ไอแอลโอ ปรับลดประมาณการการฟื้นตัวของตลาดแรงงานปี 2565

รายงานแนวโน้มการจ้างงานทั่วโลกและประเด็นสังคม 2565 (World Employment and Social Outlook Trends 2022) ของไอแอลโอ เตือนการฟื้นตัวเป็นไปอย่างช้าและไม่แน่นอน เนื่องจากการระบาดใหญ่ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดแรงงานทั่วโลก

วันที่ 17 มกราคม 2565 (ข่าวไอแอลโอ (เจนีวา)) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ได้ปรับลดประมาณการการฟื้นตัวของตลาดแรงงานในปี 2565 โดยคาดการณ์จำนวนชั่วโมงการทำงานทั่วโลกลดลงเทียบเท่ากับงานเต็มเวลาจำนวน 52 ล้านตำแหน่งซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาส 4 ของปี 2562 ประมาณการก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน พฤษภาคม 2564 ได้คาดการณ์การลดลงของงานเทียบเท่ากับงานเต็มเวลาจำนวน 26 ล้านตำแหน่ง 

แม้ว่าตัวเลขประมาณการล่าสุดเป็นการปรับปรุงจากสถานการณ์ในปี 2564 แต่ประมาณการล่าสุดนี้ยังคงต่ำกว่าจำนวนชั่วโมงการทำงานทั่วโลกช่วงก่อนการระบาดใหญ่เกือบร้อยละ 2 ตาม แนวโน้มการจ้างงานทั่วโลกและประเด็นสังคม 2565(WESO Trends) ของไอแอลโอ

มีการคาดการว่าการว่างงานทั่วโลกจะยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 จนถึงปี 2566 เป็นอย่างน้อย มีการประเมินว่าระดับการว่างในปี 2565 อยู่ที่ 207 ล้านคน เทียบกับ 186 ล้านคนในปี 2562 รายงายของ ไอแอลโอ ยังเตือนด้วยว่าผลกระทบโดยรวมต่อการจ้างงานมีมากกว่าตัวเลขที่แสดงไว้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากหลายคนได้ออกจากกำลังแรงงาน มีการคาดการว่าอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานทั่วโลกในปี 2565 จะยังต่ำกว่าอัตราในปี 2562 ที่ 1.2 จุดร้อยละ

การปรับลดการประมาณการในปี 2565 ในระดับหนึ่งสะท้อนผลกระทบที่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ของโรคโควิด 19 อาทิ สายพันธุ์เดลต้าและสายพันธ์โอมิครอน มีต่อโลกของการทำงานรวมถึงความไม่แน่นอนอย่างมากเกี่ยวกับระยะเวลาการระบาดใหญ่ในอนาคต

รายงานแนวโน้มการจ้างงานทั่วโลกและประเด็นสังคม (WESO Trends) เตือนถึงความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในแง่ผลกระทบที่วิกฤตการณ์มีต่อกลุ่มแรงงานและประเทศต่างๆ  ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้ความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศมากขึ้นไปอีก และทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเงิน และสังคมของเกือบทุกประเทศอ่อนแอลง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพแห่งการพัฒนาใด ความเสียหายนี้อาจต้องใช้เวลานานนับปีในการซ่อมแซมซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงาน รายได้ครัวเรือนและความสมานฉันท์ทางสังคมและ เป็นไปได้ ทางการเมือง

ผลกระทบต่างๆ เป็นที่รู้สึกได้ในตลาดแรงงานในทุกภูมิภาคทั่วโลก แม้จะสังเกตเห็นความแตกต่างอย่างมากของรูปแบบการฟื้นตัว ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือกำลังมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีที่สุด ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ละตินอเมริกาและแคริบเบียนมีแนวโน้มเชิงลบมากที่สุด ในระดับประเทศ การฟื้นตัวของตลาดแรงงานแข็งแกร่งที่สุดในประเทศที่มีรายได้สูง ในขณะที่เศรษฐกิจที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำมีการฟื้นตัวของตลาดแรงงานน้อยที่สุด

รายงานระบุว่าผลกระทบของวิกฤตซึ่งมีผลต่อการจ้างงานแรงงานหญิงเป็นอย่างมาก คาดว่าจะคงอยู่ต่อไปอีกในปีต่อๆ ไป ในขณะที่การปิดสถาบันการศึกษาและการอบรม “จะมีผลกระทบระยะยาวต่อเนื่อง” สำหรับเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต 

“สองปีที่เข้าสู่วิกฤตนี้ แนวโน้มยังคงเปราะบางและเส้นทางสู่การฟื้นตัวยังคงเป็นไปอย่างช้าและไม่แน่นอน” นายกาย ไรเดอร์ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การแรงงานระหว่างประเทศกล่าว “เราเห็นความเสียหายที่อาจจะคงอยู่กับตลาดแรงงาน ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของความยากจนและความเหลื่อมล่ำแล้ว แรงงานหลายคนจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่เพื่อ – ยกตัวอย่างเช่น รับมือกับการตกต่ำยาวนานของการเดินทางระหว่างประเทศและการท่องเที่ยว”

“มันไม่สามารถมีการฟื้นตัวอย่างแท้จริงจากการระบาดใหญ่ โดยปราศจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงานในวงกว้าง และเพื่อความยั่งยืน การฟื้นตัวนี้จะต้องตั้งอยู่บนฐานของหลักการต่างๆ ของงานที่มีคุณค่าซึ่งรวมถึง ความปลอดภัยและสุขภาพ ความเท่าเทียม การคุ้มครองทางสังคมและการเจรจาทางสังคม”

รายงานแนวโน้มการจ้างงานทั่วโลกและประเด็นสังคม (WESO Trends) รวมการประเมินตลาดแรงงานที่ครอบคลุมสำหรับปี 2565 และ 2566 รายงานให้การประเมินการฟื้นตัวของตลาดแรงงานว่าเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างไร สะท้อนแนวทางระดับประเทศที่ต่างกันต่อการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่และการวิเคราะห์ผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานและภาคการผลิตต่างๆ 

รายงาน ไอแอลโอ แสดงให้เห็นว่า เช่นเดียวกับวิกฤตครั้งก่อนๆ การจ้างงานชั่วคราวเป็นตัวกันชนจากแรงกระแทกของการระบาดใหญ่สำหรับบางคน แม้ว่างานชั่วคราวหลายตำแหน่งได้ถูกยกเลิกหรือไม่ได้รับการต่อสัญญาใหม่ แต่ก็เกิดทางเลือกอื่น รวมถึงกลุ่มแรงงานที่ตกงานจากงานประจำด้วย โดยเฉลี่ย อุบัติการการทำงานชั่วคราวไม่ได้เปลี่ยนแปลง

รายงานแนวโน้มการจ้างงานทั่วโลกและประเด็นสังคม (WESO Trends) ยังเสนอบทสรุปที่เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญที่มุ่งไปที่การสร้างการฟื้นตัวจากวิกฤตทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างครอบคลุมและเน้นคนเป็นศูนย์กลาง ข้อเสนอเหล่านี้อิงตาม หลักการดำเนินการเพื่อการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด 19 โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง ครอบคลุม ยั่งยืนและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ที่ได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกของ ไอแอลโอ 187 ประเทศ เมื่อเดือนมิถุนายน 2564

—————————————–

This electronic message may contain confidential, proprietary or privileged information intended solely for the use of the named recipient. The ILO is not liable for any error or virus connected with this transmission.

—————————————–

Ce message électronique peut contenir des informations confidentielles, ou spécialement protégées, à la seule intention du destinataire. L’OIT ne peut être tenue responsable des erreurs ou des virus qui s’y trouveraient.

—————————————–

Este mensaje electrónico puede contener información confidencial o especialmente protegida para el uso exclusivo del destinatario indicado. La OIT no se responsabiliza en caso de error o virus.

—————————————–