แรงงานฟังสปส.แจงคีลนิกโรคจากการทำงาน

ได้ร่วมฟังชี้แจงผลการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานประจำปี 53 ณ.ห้องบอลลูม ชั้น3 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ รัชดา กทม. ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม 2554 งานนี้สภาเครือข่ายฯได้รับเชิญ  จากนายปั้น วรรพินิจ เลขาธิการประกันสังคมให้ไปร่วมฟังชี้แจงรายงานผลการการดำเนินงานคลินิกโรค ในฐานะผู้เรียกร้อง คลินิกโรคจากการประกอบอาชีพ และแพทย์เฉพาะทาง  นี้ผ่านรัฐบาลหลายสมัยในนามสมัชชาคนจน 
 
บรรยากาศในงานมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 500 คนมาจาก 61 จังหวัด  มีรัฐมนตรี ท่านเฉลิมชัย ศรีอ่อนมามอบโล่รางวัลคลินิกโรคจากการทำงานดีเด่นแก่ รพ.ดีเด่นและโรงพยาบาลแม่ข่าย แต่ละภาคด้วยกัน เช่น รพ.ลำปาง รพ.สมุทรสาคร  ฯ คุณปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการประกันสังคม มากล่าวชี้แจง กับ ท่านรัฐมนตรีมาเป็นประธานในพีธีกล่าวเปิด  
 
พอสรุปได้ดังนี้ ดีใจที่มีการจัดงานนับเป็นนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะด้วยและรัฐบาลสมัยนี้  ก็เป็นนโยบายให้ขยายคลินิกโรคซึ่งเป็นระยะ 5 ออกไปอีกปัจจุบันมีถึง 68 แห่งด้วยกันในปี 2554 คลินิกโรครองรับผู้ใช้แรงงาน 7.5 ล้านคน กับ สถานประกอบการประมาณ 337,794 แห่ง พบว่าปี 2553สามารถลดสถิติลดอันตรายกรณีมีการหยุดงานเกิน 3 วันถึง 5.4 รายต่อลูกจ้าง 1,000 คน ปัจจุบันคลินิคโรคมีการพัฒนาเพื่อการฟื้นฟูดูแลรักษาผู้ใช้แรงงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ การขยายโครงการความร่วมมือของทุก รพ.ไปทั่วประเทศจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกหน่วยงาน เพื่อการพยายามป้องกันลูกจ้างจากการเจ็บป่วยอันตรายจากการทำงาน และเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป ประกันสังคมเป็นระบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข เฉลี่ยรายรับไม่ว่าน้อยไม่ว่ามาก ซึ่งทำอย่างไรให้ประชนชนเข้าถึง มันเป็นหน้าที่ของทุกๆคนในประกันสังคม เราต้องรับฟังทุกๆคน ไม่ว่าจะมีเสียงมาว่าเราดูแลได้ไม่เทียมที่อื่นๆ เราต้องรับฟังและพัฒนายิ่งขึ้นไป แต่ทั้งหมดก็เป็นการบริการจากภาครัฐที่ดูแลประชาชนคนไทยทุกคน ประกันสังคมต้องเป็นระบบที่ดีที่สุด เพราะมีการประกันถึง 7  กรณีไม่ใช้รักษาอย่างเดียว คลินิกโรคเราจะสร้างต้นแบบขึ้นมาแล้วให้ รพ.อื่นๆปฎิบัติตาม จึงขอให้การจัดประชุมชี้แจงวันนี้ประสบผลสำเร็จ  
 
เนื้อหาที่มาการริเริ่ม
สำนักงานประกันสังคมเริ่มจัดทำข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2548 ในการดำเนินงานคลินิกโรคจากากรทำงาน เพื่อจัดระบบดูแลคนงานที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงาน มี 3 ระดับ
1.ระดับต้น จัดให้มีแพทย์เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อทำงานเชิงรุกด้านส่งเสริมป้องกันโรคจากการทำงานสนับสนุนการอบรมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์กระจายอยู่ทั่วไป
2.ระดับที่ 2 (กลาง)จัดให้มีคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ใน รพ.นำร่องสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยประสานสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ ฯกรมควบคุมโรคภายใต้การพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ 
3.ระดับสูง จัดให้มีคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ในโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กรมการแพทย์
โดยประกันสังคมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนสนับสนุนงบประมาณ จัดสรรเงิน 22 %
 
เพื่อดำเนินงานของกองทุนเงินทดแทน ดำเนินโครงการเชิงรับและเชิงรุกปี 2554
-ค่าใช้จ่ายในการบำบัด รักษาฟื้นฟู 40% ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัย 60%
 
1.โครงการกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจำนวน 3โครงการรวมเป็นเงิน 9,433,000บาท
ใช้จ่ายจ้างลูกจ้างจำนวน 40 คนโครงการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานเพื่อการป้องกันลดอุบัติเหตุ หรือโรคจากการทำงาน(อบรม จป.)จำนวน 20รุ่นๆละ 50 คนค่าใช้จ่ายในการสัมมนาวิชาการสัปดาห์ความปลอดภัยแห่งชาติครั้งที่ 25
 
2.โครงการสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุข รวมเป็นเงิน 12,881,660 บาท
กรมควบคุมโรคเป็นเงิน 11,981,660
โครงการคลินิกโรคจากการทำงาน 60 แห่ง
โครงการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เจ้าหน้าที่คลินิกโรค 60 แห่ง
 
3.กรมการแพทย์ รวมเป็นเงิน 900,000 บาท
โครงการศูนย์โรคจากการทำงานระดับชาติ(รพ.นพรัตน์ราชธานี)
ค่าใช้จ่ายในการวินิจฉัย
  โครงการจัดทำเครือข่ายกับสถานประกอบการ
ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์พยาบาล
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมประเมินการสูญเสีย
4.มหาวิทยาลัย โครงการตั้งคลินิกโรคของโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย 7 แห่งจำนวน 2,870,000 บาท
4.สภาองค์การลูกจ้างนายจ้างสนับสนุนการฝึกบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย 200 รุ่นจำนวน 4,000,000 บาท
     ปัญหาอุปสรรค
1.ขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
2.การวินิจฉัยโรคจากการทำงานต้องใช้เวลาและความชำนาญของแพทย์สูง
3.บุคลากรใน รพ.ขาดความเข้าใจและไม่ให้ความสำคัญของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
4.การเข้าถึงบริการของคลินิกโรคจากการทำงานของลูกจ้าง
 
แนวทางแก้ไขปรับปรุงการดำเนินโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน
 
1.ให้มีการจัดทำหลักสูตรอบรมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ แบบ 2 เดือนโดยจัดอบรมในวันเสาร์ อาทิตย์
2.จัดงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน
3.ประชาสัมพันธ์และจัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจในการให้บริการ
4.ตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการเข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทน
 
ความเห็นส่วนตัวและข้อเสนอแนะของคุณสมบุญ สีคำดอกแคต่อเวทีวันนี้ดังนี้
ดีใจที่ผลการเรียกร้องของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ สมัชชาคนจน ตั้งแต่เริ่มชุมนุมข้างทำเนียบในนามสสัชชาคนจนตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 เสนอให้ ตั้งกรมอาชีวเวชศาสตร์ด้วยซ้ำไปและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลทุกสมัยมาตลอดจนถึงปัจจุบัน รวม 16 ปี มาการพัฒนาไปมากขึ้น มีองค์กรเกิดขึ้น มีบุคลากรมานั่งพูดคุยเรื่องนี้อย่างอุ่นหน้าฝาคั่ง แต่จะทำอย่างไรให้มีการแก้ไขปัญหา
 
เพิ่มเติมดังนี้ได้
 
1.และขอให้มีการขยายคลินิกโรคจาการการทำงานให้ครอบคลุม รพ.ในทุก พื้นที่ที่มีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้น
2.เร่งผลิตแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมให้มีจำนวนที่เพียงพอต่อคนงาน
3.โรคจากสารเคมียังเป็นปัญหาที่คนงานเจ็บป่วยเรื้อรังและตายฟรีไปมากมาย ต้องเร่งวินิจฉัยโรคคนงานรวมทั้งโรคโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ทั้งนี้เพื่อมีระบบการป้องกันในสถานประกอบการ ไม่อย่างนั้นคนงานก็จะถูกเพ่งเร็งว่าๆไร้สมรรถภาพในการทำงานสามารถปลดคนงานออกได้โดยคนงานก็ไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายกองทุนกลับไปเป็นปัญหาในบ้านครอบครัวในสังคม ครอบครัวร่มสลาย
4.เรื่องกระบวนการส่งต่อลูกจ้างจาก รพ.ในประกันตนไปยังคลินิกโรค
5.คำแนะนำกลับนายจ้าง –ลูกจ้าง เพื่อให้รับผิดชอบคนงานของเขาที่ป่วย เห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม ไม่กลับคำวินิจฉัยถ้าถูกแรงกดดันจากนายจ้าง
6.เพิ่มแรงจูงใจกับแพทย์หรือบุคลากรให้มีทำงานด้านนี้ให้มากขึ้นกว่านี้
 
สมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 
สมัชชาคนจน 21 มีนาคม 2554