แรงงานเสนอเพิ่มเนื้อหารัฐธรรมนูญ หนุนมาตรา 121 (3)

20150501_092719

2 เครือข่ายแรงงาน ตบเท้ายื่นข้อเสนอสนับสนุนรัฐธรรมนูญมาตรา 121 (3) ที่เปิดโอกาสให้มีการสรรหาองค์กรตัวแทนด้านแรงงาน ด้านเกษตร ด้านวิชาการ ด้านชุมชนท้องถิ่น พร้อมเสนอเพิ่มจำนวน แถมเรียกร้องสิทธิการเลือกตั้งตัวแทนทั้งท้องถิ่น ระดับประเทศในพื้นที่ทำงาน

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านต่างๆ นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสรส. และน้องสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคสรท.ได้เข้ายื่นหนังสือ เพื่อขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ และขอให้คงไว้ซึ่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 121 (3) ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต่อศาสตราจารย์ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยสรส.เสนอเนื้อหาให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

20150501_11361120150501_101953

1. ให้ตัดถ้อยคำท้ายของทุกมาตราที่เขียนว่า “ทั้งนี้ตามที่กำหมายบัญญัติ” ออกไป คือ ภาค 1 หมวดประชาชน ส่วนที่ 2 สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วมทางการเมือง และส่วนที่ 4 การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ด้วยมีเหตุผลดังนี้ เพื่อไม่ให้บรรดาสมาชิกและสภาผู้แทนราษฎรที่เข้ามาออกกฎหมายภายหลังไปออกกฎหมายลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของพลเมืองให้น้อยลง เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของพลเมืองตามเจตจำนงค์แห่งรัฐธรรมนูญนี้ และเพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด หากชอบหรือไม่ชอบสามารถร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเขียนไว้อีก ประกอบกับเมื่อสภาผู้แทนราษฎรหลังจากการเลือกตั้งแล้วไม่ออกกฎหมายรับรองหรือออกช้าผลในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญก็บังคับใช้ไม่ได้จริง แม้รัฐธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้แล้วจึงขัดกับเจตนารมณ?ของรฐธรรมนู

2. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 91 ภาค 2 ผู้นำทางการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ดังนี้ รัฐต้องรัฐษาไว้ซึ่งรัฐวิสาหกิจ บริหารจัดการอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพและยกระดับหลักธรรมาภิบาลให้ได้ระดับสากล เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน และต้องมิให้รัฐวิสาหกิจอยู่ในความผูกขาดของเอกชน เหตุผลประกอบดังนี้ เพื่อต้องการรักษาสมบัติของประเทศชาติ มิให้ผู้กขาดโดยเอกชน นายทุนหรือกลุ่มทุนที่จะกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและความมั่นคงของชาติ พร้อมกับให้เป็นองค์การของรัฐที่พร้อมขับเคลื่อนนโยบายให้กับรัฐบาลในการพัฒนาประเทศในภาวะปกติ และฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ

3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 92 วรรคแรก ภาค 2 ผู้นำทางการเมืองที่ดี และสถาบันการเมืองหมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ดังนี้ ให้การปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงธรรมชาติอื่นเป็นทรัพยากรของชาติ รัฐต้องดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน และจะให้เอกชนไปดำเนินการเพื่อแสวงหากำไรส่วนตนมิได้ เหตุผลคือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางเศรษฐกิจของประชาชนและความมั่นคงของชาติด้านพลังงาน

4. แก้ไขเพิ่มมาตรา 108 (3) ภาค 2 ผู้นำทางการเมือง และสถาบันการเมือง หมวด 3 รัฐสภาส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎรให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อความเดิม แก้ไข มีที่อยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง แต่หากไปประกอบอาชีพหรือไปอาศัยอยู่ในที่อื่นเกินหนึ่งปี ก็ให้ขึ้นทะเบียนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตที่ประกอบอาชีพที่อยู่อาศัย สำหรับผ฿มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ลงทะเบียนแสดงความจำนงว่าจะออกเสียงลงคะแน ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนเลือกตั้ง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ การออกเสียงการลงคะแนนและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎ และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

5. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 121 (3) หมวด 3 รัฐสภา ส่วนที่ 3 วุฒิสภา ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีจำนวน 200 คน โดยมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคนจากรายชื่อที่ได้รับการกลั่นกรองแล้ว รวม 77 คน และมาจากการสรรหาหรือเลือกกันเอง 173 คน โดยแบ่งเป็นอดีตปลัดกระทรวง 10 คน อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ 10 คน ผู้แทนสมาคมวิชาชีพต่างๆ 15 คน ผู้แทนองค์กรด้านเกษตร ด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านชุมชนและท้องถิ่น 30 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ 58 คน จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติมาตรานี้ได้เปิดโอกาสสำคัญให้มีตัวแทนด้านแรงงานในวุฒิสภา เพื่อจะได้ทำหน้าที่สื่อสารประเด็นปัญหาของกลุ่มแรงงานให้ได้รับการแก้ไขได้อย่างเป็นประโยชน์และเป็นรูปธรรมชัดเจน

DSC08246 20150501_092629

ขอสนับสนุนให้คงเจตนารมเดิมมาตรา 121 (3)ไว้ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานและองค์กรด้านอื่นๆสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐสภา อันจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มแรงงานและกลุ่มอื่นๆเป็นอย่างยิ่ง และขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้นในสัดส่วน คือ ให้เพิ่มเติมจำนวนสมาชิกวุฒิสภาผู้แทนราษฎรด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งเลือกกันเองจำนวน 30 คนเป็น 44 คน โดยลดจำนวนจาก (4) จาก 58 คน ให้เหลือ 44 คนเท่าๆกัน

เหตุผลประกอบดังนี้ การคัดเลือกผู้แทนกลุ่มต่างๆ ต้องคำนึงถึงสัดส่วน จำนวนของพลเมืองในกลุ่มนั้นๆด้วย ประเทศไทยพลเมืองส่วนใหญ่เป็นด้านเกษตรกร และด้านแรงงาน ซึ่งมีอยู่ในวัยกำลังทำงานถึงประมาณ 40 ล้านคน

6. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 279 ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง หมวด 2 การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรม ส่วนที่ 1 สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ขอให้เพื่อข้อความต่อจากวรรคแรก เพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินการปฏิรูปประเทศให้ต่อเนื่องจนบรรลุผล ให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ จำนวนไม่เกิน 120 คน ประกอบด้วย

1. ผู้แทนด้านเกาตรกร ด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านศาสนา ชุมชนท้องถิ่นจำนวน 30 คน

2. สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน 30 คน

3. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวน 30 คน

4. ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆจำนวน 30 คน

เหตุผลประกอบดังนี้ การลดความเหลื่อมล้ำต้องได้รับข้อมูลที่เป็นจริง จากผู้แทนพลเมืองที่มีความรู้จริงประสบการณ์ตรงเข้ามามีส่วนให้ข้อมูล และเป็นการขยายการมีส่วนในการแก้ปัญหาด้วย ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงได้มีส่วนร่วมตามหลักการประชาธิปไตยทางตรงมากขึ้น

7. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 292 (2) ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง หมวด 2 การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมส่วนที่ 2 การปฏิรูปต่างๆขอแก้ไขเพิ่มเติมโดยขอให้ตัดข้อความว่า “ทบทวนความจำเป็นในการดำเรงอยู่ของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง” ออกไป และให้ฝช้ข้อความดังต่อไปนี้  “(2) รัฐต้องดำเนินการให้มีการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ โดยต้องกำหนดเป้าหมายการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจอย่างชัดเจน และยกระดับธรรมาภิบาลของรัฐวิสาหกิจให้ได้ระดับสากล เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน

เหตุผลประกอบดังนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ และผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม โดยเฉพาะเรื่องสาธารณปโภคไม่ให้ไปผูกขาดโดยนายทุนเอกชน และทุนข้ามชาติ และเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติด้วย

ด้านคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ยื่นหนังสือ 2 ฉบับ ต่อดร.บวรศักดิ์ สุวรรณโณ ประธานกรรมาธฺการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย เพื่อขอให้แก้ไขเพิ่มร่างรัฐธรรมนูญ โดย ฉบับหนึ่งขอให้การสนับสนุนให้คงไว้ซึ่งบทบัญญํติรัฐธรรมนูญมาตรา 121 (3) และขอให้เพิ่มเติมจำนวนสมาชิกวุฒิสภาผู้แทนราษฏร ด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านชุมชน และด้านทั้งถิ่นซึ่งเลือกกันเองจำนวน 30 คน เป็น 44 คน โดยลดจำนวนจาก (4) จากจำนวน 58 คน ให้เหลือ 44 คนเท่าๆกัน เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผุ้ใช้แรงงาน และองค์กรด้านอื่นๆที่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐสภา อันเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มแรงงาน และกลุ่มอื่นๆ

หนังสือฉบับที่ 2 คสรท. ขอให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิในการเลือกตั้งในพื้นที่ตั้งสถานประกอบการ การที่กรรมาธิการยกร่างฯได้เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอในประเด็นความต้องการอย่างกว้างขวางนั้น ที่ผ่านมานยังไม่มีการปฏิรูปการเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งในพื้นที่ตั้งสถานประกอบการ เพื่อให้คนงานมีสิทธิมีเสียงในการเลือกตั้งผู้แทนระดับชาติและท้องถิ่นให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังรายละเอียดนี้

1. การปฏิรูปการเข้าถึงสิทธิเลือกตั้งของผู้ใช้แรงงาน ตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการเลือกตั้ง 26 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,939,549 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,220,377 คน คิดเป็นร้อยละ 75.03 ถ้าเฉลี่ยตั้งแต่มีการเลือกตั้งมา ผุ้มาใช้สิทธิเลือกตั้งแค่ร้อยละ 51.87 เท่านั้น การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครครั้งสุดท้าย 3 มีนาคม 2556 มีผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 63.98 เท่านั้น สาเหตุหนึ่งที่ผู้ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งเท่าที่ควรเป็นเพราะกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถใช้สิทธิและเข้าถึงสิทธิเลือกตั้งได้ เช่น คนที่มีสิทธิแต่เจ้าหน้าที่ไม่อำนวยความสะดวกให้คือ ผู้สูงอายุ คนพิการ คนยากจนมีภาระครอบครัว กลุ่มที่ถูกตีความว่าใช้สิทธิไม่ได้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่นอกเขตการเลือกตั้ง ซึ่งได้แก่ ผู้ใช้แรงงานในกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ เพราะฉนั้น ผู้ใช้แรงงานจึงขอเสนอเพื่อการปฏิรูปสิทธิในการเลือกตั้งในพื้นที่สถานประกอบการ

2. สิทธิในการเลือกตั้งในพื้นที่สถานประกอบการ ให้ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่นอกทะเบียนบ้านของตนเองสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และสมาชิกวุฒิสภาในเขตพื้นที่ซึ่งตนอาศัย หรือทำงานอยู่ได้

เนื่องจากประเทศไทยมีคนทำงานจำนวนมากที่อพยพจากภูมิลำเนาเดิมเพื่อเข้ามาทำงานประกอบอาชีพทั้งในระบบราชการ ภาคเอกชน และภาคเศรษฐกิจนอกระบบ โดยที่พวกเขาไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านเข้ามายังพื้นที่ซึ่งตนมาทำงานได้ ด้วยข้อจำกัดหลายประการ เช่น เจ้าของบ้านเช่าไม่ยอมให้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามา บางคนพักอยู่หอพักที่สถานประกอบการจัดให้ ซึ่งก็ไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาได้ทั้งๆที่ในความเป็นจริงพวกเขาคือผู้ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งทำงานจะเรียกว่าถาวรเลยก็ได้ แต่พอมีการเลือกตั้งพวกเขากลับไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฏร หรือสมาชิกวุฒิสภาในเขตพื้นที่ตนเองไม่ได้อยู่จริง สภาพเช่นนี้ทำให้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งไม่ได้สะท้อนความเป็นตัวแทนของพื้นที่อย่างแท้จริง และทำให้การแก้ไขปัญหา การจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง

การให้คนงานมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนในพื้นที่ซึ่งเขาทำงาน และอาศัยอยู่จริงจะทำให้ผู้แทนต้องมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ต้องรับฟังและแก้ไขปัญหาให้กับคนที่เลือกตนเข้าไปทำหน้าที่แทน

โดยข้อเสนอทั้ง 2 องค์กรที่เสนอต่อประธานกรรมาธิการฯนั้น ก็หวังว่าจะได้รับการนำไปบบรจุในร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน