24  องค์กร ร่วมหนุนนโยบาย เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า ลดความเลื่อมล้ำ

24  องค์กร ร่วมหนุนนโยบาย เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า ลดความเลื่อมล้ำ สร้างจุดเริ่มต้น สวัสดิการคุ้มครองทางสังคมทั้งระบบ
21 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลดิ์ เครือข่ายเด็กเล็กถ้วนหน้า 24 องค์กร ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน  และครอบครัว เครือข่ายแรงงานในและนอกระบบ เครือข่ายสุขภาพ เครือข่ายสถาบันวิชาการและการศึกษา เครือข่ายสลัม 4 ภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดเวทีสัมนา เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า : จุดเริ่มต้นการคุ้มครองทางสังคมทั้งระบบ นำเสนอผลการประเมินผลกระทบโครงการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าทั้งในและต่างประเทศ พบตรงกัน การจัดสวัสดิการให้เด็กเล็กทุกคน สร้างประโยชน์กว่าจำกัดเฉพาะกลุ่มเด็กยากจน
 
ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง กล่าวว่า โครงการเงินอุดหนุนฯ บรรลุวัตถุประสงค์หลัก เช่น พบว่าช่วยพัฒนาด้านโภชนาการในกลุ่มเด็กยากจน ซึ่งครึ่งหนึ่งของเด็กที่ยากจนมีภาวะผอมแห้ง  ทำให้แม่เข้าถึงบริการสาธารณสุขก่อนคลอด ส่งผลดีต่อภาวะโภชนาการของแม่ ซึ่งมีผลทำให้เด็กมีสุขภาพดีขึ้น และแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น ฯลฯ ดังนั้น การจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า คือการลงทุนสร้างประชากรและเป็นจุดเริ่มต้นการคุ้มครองทางสังคมทั้งระบบ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงระบบหลายด้าน เกิดระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ไม่มีเด็กตกหล่น และสามารถส่งต่อข้อมูลเชื่อมกับระบบการศึกษา ประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นฐานของการสร้างระบบรัฐสวัสดิการในอนาคตของการพัฒนาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ด้าน ดร. ไมเคิล แซมซั่น (Dr.Michael Samson,Econnomics Policy and Research Institute) สนับสนุนว่า แม้ประเทศไทยจะสามารถทำให้คนจนที่ได้รับเงิน ภายใต้กรอบเงื่อนไข และคุณสมบัติที่กำหนด เผชิญภวะตกหล่นเพียง 30 % ขณะที่หลายประเทศอยู่ที่ 40 % แต่กระบวนการคัดกรอง ที่ยิ่งเข้มงวด ก็จะยิ่งกีดกันไม่ให้คนจนเข้าถึงเงินอุดหนุนมากกขึ้น ตกหล่นมากขึ้น การคัดกรองจะเป็นการตีตราคนจน แต่การใช้หลักการอุดหนุนถ้วนหน้า จะเป็นก้าวสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอย่างถ้วนหน้า
ด้านนายวิทัศน์ เตชะบุญ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้มุมมองว่า การขยายสิทธิเรื่องเงินอุดหนุนเด็กยังได้รับสิทธิเหมือนเดิม แต่ปรับปรุงให้เพิ่มข้อมูลในการคัดกรองรายได้ ซึ่งวันที่ 23 พฤษภาคมนี้จะไปพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นการเตรียมถ่ายโอนไปที่ท้องถิ่น โดยต่อไปขึ้นทัเบียนได้ไม่ต้องมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเป็นการนำร่อง เรื่องการโอนเข้าบัญชีผู้รับสิทธิ ถือเป็นการนำร่องที่ได้ผล ซึ่งคงไม่ทันในปี 2562 คงเป็นปี 2563 ด้วยปี 2561 ได้มีการของบประมาณไปแล้วในการจัดการผ่านระบบเดิมไปก่อน
เมือถ่ายโอน จะไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ หรือปัญหาคอรับชั่นด้วยป่านระบบบัญชี ขณะนี้มีจำนวนไม่มาดหนักที่ไม่มีบัญชีเงินฝากเพื่อการโอนเงินเข้าระบบ
โดยการลงทะเบียนที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีการเชื่อมระบบข้อมูล ซึ่งเห็นด้วยกับทุกข้อที่เสนอ แต่ว่าจะต้องมาคุยกันในเชิงระบบ เรื่องฐานภาษี และสวัสดิการถ้วนหน้า ตั้งเป้าหมายว่า 20 ปีข้างหน้า คนไทยจะมีที่อยู่ถ้วนหน้า โครงการต่างๆ ทั้งระบบ เหมือนกับการเริ่มต้นเบี้ยชราภาพที่ได้ทุกคน ซึ่งขณะนี้เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดจริงแล้วควรดูแลตั้งแต่ในครรภ์เลย ซึ่งปัจจุบันไม่ได้จำกัดจำนวนเด็กว่าจะกี่คน แต่อายุไม่เกิน 3 ปี อย่าเข้าใจผิด ให้ตามสิทธิจำนวนเด็กที่เกิด ตอนนี้วงเงินยังจำกัดอยู่ตามระเบียบเดิม ซึ่งหากปรับก็ขอให้เป็นถ้วนหน้าก่อนแล้วค่อนขยายวงเงินจาก 600 บาท จาก 0-3 ปี เป็น 6ปี เป็น 800 บาท แบบค่อยเป็นค่อยไป และอยากให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ แต่บางทีก็ยังเข้าไม่ถึง ปัญหาการเงินเน้นการเข้าบัญชีทั้งหมด เพราะกลัวเงินหายระหว่างทาง แต่บางคนไม่เคยไปธนาคาร ต้องจ่ายเช็ดให้ที่บ้าน แต่เราอยากให้เงินเข้าบัญชีทั้งหมด รวมทั้งเงินอุปถัมภ์ ต่อไปก็จะเข้าสู่ท้องถิ่น คิดว่าไม่เป็นปัญหา
การเป็นถ้วนหน้าอาจจะไม่ได้ทันที ต้องช่วยกันพูดดังๆ ไปให้ถึงทำเนียบ ถ้ามีผู้แทนของเครือข่ายไปช่วยกันให้ข้อมูลก็จะทำให้เสียงดัง ตามที่สังคม สะท้อนความจำเป็นและเหตุผล การมองเรื่องความเป็นสิทธิ เราไม่ได้มองการสงเคราะห์ เป็นไปได้อยากให้เป็นสิทธิ การเสนอต้องมีข้อมูลสนับสนุน บรรยากาศค่อนข้างดีขึ้น ในสังคมไทย
ภายในงานมีการฉายภาพ การติดตามผลของโครงการอุดหนุนฯ ในพื้นที่ต่างๆ และมีการเสวนา “เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อการเติมเต็มระบบความคุ้มครองทางสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย Mr.Nuno Cunha ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านความคุ้มครองทางสังคมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) นางสาวสุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ  ร่วมเสวนาและดำเนินรายการโดย นางสุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
ทั้งนี้ นางสุนี ไชยรส ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า สิ่งที่คาดหวังคือ เราจะมองระบบประกันสังคมนี้อย่างไร เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า ให้ไปเลย และคนในประกันสังคมก็ได้สองต่อ เพราะประกันสังคมเป็นส่วนที่เขามีการจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคมมีอยู่กับ 12 ล้านคนและแรงงานนอกระบบ 20 กว่าล้านคน ข้อต่อสำคัญ คือ คนทำงานนอกระบบ แรงงานในระบบ สามารถมีหลักประกัน ทำอย่างไรให้ขยายวง รวมทั้งลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ สังคมไทยมีฐานทางสังคมมาเยอะ ทั้ง การศึกษาฟรี ผู้สูงอายุ และสุขภาพ ไม่ใช่เริ่มต้นจาก 0 ต้องรับก่อนว่า ให้ทุกคน อย่าเถียงกันว่า ทำไมต้องให้คนรวย เป็นเพียงฐานเล็กๆ แต่คนจนต้องมีหลายฐานที่เขาจะได้รับเพิ่มเติม เสียงของแม่คนนึง พูดว่า เงินอุดหนุนเด็กคือให้เด็ก เด็กทุกคนควรมีสิทธิพื้นฐานด้วยกัน  คนจนไม่ได้รังเกียจลูกคนรวย เพราะมันเป็นสิทธิของเด็ก ซึ่งต้องก้าวข้ามวิธีคิดเรื่องการสงเคราะห์ ต้องยอมรับว่า มันคือการยอมรับคุณภาพชีวิตของผู้คน
การคุ้มครองทางสังคมทั้งระบบ เงินเด็กมันตอบเรื่องนี้อย่างไร ปัญหาที่แต่ละกลุ่มที่พูด ฐานข้อมูลเด็กในประเทศไทย ไม่สมบูรณ์ ถ้าเรายอมรับให้เด็กเข้าถึง จะไม่มีเด็กคนไหนถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
ฐานข้อมูลจะนำไปจัดการในเชิงนโยบายอื่นๆ อีกต่อไป
วันนี้เราได้ทำให้เด็กจำนวนหนึ่ง ถูกเลือกปฏิบัติไปเลย เพราะเมื่อเกิดมาก็ถูกตีตราว่า ลูกคนจน คนที่ได้เงินอุดหนุนถูกตีตราว่า ลูกคนจน และพ่อแม่ไม่อยากไปขอ เพราะมันต่ำต้อย ไม่มีศักดิ์ศรี คำว่า “จนแล้วชอบมาขอ” ถูกตีตรา เป็นเรื่องใหญ่ในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำไมต้องแบ่งให้เป็นเหล่านี้
ตอนนี้มีกระบวนการจะตรวจสอบใหม่ ก็ต้องดูว่า กระบวนการเช่นนี้ จะนำไปสู่การซ้ำเติม ทำไมเราจึงเอาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ตีทะเบียนคนจนทั่วประเทศ มีปัญหาในตัวของมันเอง
การเอาเงินอุดหนุนเด็ก ไปผูกกับบัตรสวัสดิการ เป็นการทำให้ปัญหาทวีคุณ และต้องทบทวน เพราะเป็นการจัดกล่องคนจน มีปัญหาทั้งแกนการจัดการ ปัญหาทางปฏิบัติ ทำให้คนทำงานทั้งในระบบ และนอกระบบ แค่ทำให้เป็นเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า จะเป็นการต่อยอดสิ่งที่ดี และกวนบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง เพราะกำลังตีตราคนจนทั้วประเทศ ยังไม่นับว่า เงินที่ให้ไปนั้นจะคุ้มค่า สอดคล้องหรือไม่