แรงงานยานยนต์ ถกประวัติศาสตร์ สานต่อการทำงานกลุ่ม

แรงงานกลุ่มยานยนต์ “สืบสานประวัติศาสตร์ ยกระดับคุณค่าแรงงานไทย”  ชวนกันยกระดับการทำงานร่วมกันในเชิงนโยบาย

วันที่ 10 มิถุนายน 2560 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยการสนับสนุนของสถาบันทิศทางไท จัดโครงการ “สืบสานประวัติศาสตร์ ยกระดับคุณค่าแรงงานไทย”  แรงงานยานยนต์ในประเทศไทย ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยช่วงเช้าได้มีการแสดงดนตรี จากวงภราดร และกล่าวเปิดงานโดยนายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

นายทวีป ได้กล่าวว่า ด้วยการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องใหม่ด้วยเป็นประวัติศาสตร์ของแรงงานในกิจการยานยนต์ ซึ่งมีหลายองค์กรที่มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งที่มีมายาวนาน และมีบทบาทในการทำงานขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ รวมถึงการต่อสู้ด้านสวัสดิการ หากกล่าวถึงแรงงานยานยนต์ใครก็มองว่า เป็นแรงงานที่มีรายได้ และสวัสดิการที่ดี ใครจะรู้ว่าการได้มา การที่มีการเริ่มรวบรวมประวัติศาสตร์เพื่อเสนอความสำคัญของแรงงานในกิจการยานยนต์ ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างมาก น่าสนใจละควรมีการเรียนรู้ จึงขอเชิญชวนชมนิทรรศการ “ประวัติศาสตร์แรงงานยานยนต์ในประเทศไทย” ซึ่งจะติดตั้งรอผู้มาเยี่ยมชมที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ในระยะนี้ และเพื่อให้ให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์การทำงานของผู้นำแรงงานทั้งอดีต และปัจจุบันจึงมีการจัดเสวนา เรื่องประวัติศาสตร์แรงงานยานยนต์ในประเทศไทย

จากนั้นได้มีการเสวนา เรื่อง “ประวัติศาสตร์แรงงานยานยนต์ในประเทศไทย” ดำเนินรายการโดยนางสาวอรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ จากไทยพีบีเอส

นายปรุง ดีสี อดีตผู้นำสหภาพแรงงานเอ็น เอช เค สปริงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดการบริหารองค์กรนั่นผู้นำแรงงานไม่ต้องการให้สังคมได้รับผลกระทบ ช่วงเมื่อการขับเคลื่อนของประชาชน กรรมกร ชาวนา ในยุค 14 ตุลาคม 2516 นั้นเป็นความยิ่งใหญ่ของขบวนการต่อสู้หากมาเทียบกับขบวนการแรงงาน นั้นตนได้เข้าร่วมในส่วนของขบวนแรงงานในการขับเคลื่อน อาจอยู่เพียงห่างๆ การเข้ามาทำงานสหภาพแรงงานเอ็น เอช เค สปริงแห่งประเทศไทย ที่ช่วงนั้นเป็นเลขาธิการสหภาพแรงงาน และได้เข้าเป็นรองประธานสหพันธ์ฯด้วย การทำงานภายใต้แนวคิดการรวมตัวของ 4 เสาเท่านั้น คือ รถยนต์ ไฟฟ้า แร่ เหล็ก ภายใต้การสนับสนุนของ IMF เมื่อมีการรับสมาชิกสหภาพแรงงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ใน 4 เสา จึงมีความขัดแย้งและแยกออกมาด้วย

หรือหากเปรียบเทียบขบวนแรงงานยานยนต์ กับองค์กรนายจ้างในอุตสาหกรรมยานยนต์ เห็นว่า ขบวนแรงงานยานยนต์ยังอยู่ที่เดิม คือยังไม่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งภายใต้แนวคิดการจัดตั้งสหภาพแรงงานในอดีตว่า ต้องการให้เป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม แล้วปรับตัวเป็นสหพันธ์แรงงาน  ต่างจากองค์กรทุนมีการพัฒนามากขี้น

