แรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่เสนอประชาธิปไตย แท้ ต้องมีส่วนร่วม

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2554 กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสภาพัฒนาการเมือง จัดเวที พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สัญจร สอนประวัติศาสตร์ สร้างสำนึกประชาธิปไตย ณ ตลาดพันล้าน ตำบลอ้อมน้อย จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมราว 100 คน

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กรรมการสภาพัฒนาการเมืองตัวแทนฝ่ายแรงงานได้กล่าวว่า ตัวแทนสภาฯมาจากการคัดสรรหาจากแต่ละจังหวัด และยังประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาอาชีพเข้าไปเป็นตัวแทนรวมทั้งหมด 120 คน สภาพัฒนาการเมืองทำหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง การเสนอกฎหมายเป็นต้น

การให้การศึกษาทางการเมือง เช่น สิทธิการเลือกตั้ง เป็นสิทธิพลเมือง แรงงานมีสิทธิในการเลือกตั้งอีกคนหนึ่ง ซึ่งการเลือกคนมาออกกฎหมาย มาออกกฎระเบียบกำหนดสิทธิสวัสดิการให้กับประชาชน เช่นที่ขบวนการแรงงานได้มีการเสนอกฎหมายประกันสังคมผ่านการล่าลายมือชื่อเสนอผ่านสภา และยังมีการเสนอต่อพรรคการเมืองให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงลายมือชื่อ 20 ชื่อเสนอเข้าสภา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประชุมพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. และมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ใช้การเสนอผ่านส.ส.

10 ทศวรรษ สตรีสากล เปิดสถานการณ์แรงงานหญิง ข้อเสนอต่อรัฐบาล

จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 รายงานว่า “ประเทศไทยมีแรงงานสตรีอยู่ในระบบจำนวน 6.33 ล้านคน และมีแรงงานสตรีอยู่นอกระบบอีก 11.09 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานสตรีที่อยู่ในความคุ้มครองดูแลของกระทรวงแรงงานประมาณ 3.8 แสนคนเท่านั้น อีกทั้งปัจจุบันสตรีกับสถานภาพการทำงานยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ แม้ว่าจะได้รับการศึกษาสูงและบางคนประสบความสำเร็จในการทำงาน แต่สตรีที่เป็นแรงงานอีกจำนวนมากก็ยังคงต้องทำงานหนัก ค่าตอบแทนและประเภทของงานไม่ได้รับการยอมรับให้มีสถานะเท่าเทียมชาย ลักษณะงานของแรงงานสตรี ยังเป็นแบบเก่าที่สืบเนื่องทักษะมาจากงานภาคเกษตร เป็นงานละเอียดอ่อนใช้ทักษะมือ ทำงานซ้ำ ๆ ในลักษณะเดิมแบบสายพานการผลิต ไม่ต้องมีการวางแผนหรือใช้ระบบคิด” ในขณะที่รัฐบาลบอกว่าเศรษฐกิจ และการจ้างงานกำลังขยายตัวในเชิงภาพรวม แต่แรงงานสตรี ซึ่งเป็นกำลังการผลิตทั้งใน และนอกระบบที่มีมากถึง 17.42 ล้านคน กำลังเผชิญปัญหาสำคัญในหลายประการ กล่าวคือ

กรรมาธิการพิจารณาร่าง ประกันสังคม ข้อสงสัยวันนี้ แรงงานต้องการคำตอบ

นับแต่เวทีสมัชชาแรงงานกับการปฏิรูปประกันสังคม เมื่อวันที่13 มกราคม 2554 ซึ่งนายกอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ได้มาเป็นประธานเปิดงาน และรับข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานเรื่องประกันสังคมห้าข้อ คือ หนึ่ง กฎหมายประกันสังคมจะต้องเป็นองค์กรอิสระ สอง ความโปร่งใสมีกระบวนการตรวจสอบ สาม บัตรเดียวรักษาได้ทุกโรงพยาบาลคู่สัญญา การขยายการคุ้มครองและเพิ่มสิทธิประโยชน์ สี่ หนึ่งคนหนึ่งเสียงในการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ห้า ประกันสังคมถ้วนหน้าเพื่อคนทำงานทุกคน นี่คือประเด็นที่ท่านนายกได้รับข้อเสนอ และส่งต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน โดยผ่านร่างพรบ.ประกันสังคม ฉบับรัฐบาล และของพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนคร มาฉิม และ สส.20 รายชื่อ ในขณะเดียวกันเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันเสนอร่างกฎหมายประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน ผ่านช่องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสถาพร มณีรัต ชลน่าน ศรีแก้ว สุชาติ ลายน้ำเงิน และสส.20 รายชื่อพรรคเพื่อไทย อีกทั้งการยื่นร่างกฎหมายฉบับนี้ฯยังมีเนื้อหาเสนอผ่าน ดร.สุเมธ ฤทธาคนี ประธาน คณะกรรมาธิการ การแรงงานสภาผู้แทนราษฎร โดยร่างกฎหมายฯทั้ง4 ร่าง ปัจจุบันได้ผ่านเข้าสู่การพิจารณารับหลักการวาระที่1 และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ..ประกันสังคม พ.ศ. …เมื่อมกราคม 2554 ที่ผ่านมา

คสรท.ตั้ง“คำถามถึงกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม”

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 12 มีนาคม 2554 คระกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมีการจัดเวทีแถลงข่าว ชำแหละกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพราะราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. โดยคุณชาลี ลอยสูง ประะานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย คุณชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ รองประธนฯและตัวแทนในกรรมาธิการ ได้ร่วมกันแถลงดังนี้

เมื่อวันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม 2551 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา ในนโยบาย 9 ด้านที่รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อสร้างเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อประชาชนไทย หนึ่งในนั้นคือ นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อ 3.2 เรื่องนโยบายแรงงาน ซึ่งระบุในข้อ 3.2.2 ว่า “รัฐบาลจะปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส และขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วย รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน”