4 ปี คปก.ไร้อำนาจเสนอกฎหมายตรง ร่างกฎหมายค้างเพียบ

20150429_110414

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) สรุปงาน 4 ปี ปฎิรูปกฎหมายท้าทายปฏิรูปประเทศ วาระที่ 1 ทำบทบาทหน้าที่เป็นองค์กรเพื่อการปรับปรุง ปฏิรูป และพัมนากฎหมายทั้งระบบอย่างมีส่วนร่วม พร้อมเสนอต่อคณะรัฐมนตรรรับรอง ปัจจุบันค้างเพียบรอพิจารณา

20150429_12123120150429_095103

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 ในโอกาสครบรอบ 4 ปี คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้มีการจัดสัมมนาวิชาการ เรื่องปฏิรูปกำหมายท้าทายปฏิรูปประเทศ ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ และคอนเวนช่นเซนเตอร์ กรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า วันนี้เป็นการจัดงานสรุปผลงานในรอบ 4 ปี การปฏิบัติหน้าที่ วึ่งการปฏิรูปประเทสนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 5 และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ให้ประเทศเป็นสมัยใหม่เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากอาณาอารยประเทศ และการปฏิรูปใหญ่ครั้งที่ 2 คือการปฏิรูปปี 2540 และการปฏิรูปครั้งที่ 3 ปี 2550 ที่มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมครั้งใหญ่อีกครั้ง รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ตั้งองค์กรอิสระขึ้นเพื่อปฏิรูปกฎหมายทั้งระบบ แต่เป็นเพียงทำหน้าที่วิชาการ และให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของประชาชน โดยเป้นการปฏิรูปอย่างเป็นอิสระ แล้วนำเสนอร่างกฎหมายสู่การพิจารณา ซึ่งขณะนี้ทางคปก.มีการร่างกฎหมายและมีข้อเสนอต่อการปรับปรุงกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)จำนวนมาก และยังไม่ได้ถูกนำออกมาสู่การพิจารณาเพื่อบังคับใช้

นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ มองว่ากฎหมายประเทศไทยนั้นมีจำนวนมาก และไม่มีใครรู้ หรือถูกนำมาบังคับใช้ หรือหากมีใครรู้ก็นำมาใช้ต่อเมื่อเป้นประโยชน์กับตน ซึ่งสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนอยู่ในปัจจุบัน ซึ้งคิดว่า กฎหมายที่มีอยู่อาจมีความล่าสมัยควรมีการปรับปรุงใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และควรมีอายุการใช้งานกำหนด เช่นหากภายใน 30 ปีไม่มีการนำมาใช้หรือปรับปรุงก็ให้ถือว่ากฎหมายฉบับนั้นหมดอายุไป จะเป็นเช่นนั้นได้คงต้องมีการกำหนดกฎหมายเพื่อปฏิรูปกฎหมายเกิดขึ้นเพื่อให้มีการนำกฎหมายเก่าของแต่ละหน่วยงานกลับมาพิจารณาปรับปรุงใหม่และกำหนดอายุระยะเวลาการใช้งานของกฎหมาย เป็นการแก้ไขนำกฎหมายที่ล้าหลังมาปรับปรุงหรือยกเลิกโล้ะทิ้ง และร่างกฎหมายใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม หรือภาคประชาชนใช้กฎหมายเข้าชื่อเสนอกฎหมายหนึ่งหมื่นชื่อเสนอกฎหมายเอง หากว่าทำให้เกิดการมีส่วนร่วมจริงตามเจตณารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับรัฐสภาว่าจะเห็นด้วยหรือไม่