ปัจจุบันการทำงานจะต้องทำงานเป็นทีม ไม่ใช้ทำงานแบบคนเดียวโชว์ แม้ว่าเพื่อให้งานเดินต่อได้ แต่ว่า องค์กรต้องไม่ใช่การทำงานคนเดียวต้องสร้างคนทำงาน การทำงานต้องสร้างแบบครอบครัว ต้องสร้างทีมทำงานเพื่อสร้างองค์กร การทำงานอย่ายึดติดข้างหลังองค์กรตัวเองจนลืมคำว่า ขบวนแรงงาน เป็นการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายตามกระแสที่มีอยู่ อย่างนโยบาย 4.0 นั้นแรงงานต้องร่วมกัน

นายสุนทร เกตุนาค อดีตผู้นำสหภาพแรงงานฮอนด้าประเทศไทย เล่าว่า ตนนั้นเคยทำงานอยู่บริษัทไทยฮอนด้า โรงงานอยู่สำโรง ตอนนั้นแนวคิดของคนงานคือ มีงานทำก็ดีแล้ว ตนมาจากลูกชาวนา และในสังคมมองว่า ลูกชาวนาไทยไม่รวย ไม่มีกิน แต่หากเป็นลูกชาวนาญี่ปุ่นรวยหมด มีเงินมีทอง ซึ่งก็เลยทำให้ตนเข้าโรงงานทำนาญี่ปุ่น คือใช้ชีวิตผู้ใช้แรงงาน ซึ่งตอนนั้นอดีตการทำงานเป็นคนทำงานในโรงงานไม่ได้มีบทบาทเท่าไร รู้แต่ว่ามีสิทธิอะไรอย่างไร เท่าไรไม่ทราบก็ตั้งสมาคมลูกจ้างมาปรากฎว่า ผู้ร่วมก่อตั้งก็ถูกเลิกจ้างซึ่งมีผู้หญิงที่เป็นผู้นำ ที่ต่อสู้อย่างแข็งแกรงมาไม่ยอมออกตามที่นายจ้างเลิกจ้าง ร้องทุกข์ร้องเรียนมาตลอด และตนก็เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไทยฮอนด้า มีสมาชิกน้อยประมาณร้อยกว่าคน แล้วปี 2524 ถึงปัจจุบันนี้ก็ตั้งมา 40 ปีแล้ว และตอนนี้คนรุ่นหลังก็มาเป็นกรรมการสหภาพจากเดิมไม่ค่อยมีใครอยากเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ผู้นำแรงงานในอดีต มีการต่อสู้เข้มข้นมา มีทั้งคนที่อยู่และคนที่ไป

ขบวนการแรงงานยานยนต์ ใหม่ๆ ก็สามัคคีดี แต่ต่อมาก็แยกแตกกันไป แต่ก็ว่า จะทำอย่างไรให้องค์กรเป็ที่ยึดมั่น และสร้างความมั่นคงในองค์กร และต้องให้สมาชิกเข้าใจองค์กร ให้รู้บทบาทการทำงานของสหภาพแรงงานว่า อย่างไรเพื่อให้มีส่วนร่วม และต้องทำให้สมาชิกมีความมั่นคงในค่าจ้าง สวัสดิการ และงานที่ทำ

นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทำงานตอนแรกมีสหภาพแรงงานอยู่ก่อนแล้วซึ่งสหภาพแรงงานตั้งขึ้นปี 2522 แต่การทำงานมาครบ 1 ปี ถึงได้บรรจุงาน บางคนทำงานมา 2 ปีจึงได้บรรจุงานก็มี และเมื่อเข้าไปพบจากฝ่ายบุคคลบอกว่า ไม่ควรเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ให้เป็นสมาชิกสหกรณ์เคดิตยูเนี่ยน แต่ว่า เราก็สมัครเป็นสมาชิกสหภาพแล้ว จนเพื่อนถูกนายจ้างเลิกจ้าง แล้วรู้สึกสหภาพไม่ช่วยจึงปรึกษากับคุณชินโชติ แสงสังข์ เข้าสมัครเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน และได้เข้ามาบริหารสหภาพแรงงานหลังคุณปรุง ดีสี ออกจากงาน และได้ยื่นข้อเรียกร้องช่วงปี 2549 สามารถประสบความสำเร็จอย่างมาก การต่อสู้ในกิจกรรมต่างๆของแรงงานเห็นถึงการจ้างงานไม่เป็นธรรม และยังมีการตั้งสหพันธ์แรงงาน มาตั้งสมาพันธ์แรงงานรวมกลุ่มคนงานในกลุ่มต่างๆเข้ามา การเปลี่ยนแปลงช่วงปี 2540 ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งส่งผลให้มีการเลิกจ้างคนงานจำนวนมาก และส่วนของแรงงานยานยนต์เองก็มีปัญหาหลังมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีการจ้างงานแรงงานเหมาค่าแรงเข้ามาในโรงงานกันมากขึ้นส่งผลกระทบเรื่องความมั่นคงในการมีงานทำ ไม่มีงานทำ หรือมีงานแต่ไม่มั่นคง ซึ่งทางสหพันธ์แรงงานยานยนต์ได้ออกมาเรียกร้องเรื่องการคุ้มครองแรงงานเหมาค่าแรงโดยการยกเลิกระบบการจ้างงานดังกล่าว และมีการเรียกร้องให้มีการจ้างประจำ หรือให้มีการบรรจุลูกจ้างเหมาค่าแรงเป็นลูกจ้างประจำ ซึ่งปัญหาที่จะมาในอนาคตเรื่องการจ้างงานที่เปลี่ยนไปในระบบอุตสาหกรรมอย่าง 4.0 ที่จะเกิดขึ้นสิ่งที่ต้องทำร่วมกันขององค์กรสหภาพแรงงานคือไม่มองเพียงเรื่องตนเองต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มภายในพื้นที่ จากนั้นเป็นเครือข่ายแรงงานระดับเดียวกันในกลุ่มยานยนต์ แล้วขยายออกมาหาเพื่อมิตรเป็นการรวมตัวระดับประเทศเพื่อการเคลื่อนไหว จากนั้นก็ขยับไปหาพันธมิตรระดับสากล เพราะแรงงานไม่สามารถอยู่เพียงตัวเราคนเดียวได้ หรืออยู่เพียงองค์กรสหาภาพแรงงานภายในได้ ต้องมีการจับมือกับคนหลายกลุ่ม หากดูจากภาพในอดีตจะเห็นการทำงานของขบวนการแรงงานทางสังคม มีการขับเคลื่อนผลักดันนโยบายทางสังคมด้วย การทำงานในอนาคตนั้นต้องทำงานเป็นขบวนไม่ใช่มองแค่เพียงองค์กรภายใน มองเพียงกลุ่มยานยนต์ ต้องมองเครือข่ายอื่นๆด้วย มองเพื่อนบ้านด้วย จากนั้นต้องรวมร่วมเครือข่ายต่างๆในประเทศ เพื่อเคลื่อนเชิงนโยบาย จากนั่นก็ขับเคลื่อนระดับประเทศ และต้องมองหามิตรในระดับโลกด้วย

นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภายานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้เข้าทำงานในบริษัทโตโยต้าประเทศไทย และได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโตโยต้า และภูมิใจมากในการได้ทานข้าวร่วมกับกรรมการสหภาพแรงงาน และมีคนชักชวนเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในปี 2539 และหลังปี 2540 ก็ได้มาศึกษางานกับทางสหพันธ์แรงงานยานยนต์ และเมื่อเรียนรู้ก็ได้มาเป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน และก็ได้เป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย และได้เข้ามาร่วมกันก่อตั้งสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกในนามของสหพันธ์แรงงานยานยนต์ ซึ่งมีแนวคิดในส่วนของนายจ้างในการล้มสหภาพแรงงานตลอดหนักมากสมัยนั้น แต่ก็ทำจนได้ ตอนนี้จะเห็นสหภาพแรงงานเกิดขึ้นมากมาย และชมรมฝ่ายบุคคลก็เข้มแข็งขึ้นมาก แต่จะเห็นจุดอ่อนของแรงงาน สหภาพแรงงานแบ่งแยกกันออกจากกลุ่ม ฝ่ายบุคคลมีการรวมกันเป็นชมรมและเข้าไปจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์แล้ว มีการควบคุมการขับเคลื่อนของสหภาพแรงงานโดยที่ไม่รุ้ว่าโดนคลุม ในส่วนของตนได้เข้าไปร่วมคิดกับผู้นำแรงงานหลายท่านในกิจการยานยนต์ เรื่องระบบไตรภาคี แต่ตอนนั้นก็ไม่มีส่วนในการเข้าเป็นคณะกรรมการไตรถาคีได้ต่อชุมนุมเรียกร้อง เกาะรั้วจึงได้มีแนวคิดร่วมกันในการตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมไตรภาคี และการที่มองว่าต้องมีการสร้างแนวทางการต่อสู้แบบใหม่ และมีการคิดว่า ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยมีส่วนร่วมตั้งพรรคการเมือง กับผู้นำแรงงาน และนักวิชาการ มีการลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนด้วย

การทำยุทธศาสตร์ ต้องมีเป้าหมายมีการจัดทำแผนในการปฏิบัติงาน การทำงานต้องเปิดใจมาคุยกัน ทำงานร่วมกันไปด้วยกันยึดโยงกันไปทั้งระบบ ในอนาคต การบริหารจัดการทุกบริษัท เขาควบคุมแล้ว จะทำอย่างไรไม่ให้ถูกควบคุม ต้องพยายามที่จะทำให้สหภาพแรงงานเป็นอิสระให้ได้ และต้องทำงานร่วมในระดับสากลด้วย ยังไรก็ต้องทำงานกับรัฐด้วยอย่างไรก็ยังต้องยุ่งเกี่ยวกับรัฐ ทิ้งไม่ได้ฉะนั้นคงต้องเข้าไปมีส่วนร่วม

นายลาเร่ อยู่เป็นสุข ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า ในอดีตคนที่เป็นแกนนำส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน ชนชั้นปัญญาชน และเป็นคนที่ต่อสู้แบบไม่หวาดกลัว สู้จนตัวตาย เป็นคนมีอุดมการ ผิดกับคนรุ่นใหม่ ที่เป็นผู้นำแรงงานที่ขาดความต่อเนื่องเรื่องสานต่อเจตนารมณ์ การที่เข้ามาเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็เข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงานในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มีการเรียนรู้ผู้นำแรงงานการต่อสู้ในอดีตตลอด และสิ่งที่ผู้นำแรงงานควรปฏิบัติ ไม่ควรปฏิบัติคืออะไร อย่างไร และจากสหภาพแรงงานก็เข้ามาสู่การทำงานในสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย และเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนผลักดันให้รัฐแก้ไขปัญหา รัฐก็อาจไม่เชื่อ หรือว่ามีบางส่วนที่อาจไม่ชอบก็แยกกันไปรวมกลุ่มใหม่จากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งการทำงานต่อมาก็คือการรวมกันแบบคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่จะทำงานรวมกลุ่มจากหลายกลุ่มที่ต้องการแก้ไขปัญหา แม้ว่าอาจยังมีปัญหาจำนวนมากที่ยังแก้ไม่ได้ก็ตาม

อาจต้องกลับมาทำงานร่วมกันในประเด็นผลประโยชน์ร่วมกันของแรงงานยานยนต์ และมามองประโยชน์ร่วมของแรงงานทุกกลุ่ม ด้วยการขับเคลื่อน เช่นตอนนี้ปัญหาใหญ่คือคนเข้าสู่สังคมสูงวัย แรงงานกำลังจะเกษียณอายุและต้องรับบำนาญชราภาพ ซึ่งเป็นเงินที่น้อยมากไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพหรืออีกหลายประเด็นที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงในการทำงาน มารวมกันให้เป็นประโยชน์ในการเลื่อนไหว เช่นการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิประกันสังคมเป็นต้น มาทำร่วมกัน

นายโอภาส ผลประเสริฐวานิช เลขาธิการสหภาพแรงงานโตโยต้าประเทศไทย กล่าวว่า เดิมเคยทำงานที่ไทยนิบปอนด์ ตอนที่มาสัมภาษณ์ก็ถูกถามว่า เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหรือไม่ ก็ตอบว่าเป็นสมาชิก เพราะเพื่อนๆก็เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานทุกคน แล้วเมื่อเข้าเป็นลูกจ้างโตโยต้า ก็เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน มีหน้าที่ในการยกมือ มอบดอกไม้ ปรบมือ จ่ายค่าบำรุงสมาชิกให้สหภาพแรงงาน จากนั้นถูกทาบทามเข้าเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน เข้าเป็นตัวแทนในการอบรม ให้กับคนงานโตโยต้า และการเรียนรู้ประสบการณ์ตลอด

การรวมตัวของกลุ่มแรงงานยานยนต์นั้น จริงแล้วมีจำนวนมาก แต่ว่าอยู่ในหลายกลุ่ม หลายสภา ซึ่งยังไม่สามารถรวมตัว รวมกลุ่มกันได้ทำให้ไม่มีภาพรวมกันในการแก้ไขปัญหาได้ ทุกคนรู้ว่าจะมีรถไฟฟ้าเข้ามา และคนงานต้องถูกเลิกจ้างแน่ จะแก้ปัญหากันอย่างไรในส่วนของแรงงานยานยนต์ และปัญหาการจัดตั้งสหภาพแรงงานเป็นเรื่องที่ยากมาก ทำอย่างไรจัดตั้งแล้วแรงงานไม่ถูกเลิกจ้าง

นายธนกิจ สาโสภา ประธานสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าประเทศไทย กล่าวว่า สหภาพแรงงานฮอนด้าประเทศไทย มีการต่อตั้งมาด้วยความภาคภูมิใจ เพราะสมาคมก่อตั้งมาช่วงกฎหมายปว. 103 และมีการตั้งสหภาพแรงงายในช่วงของการเกิดพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 และได้เข้าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานปี 2535 และปี 2540 มีการไล่ออกจากโรงงานช่วงเจรจาต่อรอง แลัมีการปลดคนงานออก ซึ่งคิดว่า นี่คือการประหารชีวิตคนงานด้วยคนงานส่วนนั้นมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ จากนั้นก็มาเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งตอนนี้สภาจะทำงานมุ่งไปทางกรรมการไตรภาคี และก็มีการหาข้อมูลเพื่อต่อสู้ก็ไปหาทางสหพันธ์แรงงานยานยนต์ และขอเป็นสมาชิกด้วยต้องการกาแนวร่วมการทำงาน และบทเรียนทำให้หันมาตั้งสมาพันธ์แรงงานฮอนด้า เพื่อการทำงานในส่วนของกลุ่มแรงงานในเครือ เมื่อนายจ้างก็เชิงเข้าคุยเพื่อให้ตั้งเป็นสหพันธ์แรงงาน แต่เขาต้องการเป็นสมาพันธ์แรงงานเพื่อนำลูกจ้างในเครือในการผลักดันแก้ไขปัญหาในเครือ เป็นระบบทวีภาคี ไม่ใช่ไตรภาคี การดูแลนายจ้างต้องดูแลเท่าเทียมกันของลูกจ้างในเครือให้เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตอะไหล่ ชิ้นส่วนหรือว่าประกอบรถยนต์ วันนี้บริษัทในเครือมีถึง 200 แห่ง แต่มีสมาชิกแค่ 27 แห่ง ที่รวมมาเป็นสมาพันธ์ ซึ่งยังน้อยอยู่ทำให้ไม่ค่อยมีพลังในการต่อรองกับนายจ้าง ซึ่งคงต้องทำงานอีกหนักขึ้นเพื่อร่วมรวมพี่น้องเข้ามาร่วมกัน

ถือว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่กลุ่มยานยนต์มานั่งคุยกัน แม้ว่าจะรวมกันไม่ได้ ต้องร่วมกันในการทำงาน ซึ่งขบวนการสหภาพแรงงานต้องปรับตัว ด้วยอนาคตคนไม่ต้องนั่งทำงานในโรงงานแล้ว กดปุ่มให้หุ่นยนต์ทำงานได้ แล้วสหภาพแรงงานจะอยู่อย่างไร การผลิตรถยนต์ในอนาคต และการพัฒนารถไฟฟ้าของแต่ละแบรนรถ ซึ่งก็มีแนวคิดความพร้อมในฮอนด้าเรื่อง 4.0 ที่จะมีการพัฒนาในอนาคต จะแก้ปัญหาหรือยัง รัฐบาลมองนายจ้าง มากกว่าลูกจ้างอยู่แล้ว สวัสดิการ รักษาพยาบาลฟรี การมีงานทำ การศึกษา รัฐสวัสดิการต้องมีซึ่งต้องร่วมกันในอนาคต

นายธนัท นิธิภูริมงคล ประธานสมาพันธ์แรงงานเด็นโซ่ประเทศไทย กล่าวว่า การเข้ามาทำงานก็พยามเรียนรู้และมีผู้นำแรงงานเป็นอาจารย์สอน และได้เข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงานในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ทำให้ตนเองได้เรียนรู้หลากหลายมาก ส่วนแนวคิดอุดมการณ์ การทำงานนั่นก็เป็นผลจากการมีอาจารย์มากมายที่เป็นผู้นำแรงงานในอดีตอีกเช่นกัน และการที่มาตั้งสมาพันธ์แรงงานเด็นโซ่ เพื่อต้องการตั้งขึ้นมาเพื่อการพัฒนาแรงงานในกลุ่มของเด็นโซ่ เพื่อการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน 10 กว่าสหภาพแรงงาน การทีเข้ามาทำงานร่วมกันแลกเปลี่ยนกันภายใน และนำเรื่องภายนอกมาคุยกันบ้าง การบริหารยังใช้การลงแขกระดมเงินกันทำกิจกรรม ไม่มีปัญหาทางการเงินความขัดแย่ง แต่พยายามคุยกันด้วยอุดมการณ์

สิ่งที่ขาดทำให้ทำงานร่วมกันไม่ได้คือ ขาดคนประสานงาน หาพื้นที่ในการประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างการรวมตัวในการทำงาน นี่คือทางออกที่จับต้องได้ เรื่อง 4.0 ที่จะเข้ามาต้องมีการพัฒนาเรื่องการรวมตัวกัน

นายสุเทพ อู่อ้น ประธานสมาพันธ์แรงงานอีซูซุประเทสไทย กล่าวว่า การตั้งสหภาพแรงงานอีซูซุ ที่ตั้งมาร่วม 20 ปีแล้ว และเข้าเป็นสมาชิกในหลายองค์กร เพื่อการทำงานร่วมกันในทุกที่เพื่อการสร้างแนวร่วม และมีการตั้งสมาพันธ์แรงงานอีซูซุ เพื่อที่จะเป็นเวทีสร้างแรงงานสัมพันธ์ และมีการพัฒนาคนรุ่นใหม่ในบริษัทในเครือ และการที่ได้เข้ามาเป็นประธานการทำงานแบบเน้นการถ่ายทอดความรู้กันแบบรุ่นต่อรุ่น ด้วยการทำงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และการทำงานของสหภาพแรงวานต้องทำงานคุ้มครอง และแสวงหา

สิ่งที่ขบวนการแรงงานขาดคือ เรื่องบทบาทหน้าที่ การขับเคลื่อนของขบวนการแรงงานนั้นแย่งกันทำหรือว่าแยกกันทำ ต้องคิดเพราะนี้คือปัญหา เรื่องต่อมาคือการวางแผนงาน การลงมือทำ การอยู่ร่วมกันต้องมีดีเกิน 80% เวลาพูดคุยกับไม่นำสิ่งดีๆมาคุยกัน ตนเคยเป็นคนประสานก็พยายามทำ แต่ก็เกิดเหตุการแยก และแย่งกันทำจึงจบ และยังมีเรื่องความคิดเห็นที่ต่างกันอยู่ทางความคิด การไปทำงานร่วมกัน 15 สภาคงยาก แต่เรามาคุยกันในส่วนกลุ่มที่รวมกันอยู่นี้ สหพันธ์ สภา สมาพันธ์ที่มาร่วมกันวันนี้มาทำร่วมกันมาเปิดใจ เปิดปากคุยกัน เข้าใจกัน ลงมือสร้างกัน ตอนนี้เราทำงานในกลุ่มสวัสดิการยานยนต์ ไม่มีใครเป็นประธาน เป็นการ่วมกันอยู่

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน