แรงงานลำพูนเสนอรัฐลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจปรับค่าจ้างต้องเป็นธรรม

แรงงานลำพูนสะท้อนปัญหาแรงงานถูกการเมืองท้องถิ่นมองเป็นส่วนเกินแค่ผู้อาศัย ถูกโดดเดี่ยวไร้ความสนใจเมื่อถูกละเมิดสิทธิ ย้ำปัญหาเพราะเราไม่มีสิทธิเลือกส.ส.ส.ว.นักการท้องถิ่นได้จึงถูกเมิน เสนอแรงงานต้องมีสิทธิเลือกผู้แทนในพื้นที่เพื่อดูแลปัญหาแรงงานอย่างเข้าใจ หวังลดความเหลื่อล้ำด้านค่าจ้างแรงงาน สิทธิการรวมตัว ได้กฎหมายที่เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ถูกมองว่าเป็นประชากรแฝง

เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2554 ณ ตลาดสันป่าฝ่าย นิคมอุตสาหกรรมลำพูน จังหวัดลำพูน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับสหภาพแรงงานอัญญมนีและเครื่องประดับสัมพันธ์(สอส.) สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (สออส.) ชมรมเพื่อเพื่อเพื่อน โดยการสนับสนุนจากสภาพัฒนาการเมือง ได้จัดมีการเสวนา พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยสัญจร สอนประวัติศาสตร์ สร้างสำนึกประชาธิปไตย ผู้เข้าร่วมทั้งลงทะเบียน และไม่ลงทะเบียนประมาณ 100คน กิจกรรมมีการแจกเอกสารแผ่นพับ จัดแสดงนิทรรศการ สลับกับการแสดงดนตรี รวมทั้งตอบคำถามเกี่ยวกับการเมือง ประชาธิปไตย สิทธิแรงงาน กฎหมายแรงงาน ประกันสังคม มีแม่ค้า พ่อค้าผู้ใช้แรงงานร่วมตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย

นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้กล่าวว่า แรงงานมักถูกมองว่าเป็นประชากรแฝง เนื่องจากคนงานส่วนใหญ่ที่มาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จะไม่ใช่คนในพื้นที่นั้น แม้ว่าจะมาอยู่ในพื้นที่นานนับ 10ปี การใช้ทรัพยากรในพื้นไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไฟฟ้า ถนนหนทาง แต่ภายมใต้การใช้ทรัพยากรนั้น คนงานเองก็ยังสร้างรายได้ในพื้นที่ที่อยู่อาศัย อย่าลืมว่าตลาดแห่งนี้ บ้านเช่า หอพักต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกิดการจับจ่ายใช้สอยสร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่ด้วย รวมถึงการจ้างงานยังทำให้เกิดรายได้ด้านภาษีของนักลงทุนแก่นักหารเมืองท้องถิ่น การที่นักการเมืองท้องถิ่นมองแรงงานเป็นผู้อาศัยจึงเป็นแนวคิดที่ล้าหลัง ทั้งที่ต้องการที่จะมีแรงงานจำนวนมากป้อนสู่โรงงานอุตสาหกรรม

วันนี้(19 ก.พ.)ได้สำรวจในพื้นที่ย่านอุตสาหกรรมพบว่ามีการเปิดรับสมัครงานจำนวนมาก หากดูแล้วคนในพื้นที่คงไม่มีเพียงพอต่อความต้องการในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแน่นอน ฉะนั้นแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรม ควรมีการมองมุมใหม่เกี่ยวกับคุณค่าของผู้ใช้แรงงาน

การจัดงานครั้งนี้ เป็นการสะท้อนสภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานย่านอุตสาหกรรมลำพูน ต่อประเด็นการเมืองว่า จะรับใช้ผู้ใช้แรงงานได้อย่างไร ในฐานะประชาชนคนหนึ่งในท้องถิ่นอาศัยด้วยหวังว่าความรู้จากทั้งเอกสาร วีดิทัศน์ นิทรรศการ การเสวนาจะสมารถสะท้อนความต้องการของผู้ใช้แรงงานเสนอเป็นนโยบาย สามารถสร้างแรงหนุนในการปรับเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น  และยังหวังว่า ผู้ใช้แรงงานลำพูนจะมีข้อเสนอเรื่องสิทธิแรงงานต่อนโยบายทางการเมืองท้องถิ่นอย่างไม่โดดเดียว เนื่องจากผู้ใช้แรงงานไม่ใช่เพียงแรงงานในโรงงาน ยังมีแรงงานนอกระบบ ที่ประกอบด้วย แม่ค้าหาบเร่ แผงลอย คนรับจ้างทั่วไปด้วย