20150429_13144320150429_103309

นางมณี บุญรอด เครือกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี นำเสนอว่า ในฐานะประชาชนที่ได้ผลกระทบจากการลงทุน ซึ่งต่อสู้มากว่า 14 ปี กรณีเหมืองแร่โปแตสเซียมที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งการต่อสู้ของชาวบ้านเป็นการต่อสู้ภายใต้การคุ้มครองของรัฐธรรมหมวดที่ว่าด้วยสิทธิชุมชน ที่ให้การคุ้มครองชุมชนมีการพูดสิทธิชุมชนกบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลงทุนใดท่ส่งผลกระทบต่อชุมชนต้องฟังเสียงประชาชนถึงผลกระทบต่องสภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อม เมื่อศึกษาประชาชนให้ยกเลิกเพราะส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ไม่เอาเหมือง มีการประเมินด้านสุขภาพ ผลกระทบ ซึ่งรัฐธรรมนูญเขียนไว้ดี แต่ กฎหมายลูกกลับเอื้อให้ทำได้มีการขุดอุโมงค์ใต้ดิน ซี่งไม่ใช่แต่ที่อุดรเท่านั้นอุโมงค์ใต้บ้าน ใต้เมืองแบบนี้เกิดขึ้นอีก 20 จังหวัด ในภาคอีสาน ตกลงที่ดินเป็นของชาวบ้านแค่ด้านบนหรือ ใต้ดินแร่เป็นของใครรัฐมองแค่ความเติบโตของทุนเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้สนใจประชาชนโยแท้ จึงอยากเห็นรัฐธรรมนูญที่กำหนดไปเลยว่าทำไม่ได้หากการลงทุนใดส่งผลกระทบต่อประชาชน และกฎหมายที่ขัดกับกฎหมายแม่ควรมีการยกเลิกไป และการต่อสู้ทุกวันนี้ของชาวบ้านก็เพื่อรักษาทรัพยากรของประเทศไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า กฎหมายที่ดีต้องกระจายความมั่งคั้งให้กับประชาชน และรับใช้เจตจำนงค์ของประชาชน นำความเป็นธรรมมาให้ประชาชน ความสัมพันธ์ภาพสร้างดุลย์อำนาจเพื่อให้เกิดความเสมอภาค เป็นหลักการในการร่างกฎหมายหมาย และรับธรรมนูญ

20150429_13154520150429_140738

นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ คปก.กล่าวว่า เจตจำนงทางสังคมมีความสำคัญต่อความเสมอภาค การกำหนดในกฎหมาย เช่นให้ทุกคนมีความเท่าเทียมและเสมอภาคกัน แต่ในความเป็นจริงคือทุกคนมีต้นทุนที่ต่างกัน ระหว่างเพศหญิง และเพศชาย ซึ่งในเวลา 4 ปีที่ผ่านมาคปก.ได้ทำให้เห็นถึงการที่มีต้นทุนที่ต่างกันระหว่างเพศ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกเพศ ซึ่งไม่ใช่แต่ผู้หญิง ผู้ชาย ยังมีกลุ่มหลากหลาย กลุ่มเพศภาพ กลุ่มเพศวิถี ซึ่งอยากให้มองว่าไม่ใช่กฎหมายหรือรับธรรมนูญเขียนถึงแค่อันใดอันหนึ่งเพราะเขามีความแตกต่างกัน คปก.กล้าที่จะเสมอให้กฎหมายคู่ชีวิตการรับรองการมีคู่ของกลุ่มเพศภาพ เพศวิถี ซึ่งถือว่าเป็นเสรีในการที่ใครจะมีคู่จะอยู่กับใคร หรือจะไม่มีคู่ก็ได้ ซึ่งคนเหล่านี้ถูกตีตราด้วยกฎหมายเก่าว่าบกพร่องทางจิตถาวร ฉะนั้นการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นการเปิดพื้นที่ให้คนที่มีความเห็นต่างได้มาเจอกัน ได้เสนอข้อคิดเห็น

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่ายังมีกฎหมายที่ยังไม่มีใครทราบว่ามีกฎหมายนี้ด้วยหรืออีกจำนวนมาก และมีบางกฎหมายที่ถูกนำมาใช้เมื่อรู้ว่ามีเพื่อจัดการเล่นงานคนอื่นๆตามที่ตนเองต้องการ การเขียนกฎหมายมาบังคับใช้ตามใจ แต่ไม่มีระบบตรวจสอบ จะตรวจสอบองค์กรที่บังคับใช้กฎหมายอย่างไร หรือว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร กฎหมายที่มีความบิดเบี้ยว ซึ่งกฎหมายในประเทศไทยมีจำนวนมากอยู่แต่ละหน่วยราชการใช้บ้างไม่ถูกนำมาใช้บ้าง วึ่งรูปแบบกฎหมายในหลายประเทศมีการกำหนดวันหมดอายุของกฎหมาย และมีการกำหนดว่ากฎหมายทุกฉบับประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูล ไม่ใช่แค่ประกาศเท่านั้น แต่มีการลงออนไลน์ให้ประชาชนสามารถเข้าไปอ่านหรือนำมาใช้อย่างเข้าถึงได้จริง

นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ความมีอยู่ของคปก.อยากให้เป็นที่แพร่หลายให้ประชาชนรู้จัก และมีอำนาจในการนำเสนอกฎหมายได้จริง คือผ่านเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร โดยไม่ใช่แค่การชี้แนะให้ความเห็น มีหน้าที่ทำงานวิชาการอย่างเดียว และการร่างกฎหมายต้องมีส่วนร่วมของทุกส่วนเพื่อให้เกิดกฎหมายที่ดีๆได้รับการยอมรับปฏิบัติบังคับใช้ได้จริง เป็นธรรม เช่นการที่กฎหมายเขียนระบุเรื่องการเลือกปฏิบัติว่า “เป้นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม” เป็นต้น คิดว่ เขียนเพียง “ห้ามเลือกปฏิบัติ” พอแล้ว และคิดว่าคปกงควรมีอำนาจในการนำเสนอกฎหมายไม่ใช่แค่ร่างกฎหมาย อย่างทุกวันนี้ 4 ปีมีร่างกฎหมายจำนวนมากที่ยังรออยู่ไม่ถูกนำมาพิจารณาจำนวนมาก

20150429_15150820150429_145310

ช่วงบ่าย ได้มีการแบ่งกลุ่มตามยุทธศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ ยุทธสาสตร์ด้านสวัสดิการสังคม และแรงงาน จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน : การปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิต ความเท่าเทียม และเป็นธรรม

นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ในปัจจุบันการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องถึง 30 ฉบับ ซึ่งครอบคลุมบริบทความเป็นอยู่ของประชาชนหลากหลายกลุ่ม อาทีเด็ก คนทำงาน สตรี คนพิการ และผู้สูงอายุ แต่กฎหมายเหล่านี้กระจายอยู่หลายหน่วยงาน ทำให้สวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับไม่ครอบคลุมทั่วถึง มีข้อจำกัดการดูแลกลุ่มเฉพาะ กลุ่มพิเศษ แม้การจัดสวัสดิการสังคมบางประเภทจะเป็นแบบถ้วนหน้าก็ตาม แต่ยังมีข้อแตกต่างเหลื่อมล้ำในการได้รับสวัสดิการ แม้จะมีกฎหมายส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมปี 2546 แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านกลไกและการบริหารจัดการงานสวัสดิการสังคมที่ยังไม่สามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบังคับใช้ได้อยางแท้จริง คปก.ได้มีการดำเนินการรวบรวมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอ ผ่านอนุกรรมการ 4 คณะ ในการร่างข้อเสนอปฏิรูปกฎหมาย ด้านสวัสดิการ ซึ่งประกอบด้วย

1. กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูประบบประกันสังคม ซึ่งเป็นรากบานของคนทำงานทั้งในระบบ นอกระบบ และยังเป็นร่างที่มีการล่าลายมือชื่อของประชาชน แต่กลับถูกรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ยอมรับร่างดังกล่าว

2. ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และร่าง พ.ร.บ.บริหารแรงงาน พ.ศ. …. จากการศึกษาพบปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน ซึ่งมีจำนวนมาก จำเป็นที่ที่ทควรมีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายแรงงานทั้งระบบ และแยกร่างพ.ร.บ.บริหารแรงงาน พ.ศ. …. อีกฉบับเพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริม และคุ้มครองคุณภาพชีวิตที่ดี

ส่วนร่างประมวลกฎหมายแรงงาน มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นนิยามนายจ้าง ลูกจ้างใหม่ เป็นผู้จ้างงาน และผู้ทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

