แรงงานสุดช้ำเจอโควิดบวกAI ทำตกงานเกือบ 4 ล้านคน

นักวิชาการ ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใน วิกฤตโควิด ทำแรงงานตกงานสูงกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือแฮมเบอร์เกอร์ เสนอแผนฟื้นฟูต้องเป็นโครงการที่ทำให้เกิดการจ้างงาน เพราะปัญหาหลักคือคนตกงานจำนวนมาก

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2563 มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ร่วมกับ ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด จัดโครงการเสวนา เรื่อง การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงานหลังโควิด ณ ห้องประชุม โรงแรม อะบลูม เอ็กซ์คลูซีฟ เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์  ถนนพหลโยธิน ซอย 3 กทม. (พร้อมถ่ายทอดสดทาง https://www.facebook.com/voicelabour.org/ )

โดยผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ อดีตรองอธิการบดีฝ่ ายวิจัยฯ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้บรรยายในหัวข้อ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงานหลัง Covid-19 ว่า พลวัตเศรษฐกิจโลก และ ทิศทางเศรษฐกิจโลก 2020-2024 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเติบโตในระดับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยเฉลี่ย โดย เศรษฐกิจจีน ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกอาจขยายตัวตํ่ากว่าประมาณการ ประเทศไทยไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในนโยบายเศรษฐกิจ การบริหารเศรษฐกิจและ กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารธุรกิจ จากการวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID-19 กับการถดถอยของ เศรษฐกิจไทย มองว่า ผลกระทบที่รุนแรงจาก COVID-19 สะท้อนความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย จากโครงสร้างเศรษฐกิจที่กระจุก ตัวสูงในภาคการท่องเที่ยวและความเชื่อมโยงทางการค้ากับประเทศจีน

โดยผลกระทบไม่ได้จํากัดอยู่แค่ภาคการท่องเที่ยว แต่จะลุกลามไปยังธุรกิจต้นนํ้าและปลายนํ้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ของภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับห่วงโซ่การผลิตของจีน รวมทั้งผลกระทบรอบสองจากรายได้ที่ลดลง ซึ่งแรงงานในภาคบริการทั้งในและนอกระบบเสี่ยงตกงานและสูญเสียรายได้ ขณะที่ภาคการเกษตรและภาคการผลิต ไม่สามารถทําหน้าที่ดูดซับแรงงานเหล่านี้ได้ในภาวะปัจจุบัน และสิ่งที่ต้องติดตาม คือ การแพร่ระบาดจะยืดเยื้อและลุกลามในไทยหรือไม่ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ภาครัฐจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดในการประคับประคองเศรษฐกิจ

โควิด -19 ผลกระทบที่เกิดกับแรงงานจะมีการฟื้นฟูได้อย่างไร ผลกระทบจากโควิด เศรษฐกิจโลกบอกว่า จะติดลบ 49 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลอย่างไรกับเศรษฐกิจไทย การที่ประเทศไทยหนักกว่าประเทศอื่นๆด้วยประเทศไทยมีความพึ่งพาการท่องเที่ยวมากขึ้น และมีผลกระทบจากโควิดที่มีการพึงพานักท่องเที่ยว และยังมีการส่งออกที่พึ่งพาก็ได้รับผลกระทบหมด ซึ่งทั้งลดค่าจ้าง เลิกจ้าง หากบริษัทขนาดใหญ่มีการจ่ายตามกฎหมายแรงงาน หรือเพิ่มให้เล็กน้อย แต่บางส่วนก็มีการดิ้นเพื่อความอยู่รอดอาจทำแค่ตามกฎหมาย หรือแม้อาจมีน้อยกว่ากฎหมาย แต่ตรงนี้ผิดกฎหมายเสี่ยงต่อการมีปัญหา ทำให้อัตราการจ้างงานหรือตลาดแรงงานมันเปลี่ยนไปเร็วขึ้นหลายเท่าตัว แม้ไม่มีโควิค 19 สถานการณ์การจ้างงาน ตลาดแรงงานในหลายส่วนมันไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะผลกระทบกับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมยานยนต์หรืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โรงงานที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีแนวโน้มในการใช้หุ่นยนต์หรือ AI เข้ามาแทนแรงงานคนสูงกว่า ต้นทุนต่ำกว่า และโควิด-19 ยังเป็นตัวเร่ง ทำให้สถานการณ์มันเร็วขึ้น แรงงานต้องปรับตัวขนานใหญ่ แรงงานโดยพื้นฐานโดยเฉพาะประเทศที่สิทธิแรงานยังไม่ดีพอ ไม่มีอำนาจในการต่อรองเมื่อมีผลกระทบจากโควิด-19และการล็อกดาวน์ทำให้ได้รับผลกระทบรุนแรงกว่า

การฟื้นฟูเศรษฐกิจและผลกระทบต่อแรงงานฟื้นฟูแรงงานในการจ้างงานหาทางออกร่วมกันได้อย่างไร

ผลกระทบโควิด-19 คนก็พูดกันเยอะการวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต้องดูสถานการณ์และเศรษฐกิจโลกเดิมกองทุนการเงินระหว่างประเทศบอกว่าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโลกติดลบ 3% สถานการณ์เศรษฐกิจโลกติดลบ 4.9% องค์กรระหว่างประเทศยังมองในแง่ดี เช่น OCD มองการติดลบ 5% ยังว่าดีกว่าและมันส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร ประเทศไทยหนักกว่าหลายประเทศซึ่งประเทศไทยมีโครงสร้างที่ต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ได้รับผลกระทบสินค้าการส่งออกสูง รถยนต์ก็ทยอยถูกเลิกจ้างหรือถูกลดชั่วโมงการทำงานหรือให้หยุดทำงานและจ่ายค่าจ้างบางส่วนตามกฎหมายแรงงาน ถ้าเป็นบริษัทเล็กๆผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไม่ได้ทำตามกฎหมายแรงงานโดยการหลบเลี่ยงหาวิธีในการทำให้ธุรกิจอยู่รอด เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจโลกหดตัวติดลบมากกว่าแฮมเบเกอร์ไคสิสที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2008 เมื่อมากกว่าต้มยำกุ้งลักษณะของปัญหาคือคนระดับฐานล่างมากกว่า วิกฤตต้มยำกุ้งเป็นกลุ่มที่อยู่ภาคการเงิน กลุ่มธุรกิจที่ไปกู้เงินต่างประเทศมากและลงทุนเกินตัว ปัญหามันคือคนทำงานระดับต่ำ ทำงานสูงขึ้นมานิดหนึ่ง มันเป็นโจทย์ที่มีความซับซ้อน ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอยู่ภายใต้การยึดอำนาจของ คสช.มาหลายปี และมีการเลือกตั้งที่ค่อนข้างที่บิดเบี้ยว และที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ขบวนการแรงงานบางส่วนสนับสนุนการรัฐประหาร ซึ่งปกติขบวนการแรงงานต้องอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายประชาธิปไตย รัฐจะต้องต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มแข็ง นั่นคือบทบาทของขบวนการแรงงานที่ควรจะทำ และก็เป็นอุดมการณ์ของมูลนิธิฟรีดริค เอแบรท ฟรีดริคเอแบรทเป็นนักการเมืองที่มีแนวความคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย เชิดชูประชาธิปไตย เชิดชูสิทธิมนุษยชน เชิดชูสิทธิแรงงาน แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่ผู้นำแรงงานและขบวนการแรงงานบางส่วนไม่ได้มีจุดยืนที่เข้มแข็งมั่นคงมากนักในบางเรื่อง ต้องมั่นคงอย่าหวั่นไหว หวั่นไหวเมื่อไหร่ซึ่งเป็นความหวังของประชาชนและระบอบประชาธิปไตยก็ไม่อาจมีความหวังได้ เพราะเป็นขบวนการจัดตั้งที่เข้มแข็งที่สุดของฝ่ายประชาชน แต่แม้จะเข้มแข็งที่สุดเป็นความเข้มแข็งที่อ่อนแอกว่าหลายประเทศ การพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจอยากให้ทุกคนมาร่วมกันหาทางออกหาช่องทางที่จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยดีขึ้นเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

เศรษฐกิจไทยกระทบมากกว่าประเทศอื่น การท่องเที่ยวก็ 12% ของ GDP กระทบโดยตรงเต็มๆ การท่องเที่ยวซึ่งเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นค่อนข้างมาก การค้าและการส่งออกมีสัดส่วนที่สูงมาก เศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนมาก การแพร่ระบาดของโควิด-19 มันรุนแรงกว่าที่คาดเยอะ ทำให้เกิดการล็อกดาวน์หลายประเทศทั่วโลก ประเทศไทยมีการจัดการบริหารการแพร่ระบาดโดยภาพรวมค่อนข้างดีสามารถคุมการติดเชื้อได้ดีกว่าหลายประเทศ ช่วงแรกไม่ดี ไม่ใช้มาตรการเข้มงวดตั้งแต่แรก ปล่อยให้มีการเข้ามาของชาวต่างประเทศเพราะกังวลในเรื่องการกระทบของเศรษฐกิจ กรณีแรกคือ ชาวจีนที่นำเชื้อโควิดเข้ามาพอสถานการณ์เริ่มไม่น่าไว้วางใจก็ให้กิจการต่างไหยุดกิจการโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า คนก็แห่กลับต่างจังหวัดเชื้อก็กระจายไปทั่ว แต่พอสถานการณ์ไม่ดีเราก็กลับตัวทันทีและใช้มาตรการที่เข้มงวดแล้วคุมการแพร่ระบาดได้ กลายเป็นว่าการทำเช่นนั้นต้องมีต้นทุนที่จะต้องแลกคือความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ตอนนี้สถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุดทางเศรษฐกิจหลายคนบอกว่าไตรมาส 2 น่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว ไตรมาส 3 ควรจะกระเตื้องขึ้นเพราะว่า เราคลายล็อคดาวน์แล้ว เมื่อคลายล้อคดาวน์เศรษฐกิจการจ้างงานก็ควรจะกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติได้บ้างบางส่วนนั่นในแง่เศรษฐกิจ ถ้ามองในแง่ดีเราควรจะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่ไม่ใช่การจ้างงานการจ้างงานยังไม่ถึงจุดต่ำสุด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นปลายไตรมาส 3 หรือว่าไตรมาส 4

ถ้าดูปัญหาการว่างงานในเศรษฐกิจที่ค่อนข้างรุนแรงที่สุดที่ไทยประสบคือวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งอัตราการว่างงงานอยู่ที่ 4.4% คนว่างงานตกงานประมาณ 1.5 ล้านคน ถ้าเป็นตัวเลขทางการสภาพัฒน์กระทรวงแรงงาก็ประเมินว่าการว่างเต็มที่เลยน่าจะมีการว่างงาน 3-4% ก็ประมาณเกือบ 2 ล้าน ถ้าคิดในแง่คนว่างงานมันก็เท่ากับวิกฤตต้มยำกุ้งย้อนกลับไปก็ 23 ปีที่แล้ว ตอนนี้กำลังแรงงานเศรษฐกิจอยู่ที่ 38.1 ล้าน กรณีแย่ที่สุดอยู่ที่ 10% ประมาณ 3.8 ล้านกว่า บวกว่างงานแฝงทำงานต่างระดับตัวเลขวิ่งไปถึง 5 ล้าน ภายใต้กำลังแรงงาน 38 ล้าน ถือว่า เป็นสถานะที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะว่า สถาบันครอบครัวเริ่มอ่อนแอลง ถึงแม้สังคมไทยจะเป็นสังคมแห่งการเอื้ออาทร เราเห็นกรณีโควิด-19เราก็เห็นตู้ปันสุขและอะไรที่ช่วยเหลือกัน แต่ว่าเราต้องเข้าใจโครงสร้างสังคมไทย โครงสร้างเศรษฐกิจซึ่งมันมีความเหลื่อมล้ำมายาวนาน มันก็จะทำให้ความไม่พอใจของคนที่ไม่ได้รับการดูแลดีนักก็อาจจะเพิ่มขึ้นๆ ซึ่งอาจจะนำมาสู่ความไม่สงบเรียบร้อยได้ถ้าเราไม่บริหารจัดการให้มันดีพอ

ในทางการเมืองก็ยังขัดแย้งกันอยู่ด้วยเงื่อนไขของเศรษฐกิจและสังคมเราต้องการการปกครองที่เป็นระบอบประชาธิปไตย ระบบการปกครองที่คนสามารถแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ สามารถอยู่ร่วมกันได้ ทุกคนมีพื้นที่ของตัวเอง แนวความคิดการรณรงค์ที่เป็นปฏิบัติการทางวิทยาของฝ่ายอนุรักษ์นิยมขวาจัดในสังคมไทย เราต้องมีสติ ถ้าไม่มีสติจะเป็นเหยื่อของการต่อสู้ของการแย่งชิงอำนาจโดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้อะไร

ในประเทศมีกำลังแรงงาน 38 ล้าน และพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้นตามลำดับ มีคนอยู่ในระบบการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเยอะมาก แต่ทำไมขบวนการแรงงานไม่มีอำนาจต่อรอง ทำไมขบวนการแรงงานไม่มีบทบาทในพรรคการเมืองได้ ทำไมถึงทำไม่ได้ องค์กรลูกจ้างมีกี่สภาไม่มีประเทศไหนมีมากเท่านี้แต่ทำไมขบวนการมันอ่อนแอ ทำยังไงให้ขบวนการมันเข้มแข็ง เวลาต่อสู้เพื่อให้ได้หลักการ หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงาน อย่างการเคลื่อนไหวระบบประกันสังคมเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว ขบวนการแรงงานเข้มแข็งกว่านี้มาก ไม่ว่าจะเป็นขบวนการแรงงานในรัฐวิสาหกิจ ในภาคเอกชน ผู้นำแรงงานก็เข้มแข็งร่วมมือกันมันจึงผลักดันสำเร็จ และความช่วยเหลือของภาควิชาการ กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม เคลื่อนไหวก่อนปี 2530 สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน จึงเกิดพระราชบัญญัติประกันสังคม (พ.ร.บ.ประกันสังคม)ปี 2533 ต่อมาเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 คนตกงานเยอะมากโดยเฉพาะภาคการเงินมีการร่วมกันเคลื่อนไหวอีกระหว่างภาควิชาการ ภาคแรงงานในที่สุดก็ได้การบังคับใช้ประกันสังคมกรณีการว่างงาน หาช่องทางในการผลักดันอย่าง ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เกิดขึ้นได้ไหมถ้าไม่มีนักคิด นักวิชาการหรือไม่มีขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง เวลานี้ไปถามคนระดับฐานล่างทุกคนมีหนี้ครัวเรือนหมด ครอบครัวแตกแยก กู้เงินนอกระบบเป็นหนี้สิน เงินฝากในระบบธนาคาร 100% คนที่มีเงินฝากในระบบต่ำกว่า 1 ล้าน คิดเป็น 98% คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอยู่ในอันดับต้นๆของโลก เราก้าวข้ามพ้นจากประเทศที่ยากจนด้อยพัฒนาเมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว ขึ้นมาเป็นประเทศระดับปานกลาง ปี 2530 แต่ติดกับดักอยู่นานมาก โดยทรัพยากรของประเทศนี้คณะราษฎรได้วางรากฐานไว้เมื่อปี 2475 คณะราษฎรอยู่ในอำนาจ 15 ปี เท่านั้นหลังจากนั้นก็เกิดรัฐประหาร 2490 แนวทางการพัฒนาประเทศก็เปลี่ยนไปมาก ระบบการเมืองก็เปลี่ยนและวันนี้ก็จะลบความทรงจำของประชาชนค่อยๆทยอยลบทิ้ง 2475 ถ้าเปิดให้ประชาธิปไตยได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ประเทศไทยวันนี้คงเจริญก้าวหน้ายิ่งกว่าญี่ปุ่น แล้วชีวิตความเป็นอยู่โดยเฉลี่ยผู้คนก็จะดีกว่านี้มาก แต่นี่ขนาดระบบการเมืองมันเกิดวัฏจักรวงจรอุบาทมากกว่านี้ ยังอยู่กันพอไปได้ แสดงว่า ประเทศนี้มีดีอีกมาก

ปัญหาความวิตกกังวลเป็นห่วงความมั่นคงในการทำงานและการเลิกจ้าง ทางเดียวที่จะช่วยได้ คือ การเพิ่มความหนืดในการเลิกจ้าง ในระบบ โดยต้องมองแบบนักเศรษฐศาสตร์ถ้ามองแบบนักต่อสู้สิทธิแรงงานไม่ได้ เพราะมันจะสุดโต่งมากเกินไป เศรษฐกิจมีปัญหา เศรษฐกิจไม่เติบโตก็ไม่มีการจ้างงาน การเพิ่มความหนืดต้องเพิ่มแบบพอดี ถ้าเป็นนักเคลื่อนไหว ต้องสู้แบบผู้นำแรงงาน เพราะในการเจรจาต่อรองต้องเสนอให้สุดก่อน เพราะที่เสนอไปมันไม่ได้อย่างที่คิด ถ้าได้อย่างที่คิดเศรษฐกิจก็อาจจะมีปัญหาได้ต้องพบกันครึ่งทาง ว่าอะไรที่ตกลงกันได้และดีที่สุดสำหรับทุกคนและเป็นธรรม เพิ่มความหนืดไปแล้วด้วยการแก้ไขกฎหมายแรงงานซึ่งรัฐบาล คสช.ก็รับลูกอย่างน้อยก็ยังดีและแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานด้วยการเพิ่มการชดเชยการเลิกจ้างในระดับต่างๆ เพราะวิกฤตครั้งนี้มันจะยาวนานมันจะไม่สั้นต้องให้เกิดความมั่นใจว่า คนถูกเลิกจ้างจะต้องมีเงินก้อนหนึ่งที่เขาจะไปประกอบอาชีพ ต้องยื่นข้อเสนอโดยเพิ่มเงินชดเชยส่วน 75%  ซึ่งเป็นธรรมดาสถานประกอบการต้องดิ้นเพื่อให้เกิดการลดต้นทุนระดับหนึ่ง เขาขายของไม่ได้ผลิตอะไรก็ไม่ได้อย่างน้อยเขาทำตามกฎหมายก็ยังดี แต่ลูกจ้างก็อยากทำงาน แต่บางบริษัทก็อ้างวิกฤตเศรษฐกิจฉวยโอกาสต้องการลดต้นทุน เอาคนออก แต่พวกนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าทำตามข้อเสนอของผมซึ่งไม่ใช่ข้อเสนอใหม่ มันเป็นข้อเสนอของขบวนการแรงงาน

ข้อเสนอ ที่ต่อสู้กันมายาวนานคืออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ต้องสู้ให้มีการให้สัตยาบันด้วยสุ้มานานราว 20-30 ปี ถ้าคิดแบบประชาธิปไตย การรวมตัวจะทำให้เกิดประชาธิปไตยในสถานประกอบการ ถ้าคิดแบบล้าหลังจะมาต่อรองอะไร ถ้าเป็นเสรีนิยมก็ต้องทำให้เกิดตรงนี้ เพราะตอนนี้การจัดตั้งสหภาพขึ้นอยู่กับอำนาจทางการ กับอำนาจของรัฐ แบบนี้คิดว่า ไม่อิสระ สหภาพจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้กับประชาชนได้ไม่ยาก ถ้าอำนาจรัฐไม่เอาพวกคุณเขาก็ไม่อนุมัติอะไรทั้งสิ้น ถ้ามีการรับร้องให้สัตยาบันอนุสัญญาILOฉบับที่ 87และ98 สามารถรวมตัวตั้งสหภาพแรงงานได้โดยเสรี ถ้ามีคนที่มีคุณภาพจะเกิดขบวนการครั้งใหญ่ทั้งองคาพยพ การที่เปิดให้มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กร มีสหภาพ ต้องคิดแบบนายจ้างที่เปิดกว้าง ที่ช่วยกันผลักดันกฎหมายคุ้มครองแรงงานนำไปปฏิรูปประกันสังคม เป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วมลูกจ้างคือคนในครอบครัว คนที่มีส่วนร่วมในกิจการธุรกิจ ตอนนี้ความคิดในหลายประเทศในยุโรปมันก้าวข้ามตรงนี้ไปแล้ว มันเป็นเรื่องโรงงานกิจการที่คนงานเป็นเจ้าของร่วมกัน มันก็เป็นหลักการของสหกรณ์ ตามแนวความคิดของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ฉะนั้นอนุสัญญาILO ฉบับที่87และ98 ต้องเคลื่อนไหวให้ได้ หากยังไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง การที่ขบวนการแรงงานมีพรรคการเมืองเป็นของตัวเอง ที่เข้มแข็งแบบยุโรป พรรคLabourแบบออสเตรเลีย และหลายประเทศไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะมันเล็กเกินไป ฐานมีแค่นี้คนที่เป็นสมาชิกสหภาพมีแค่นี้ ขบวนการแรงงานยังมาแตกแยกกันอีกไม่เห็นอนาคตเลย