นายอนุชา มีทรัพย์ ตัวแทนสหภาพแรงงานอัญญมนี และเครื่องประดับกล่าวว่า สหภาพฯมีการรวมตัวกันมากว่า 5 ปี ถามว่าแรงงานที่มาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูนใช่คนลำพูนหรือไม่ขอตอบว่ามีคนลำพูนน้อยมาก ส่วนใหญ่มาจากที่ต่างๆ แม้ว่าไม่คิดที่จะอยู่ลำพูนหวังกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิด ตั้งแต่อุตสาหกรรมมาก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะกลับไปที่บ้านเกิด เพราะมีหลายคนที่มีการลาออกงาน ถูกเลิกจ้าง ก็หางานใหม่ในอุตสาหกรรมทำ

หากถามเรื่องการเมืองแรงงานมองแค่เรื่องการใช้สิทธิในการเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แล้วกลับไปเลือกตั้งในพื้นที่บ้านเกิดไม่รู้จักด้วยว่าคนที่เลือกเป็นใคร ส่วนใหญ่ใช้สิทธิตามพ่อ แม่ กำหนดบอกว่าเลือกคนนั้น คนนี้ ซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของเรา เขาไม่เคยเห็นหน้ายามเราลำบากอยากให้ช่วยเหลือ นักการเมืองจะเห็นหน้าต่อเมื่อใกล้มีการเลือกตั้งเท่านั้น มาหาเสียงไหว้ได้ทุกคน หากว่าเขาสนใจปัญหาแรงงานคงไม่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน และคงมีการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 กรณีการคุ้มครองส่งเสริมสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรอง หรือกระทั้งค่าจ้างขั้นต่ำที่มีการปรับขึ้นเพียง 9บาทในปีนี้ ที่แตกต่างจากจังหวัดภูเก็ตที่ปรับขึ้น 17บาท เป็นความเหลื่อมล้ำทางค่าจ้าง ด้วยความจริงแล้วค่าจ้างขั้นต่ำควรเท่ากันทั่วประเทศ เพราะว่าค่าใช้จ่ายไม่ต่างกันแม้แต่น้อย

 ผู้ใช้แรงงานควรมองเรื่องการเมืองมากกว่าการเลือกตั้ง เพราะการเมืองมีความเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ค่าจ้างสิทธิแรงงาน กฎหมายแรงงาน ความเป็นอยู่ หากผู้ใช้แรงงานสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส. ส.ว.ที่มาจากหรือเป็นตัวแทนของผู้ใช้แรงงาน คงทำให้ผู้ใช้แรงงานได้สิทธิต่างๆ และได้รับการดูแลหากมีปัญหาการถูกนายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน

นายเกียรติศักดิ์  รัตนพันธ์ ตัวแทนสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิคส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าสัมพันธ์ เล่าว่า จากประสบการเมื่อมีปัญหาเรื่องการถูกเลือกปฏิบัติ ที่นายจ้างได้มีการเลิกจ้างมีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิ ได้เดินไปหานักการเมืองแต่กับไม่ได้รับการเหลียวแล การต่อสู้ของแรงงานมักโดดเดี่ยวไม่มีการสนับสนุนจากนักการเมือง ในการต่อรองทางการเมืองของท้องถิ่นเขามองว่าเราเป็นประชากรแฝงหรือแค่ผู้อาศัย เวลาชุมนุมในพื้นที่จะถูกมองว่าสร้างปัญหาทั้งที่ผู้ใช้แรงงานถูกรัดเอาเปรียบจากระบบ จึงเห็นว่าแรงงานควรมีสิทธิในการเลือกตั้งในพื้นที่อาศัย เพื่อให้ได้ผู้แทนที่เข้าไปเป็นตัวแทนในสภาผู้แทนราษฎรที่ไปทำงานนโยบายด้านแรงงานอย่างแท้จริง หากดรามีสิทธิในการเลือกตั้งส.ส.ส.ว. การเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ที่ทำงานได้จะสามารถลดอคติและสร้างมุมมองความเท่าเทียมในชุมชนที่อาศัยได้ ซึ่งเราคือผู้ที่สร้างรายได้หมุนเวียนในท้องถิ่นนั้นด้วย

นายสุวรรณ ตันเต๋ พนักงานบริษัทเจียระไนเพชร อายุ 30ปี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เนื่องจากได้ทราบจากกรรมการสหภาพแรงงานว่ามีการจัดเวทีสิทธิแรงงาน ประชาธิปไตยกับการเมือง หลังเลิกงานจึงได้เดินทางมากับเพื่อนๆ เพื่อมารับฟัง ทำให้เข้าใจประเด็นการเมืองกับแรงงานมากขึ้น และเห็นว่า การเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการกำหนดชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ประชาชนทุกคน ตนเป็นคนเชียงราย มาทำงานอยู่ในจังหวัดลำพูน 5-6ปีแล้ว ถึงเวลาเลือกตั้งส.ส. ส.ว. ก็กลับไปใช้สิทธิที่บ้านเกิดทุกครั้ง ถามว่าเคยเห็นหน้าส.ส.หรือส.ว.คนที่เลือกไหมตอบได้เลยว่าไม่เคยเห็นไม่รู้จักด้วยว่าเป็นใครบ้านอยู่ตรงไหน เลือกเพราะครอบครัวบอกว่าให้เลือกคนนี้นะเลือกไปเพราะแม่บอกว่าเขาเป็นคนดีเท่านั้น แต่มาวันนี้แล้วรู้สึกว่าการเมืองกำหนดชีวิตเรา การปรับค่าจ้างการเมืองเป็นตัวกำหนดว่าจังหวัดไหนควรปรับเท่าไรน้อยหรือมาก ซึ่งตรงนี้หากเรามีคนของเราในสภาก็จะกำหนดค่าจ้างได้มากกว่านี้ และคนเป็นตัวแทนของผู้ใช้แรงงานทุกจังหวัดเข้ามาดูแลคุณภาพชีวิตแรงงานได้  ตอนนี้ตนได้รับค่าจ้างวันละ 190บาท ถามว่าเพียงพอหรือไม่หากมทำงานล่วงเวลาก็คงไม่พอกินแน่นอนทุกวันนี้คนทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูนต้องทำงานล่วงเวลาทุกวัน ทิศทางการกำหนดการปรับค่าจ้างในสถานประกอบการก็มีกำหนดเองเป็นระบบขั้นบันได คือไม่ขาดงาน ไม่ลางาน ไม่มาสายได้รับการปรับขื้นเงินปีละ 5 บาทเท่านั้น ซึ่งปัญหาบางบริษัทไม่มีการปรับค่าจ้างหากเงินเกินค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐประกาศปรับด้วย ซึ่งตรงนี้ควรมีการกำหนดการบังคับใช้กฎหมายให้จริงจังกว่านี้

ถามว่าอยากรู้จักส.ส.ส.ว.ลำพูนไหม คิดว่ารู้จักมากกว่าส.ส.ที่เชียงรายแน่นอน รู้ว่าบ้านอยู่ตรงไหน มีปัญหาก็คิดว่าไปหาถูกแน่นอน แต่การที่จะขอให้ช่วยเหลืออะไรคงไม่กล้า เหตุเพราะไม่ใช่คนในพื้นที่ เลือกเขาไม่ได้ ซึ่งจริงแล้วเราก็อยากเลือกเขาเป็นผู้แทนราษฎรของเรา เพราะอย่างน้อยก็ยังเห็นว่าเขาทำงานมีผลงานบ้าง 

ทั้งนี้ในวันเดียวกันทางทีมงานพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้เดินทางเข้าเยี่ยมสถานีวิทยุ MAP RADIO 99.00 MHz จังหวัดเชียงใหม่ และ สถานีวิทยุเพื่อนรักษ์สุขภาพ 102.00 MHz เพื่อมอบซีดีเพลงการเมือง สารคดีเสียงรณรงค์ให้ทางสถานีทำการเปิดรณรงค์ในพื้นที่

นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อฯ รายงาน