3. ข้อเสนอให้บัญญัตอในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อปฏิรูปศาลแรงงาน…โดยแยกศาลแรงงานออกจากศาลยุติธรรม โดยมีเหตุผลความจำเป็นที่ควรต้องแยก เพราะคดีแรงงานมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญา กระบวนการพิจารณาคดีแรงงานควรเป็นระบบไต่สวนหาความจริง และระบบบริหารข้าราชการตุลากร ให้เป็นศาลชำนาญพิเศษด้านแรงงานจำเป็นที่ผู้พิพากษาต้องเป็นผู้มีองค์ความรู้ และทักษาะเฉพาะ ซึ่งต้องมีความก้าวหน้าในหน้าที่ด้วย

4. บัณทึกความเห็นข้อเสนอแนะเรื่องแนวทางจัดทำร่างกฎหมายกลางระบบสวัสดิการสังคม วึ่งตรงนี้มีกฎหมายกว่า 70 ฉบับที่มีความเกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมและอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐ 19 กระทรวง แต่ยังมีข้อจำกัดในการดูแลไม่ทั่วถึง เป็นต้น การจัดทำกฎหมายกลางว่าด้วยการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการจัดการสวัสดิการสังคมทั้งส่วนของภาครัฐ และประชาชน

5. การพัฒนา ร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน ก้เป็นการพูดถึงการดูแล คุ้มครอง คปกงมีการแต่งตั้งอนุกรรมการด้านประชาคมอาเซียนเพื่อศึกษา สถานการณ์ปัญหา การทำงานร่วมกับเครือข่ายทั้งใน และต่างประเทศ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดทำร่างข้อตกลง อาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน

6. ปฏิรูปกฎหมายสิทธิ และสวัสดิการผู้สูงอายุ.. ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุพ.ศ. …. ด้วยโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มขึ้น แต่การดูแลผู้สูงอายุยังกระจัดกระจายหลายรูปแบบ อีกทั้งยังอยู่ในความรับผิดชอบของหลายกระทรวงอีก

7. การสร้างเสริมหลักประกันที่เป็นธรรมในการคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการทางสาธารณสุข ซึ่งภาคประชาชนได้เข้าชื่อเสนอกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขต่อรัฐสภา และรัฐได้ยืนยันรับรองให้นำสู่การพิจารณา แต่ผ่างไปหลายปีไม่มีการนำเสนอร่างกฎหมาย จึงตั้งอนุกรรมการพิจารณากฎหมายฯโดยเฉพาะเพื่อศึกษาจัดทำร่างกฎหมายอีกฉบับ

8. กรณีอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กถ้วนหน้า มีข้อเสนอให้รัฐบาลจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด้กเล็กถ้วนหน้าในเด็กช่วงอายุ 0-6 ปี คนละ 600 บาทต่อคนต่อเดือน เพราะช่วงนี้ของวัยเด้กมีความสำคัญต่อการพัมนาทางด้านร่างกาย จิจใจ อารมณ์และสติปัญญา

โดยเวทีได้มีการเปิดอภิปรายแลเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วม โดยสรุปว่า บทบาทของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายนั้นในการทำหน้าที่มีการสร้างการมีส่วนร่วมทำให้ประชาชนสามารถนำเสนอข้อกฎหมายได้ แต่ยังขาดอำนาจจริงในการเสนอปฏิรูปกฎหมาย จึงเสนอให้มีกฎหมายปฏิรูปเพื่อให้คปกงมีอำนาจเสนอกฎหมายได้จริง และเสนอให้มีการปฏิรูประบบสวัสดิการทั้งระบบเพื่อให้เกิดความถ้วนหน้าไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบรัฐสวัสดิการ แบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ข้อเสนอด้านรายได้รัฐต้องปฏิรูประบบภาษี ปฏิรูประบบที่ดินเพื่อกระจายการถือครอง และจัดสวัสดิการให้กับทุกคนให้ถ้วนหน้า และหากพูดถึงสวัสดิการถ้วนหน้าดั่งเช่นแนวคิด ดูแลตั้งแต่จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ต้องมีการปฏิรูปทั้งระบบ ตั้งแต่เริ่มจนเสียชีวิต เด็กต้องได้เรียนอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมการมีงานทำและการคุ้มครอง ระบบรักษาพยาบาลการดูแลและป้องกัน สูงอายุมีได้รับสวัสดิการเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นต้น

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน