญชีชื่อ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 101-7-97864-2 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญ่ถนนสีลม หรือสามารถบริจาคเงินด้วยตนเองได้ในวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ซึ่งจะมีงานสัมมนาเรื่องประกันสังคม ที่โรงแรมบางกอกพาเลส

ผู้นำแรงงานโต้นายจ้างตีปิ๊บค่าบาทแข็งหวังไม่ขึ้นเงินเดือนตัดโบนัส

ประธานสภาองค์การลูกจ้างฯโต้ข่าวกรณีนาย ทศพล วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกมาให้ข่าวเกี่ยวกับผลกระทบเงินบาทแข็งค่าจะส่งผลกระทบต่อการปรับเงินเดือนและโบนัสของคนงานว่า เป็นเรื่องที่ยังคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและอาจเกิดการฉกฉวยโอกาสไม่ปรับขึ้นเงินเดือนและไม่จ่ายโบนัสให้คนงาน

คนใช้แรงงานอยุธยาร้องสหภาพฯถูกพักงานไม่เป็นธรรม

นางสาว น้อง (นามสมมติ) สมาชิกสหภาพแรงงานนิเด็ด ร้องทุกข์ต่อสหภาพแรงงานนิเด็ดให้ช่วยเหลือเรื่องนายจ้างให้พักงานไม่เป็นธรรม โดยนางสาว น้อง ได้เล่าว่า ทำงานอยู่ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์แห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาไม่ต่ำกว่า10 ปี ได้รับใบประกาศนียบัตรพนักงานดีเด่นหลายปีซ้อนการันตีความขยันในการทำงานให้กับบริษัท แต่ก็ยังถูกกลั่นแกล้งจากหัวหน้างานโดยการให้ใบเตือนถึงขั้นหยุดพักงาน

1 201 202 203 205