แรงงานวัสดุก่อสร้าง-เครื่องเรือน อบรมปัญหาโลกร้อน เสนอรัฐดูแลผู้ได้รับผลกระทบ

สรุปรายงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้นำแรงงาน “ภาวะโลกร้อน…คืออะไร…เกี่ยวกับแรงงานตรงไหน” จัดโดย เครือข่ายสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เครื่องเรือน และคนทำไม้แห่งประเทศไทย กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สนับสนุนโดยมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท วันที่ 8 เมษายน 2561 ห้องประชุมสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดสระบุรี

นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวเปิดงานอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำแรงงานฯว่า กิจกรรมนี้พยายามที่จะพัฒนาบทบาทพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยให้รับใช้ขบวนการแรงงานในฐานะแหล่งวิชาการที่ค้นคว้าเรื่องใหม่ๆที่มาให้กับขบวนการแรงงาน เรื่อง การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมนั้น เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และประเทศไทยไม่ใช่ประเทศต้นทางในด้านอุตสาหกรรม แต่เป็นประเทศที่รับจ้างการผลิต ซึ่งขณะนี้มีการปรับตัวกันทั่วโลกเริ่องสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งโลกที่เรียกว่าภาวะโลกร้อน จึงมีการปรับเปลี่ยนระบบอุตสาหกรรมใหม่ขชึ้นเพื่อการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งประเทศไทยก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองด้านกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนผ่านที่ต้องเป็นธรรมในการจ้างงาน เพื่อลดผลกระทบต่อแรงงานและสังคมโดยรวมในอนาคต เมื่อมีการปรับตัวด้านอุตสาหกรรมใหม่ที่อาจมีการลดการจ้างงานในบางอุตสาหกรรม

 

นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานเครือข่ายสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เครื่องเรือน และคนทำไม้แห่งประเทศไทยกล่าวว่า เดือนเมษายนปีนี้ ภูมิอากศต้องร้อน แต่วันนี้กลับหนาวมากกว้าหน้าหนาวด้วยอีก นี่คือสิ่งที่เรียกว่าสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปหรือไม่ของสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น อุตสาหกรรมที่อยู่ด้วยกันทำงานกับเซรามิท งานถลุงทองแดง งานอิฐ ปูน กระเบื้อง ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างส่งผลกับโลกร้อนหรือไม่ และการที่เผ่าป่า ตอซังข้าว กระทบต่อโลกร้อน แม้แต่ลมหายใจของมนุษย์ด้วย ขบวนการแรงงานต้องเรียนรู้และนำไปสู่การพูดคุยกับบริษัทเพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อช่วยกันดูแลโลกของเราให้เกิดความเย็นลง

จากนั้นได้มีการเปิดสารคดีสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ และการบรรเทาอุกทกภัยปี 2554 เหตุการน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ถือว่าใหญ่มาก และกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมากในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำจำนวนมากที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามฤดูกาลหรือว่าเกิดจากภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อฝนตกหนักน้ำไหลบ่า คือ น้ำท่วม ภัยแล้ง และกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ และพันธุ์พืช

นางสาวธนพร วิจันทร รองประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียงกล่าวว่า ปัญหาภาวะดลกร้อนนั้นอยากชวนมองภาพรวมที่พบคือ เมื่อน้ำท่วมก็กระทบกับแรงงานอย่างไร เช่นเมื่อน้ำท่วมปี 2554 จากข้อมูลคือแรงงานตกงานจำนวนมาก และนายจ้างใช้มาตรา 75 ปิดงานชั่วคราวกระทบกับรายได้ น้ำ อาหารขาดแคลน เป็นต้น

สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปกระทบต่อ โลก ชุมชน ในหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็น ภาวะน้ำท่วม ภัยแล้ง สึนามิ ที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว ดิน น้ำ ป่า ระบบนิเวศที่เสีย ส่งผลกระทบทางชีวภาพ พันธุ์พืช สัตว์ ทำให้กระทบต่อระบบอาหาร ภูมิอากาศที่ปรับเปลี่ยน แปรปรวนเกิดการฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิสูงขึ้นถึง 0.74 องศา และต่อไปอุณหภูมิก็จะสูงขึ้นอีก หากไม่มีการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ตั้งแต่ปี 2554-2654 อุณหภูมิจะสูงขึ้น สาเหตุที่ทำให่เกิดภาวะโลกร้อน เกิดจากอุตสาหกรรมต่างๆที่ใช้สารเคมีต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อโลก ซึ่งเกิดขึ้นจากก๊าซเรือนกระจกที่เป็นผลให้โลกร้อน ซึ่งภาวะเรือนกระจกเกิดขึ้นด้วยการที่มีคาร์บอนไดร์ออกไซค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวัน ตากการเดินทางโดยรถยสนต์ที่ใช้พลังงานฟอสซิล และการผลิตในอุตสาหกรรม ที่มีทั้งสารเคมี และฟอสซิล เป็นต้น

ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือจีน ด้วยมีผู้คน และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับสอง และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 22 ของประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงมีการทำข้อตกลงในปี 2535 เพื่อรับอนุสัญญาUNFCCC ซึ่งประเทศไทยก็เข้าไปรับอนุสัญญาฉบับนี้ เพื่อที่จะลด หรือคงระดับก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อโลก คือมุนษย์ อีก และเพื่อที่จะให้เป็นไปตามที่จะให้ลดภาวะโลกร้อนเป็นจริงได้ตามพิธีสารเกียวโต หรือOECD เพื่อที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 5 ประเทศไทยได้ลงนามร่วม และเมื่อปี 2545 ประเทศไทยได้ดำเนินการที่จะลดภาวะเรือนกระจกลง และมีการรับเงื่อนไขที่จะรับการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิล และลดก๊าซเรือนกระจก ต่อมาก็ได้มีพิธีสารปารีส เรื่องการลดก๊าวเรือนกระจก โดยการที่จะใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น โดยลดการใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งข่าวการที่ชาวเทพา จังหวัดสงขลามาต้านเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน นั้นก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่รัฐบาลไปรับข้อตกลงเรื่องลด แต่กลับจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก

 

นโยบาย และมาตรการที่รัฐบาลไทยที่ต้องมีการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 25 ซึ่งไทยได้ลงนามพิธีสารเมื่อปี 2558 และได้มามีนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในเดือนสิงหาคม 2558  ซึ่งกลไกดในการที่จะลดก๊าซเรือนกระจกก็จะมีการเสนอในรูปแบบภาษี หรือว่าการติดตราสัญญลักษ์ทางการค้า เพื่อเป็นการให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ การที่ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับต้นๆ หากมีการปรับด้านเทคโนโลยีอาจสูงก็จะมีการใช้งบประมาณมาหนุนประเทศที่ด้อยพัฒนาในการลดภาวะโลกร้อนแทนเป็นต้น

ในประเภทกิจการก่อสร้างก็จะมีการลดการใช้อุปกรณ์ต่างๆในกระบวนการผลิตเพื่อลดภาวะความร้อน และความเสี่ยง การไม่ใช้ถ่านหิน ที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาสื่อการสอน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมการแยกขยะ การรียูท การใช้เครื่องหมายการค้าที่เรียกว่าคาร์บอนฟุตปริ้น ที่จะบอกว่าสิ้นค้านี้ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบต่อแรงงาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  คือเรื่องเศรษฐกิจ ครอบครัว อาชีพที่ต้องเปลี่ยน เกษตรกรรม พลังงาน อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระทบต่อการจ้างงาน อากาศที่ร้อนก็กระทบต่อโรคระบาดใหม่เกิดขึ้น และโรคเก่ารักษายากมากขึ้น สภาพภูมิอากาศที่สูงขึ้น ทำให้อากาศในโรงงานร้อนมากขึ้น การที่ต้องติดแอร์ หรือการนำพัดลมมาเพิ่มขึ้นอาจเป็นการแก้ไขปัญหาเพียงส่วนหนึ่งแต่ก็จะกระทบต่ออุณหภูมิความร้อนต่อโลกอยู่นั้นเอง อาจต้องช่วยกันดูว่าต้องปรับเรื่องโครงสร้างอาคาร หรือว่าปลูกต้นไม้เพื่อหรือไม่

โอกาสความท้าทายของแรงงานภายใต้นโยบายลดโลกร้อน นอกจากการที่จะส่งผลกระทบต่อแรงงานในด้านการจ้างงาน ซึ่งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาแทนการจ้างงานซึ่งคนงานก็ตกงาน หากไม่มีการปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ แต่โอกาสในการจ้างงานใหม่ๆก็มีเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย มีอาชีพใหม่ๆเช่นกัน และมาตราการที่ส่งเสริมการใช้สินค้าที่มีการลดภาวะโลกร้อน ที่มีการติดตราสัญญลักษน์ คาร์บอนฟุตปริ้น ซึ่งก็อาจเป็นการกีดกันทางการค้า คนมีทางเลือกในการที่จะใช้สินค้าที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัวด้านเทคโนโลยีใหม่ ระบบอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้งานบางประเภทหมดไปอย่างงานที่เกี่ยวกับฟอสซิล อย่างน้ำมัน เหมืองถ่านหิน แม้ประเทศไทยไม่มีเหมืองถ่านหินก็มีผลกระทบในอุตสาหกรรมที่ยังใช้ถ่านหิน อุตหกรรมผลิตรถยนต์ ที่ต้องเปลี่ยนจากระบบน้ำมันมาเป็นไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งชิ้นส่วนยานยนต์ก็ต้องลดลงเช่นกัน ระบบขนส่งที่ต้องใช้ระบบราง เช่นรถไฟฟ้า หรือรถไฟความเร็วสูงในการขนส่ง

มาตรการที่รัฐต้องจัดทำคือมาตรการ รัฐสนับสนุนด้านงบประมาณ หรือกระบวนการอบรมและพัฒนาคนให้สอดคล้องต่อระบบงานในอุตสาหกรรมใหม่ จัดระบบสวัสดิการที่สอดคล้องสังคม เพื่อรองรับเมื่อมีผลกระทบต่อการจ้างงาน การจัดการพัฒนาฝีมือแรงงานที่สอดคล้องต่องานใหม่ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีใหม่เพื่อการปรับเปลี่ยนด้านอาชีพได้ มีการคุ้มครองทางสังคมที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ และคุณภาพชีวิตแรงงานโดยครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบด้วย เพื่อชดเชยต่อเศรษฐกิจสีเขียว ที่ชดเชยต่อความเสียหายในชุมชน และโลกด้วย

ต้องมีการปรึกษาหารือกัน และการเจรจาทางสังคมเมื่อมีการนำนวตกรรมใหม่เข้ามา ซึ่งต่างประเทศมีการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยขบวนการแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วม แต่ว่าประเทสไทยเองยังไม่มีนโยบายและแผนงานในการแรงงานเมื่อมีการปรับเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจสีเขียว และยังไม่มีมาตรการในการดูแลแรงงานเมื่อมีการปรับเปลี่ยนด้านอุตสาหกรรมสีเขียว และแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ มีเพียงในมาตรการรองรับทุนใหม่ การสร้างนิคมอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งการพัฒนานวตกรรมใหม่ยังลงทุนกันเองด้วยทุน ที่ต้องปรับตัวตามนโยบายโลกที่ต้องการที่จะปรับตัวเรื่องภาวะโลกร้อน และลดต้นทุนการผลิต ส่วนมาตรการที่รองรับแรงงานตอนนี้มีเพียงระบบประกันสังคม กรณีวางงานที่รองรับตามสิทธิเท่านั้น และกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย แต่ว่าการปรับเปลี่ยนด้านภูมิอากาศ ด้านเทคโนโลยีใหม่เป็นการปรับตัวด้านอุตสหกรรมมากกว่าการตกงานปกติหรือไม่ เพราะหากต้องสูญเสียงานจากภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วมที่ไม่สามมารถหางานใหม่ทำได้  หรือการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเป็นต้น

การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมนั้นเริ่มจากการที่กองทัพสหรัฐได้มีการเลิกจ้างทหารในกองทัพจึงต้องมีการออกมาเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นการเริ่มต้นในการรณรงค์เรื่อง การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และมีการปรับตัวในการจ้างงานทั่วโลก ขบวนการแรงงานจึงได้มีการรณรงค์ให้มีการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงานด้วย ขบวนการแรงงานสมาพันธ์แรงงานสากล หรือ ITUC เป็นส่วนหนึ่งในการที่รณรงค์เรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน ในการเปลี่ยนแปลง เพื่อลดภาวะโลกกร้อน  ซึ่งมีข้อเสนอว่าต้องมีการสร้างงานในสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการชดเชย และวางแผนล่วงหน้าคนที่จะได้กรับผลกระทบ และต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงาน สร้างอาชีพใหม่ให้กับแรงงาน และผู้ได้รับผลกระทบ และต้องมีความหลากหลายด้วย

เครือข่ายสหภาพแรงงานในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นข้อเสนอในการปิดเหมืองถ่านหิน สหภาพแรงงานเจรจาให้มีการพัมนาอบรมอาชีพใหม่ หางานใหม่ จัดระบบบำนาญให้กับแรงงาน หากแรงงานไม่มีงานทำต้องมีการชดเชยการว่างงาน มีเงินทุนส่งเสริมกับการสร้างงานใหม่ มีกองทุนในการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ และอาชีพให้กับแรงงาน และชุมชน

ที่เดนมาร์ก มีการลดการใช้พลังงานถ่านหิน ครึ่งหนึ่ง และมีการเปิดการพลังงานจากลม ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีการผลิตกังหันลมส่งต่างประเทศอีก เป็นการจ้างงานแบบใหม่ๆเมื่ออาชีพเก่าลดไป

เยอรมันนี ก่อนที่จะตัดสินใจก็มีข้อตกลงร่วมกันคือต้องอุดหนุนเงินค่าจ้างให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบ และกำลังจะได้รับผลดกระทบในอนาคต และมีการปรึกษาหารือก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อการหาแนวทางร่วม มีการกำหนดเรื่องโครงการเกษียณก่อนกำหนด มีการกำหนดแผนคุ้มครองการขาดรายได้ มีการกำหนดการลดคนงานล่วงหน้า เพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นการลดแบบค่อยเป็นค่อยไป

ส่วนประเทศไทยรัฐบาลที่มีการไปให้คำหมั่นสัญญากับต่างประเทศมานั้นจะต้องมีการพูดคุยกันว่าจะรัฐบาลจะมีมาตรการที่จะดูแลแรงงานอย่างไร ไม่ว่าอย่างไรมาตรการเหล่านี้ก็จะมากระทบกับแรงงาน ชุมชน สังคมในอนาคตแน่นอน ในฐานะผู้นำแรงงานต้องมีข้อสรุปและมาตรการอย่างไร ซึ่งต้องร่วมกันเสนอข้อคิดเห็นร่วมกัน

ช่วงบ่าย นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า การใช้ชีวิตประจำวันคุณช่วยลดโลกร้อนได้หรือไม่?อย่าง? และดรงงานที่คุณทำ มีส่วนไหนที่ทำให้โลกร้อน และคุณจะแก้ไขอย่างไร? แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 การลดโลกร้อนสามารถทำได้ ซึ่งการใช้ชีวิตประจำวันโดยการใช้ถุงผ้าในการไปซื้อของแทนการใช้ถุงพลาสติก การใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 และการปิดไฟฟ้า โรงงานที่มีการผลิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เสนอให้โรงงานมีการจัดระบบปิดหากเป็นอุตสาหกรรมที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้อุปกรณ์CPE ปรับปรุงเครื่องจักรเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณให้กับบริษัทในเรื่องเครื่องจักรลดการซ่อมบำรุง เสนอเรื่องการจัดการด้านสารเคมีอันตรายต่างๆ คือต้องมีการจัดการด้านอุปกรณ์การทำงานที่ป้องกันอันตรายจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อม ลดการเจ็บป่วยจากการทำงานของผู้ใช้แรงงาน ในการใช้ชีวิตประจำวัน เดินทางไปทำงานใช้จักรยาน โดยต้องมีการสร้างเลนจักรยาน เพื่อการเดินทาง เสนอให้มีการคัดแยกขยะ

การเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านด้านอุตสาหกรรม ที่อาาจกระทบต่อแรงงาน ด้านความมั่นคงในการมีงานทำ หรือที่ว่าจะเกิดงานใหม่ ต้องเสนอให้รัฐเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานทั้งเรื่องฝีมือแรงงานให้สอดคล้องต่อการจ้างงานในอนาคต

กลุ่ม 2 การลดโลกร้อน คือการลดการใช้พลาสติก การใช้ถุงผ้าเมื่อไปซื้อของ การใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟ เช่นการใช้ไฟLED เพื่อกินกระแสไฟน้อยลง ลดการใช้ หรือเพิ่มขยะในการใช้ชีวิตประจำวัน และมีการคัดแยกขยะ เดินทางโดยจักรยาน ลดการใมช้ลดยนต์ ใช้อุปกรณืที่ไม่กระทบต่อโลกร้อน

โรงงาน ให้มีการลดการใช้ไฟ คือการปิดไฟที่ไม่ได้ใช้ตามช่วงเวลา ใช้รถรับส่ง มีการตรวจสภาพรถทุกปี  มีการปรับปรุงสภาพพื้นที่การทำงาน เครื่องจักรที่ได้คุณภาพ โดยอาจใช้ระบบวิศวกรมาประเมิน อุปกรณื ผลดี ผลเสีย เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายให้บริษัทด้วย และลดผลกระทบต่อโลก โดยต้องช่วยกัน

เรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน เสนอว่ารัฐต้องจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี อย่างกรณีนิคมอุตสาหกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นต้องกระทบต่อชุมชน และแรงงานด้านความมั่นคงทางอาชีพ รัฐต้องดูแลเรื่องสวัสดิการที่จะรองรับหากแรงงานไม่สามารถปรับตัวได้ด้วย

กลุ่มที่ 3 ต้องลดการใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง ลดการใช้น้ำให้น้อยลง ด้วยมีการใช้เครื่องปั้มน้ำ ลดการใช้ถุงพลาสติก มาใช้ถุงผ้า ใช้พาหนะร่วมกัน มีการรณรงค์ในหน่วยงานของรัฐ

โรงงานที่ทำ มีการใช้เตาเผามาใช้พลังลม จากเดิมใช้พลังน้ำ มีการปรับหลอดไฟเป็นLED จากเดิมใช้เป็นสปอตไลน์ ที่มีทั้งความร้อน และกินไฟมาก รณรงคืให้กินอาหารในโรงงานอาหารแทนการใส่ถุงพลาสติก มีการปรับปรุงโรงงานอาหาร และอาหารที่อร่อยถูกปาก ข้าวมีคุณภาพ ต้องมีทางเลือกมากขึ้น

การใช้รถส่วนตัวไปทำงาน ให้มีการรณรงค์ใช้รถรับส่งของบริษัทแทน และเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอาจเป็นรุ่นเก่า เสนอให้มีการปรับปรุง นำเครื่องจักรใหม่มาใช้ด้วยอาจเครื่องจักรเสื่อมคุณภาพได้ เพราะความร้อนทำให้เครื่องจักรเสียบ่อยขึ้น

ข้อเสนอ สรุปคือการใช้พลังงานที่เป็นพลังงานสะอาดมาทดแทนพลังงานฟอสซิลได้หรือไม่ บางบริษัทยังคงบอกว่าการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังทดแทนอื่นๆที่เป็นพลังงานสะอาดไม่ว่าจะ พลังงานจากขยะ อ้างว่าความร้อนในการเผาไม่คงที่ยังคงยืนยันว่าต้องใช่ถ่านหินในการเผาไหม้ ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีในประเทสเรายังมีอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อโลกร้อน และคิดว่าต้องมีการรณรงค์ให้มีการลดภาวะโลกร้อนในครอบครัว และโรงงานร่วมกัน ซึ่งจะให้ได้ผลต้องให้ภาครัฐมีนโยบายด้านนี้โดยตรงและมีการส่งเสริมรณรงค์ร่วมกัน