แรงงานแถลงปฏิรูปประกันสังคมต้องโปร่งใสมีส่วนร่วม

นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้จัดแถลงข่าว เรื่องการขับเคลื่อนการปฏิรูปประกันสังคม ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตในเวที “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” กับทีวีไทย และการสื่อสารภาคพลเมือง ระดมสมองแสวงหาแนวทางเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง “กองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนใหญ่มากมีเงินในกองทุนกว่า 7 แสนล้านบาท ต้องดูแลผู้ประกันตนประมาณ 10 ล้านคน จึงต้องมีระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัวและโปร่งใสตรวจสอบได้ ปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ อีกทั้งกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมที่บังคับใช้ในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับการบริหารจัดการงานประกันสังคม จึงต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ขบวนการแรงงานได้มีการร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน แก้ไขทั้งในเรื่องนิยามคำว่า ลูกจ้าง นายจ้าง ค่าจ้าง ทุพพลภาพ ให้มีขอบเขตการคุ้มครองที่ครอบคลุมกับลูกจ้างทุกประเภท รวมถึงการขยายสิทธิประโยชน์ต่างๆให้สอดคล้องและเป็นธรรมมากขึ้น การปรับปรุงโครงสร้าง และระบบการบริหารงานรวมถึงกำหนดบทบาทของคณะกรรมการประกันสังคมเพื่อสร้างหลักประกันในการตรวจสอบการบริหารกองทุนให้เกิดความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น”

ดร.เสกสรรค์ ปฏิรูปอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจภาคพลเมือง

เมื่อวันที่18ธันวาคม 2553ได้มีการปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจในประเทศไทย ความจำเป็นแห่งยุคสมัย” โดย ดร. เสกสรร ประเสริฐกุล คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ รังสิต จ.ปทุมธานี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับฟังจากเครือข่ายเปลี่ยนประเทศด้วยพลังพลเมือง ประกอบด้วยนักข่าวพลเมืองจากภูมิภาคต่างๆ นักสื่อสารแรงงาน เครือข่ายเชิงประเด็นจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจรัฐ รวมแล้วประมาณ 400 คน

นักสื่อสารแรงงานร่วมทีมนักข่าวพลเมืองหวังเปลี่ยนประเทศด้วยพลังพลเมือง

วันที่ 17 – 19 ธันวาคม 2553 นายมงคล ยางงาม และ นายสมบูรณ์ เสนาสี เป็นตัวแทนนักสื่อสารแรงงานเข้าร่วมทีมบรรณาธิการ(บก) และนักสื่อสารร่วม 7 คน เข้าร่วมเสวนาในขัวข้อ “ เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง ” ที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน ได้นำนิทรรศการสื่อประวัติศาสตร์การสื่อสารแรงงาน เช่นหนังสือพิมพ์กรรมกร ของ นายถวัติ ฤทธิเดช อดีตผู้นำกรรมกร จดหมายข่าวคนงาน และจดหมายข่าวแรงงานปริทัศน์ จนถึงผลงานใหม่ล่าสุดของนักสื่อวานแรงงานคือหนังสือพิมพ์วอยซ์เลเบอร์น้องใหม่ของการสื่อสารในขบวนการแรงงานที่จะออกมาอวดโฉมทีี่เดือนจากนี้ รวมทั้งมีการนำวงดนตรีวงภราดร วงดนตรีของแรงงานแสดงให้เครือข่ายภาคประชาชนได้ดูและรับฟังกัน อีกทั้งนายชาลี ลอยสูงได้แถลงข่าวข้อเสนอการประฏิรูปประกันสังคม และเตรียมการจัดงานสมัชชาแรงงาน”ปฏฺิรูปประกันสังคมกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย” ที่เสนอเรื่องการขยายความคอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่มทั้งนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคเกษตร อาชีพอิสระ ให้เป็นองค์กรอิสระ มีการบริหารงานที่โปร่งใส่เป็นต้น เพื่อเชิญชวนผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าร่วมงานในวันที่ 13 มกราคม 2554 ที่โรงแรมรารมการ์เด้น กรุงเทพ ทั้งนี้นักสื่อสารแรงงานยังเข้าร่วมเสนอเสนอปัญหาและทางออกในหัวข้อหลักจากปัญหาของเครือข่ายจาก 4 ภาค

สรุปการประชุมกองบรรณาธิการนักสื่อสารแรงงาน ครั้งที่ 2

โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงานไทย ที่ได้รับการสนับสนุนโดยแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้มีการจัดประชุมกองบรรณาธิการนักสื่อสารแรงงานครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธที่ 1 ธันวาคม 2553 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศุภชัย ศีรสติ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มีผู้เข้าร่วมประชุมรวม 9 คน

สรุปการประชุม กองบรรณาธิการนักสื่อสารแรงงาน ครั้งที่ 1

โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงาน เวลา 13.00 น.วันพุธที่ 3พฤศจิกายน 2553 ณ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้มีการจัดประชุมกองบรรณาธิการนักสื่อสารแรงงานครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 11 คน โดยมีวาระแจ้งเพื่อทราบ การเตรียมงานอบรมผลิตวีดิทัศน์ การจัดทำหนังสือพิมพ์ และร่วมเป็นบรรณาธิการ โดยการแบ่งงานกันเขียน พร้อมทั้งงบการสนับสนุนในพื้นที่

แรงงานร่วมเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง

นักสื่อสารแรงงานร่วมงาน “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” กับทีวีไทย มีเครือข่ายที่มีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยและการสื่อสารภาคพลเมืองเข้าร่วมประมาณ 500 คน เพื่อรวมพลังทางสังคมทุกภาคส่วนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมสมองแสวงหาแนวทางเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง โดยใช้กลไกเชื่อมร้อยเครือข่ายสื่อภาคพลเมืองกับสื่อสารมวลชนอื่นๆ

ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม พ.ศ.2553 ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ (ส.ส.ท.) โดยสำนักเครือข่ายสาธารณะ โครงการเปลี่ยนประเทศไทย สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม และเครือข่ายภาคพลเมืองทั่วประเทศ ร่วมกันจัดงาน “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะในการแสวงหาการรวมพลังทางสังคมจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลและแนวคิดต่อการเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมืองใน 4 ประเด็นหลักอย่างสร้างสรรค์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐไทยกับพลเมือง แนวทางการจัดการที่ดินและฐานทรัพยากร การเตรียมรับมือภัยพิบัติ และ พื้นที่สาธารณะเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมือง

สรุปกิจกรรมโครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน

บันทึกการประชุม การเสวนา สัมมนา การอบรม การสร้างนักสื่อสารแรงงาน โครงการ การพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สนับสนุนโดย แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2553 ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมประชุม อบรมทักษะการเขียนข่าวให้กับผู้นำแรงงานให้เป็นนักสื่อสาร โดยนักข่าวมืออาชีพ จากหลายที่ รวมถึงมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสาบการณืการทำงานระหว่าง ชุมชน แรงงาน สื่อมวลชนท้องถิ่น ซึ่งได้สรุปกิจกรรมต่างๆไว้ในรายงานดังนี้

ส.ส.ท.ประชุมนักข่าวพลเมืองกลาง เตรียมงานนัดรวมพลนักข่าวพลเมืองประจำปี

ทีมงานอบรมนักข่าวพลเมืองทีวีไทย ประชุมเตรียมงานนักข่าวพลเมืองภาคกลางร่วมจัดงาน 4 ภาค ด้วยความหวัง “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” กำหนดจัดกิจกรรมร่วมกัน ส่วนนักข่าวพลเมืองสื่อสารแรงงาน พร้อมเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์การสื่อสารของแรงงาน วงดนตรีภราดรเข้าร่วมเต็มที่ ขนผู้นำเตรียมแถลงข่าวขยายแนวคิดปฏิรูปประกันสังคมอย่างไรให้ผู้ประกันได้ประโยชน์ หวังมีพื้นที่สื่อสารประเด็นแรงงาน
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2553 องค์การกระจายเสียงและเผยแพร่ภาพสาธารณะ (ส.ส.ท.) จัดประชุมตัวแทนนักข่าวพลเมืองภาคกลาง ที่ห้องประชุม 914 (อาคาร 9) มหาวิทยาลัยจันทร์เกษม ถนนรัชดา กรุงเทพมหานคร โดยมีตัวแทนเข้าร่วมจากหลายจังหวัดในภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ สระบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม ชลบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ

แรงงานหาบ 14,500 รายชื่อเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา

วันนี้(24พฤศจิกายน 2553) เวลา 10.00 น. เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ประกอบด้วยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยเนื่องจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เครือข่ายปฏิบัติการแรงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน เครือข่ายภาคประชาชน กทม. เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา และสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นำโดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นางสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานศูนย์เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และผู้นำแรงงานจากสหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานฯลฯ ได้เข้าร่วมกันนำรายชื่อกว่าหมื่นลายชื่อเพื่อเสนอกฎร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ….(ฉบับบูรณาการแรงงาน) ทั้งนี้มีนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานรัฐสภา และนายสถาพร มณีรัตน์ สมาชิกรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร

สรุปการวางแผนการทำงานของนักสื่อสารแรงงาน วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553

สรุปการประชุมนักสื่อสารแรงงาน เรื่องการวางแผนการทำงานของนักสื่อสารแรงงาน วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553 ณ.ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ
——————–

สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพลเมือง”

วันที่ 12-14 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สสส. ร่วมกับ สำนักเครือข่ายประชาสังคม โต๊ะข่าวพลเมือง ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพลเมือง” ที่จันทร์เกษมปาร์ค มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์เกษม กรุงเทพมหานคร มีนักสื่อสารแรงงานจากศูนย์แรงงานพื้นที่ต่างๆเข้าร่วมการฝึกอบรม 19 คน

วิทยากรนักข่าวพลเมือง ประกอบด้วย

1. นายสมเกียรติ จันทร์สีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายประชาสังคม หัวหน้าโต๊ะข่าวพลเมือง ทีวีไทย
2. นายภูมิพัฒน์ บุญเลี้ยง โปรดิวเซอร์นักข่าวพลเมือง
3. คุณสุวัจนา ทิพย์พิพิจ เจ้าหน้าที่ประสานงาน นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย
4. คุณวราพร อัมภารัตน์ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านเทคนิค
5. นายสกล เจริญเวช เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านเทคนิค
6. น.ส.สุดารัตน์ ขจรวุฒิเดช นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย
7. น.ส.ไพฑูรย์ ธุรงพันธ์ ผู้ประสานงาน(ภาคอิสาน) สำนักสื่อสาธารณะ

นักสู้เปลี่ยนแนวการรบ : มุ่งใช้สื่อขยายสู่สังคม

เมื่อวันที่  12 – 14    พฤศจิกายน  2553  มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย  จัดอบรม  การเขียนสคลิปข่าว และ การผลิตตัดต่อวีดีโอข่าวสั้น  ให้กับผู้นำแรงงานในแต่ละกลุ่มแรงงาน  รวม  8  แห่ง   โดยมีทีมนักข่าวพลเมืองจากทีวีไทย  มาให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้ ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม   กรุงเทพ  ซึ่งถือว่า เป็นนิมิตรหมายอันดีสำหรับผู้นำแรงงานที่จะได้สะท้อนปัญหา  การถูกเอารัดเอาเปรียบ  การถูกกดขี่  ของลูกจ้างที่สังคมส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้  โดยนำเสนอออกมาในรูปแบบของข่าวสารในมิติที่แตกต่างไปจากเดิม  ที่สังคมจะเห็นผู้ใช้แรงงานออกมาเดินประท้วง   หรือแม้แต่การปิดถนน   สิ่งที่คาดหวังของผู้เข้าอบรมในครั้งนี้  คือได้เป็นผู้นำเสนอประเด็นที่ตัวเองที่ได้ถ่ายทำตัดต่อมาแล้ว จะมีโอกาสได้ออกอากาศในช่วงของนักข่าวพลเมือง ของทีวีไทยสักครั้ง                              นงนุช ไกรศาสตร์ นักสื่อสารแรงงานศูนย์แรงงานสระบุรี รายงาน

1 2 3 4