ประเด็นที่จะตั้งให้ฉุกคิด เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยก็จะหดตัวอย่างรุนแรงก็จะกระทบต่อผู้ใช้แรงงานเกิดปัญหาว่างงานมาก เงินกู้ 4 แสนล้านเป็นนโยบายการคลังในเงินกู้ทั้งหมด 1 ล้านล้าน การเงินกับการคลังต่างกันยังไง ? การเงินก็เป็นมาตรการที่ดูแลเรื่องปริมาณเงิน เรื่องดอกเบี้ยดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนคนที่รับบผิดชอบคือธนาคารแห่งประเทศไทย นโยบายการเงินในประเทศไทยมันเป็นนโยบายที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยมและก็มุ่งไปที่การดูแลระบบสถาบันการเงินให้ดูดี มีเสถียรภาพ โดยไม่ได้คิดโจทย์แบบที่มันก้าวหน้ากว่านี้ และไม่สนใจนโยบายการเงินหรือมาตรการการเงินมันจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้ยังไง โจทย์เพียงแค่ทำให้เกิดเสถียรภาพเติบโตที่ ทำให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง

มาตรการการคลังเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายภาครัฐ เกี่ยวข้องกับภาษี มาตรการการคลังมี 2 ส่วน ส่วนแรกมุ่งไปที่การชดเชยรายได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องเกิดการล็อคดาวน์ก็ต้องชดเชยแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานอิสระไม่ได้อยู่ในประกันสังคมเขาเดือดร้อน รายได้เขาหายไปหมดก็ชดเชยไปแล้วประมาณ 6 แสนกว่าล้าน อีก 4 แสนล้านเป็นนโยบายคลังที่จะต้องทำโครงการมาเพื่อเอาไปดูแลเศรษฐกิจ แต่ไม่เห็นบทบาทขบวนการแรงงาน อาจจะเห็นบทบาทของผู้นำแรงงานบางส่วน แต่ยังไม่มีการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม แต่ถ้าทำตอนนี้ช้าไปแล้ว เพราะตอนนี้คนเสนอโครงการมา 1 ล้านล้านบาท ส่วนมากคนที่ขอไปคือราชการเป็นหลัก กระทรวง ทบวงกรมต่างๆ มันเป็นโครงการจัดซื้อ จัดจ้าง ลงทุนก่อสร้าง ซึ่งได้ให้ความเห็นไปว่า ต้องเน้นไปที่โครงการที่ทำให้เกิดการจ้างงานขนาดใหญ่ นั่นคือในเชิงหลักการ แต่เขาจะทำหรือไม่ เขาอาจจะสนใจใช้งบ อยากได้งบมากกว่า ถ้าขบวนการแรงงานเข้มแข็ง หรือส่วนต่างๆที่เป็นที่ปรึกษาให้กับขบวนการแรงงานชี้แนะ และเคลื่อนตั้งแต่แรก เสนอไปว่าต้องทำแบบนี้ และเสนอโครงการเข้าไปเลย ทำโครงการไปร่วมกับหน่วยราชการบางส่วนก็ได้ ต้องไม่ปฏิเสธหน่วยราชการ ไม่ได้ปฏิเสธการเมือง โดยต้องใช้ประโยชน์จากราชการ จากการเมือง ถ้าราชการดี การเมืองนั้นดีจะช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่พี่น้องประชาชน ผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้นได้ ถ้าเราปฏิเสธการเมือง ปฏิเสธการเข้าไปพูดคุย ไปหารือ ไปล็อบบี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ กับขบวนการไม่ใช่ตัวเอง ผู้แรงงานดีไม่ใช่ไปล็อบบี้เพื่อให้ตัวเองเป็น วุฒิสภา (ส.ว.) สภานิติบัญญัติ (สนช.) หรือ กรรมการประกันสังคม (บอร์ดส.ป.ส.) ขบวนการแรงงานต้องเป็นคนเลือกเข้าไป

งบประมาณ 4 แสนล้านตอนนี้มันเลยเวลาไปแล้วเขารับโครงการ รับข้อเสนอเต็มไปหมดแล้ว 1 ล้านล้านแล้ว ถ้าเราไปเสนอตอนนี้ก็ช้าไปแล้ว บทบาทที่เราได้คือการตรวจสอบและให้ความเห็นว่า ต้องเป็นโครงการที่ทำให้เกิดการจ้างงาน เพราะปัญหาใหญ่คือการเลิกจ้าง คนว่างงานเยอะก็พุ่งไปที่ประเด็นนี้เลย Reskill Upskill ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง คือยกระดับทักษะให้มันดีขึ้น

แนวโน้มในขบวนการผลิตตอนนี้ ถ้าAIหรือหุ่นยนต์อัจฉริยะมันเพิ่มขึ้นในขบวนการผลิต จะมีการจ้างงานแบบทำงานที่บ้าน ทำงานออนไลน์มากขึ้น เป็นการจ้างงานแบบ nonstandard employment ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะนายจ้างต้องการลดต้นทุน เพื่อการแข่งขันให้ได้แต่ว่า Nonstandard employment มันจะต้องมี standard ด้วยถ้าไม่มี standard มันเกิดการเอาเปรียบกันได้

ประเด็นของการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานละขบวนการแรงงานก็คือ ต้องทำให้ การจ้างงานมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่ว่านายจ้างจะจ่ายค่าจ้าง สวัสดิการเท่าไรก็ได้ จะต้องมีเกณฑ์ มีมาตรฐานซึ่งกฎหมายไทยก็ยังตามไม่ทันต้องผลักดันเรื่องพวกนี้ขึ้นมา มาตรฐานแรงงานในไทยมันยังไม่ได้มาตรฐานครอบคลุมทุกคน ซึ่งเป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งโดยความพร้อมเรื่องฐานะการเงิน การคลังและภาวะเศรษฐกิจของไทย คงไม่สามารถทำได้แบบประเทศสแกนดิเนเวียโดยความพร้อม แต่ในอนาคตจะทำได้ไหมก็อาจจะได้ แต่มันต้องเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองและประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ มันถึงจะเป็นแบบสแกนดิเนเวียได้ ทุกคนก็จะมีหลักประกันในเรื่องสวัสดิการพื้นฐานทั้งหมด ถามว่า โดยระบบที่มีอยู่ทำได้แค่ไหน ก็ทำได้โดยการขยายไปยังแรงงานอิสระซึ่งก็ทำแล้ว ประกันสังคมมาตรา 39 มาตรา 40 แต่คนก็ยังสมัครน้อยมันยังมีฐานในการที่จะสมัครแต่มันให้เปล่าไม่ได้ทุกคนต้องจ่ายเงินสมทบ ถ้าไม่จ่ายระบบก็อยู่ไม่ได้ ความยั่งยืนทางการเงินของระบบมันไปต่อไม่ได้

ทั้งนี้ช่วงท้ายมีการระดมข้อเสนอ และแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหลักการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยสรุปว่า หลังวิกฤตโควิด-19 ซึ่งทางผู้ใช้แรงงานซึ่งถือว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก และเป็นผู้ได้รับผลกระทบทางตรง โดยอยากที่จะเห็นมาตรการฟื้นฟูที่สร้างงานได้จริง และเป็นการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อการจ้างงานในอนาคตด้วย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน